81 ผลลัพธ์ สำหรับ *สนามแม่เหล็ก*
หรือค้นหา: สนามแม่เหล็ก, -สนามแม่เหล็ก-

NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
สนามแม่เหล็ก(n) magnetic field, Syn. สนามไฟฟ้า, Example: เราสามารถตรวจสอบว่าบริเวณใดมีสนามแเม่เหล็กหรือไม่โดยใช้เข็มทิศ, Thai Definition: ส่วนที่อยู่บริเวณโดยรอบแม่เหล็กที่ทำให้แม่เหล็กดูดสารบางอย่างได้
สนามแม่เหล็กไฟฟ้า(n) electromagnet field

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
สนามแม่เหล็กน. บริเวณที่มีอำนาจแม่เหล็ก, บริเวณที่มีเส้นแรงแม่เหล็กผ่าน.
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าน. คลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มของสนามแม่เหล็กและไฟฟ้าที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ได้แก่ คลื่นวิทยุ อินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้ อัลตราไวโอเลต เอกซเรย์ รังสีแกมมา และ รังสีคอสมิก.

ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
airborne magnetometer; aerial magnetometerเครื่องวัดความเข้มสนามแม่เหล็กโลกทางอากาศ [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
aeromagneticความเข้มสนามแม่เหล็กโลก [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
aerial magnetometer; airborne magnetometerเครื่องวัดความเข้มสนามแม่เหล็กโลกทางอากาศ [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
magnetic anomalyค่าผิดปรกติของสนามแม่เหล็ก [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
field relayรีเลย์ขดลวดสนามแม่เหล็ก [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
field terminalขั้วต่อขดลวดสนามแม่เหล็ก [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
field winding; field coilขดลวดสนามแม่เหล็ก [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
field coil; field windingขดลวดสนามแม่เหล็ก [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
field-frame assemblyโครงขดลวดสนามแม่เหล็ก [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕]

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Magnetic resonance imagingการสร้างภาพจากการกำทอนในสนามแม่เหล็ก [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
Betatronบีตาทรอน, เครื่องเร่งอิเล็กตรอน ที่มีลักษณะเป็นรูปโดนัต อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นวงกลมรัศมีคงที่โดยการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็ก เครื่องที่มีรัศมีประมาณ 0.75-1.00 เมตร สามารถเร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงานสูงถึง 340 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ บีตาทรอนเครื่องแรกสร้างโดย Donald W. Kerst ในปี พ.ศ. 2483 ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถเร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงาน 2.5 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ [นิวเคลียร์]
Cyclotronไซโคลทรอน, เครื่องเร่งอนุภาคที่อนุภาคถูกเร่งด้วยสนามไฟฟ้าและถูกควบคุมด้วยสนามแม่เหล็ก ให้วิ่งวนเป็นวงออกไปคล้ายก้นหอย เมื่อได้ความเร็วที่ต้องการ อนุภาคจะถูกปล่อยให้ชนกับวัสดุที่ใช้เป็นเป้า เครื่องเร่งอนุภาคชนิดนี้ใช้ในการวิจัยฟิสิกส์มูลฐาน และการผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ประดิษฐ์ คือ เออร์เนสต์ โอ. ลอว์เรนซ์ (Earnest O. Lawrence) ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี พ.ศ. 2482 [นิวเคลียร์]
Synchrotronซิงโครทรอน, เครื่องเร่งอนุภาค ที่อนุภาคถูกเร่งโดยสนามไฟฟ้าซึ่งเปลี่ยนแปลงด้วยความถี่ในย่านความถี่ของคลื่นวิทยุ และถูกบังคับให้วิ่งเป็นวงกลมรัศมีคงที่โดยการควบคุมของสนามแม่เหล็กที่เพิ่มขึ้น พร้อมสัมพันธ์กับความเร็วของอนุภาคที่เพิ่มขึ้น ซิงโครทรอนเครื่องแรก ชื่อ คอสโมทรอน (Cosmotron) สร้างขึ้น ในปี พ.ศ. 2495 ตั้งอยู่ที่ Brookhaven National Laboratory ประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถเร่งโปรตอนให้มีพลังงานสูงถึง 2, 300 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์, Example: [นิวเคลียร์]
Mass spectrometerสเปกโทรมิเตอร์มวล, อุปกรณ์สำหรับตรวจหาและวิเคราะห์ไอโซโทป ที่สามารถแยกนิวเคลียสที่มีอัตราส่วนประจุต่อมวลที่แตกต่างกันออกจากกันได้ โดยการผ่านนิวเคลียสเหล่านั้นไปในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก คำนี้มีความหมายเหมือน mass spectrograph, Example: [นิวเคลียร์]
Mass spectrographสเปกโทรกราฟมวล, อุปกรณ์สำหรับตรวจหาและวิเคราะห์ไอโซโทป ที่สามารถแยกนิวเคลียสที่มีอัตราส่วนประจุต่อมวลที่แตกต่างกันออกจากกันได้ โดยการผ่านนิวเคลียสเหล่านั้นไปในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก คำนี้มีความหมายเหมือน mass spectrograph [นิวเคลียร์]
Linacเครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น, ไลแน็ก, มาจากคำ่ว่า Linear accelerator อนุภาคที่มีลักษณะเป็นท่อตรงยาว อนุภาคที่มีประจุซึ่งวิ่งภายในท่อจะถูกเพิ่มพลังงานด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้ากระแสสลับที่มีอยู่ตลอดความยาวท่อ <br>(ดู cyclotron และ accelerator ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์]
Linear acceleratorเครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น, ไลแน็ก, เครื่องเร่งอนุภาคที่มีลักษณะเป็นท่อตรงยาว อนุภาคที่มีประจุซึ่งวิ่งภายในท่อจะถูกเพิ่มพลังงานด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้ากระแสสลับที่มีอยู่ตลอดความยาวท่อ <br>(ดู cyclotron และ accelerator ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์]
Electromagnetic fieldsสนามแม่เหล็กไฟฟ้า [TU Subject Heading]
betatronเครื่องบีตาตรอน, เป็นเครื่องเร่งอิเล็กตรอนแบบหนึ่ง โดยที่อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นวงกลมที่มีรัศมีคงที่ โดยใช้แรงกระทำที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็ก เครื่องเร่งที่มีลักษณะเป็นรูปโดนัท รัศมีวงจรประมาณ 0.75-1.00 เมตร เครื่องนี้สามารถเร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงานสูงถึง 340 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ บีตาตรอนเครื่องแรกสร้างโดย Donald W. Kerst ในปี พ.ศ.2483 ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (University of Illinois) ประเทศสหรัฐอเมริกา เร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงาน 2.5 ล้านอิเล็กตรอน [พลังงาน]
cyclotronเครื่องไซโคลตรอน , เป็นเครื่องสำหรับเร่งอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า ผู้ประดิษฐ์คือ Earnest O. Lawrence ชาวอเมริกัน ซึ่งได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2482 ในเครื่องเร่งอนุภาคชนิดนี้ อนุภาคถูกเร่งด้วยสนามไฟฟ้า ในขณะเดียวกันก็ถูกควบคุมด้วยสนามแม่เหล็ก ให้วิ่งวนเป็นวงออกไป เมื่อได้ความเร็วที่เหมาะสม ก็จะถูกปล่อยให้ไปชนกับเป้าที่ต้องการ เครื่องเร่งนี้ใช้ในการวิจัยทางฟิสิกส์พื้นฐาน และการผลิตสารไอโซโทปรังสี [พลังงาน]
synchrotronเครื่องซินโครตรอน, เป็นเครื่องเร่งอนุภาคชนิดหนึ่ง อนุภาคถูกเร่งภายใต้สนามไฟฟ้าซึ่งเปลี่ยนแปลงด้วยความถี่ ในย่านความถี่ของคลื่นวิทยุ ในขณะเดียวกันกับที่อนุภาคถูกบังคับให้วิ่งเป็นวงกลมรัศมีคงที่ โดยการควบคุมของสนามแม่เหล็กที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมสัมพันธ์กับความเร็วของอนุภาคที่เพิ่มขึ้น ซินโครตรอนเครื่องแรกชื่อ คอสโมตรอน (cosmotron) ตั้งอยู่ที่ห้องปฏิบัติการบรูคเฮเวน (Brookhaven National Laboratory) มลรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2495 เครื่องมือนี้ใช้แม่เหล็กมีน้ำหนักถึง 2, 200 ตัน สามารถเร่งโปรตรอนให้มีพลังงานสูงถึง 2, 300 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ [พลังงาน]
Electromagnetic Fieldsสนามแม่เหล็กไฟฟ้า [การแพทย์]
Electrophoretic Mobilityการเคลื่อนที่ซึ่งแตกต่างกันในสนามแม่เหล็ก, การเคลื่อนที่ในสนามไฟฟ้า, อีเลคโตรฟอรีติคโมบิลิตี้, การเคลื่อนไหวของอนุภาคภายใต้สนามไฟฟ้า, การเคลื่อนไหวในสนามไฟฟ้า [การแพทย์]
mass spectrometerแมสสเปกโทรมิเตอร์, อุปกรณ์ที่ใช้วิเคราะห์มวลของอะตอมหรือโมเลกุล โดยทำให้อะตอมหรือโมเลกุลเกิดเป็นไอออน แล้วส่งผ่านเข้าไปในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก ทำให้ทิศทางของไอออนเหล่านั้นหักเหไปตามมวลของไอออนที่แตกต่างกัน  [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
eddy currentกระแสวน, กระแสไฟฟ้าที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้นในตัวนำซึ่งอยู่ในสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลง  กระแสวนจะเกิดขึ้นในแกนเหล็กของหม้อแปลงหรือในเครื่องกลไฟฟ้าอื่น ๆ เป็นเหตุให้เกิดความร้อน ซึ่งเป็นการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
induced currentกระแสเหนี่ยวนำ, กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในตัวนำ  เมื่อตัวนำเคลื่อนที่ตัดสนามแม่เหล็กหรือเมื่อสนามแม่เหล็กที่ผ่านตัวนำเกิดการเปลี่ยนแปลง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
magnetic inductionการเหนี่ยวนำแม่เหล็ก, การทำให้วัตถุเป็นแม่เหล็กโดยการนำไปวางไว้ในสนามแม่เหล็ก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
electromagnetic inductionการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า, การทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าในตัวนำเมื่อตัวนำเคลื่อนที่ตัดสนามแม่เหล็ก หรือเมื่อสนามแม่เหล็กเกิดการเปลี่ยนแปลง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
electromagnetic waveคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, คลื่นซึ่งเกิดจากการสั่นของประจุไฟฟ้าหรือเกิดจากประจุไฟฟ้าที่มีความเร่ง คลื่นนี้ประกอบด้วยสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าที่เปลี่ยนค่าตลอดเวลาและตั้งฉากซึ่งกันและกัน แผ่กระจายออกจากแหล่งกำเนิดคลื่นด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วแสง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
solenoidโซเลนอยด์, ขดลวดที่ได้จากการพันลวดหลายรอบชิดกันเป็นรูปทรงกระบอก ถ้าให้กระแสไฟฟ้าผ่านจะเกิดสนามแม่เหล็กภายในขดลวดและรอบ ๆ ขดลวด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
dynamoไดนาโม, เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งอาศัยหลักการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า โดยการทำให้ขดลวดเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็ก เป็นการเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
Tเทสลา, สัญลักษณ์ของหน่วยวัดความเข้มของสนามแม่เหล็ก  ดู tesla [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
magnetic fluxฟลักซ์แม่เหล็ก, เส้นแรงแม่เหล็กทั้งหมดที่ผ่านตั้งฉากไปบนพื้นที่หนึ่งในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก มีหน่วยเป็นเวเบอร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
static electricityไฟฟ้าสถิต, ผลที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากประจุไฟฟ้าที่หยุดนิ่ง รวมถึงแรงระหว่างประจุไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กของประจุไฟฟ้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
electromagnetแม่เหล็กไฟฟ้า, แม่เหล็กที่เกิดขึ้นจากการพันขดลวดไฟฟ้ารอบแกนเหล็กอ่อน เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก ซึ่งสามารถเหนี่ยวนำแกนเหล็กอ่อนภายในขดลวดให้เป็นแม่เหล็กได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
back e.m.f.แรงเคลื่อนไฟฟ้ากลับ, แรงเคลื่อนไฟฟ้าซึ่งมีทิศตรงข้ามกับกระแสในวงจรตามปกติ เช่น ขณะที่ขดลวดของมอเตอร์หมุนอยู่ในสนามแม่เหล็ก ขดลวดจะตัดเส้นแรงแม่เหล็ก ทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำซึ่งมีทิศตรงข้าม กับแรงเคลื่อนไฟฟ้าของแบตเตอรี่ที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่มอเตอร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
electromagnetic lensเลนส์แม่เหล็กไฟฟ้า, สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้สำหรับโฟกัสลำของอิเล็กตรอน บางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า เลนส์แม่เหล็ก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
magnetismวิชาแม่เหล็ก, วิชาฟิสิกส์แขนงหนึ่งที่ศึกษาปรากฏการณ์และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับแม่เหล็กและสนามแม่เหล็ก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
weberเวเบอร์, หน่วยของฟลักซ์แม่เหล็ก ใช้สัญลักษณ์ Wb สนามแม่เหล็กที่มีความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก 1 เทสลา จะมีจำนวนฟลักซ์แม่เหล็ก 1 เวเบอร์ต่อตารางเมตร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
magnetic fieldสนามแม่เหล็ก, สนามแม่เหล็ก สนามของแรงซึ่งมีอยู่รอบ ๆ แท่งแม่เหล็กหรือรอบ ๆ ตัวนำ ที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก คือ บริเวณที่อนุภาคไฟฟ้าเคลื่อนที่เข้าไปแล้วมีแรงกระทำต่ออนุภาคนั้น ขนาดของสนามแม่เหล็กเท่ากับปริมาณของเส้นแรงแม่เหล็กหรือฟลักซ์แม่เหล็กต่อหน่วยพ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
automatic switchสวิตช์อัตโนมัติ, อุปกรณ์สำหรับเปิดปิดวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ  โดยใช้หลักการเกิดสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำหรือแผ่นโลหะคู่ที่ขยายตัวไม่เท่ากันเมื่อได้รับความร้อน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
magnetic lines of forceเส้นแรงแม่เหล็ก, เส้นสมมติในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กซึ่งแสดงทิศการเคลื่อนที่ของขั้วเหนืออิสระในสนามแม่เหล็กนั้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
free electronอิเล็กตรอนอิสระ, อิเล็กตรอนที่ไม่ถูกยึดไว้กับอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยเฉพาะ จึงเคลื่อนที่ไปมาอย่างอิสระ เมื่อได้รับแรงกระทำจากสนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กจากภายนอก ก็จะเคลื่อนที่ได้อย่างมีทิศทางแน่นอน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
auroraแสงออโรรา, สีแสงที่เกิดบริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ เนื่องจากแก๊สบริเวณขั้วโลกถูกกระตุ้นด้วยสนามแม่เหล็กที่มีพลังงานสูงในบริเวณขั้วแม่เหล็กโลก ทำให้แก๊สเหล่านั้นปล่อยรังสีออกมา มีแสงสีต่าง ๆ รูปร่างเป็นระย้าคล้ายม่าน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
solar flaresการระเบิดจ้าบนดวงอาทิตย์, การปลดปล่อยพลังงานและอนุภาคอย่างรุนแรงและรวดเร็วใกล้บริเวณจุดดับบนดวงอาทิตย์  จึงทำให้บริเวณนั้นสว่างจ้าและทำให้เกิดการรบกวนสนามแม่เหล็กโลกและคลื่นวิทยุ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
fieldเขตข้อมูล, สนาม, คอมพิวเตอร์: หน่วยย่อยที่สุดที่ข้อมูลระดับบิตมาเรียงต่อกันเพื่อแทนข้อมูลใดๆ ที่ต้องการเก็บในฐานข้อมูล ฟิสิกส์: ปริมาณที่ทำให้เกิดแรงกระทำต่อวัตถุ สนามมีสามชนิด ได้แก่ สนามโน้มถ่วง สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก สนามโน้มถ่วงทำให้เกิดแรงโน้มถ่วงกระทำต่อมวลของวัตถ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
Magnetic Fieldสนามแม่เหล็กไฟฟ้า, สนามแม่เหล็ก [การแพทย์]
Magnetic Field, Oscillatingสนามแม่เหล็กที่เปลี่ยนค่าความเข้มต่างกัน [การแพทย์]
Magnetic Stirrersเครื่องคนชนิดใช้สนามแม่เหล็ก [การแพทย์]

Longdo Approved EN-TH
MRI(n, abbrev) ระบบสร้างภาพจากการสั่นพ้องของคลื่นสนามแม่เหล็ก (Magnetic Resonance Imaging)

NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
inductance(n) ตัวเหนี่ยวนำ (กระแสไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กไฟฟ้า), Syn. capacitance
inductive(adj) เกี่ยวกับการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็ก
magnetic field(n) สนามแม่เหล็ก, Syn. magnetic flux
magnetic storm(n) การแกว่งหรือปั่นป่วนของสนามแม่เหล็กหรือเข็มทิศจากการถูกรบกวน
sunspot(n) จุดสีดำบนดวงอาทิตย์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว, See also: จุดบอดบนดวงอาทิตย์ซึ่งมีผลต่อสนามแม่เหล็ก, Syn. macula

Hope Dictionary
antiferromagnetic(แอนทีเฟอโรแมกเนท' ทิค) adj., ซึ่งต้านสนามแม่เหล็ก. -antiferroomagnetism n. (antiferomagnetic substance)
antimagnetic(แอนทีแมกเนท' ทิค) adj. ซึ่งต้านสนามแม่เหล็ก (resistant to magnetization)
ccd memoryหน่วยความจำแบบซีซีดีย่อมาจาก charge coupled device memory (หน่วยความจำแบบอุปกรณ์ถ่ายเทประจุ) หมาย ถึงหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ที่ทำจากซิลิคอนชิป (silicon chip) ซึ่งสามารถเปลี่ยนสนามแม่เหล็กไฟฟ้าไปเป็นประจุไฟฟ้า และสามารถบันทึกข้อมูลลงในจานแม่เหล็ก (disk) ได้ เหมาะสำหรับงานที่เรียกใช้ข้อมูลในหน่วยความจำตามลำดับ (sequential) หน่วยความจำชนิดนี้ทำงานช้ากว่าแรม (RAM) แต่เร็วกว่าแบบแม่เหล็ก
characteristic(แคริคเทอริส'ทิค) adj. เป็นลักษณะเฉพาะ -n. ลักษณะเฉพาะ การรู้จำอักขระหมายถึง เทคโนโลยีในการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์รับรู้ความแตกต่างของรูปลักษณะตัวอักษร ต่าง ๆ ที่มนุษย์เขียนหรือพิมพ์ขึ้น โดยใช้แสงหรือสนามแม่เหล็ก แล้วถอดรหัสเป็นภาษาเครื่อง (machine language) เพื่อนำไปประมวลผลต่อไปได้ดู pattern recognition ประกอบ
degauss(ดิกอส') vt. ทำให้เป็นกลางด้วยขดลวดที่มีสนามแม่เหล็ก, ขจัดอำนาจแม่เหล็กให้หมดไป,
excite(เอคไซทฺ') { excited, exciting, excites } vt. กระตุ้น, ปลุกปั่น, เร้า, ใช้ไฟฟ้ากระตุ้นหรือทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก
gamma(แกม'มะ) พยัญชนะกรีกตัวที่2 (r) , ลำดับที่ 3 ของอนุกรม, หน่วยน้ำหนัก ที่เท่ากับหนึ่งไมโครกรัม, หน่วยกำลังสนามแม่เหล็กที่เท่ากับ10-5 gauss
inductance(อินดัค'เทินซฺ) n. การเหนี่ยวนำ (กระแสไฟฟ้า, สนามแม่เหล็กไฟฟ้า) , ตัวเหนี่ยวนำ, ขดลวดเหนี่ยวนำ
induction(อินดัค'เชิน) n. การเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าสลับที่มีโวลท์, การหาความจริงด้วยการสังเกตข้อเท็จจริง, การพิสูจน์, การเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
inductive(อินดัค'ทิฟว) adj. อุปนัย, เกี่ยวกับการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็ก, ชักนำมีอิทธิพลต่อ, See also: inductively adv. inductiveness n., Syn. leading, influencing
magnetic fieldสนามแม่เหล็ก
magneto(แมกนี'โท) n. เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กที่ประกอบด้วยแกนโลหะรูปกระบอกหรือ"มัดข้าวต้ม" (armature) ที่หมุนรอบอยู่ในสนามแม่เหล็ก
magnetometer(แมกนิทอม'มิเทอะ) n. เครื่องวัดความเข้มข้นของสนามแม่เหล็ก
oested(เอิร์ซ'สเทค) n. หน่วยความเข้มข้นของสนามแม่เหล็ก
pattern recognitionการรู้จำแบบหมายถึงเทคนิคในการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์รับรู้ความแตกต่างของรูปแบบต่าง ๆ โดยใช้แสงหรือสนามแม่เหล็ก แล้วถอดรหัสเป็นภาษาเครื่อง (machine language) เพื่อนำไปประมวลผลต่อไปได้
variation(แว'ริเอ'เชิน) n. การเปลี่ยนแปลง, การผันแปร, การแปรปรวน, จำนวนที่เปลี่ยนแปลง, รูปแบบที่เปลี่ยนแปลง, ความคลาดเคลื่อน, การเปลี่ยนแปลงจากวงจรเดิม, ความเปลี่ยนแปลงของวงจรโคจรของดวงดาว, การเต้นระบำเดี่ยว, การผันแปรของสนามแม่เหล็ก, การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเดิม.

Nontri Dictionary
MAGNETIC magnetic field(n) สนามแม่เหล็ก

Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
MRI(n, abbrev) (Magnetic Resonance Imaging) ระบบสร้างภาพจากการสั่นพ้องของคลื่นสนามแม่เหล็ก ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นการสร้างภาพตัดขวางทางการแพทย์
tomography(n) การสร้างภาพตัดขวางของรูปทรงโดยใช้เทคนิคต่างๆ ดังเช่น จากการสั่นพ้องของคลื่นสนามแม่เหล็ก หรือ จากรังสีเอกซ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

Longdo Approved JP-TH
磁界[じかい, jikai] (n) สนามแม่เหล็ก

Longdo Approved DE-TH
Tomografie(n) |die, pl. Tomografien| การสร้างภาพตัดขวางของรูปทรงโดยใช้เทคนิคต่างๆ ดังเช่น จากการสั่นพ้องของคลื่นสนามแม่เหล็ก หรือ จากรังสีเอกซ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
Magnetresonanztomografie(n) |die, pl. Magnetresonanztomografien| ระบบสร้างภาพตัดขวางจากการสั่นพ้องของคลื่นสนามแม่เหล็ก

Time: 0.9851 secondsLongdo Dict -- https://dict.longdo.com/