ชักพระ | น. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็นประเพณีสำคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโวของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบกกับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้วช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกันลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วยใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย. |
ตรีทศ | น. เทวดา ๓๓ องค์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์, ในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทหมายถึง พระอินทร์และเทวดาผู้ใหญ่อีก ๓๒ องค์, ไตรทศ ก็เรียก. |
ไตรทศ | (-ทด) น. เทวดา ๓๓ องค์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์, ในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทหมายถึง พระอินทร์และเทวดาผู้ใหญ่อีก ๓๒ องค์, ตรีทศ ก็ว่า. |
เมรุ, เมรุ- | (เมน, เม-รุ-) น. ชื่อภูเขากลางจักรวาล มียอดเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งพระอินทร์อยู่ |
ศักรภพน์ | น. โลกพระอินทร์, สวรรค์ชั้นดาวดึงส์. |
สุเมรุ | (-เมน) น. เขาสิเนรุ, ชื่อภูเขาซึ่งถือว่าเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์. |
อินท์ | น. ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และชั้นจาตุมหาราช, พระอินทร์ |
อินทร-, อินทร์ | (อินทะ-, อินทฺระ-, อิน) น. ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และชั้นจาตุมหาราช |