ตะเข็บ ๑ | น. ชื่อสัตว์พวกเดียวกับกิ้งกือ แต่เรียกแยกโดยถือเอาพวกที่มีขนาดเล็ก เช่น ยาวน้อยกว่า ๕-๖ เซนติเมตร ลำตัวเล็ก มีจำนวนปล้อง ๓๑-๑๗๓ ปล้อง แต่ละปล้องมีขา ๒ คู่ และขายาวกว่าปล้องลำตัวมาก ที่แพร่หลาย เช่น สกุล Orthomorpha ในวงศ์ Paradoxsomatidae ไม่มีตา, จะเข็บ หรือ ขี้เข็บ ก็เรียก. |
ตะเข็บไต่ขอน | น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้แต่ละวรรคใช้คำลหุคำครุสลับกันไปตลอดการแต่ง เช่น ระทวยระทดสลดสละขนิษฐ์ขนาง ระเหระหนกระวนกระวายระคายระคาง จะแรมจะร้างอนงค์อนาถนิราสนิรา (จารึกวัดโพธิ์). |
ตะเข็บ ๒ | ดู ตะกาด ๒. |
ตะเข็บ ๓ | น. ชื่อไม้เถาชนิด Pothos scandens L. ในวงศ์ Araceae เกาะติดกับต้นไม้ใหญ่, หวายตะมอย ก็เรียก. |
ตะเข็บ ๔ | น. แนวผ้าหรือสิ่งอื่นตอนที่เย็บติดกัน, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตะเข็บรอยต่อจังหวัด. |
เย็บล้มตะเข็บ | ก. เรียกวิธีเย็บผ้าแบบหนึ่ง โดยเย็บ ๒ ครั้ง เมื่อเย็บครั้งหนึ่งแล้ว จับตะเข็บให้ราบลง แล้วเย็บลงไปบนตะเข็บนั้นอีกครั้งหนึ่ง. |
ล้มตะเข็บ | ก. เย็บทับตะเข็บอีกครั้งหนึ่งหรือสอยให้ตะเข็บราบลง. |
กลิ้ม | (กฺลิ้ม) ก. เล็มหน้าผ้า, เย็บหน้าผ้าให้เป็นตะเข็บเพื่อมิให้ชายผ้าหลุดออก. |
กุ้ง ๑ | น. ชื่อสัตว์นํ้าไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีหลายวงศ์ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ ๘ ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี ๑๐ ขา พบในนํ้าจืดและนํ้าเค็ม มีหลายชนิด เช่น กุ้งก้ามกราม กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งกุลาดำ กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งหัวแข็ง กุ้งแชบ๊วย. |
กุ๊น | ก. ขลิบเย็บหุ้มริมผ้าหรือของอื่น ๆ ใช้แถบผ้าย้วยหรือเฉลียงเย็บหุ้ม ๒ ข้างเม้มเข้าเป็นตะเข็บกลมบ้างแบนบ้าง มักใช้ที่คอเสื้อหรือชายเสื้อเป็นต้น. |
ขี้เข็บ | ดู ตะเข็บ ๑. |
เข้าถ้ำ | น. ชื่อตะเข็บเย็บผ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งเย็บซ่อนตะเข็บไว้ข้างใน. |
จะเข็บ | ดู ตะเข็บ ๑. |
ด้นถอยหลัง | ก. เย็บผ้าวิธีหนึ่ง คล้ายวิธีด้น แต่เมื่อจะแทงลงต้องย้อนมาแทงข้างต้นอีกฝีเข็มหนึ่ง ทำให้แนวตะเข็บเหมือนฝีจักร. |
ตะกาด ๒ | น. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Penaeidae เช่น ชนิด Metapenaeus ensis (De Haan) ลำตัวสีเหลืองอ่อน ผิวเปลือกเป็นมัน พบในบริเวณนํ้ากร่อยและชายฝั่งทะเล, ชันกาด ตะเข็บ หรือ หัวมัน ก็เรียก. |
ทะเล้น | ก. โปนออก เช่น ตาทะเล้น, ล้นออก เช่น เนื้อผ้าตรงตะเข็บทะเล้นออก |
เป้า ๒ | น. ชิ้นผ้าที่เย็บแทรกตะเข็บตรงรักแร้เสื้อหรือรอยต่อขากางเกงผ้าหรือกางเกงแพรเพื่อให้เคลื่อนไหวได้สะดวก |
ฝักแค | ชื่อตะเข็บผ้าชนิดหนึ่งรูปเหมือนฝักของต้นแค. |
ฟื้นฝอย | ก. คุ้ยเขี่ยหาความที่ควรจะสงบแล้วให้กลับเกิดเป็นเรื่องขึ้นมาอีก, มักใช้ว่า ฟื้นฝอยหาตะเข็บ. |
เลาะ | ทำให้ด้ายเป็นต้นที่เย็บหลุด เช่น เลาะตะเข็บ เลาะผ้า. |
ศตบาท, ศตปที | น. ตะขาบ, ตะเข็บ, กิ้งกือ. |
สอย ๑ | แทงด้วยเข็มหรือสิ่งที่แหลมอย่างเข็มเย็บผ้าให้เป็นตะเข็บ. |
หวายตะมอย | ดู ตะเข็บ ๓. |
หุ้มแผลง | (-แผฺลง) น. กรรมวิธีในการหุ้มพระพุทธรูปด้วยแผ่นเงินหรือแผ่นทองบาง ๆ โดยให้ตะเข็บของแต่ละแผ่นซึ่งมีลักษณะคล้ายฟันประสานกัน แล้วใช้เครื่องมือกวดรอยประสานให้เรียบเสมอกัน. |
commissure | (คอม'มิชัว) n. รอยประสาน, ตะเข็บ, ส่วนต่อ, ข้อต่อ |
feller | (เฟล'เลอะ) n. คนโค่นต้นไม้, คนตัดไม้, เครื่องตัดต้นไม้, ช่างเย็บตะเข็บ |
fringe | (ฟรินจฺ) n. ฝอย, ตะเข็บ, รวง, พู่, ขอบ, ขอบรอบนอก, ริม. vt. ใส่ฝอย (ตะเข็บวง), Syn. trimming, border, edging |
fringy | (ฟริน'จี) adj. เป็นพู่, เป็นรวง, เป็นชาย, เป็นฝอย, เป็นตะเข็บ |
joint | (จอยทฺ) { jointed, jointing, joints } n. ข้อต่อ, รอยต่อ, หัวต่อ, เดือย, ปล้อง, ข้อ, ตาไม้, ส่วนตอ, ตะเข็บ, ที่บรรจบ adj. ร่วมกัน, สัมพันธ์กัน, ในเวลาเดียวกัน, เชื่อม vt., vi. เชื่อมกัน, ต่อกัน, Syn. juncture |
pernickety | (เพอนิค'คิที) adj. จู้จี้, ชอบฟื้นฝอยหาตะเข็บ, ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง, See also: perniciousness n., Syn. deadly |
quilt | (ควิลทฺ) n. ผ้านวมคลุมเตียง, ผ้าห่ม, ผ้าสำลี vt. เย็บผ้าดังกล่าว, ยัดไส้, เย็บปักเข้าไว้ในตะเข็บ, ใส่นวม, ผสมผเส, See also: quilter n. quilted adj. |
ripper | (ริพ'เพอะ) n. ผู้ฉีก, ผู้ตัด, ผู้เจาะตะเข็บ, สิ่งที่ทำให้ฉีกขาด, ผู้ฆ่า (โดยเฉพาะฆาตกรที่หั่นศพของเหยื่อที่ถูกฆ่า) , เครื่องรื้อหลังคา, คนที่ดีที่สุด |
seam | (ซีม) n. ตะเข็บ, ตะเข็บผ้า, รอยเย็บ, รอยต่อ, เส้นต่อ, แนวต่อ, (ธรณีวิทยา) ชั้นบาง. vt. เย็บตะเข็บ, เย็บต่อ, ต่อ, ทำให้เกิดเป็นร่องหรือเป็นแผลเป็น หรือรอยย่น. vi. กลายเป็นรอยต่อหรือเป็นร่อง, เย็บตะเข็บ., See also: seamer n. seamless adj. |
seamy | (ซี'มี) adj. ไม่ราบรื่น, ไม่พอใจ, เกี่ยวกับตะเข็บ, มีลักษณะเป็นตะเข็บ, ชั่วร้าย, สกปรก |
slit | (สลิท) { slit, slit, slitting, slits } n. รอยตัดเป็นทางยาว, รอยแยก, รอยแตก, รอยขาด, รอยฉีก, รอยปาด, รอยแตกตะเข็บ, ช่องยาว. vt. ตัด (เฉือน, ฉีก, ผ่า, ปาด) เป็นทางยาว, Syn. slash, opening, cut, tear |
stitch | (สทิทชฺ) n. ตะเข็บ, เข็มหนึ่ง, วิธีการเย็บปักหรือตะเข็บ, ผลงานเย็บปักหรือตะเข็บ, จำนวนเล็กน้อย, ส่วนหนึ่ง, อาการเจ็บปวดอย่างกะทันหัน. vt., vi. ปักเข็ม, เย็บตะเข็บ, เย็บปัก, เย็บติด, เย็บเล่ม. |
suture | (ซู'เชอะ) n. การเย็บแผล, การเย็บ, รอยเย็บ, ตะเข็บ, รอยประสาน vt. เย็บแผล, เย็บ, เย็บติด, เย็บต่อ, ประสาน, เชื่อมต่อ., See also: sutural adj. suturally adv. |
tack | (แทค) n. ตะปูแหลมสั้นและหัวแบน, การผูก, เชือกดึงใบเรือ, วิถีทาง, แนวทาง, ขั้นตอน, เงื่อนไขแถมท้าย, การเคลื่อนเป็นรูปตัว 'Z' vt. กลัด, ตอกติด, ใช้ตะเข็บเย็ยติด, ดึงใบเรือ, เปลี่ยนใบเรือ, เพิ่ม, ผนวก, แถมท้าย, เคลื่อนเป็นรูปตัว 'Z' vi. กินลม เปลี่ยนทิศทางลม, เคลื่อนเป็นรูปตัว 'Z' |
unseam | (อันซีม') vt. เอาตะเข็บออก, ฉีกออก, รื้อออก, แยกออก |
fringe | (n) ขอบผ้า, ตะเข็บ, ริมผ้า, กุ๊น, พู่ |
joint | (n) ข้อต่อ, ดุ้น, เดือย, ตาไม้, ตะเข็บ, ที่ชุมนุม |
seam | (n) รอยต่อ, ตะเข็บ, ชั้น, ชายผ้า, รอยเย็บ |
seam | (vt) เชื่อมต่อ, เย็บติด, เย็บตะเข็บ |
seamless | (adj) ไม่มีรอยต่อ, ไม่มีตะเข็บ, ไม่มีรอยเย็บ |
seamy | (adj) ไม่ราบรื่น, มีตะเข็บ, สกปรก, ชั่วร้าย |
stitch | (n) การร้อย, การเย็บ, อาการเสียดยอก, ตะเข็บ, ช่วง, ฝีเข็ม |
suture | (n) รอยตะเข็บ, รอยต่อ, รอยเย็บ |