กระดี่ ๑ | น. ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Trichogaster วงศ์ Belontiidae เช่นเดียวกับปลาสลิดแต่มีขนาดเล็กกว่า ครีบท้องยาวยื่นเป็นเส้น มี ๓ ชนิด คือ กระดี่หม้อ [ T. trichopterus (Pallas) ] ข้างตัวมีลายหลายเส้นพาดขวาง มีจุดดำที่กลางลำตัวและคอดหางแห่งละ ๑ จุด ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร, สลาก หรือ สลาง ก็เรียก, กระดี่นาง [ T. microlepis (Günther) ] สีขาวนวล และ กระดี่นางฟ้าหรือกระดี่มุก [ T. leeri (Bleeker) ] พบเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม, บางท้องถิ่นในแถบอีสานเรียก กระเดิด. |
กระดี่ได้น้ำ | น. ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการดีอกดีใจตื่นเต้นจนตัวสั่น เช่น เขาดีใจเหมือนกระดี่ได้น้ำ. |
กระดี่ ๒ | น. ชื่อกบชนิดหนึ่งสำหรับไสไม้ให้เป็นร่อง เรียกว่า กบกระดี่. |
กระดี่ ๓ | น. ชื่อหม้อดินเผาขนาดใหญ่ ปากกว้าง มีขีดเป็นรอยโดยรอบ ใช้เป็นหม้อแกง เรียกว่า หม้อกระดี่. |
กระดี่ ๔ | ก. เคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักมากซึ่งเคลื่อนย้ายยาก เช่นเสา เสาเข็ม หรืออื่น ๆ วิธีคือนำไม้หรือวัตถุอื่นที่มีความยาวและแข็งแรงพอ มาปักลงบนพื้นให้ปลายไม้ล้ำเข้าไปใต้วัตถุด้านตรงข้ามกับทิศทางที่ต้องการจะเคลื่อนย้าย แล้วงัดวัตถุนั้นให้เคลื่อนที่. |
กระดี๊กระด๊า | ก. ระริกระรี้, ตื่นเต้นแสดงความสนใจเพศตรงข้าม, เช่น พอเห็นหนุ่มหล่อ ๆ มาร่วมงาน สาว ๆ ก็กระดี๊กระด๊ากันเป็นแถว, แสดงท่าทางอย่างเห็นได้ชัดว่าดีใจหรือพอใจมาก เช่น แค่รู้ว่าผู้ชายจะมาสู่ขอลูกสาว ว่าที่แม่ยายก็กระดี๊กระด๊าจนเก็บอาการไม่อยู่, ตื่นเต้นแสดงความดีใจจนเกินงาม เช่น พอรู้ว่าหัวหน้าจะพาไปเที่ยวทะเลก็กระดี๊กระด๊ากันไปทั้งแผนก, กะดี๊กะด๊า หรือ ดี๊ด๊า ก็ว่า. |
กระดี้กระเดียม | ก. รู้สึกจักจี้. |
เกล็ดกระดี่ | ว. เรียกอาการโรคที่เกิดขึ้นที่ตาเด็ก ว่า ตาเกล็ดกระดี่. |
หม้อกระดี่ | น. หม้อแกงขนาดใหญ่ปากกว้าง ทำด้วยดิน มีขีดเป็นรอยโดยรอบ. |
กบ ๔ | น. เครื่องมือช่างไม้สำหรับไสไม้ ขูดปอกหน้าไม้เพื่อลบคลองเลื่อยให้เรียบ ให้เป็นราง หรือลอกบัว มีมากชนิดด้วยกัน เช่น กบกระดี่ กบบังใบ กบบัว |
กระเดิด ๑ | น. ปลากระดี่. (ดู กระดี่ ๑). |
กะดี๊กะด๊า | ก. กระดี๊กระด๊า, ดี๊ด๊า ก็ว่า. |
ดี๊ด๊า | ก. กระดี๊กระด๊า, กะดี๊กะด๊า ก็ว่า. |
สลาก ๒ | (สะหฺลาก) ดู กระดี่ ๑. |
สลาง | ดู กระดี่ ๑. |
สลิด ๒ | (สะหฺลิด) น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Trichogaster pectoralis Regan ในวงศ์ Belontiidae รูปร่างคล้ายปลากระดี่ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน มีเกล็ดเล็กและไม่มีจุดดำข้างตัว แต่มีลายสีคลํ้าหลายแนวพาดเฉียงตลอดข้างลำตัว และมีขนาดโต กว่าถึง ๒๐ เซนติเมตร พบตามแหล่งนํ้าตื้นและนิ่งที่มีพืชน้ำ เช่น หนอง คลอง บึง ทั่วไป ทำรังเป็นหวอดที่ผิวนํ้า นำมาเลี้ยงและทำเป็นปลาตากแห้งได้คุณภาพดี, คำสุภาพเรียกว่า ปลาใบไม้. |