ไขเสนียด | (-สะเหฺนียด) น. นํ้าครำ. |
เสนียด ๑ | (สะเหฺนียด) น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Justicia adhatodaL. ในวงศ์ Acanthaceae ใบยาวรีออกตรงข้ามกัน ดอกสีขาวออกเป็นช่อตามยอด มีกาบหุ้ม ใบใช้ทำยาได้, กระเหนียด ก็เรียก. |
เสนียด ๒ | (สะเหฺนียด) น. เรียกหวีที่มีซี่ละเอียดทั้ง ๒ ข้าง ว่า หวีเสนียด. |
เสนียด ๓ | (สะเหฺนียด) ว. จัญไร, อัปมงคล, เช่น อย่าทำตัวเป็นเสนียดแผ่นดิน. |
กระเหนียด ๒ | (-เหฺนียด) ดู เสนียด ๑. |
กลบบัตรสุมเพลิง | (-บัดสุมเพฺลิง) น. ชื่อพิธีพราหมณ์อย่างหนึ่ง ทำแก้เสนียด. |
กาลกรรณี, กาลกิณี | (กาละกันนี, กานละกันนี, กาละกินี, กานละกินี) น. เสนียดจัญไร, ลักษณะที่เป็นอัปมงคล. |
กาลี ๑ | ว. ชั่วร้าย, เสนียดจัญไร. |
เกียรติมุข | (เกียดมุก) น. อมนุษย์บริวารพระศิวะ ทำเป็นรูปหน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์ ตากลมถลน ไม่มีคาง ปากแสยะ ไม่มีขากรรไกรล่าง ไม่มีร่างกาย ไม่มีแขนขา เชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้ารักษาธรณีประตู เป็นเครื่องป้องกันบ้านเรือน ขับไล่เสนียดจัญไร และคอยคุ้มครอง นับถือพระศิวะ มักทำเป็นลวดลายแกะสลักหรือปูนปั้น เช่นที่ทับหลังปราสาทหินบางแห่ง ตามซุ้มปรางค์หรือเจดีย์ และที่ฐานพระพุทธรูป, กาฬมุข หรือ หน้ากาฬ ก็เรียก. |
ครำ | (คฺรำ) น. เรียกน้ำเสียที่ขังอยู่ในพื้นดินที่เป็นแอ่งเช่นใต้ถุนครัว ในท่อระบายน้ำเสีย ว่า นํ้าครำ, ไขเสนียด ก็เรียก. |
จังไร | ว. เลวทราม, เป็นเสนียด, ไม่เป็นมงคล, จัญไร ก็ว่า. |
จัญไร | ว. เลวทราม, เป็นเสนียด, ไม่เป็นมงคล, จังไร ก็ว่า. |
น้ำครำ | น. นํ้าเสียที่ขังอยู่ในพื้นดินที่เป็นแอ่งเช่นใต้ถุนครัว ในท่อระบายน้ำเสีย, ไขเสนียด ก็เรียก. |
พฤฒิบาศ | น. ชื่อพราหมณ์พวกหนึ่ง มีหน้าที่ทำพิธีเกี่ยวกับช้างและปัดเสนียดจัญไร. |
ศานติโหม | น. การบูชาไฟเพื่อกำจัดเสนียดจัญไร. |
ศานติก- | (สานติกะ-) ว. ที่กำจัดเสนียดจัญไร. |
หนักแผ่นดิน | ว. ไม่รู้คุณของแผ่นดินที่อาศัย, ทรยศต่อบ้านเมืองของตน, เสนียดสังคม. |