กษัตริย-, กษัตริย์ | (กะสัดตฺริยะ-, กะสัด) น. พระเจ้าแผ่นดิน |
กษัตริย-, กษัตริย์ | คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมี ๔ วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. |
ฉกษัตริย์ | (ฉ้อกะสัด, ฉอกะสัด) น. กษัตริย์ ๖ พระองค์, ชื่อกัณฑ์ที่ ๑๒ ของมหาชาติ. |
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ | น. ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน. |
ทองเนื้อกษัตริย์ | น. ทองคำเนื้อแท้ไม่มีอื่นปน. |
เนื้อกษัตริย์ | น. เนื้อโลหะ เช่น ทองคำ เงิน นาก ที่บริสุทธิ์, โดยปริยายหมายถึง เนื้อแท้ของสิ่งนั้น ๆ. |
สามกษัตริย์ | น. รูปพรรณที่ในชิ้นเดียวกันมีทั้งทอง นาก และเงินสลับกัน โบราณถือว่าเป็นมงคลแก่ผู้สวม เช่น สายสร้อยสามกษัตริย์ กำไลสามกษัตริย์. |
กกุธภัณฑ์ | (กะกุดทะ-) น. สัญลักษณ์สำคัญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกรชัยพฤกษ์ ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่าเบญจราชกกุธภัณฑ์ ทั้งนี้ บางสมัยใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์แตกต่างกัน เช่น ใช้ฉัตรแทนพระมหาพิชัยมงกุฎ.(ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า
ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี). |
กมเลศ | พระนารายณ์ เช่น ดุจองค์สมเด็จกมเลศอันลีลาศ ลงจากชั้นสุทธาวาสบวรวิมาน (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์). |
กรรภิรมย์ | (กัน-) น. ฉัตร ๕ ชั้นและ ๗ ชั้น สำรับหนึ่งมี ๓ องค์ คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ ทำด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นเขียนทอง เป็นเครื่องสูงอันเป็นสิริมงคลยิ่งสำหรับพระมหากษัตริย์ ใช้กางเชิญนำพระราชยานเวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราใหญ่ และใช้เข้าพิธีคชกรรมนำช้างสำคัญขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี. |
กรรเหิม | (กัน-) ก. เหิม เช่น กรรเหิมหายหว่นนหว่า (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กระเกรี้ยว | ว. เสียงขบฟันเกรี้ยว ๆ เช่น คุกคามขบฟันกระเกรี้ยว (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กระษัตริย์ | (-สัด) น. กษัตริย์. |
กริน | (กะ-) น. ช้าง, ช้างพลาย, เช่น กรินไกรอาสนอัศวาชี (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กรุง | กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ (ม. คำหลวง ทศพร). |
กรุณา | ใช้ร่วมกับคำ พระ เป็นสรรพนามสำหรับพระมหากษัตริย์ เช่น กราบบังคมทูลพระกรุณา. |
กฤษฎา ๒ | (กฺริดสะ-) กร่อนมาจาก กฤษฎาภินิหาร เช่น เชิญชมชื่นกฤษฎา (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กฤษฎาญ | (กฺริดสะดาน) กร่อนมาจาก กฤษฎาญชลี เช่น ถวายอภิวันทกฤษฎาญกฤษฎาการกราบเกล้า (ม. คำหลวง มัทรี; ฉกษัตริย์). |
กษัตรา | (กะสัดตฺรา) น. กษัตริย์ เช่น มีองค์อิสราธิปตัย ทรงนามภูวไนย คือพรหมทัตกษัตรา (กฤษณา). |
กษัตราธิราช | น. พระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ทั้งหลาย. |
กษัตริยชาติ | (-ชาด) น. ชาติกษัตริย์ เช่น รู้แน่ว่าเป็นกษัตริยชาติ (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). |
กษัตริยาธิราช | (กะสัดตฺริยาทิราด) น. พระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ทั้งหลาย. |
กษัตรี | (กะสัดตฺรี) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์) |
กษัตรีย์ | (กะสัดตฺรี) น. กษัตริย์ เช่น พินทุทัตกษัตรีย์ (สมุทรโฆษ) |
กษัตรีศูร | (กะสัดตฺรีสูน) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ เช่น เจ้าไตรภพโลกเมาลีเป็นกษัตรีศูร (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
กษีณาศรพ | (กะสีนาสบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษิณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กัมปี | ก. ไหว เช่น อันว่ามหาปรัตพีผืนผไทแท่น แผ่นผเทศมณฑล สกลกัมปี ดุจครวีไหวหว่นนป่นนไปมาเมื่อน้นน (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กัลพุม | (กันพุม) น. กรรพุม, มือที่ประนม, เช่น ถวายกรกัลพุมบันสารโกสุม ศิโรจม์ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์) |
กำนัล ๒ | น. หญิงชาววัง มีหน้าที่รับใช้พระมหากษัตริย์ เรียกว่า นางกำนัล. |
เกศินี | น. นางผู้มีผมงาม เช่น โฉมแก้วเกศินีนาฏ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
โกรม | (โกฺรม) ว. ใต้, ตํ่า, ล่าง, ใต้ฟ้า เช่น อนนสองดไนยหน่อเหน้าเหง้ากรุงโกรมกษัตริย (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
ของหลวง | น. ของของสถาบันพระมหากษัตริย์, ของที่เป็นของแผ่นดินหรือรัฐ. |
ขะข่ำ | ว. คลํ้า, มืดมัว, เขียนเป็น ขข่ำ ก็มี เช่น ฟ้าแมลบมล่นนร้อง ท้องฟ้าเขียวขขํ่า ยงงฝนพพร่ำพรอยพรำ อื้ออึงอัมพรระงม ด้วยกำลงงลมพายุพัดน้นน (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
ขัตติยมานะ | น. การถือตัวว่าเป็นกษัตริย์หรือเชื้อสายกษัตริย์. |
ขันหมาก ๒ | น. เรียกพานใส่หมากพลูซึ่งเป็นเครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์ ว่า พานพระขันหมาก. (ดู พานพระขันหมาก). |
ขับซอ | ก. ร้องเพลงโดยมีดนตรีประกอบ เช่น ขับซอยอยศอ้าง ฦๅลูกกษัตริย์เจ้าช้าง ชื่นแท้ใครเทียมเทียบนา (ลอ). |
ข้าหลวง ๑ | น. คนที่ถวายตัวเป็นข้าของพระมหากษัตริย์หรือเจ้านาย, คนรับใช้ของพระมหากษัตริย์หรือเจ้านาย ปัจจุบันมีเฉพาะผู้หญิง เรียกว่า คุณข้าหลวง. |
ข้าพระพุทธเจ้า | (ข้าพฺระพุดทะเจ้า) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ หรือกราบบังคมทูล กราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
เขดา | (ขะเดา) น. กำเดา, ความร้อน, เช่น ชลเขดาเดือดดาลพอง (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
คณะรัฐมนตรี | น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน. |
คณะองคมนตรี | น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัยจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนด มีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราช-กรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ. |
คานหาม | น. ที่นั่งที่มีคานสำหรับหาม, ถ้าใช้สำหรับเจ้านาย เรียกว่า แคร่คานหาม, เรียกสั้น ๆ ว่า แคร่ ก็มี, ถ้าใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระราชยานคานหาม. |
เครื่องต้น | น. เครื่องทรงสำหรับพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธี เช่น พระราชพิธีบรม-ราชาภิเษก, เรียกเต็มว่า ฉลองพระองค์เครื่องต้น, เครื่องทรงสำหรับพระพุทธรูป ซึ่งมีลักษณะอย่างเครื่องทรงพระเจ้าจักรพรรดิ เช่น พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ วัดหน้าพระเมรุราชิการาม |
เครื่องต้น | ของใช้ของเสวยสำหรับพระมหากษัตริย์. |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ | น. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด. |
เงินจันทรภิม | น. เงินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่โหรผู้ทำนายจันทรุปราคาได้ถูกต้อง เช่น เมื่อจันทรุปราคได้เงีนจันทรภิม (สามดวง). |
จตุบริษัท | น. บริษัท ๔ เหล่า, ถ้าเป็นพุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา, ถ้าเป็นราชบริษัทหรือประชุมชนทั่วไป ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ. |
จตุลังคบาท | (-ลังคะบาด) น. พลประจำ ๔ เท้าช้าง, สำหรับช้างทรงของพระมหากษัตริย์หรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม มีเจ้ากรมพระตำรวจหลวงหรือข้าราชการ เช่น พระมหามนตรี พระมหาเทพ หลวงอินทรเทพ หลวงพิเรนทรเทพ ประจำ ๔ เท้าช้าง เช่น จตุลังคบาทสี่ตน ล้วนขุนพลสามรรถ (ตะเลงพ่าย), จัตุลังคบาท หรือ แวงจตุลังคบาท ก็ว่า. |
จันทรภิม | น. เรียกเงินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่โหรผู้ทำนายจันทรุปราคาได้ถูกต้อง ว่า เงินจันทรภิม เช่น เมื่อจันทรุปราคได้เงีนจันทรภิม (สามดวง). |
จันทรวงศ์ | น. วงศ์แห่งกษัตริย์เนื่องมาจากพระจันทร์, คู่กับ สุริยวงศ์. |
พระโกศ | ที่ใส่พระบรมศพ และพระศพเจ้านาย ของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศ์ กับโกศที่พระราชทานสำหรับศพข้าราชการผู้มีบรรดาศักดิ์สูง ตามคตินิยมของพราหมณ์ที่เชื่อว่า ต้องตั้งพระศพในท่ายืน, นั่ง, คุกเข่า หรือกอดเข่าประสานมือ เพื่อส่งพระศพและพระวิญญาณเสด็จกลับสู่สรวงสวรรค์ พระโกศสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งานได้ ๒ ประเภท ๑. พระโกศสำหรับทรงพระบรมศพหรือพระศพ ๒. พระโกศพระบรมอัฐิหรือพระอัฐิ, Example: <p><img src="http://stks.or.th/thaiglossary/sites/default/files/re-IM-2009-01.JPG" alt="พระโกศ"> <p>ที่ใส่พระบรมศพ และพระศพเจ้านาย ของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศ์ [ศัพท์พระราชพิธี] |
ราชรถ | ยานพาหนะชนิดล้อเลื่อน มีบุษบกเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ ในปัจจุบันมีอยู่ ๒ คันคือ พระมหาพิชัยราชรถ กับ เวชยันตราชรถ ใช้ประดิษฐานพระบรมโกศและพระโกศ [ศัพท์พระราชพิธี] |
นพปฎลมหาเศวตฉัตร | ฉัตร ๙ ชั้น เป็นฉัตรชั้นสูงสุดสำหรับพระมหากษัตริย์ ทำด้วยผ้าขาวขลิบทอง ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว [ศัพท์พระราชพิธี] |
พระมหาเศวตฉัตร | ฉัตร ๙ ชั้น เป็นฉัตรชั้นสูงสุดสำหรับพระมหากษัตริย์ ทำด้วยผ้าขาวขลิบทอง ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว [ศัพท์พระราชพิธี] |
พระสัปตปฎลเศวตฉัตร | ฉัตร ๗ ชั้น คือฉัตรขาวมีลักษณะเหมือนพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรทุกประการเพียงแต่ลดจำนวนชั้นลงเหลือ ๗ ชั้น พระสัปตปฎลเศวตฉัตรเป็นฉัตรประกอบพระอิสริยยศสำหรับพระมหากษัตริย์ที่ยังไม่ผ่านการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก, Example: <p><img src="http://stks.or.th/thaiglossary/sites/default/files/re-IM-2009-02.JPG" alt="พระสัปตปฎลเศวตฉัตร์"> <p>ฉัตร ๗ ชั้น คือฉัตรขาวมีลักษณะเหมือนพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรทุกประการเพียงแต่ลดจำนวนชั้นลงเหลือ ๗ ชั้น [ศัพท์พระราชพิธี] |
ราชองครักษ์ | นายทหารชั้นสัญญาบัตรรักษาพระองค์พระมหากษัตริย์ เป็นต้น มี ๓ พวก คือ ราชองครักษ์ประจำ ราชองครักษ์เวร ราชองครักษ์พิเศษ [ศัพท์พระราชพิธี] |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ | สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบําเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้สร้างขึ้นสําหรับพระราชทานเป็น บำเหน็จความชอบในราชการหรือส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึงเครื่องราช-อิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำ ความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด [ศัพท์พระราชพิธี] |
บุษบก | ที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธี หรือประดิษฐานปูชนียวัตถุเช่นพระพุทธรูป เป็นต้น มณฑปขนาดเล็กแต่ด้านข้างโปร่ง [ศัพท์พระราชพิธี] |
พระเกศา | ผม (พระมหากษัตริย์) [ศัพท์พระราชพิธี] |
Arthur, King | อาร์เธอร์, กษัตริย์ [TU Subject Heading] |
Arthurian romances | นิยายรักในรัชสมัยกษัตริย์อาร์เธอร์ [TU Subject Heading] |
Crown lands | ที่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ [TU Subject Heading] |
Ibn Sa'ud, King of SaudiArabia, 1880-1953 | อิบนุ สะอู๊ด, กษัตริย์แห่งซาอุดีอาระเบีย, ค.ศ. 1880-1953 [TU Subject Heading] |
Kings and rulers | กษัตริย์และผู้ครองนคร [TU Subject Heading] |
Kings and rulers in literature | กษัตริย์และผู้ครองนครในวรรณกรรม [TU Subject Heading] |
Kings and rulers in motion pictures | กษัตริย์และผู้ครองนครในภาพยนตร์ [TU Subject Heading] |
Kings' and rulers' writings | งานเขียนของกษัตริย์และผู้ครองนคร [TU Subject Heading] |
Kings' and rulers' writings, Thai | งานเขียนของกษัตริย์และผู้ครองนครไทย [TU Subject Heading] |
Mothers of kings and rulers | มารดาของกษัตริย์และผู้ครองนคร [TU Subject Heading] |
Prerogative, Royal | พระราชอำนาจกษัตริย์ [TU Subject Heading] |
Valley of the Kings (Egypt) | หุบเขากษัตริย์ (อียิปต์) [TU Subject Heading] |
audience | การเข้าเฝ้าฯ " ใช้สำหรับการเข้าเฝ้าฯ พระมหากษัตริย์ พระราชินี หรือพระราชวงศ์ ชั้นสูง " [การทูต] |
Congress of Vienna | เป็นการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญในยุโรป ได้จัดให้มีขึ้นหลังจากเสร็จสงครามนโปเลียน (กันยายน ค.ศ. 1814 ? มิถุนายน ค.ศ. 1815) ประเทศที่ร่วมการประชุมมี ออสเตรีย อังกฤษ ฝรั่งเศส รัฐสันตะปาปา ปรัสเซีย และรัสเซีย ภาระหน้าที่สำคัญของการประชุม คือ การปักปันเขตแดนกันใหม่ และจัดให้ราชวงศ์เก่าแก่กลับฟื้นคืนมาใหม่ ทั้งในประเทศฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และเยอรมนี สหภาพแห่งนอร์เวย์ และสวีเดน สหภาพแห่งเบลเยี่ยม และฮอลแลนด์ พร้อมทั้งกำหนดให้สวิตเซอร์แลนด์ มีฐานะเป็นประเทศเป็นกลางถ้ามองในแง่การทูต ผลสำเร็จสำคัญที่สุดจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาคือ ข้อมติกำหนดลำดับอาวุโสของคณะผู้แทนทางการทูต โดยถือหลักอาวุโสไม่ว่าในตำแหน่งใด แทนที่จะถือตามสถานภาพและความสำคัญของกษัตริย์อย่างแต่ก่อน รวมทั้งจัดประเภทของนักการทูต ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท (ตามระเบียบที่วางขึ้นใหม่ต่อมาในการประชุม ณ Aix-la-Chapelle ได้แก่1) เอกอัครราชทูต (Ambassadors) ตัวแทนขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal legates) และหัวหน้าคณะทูตของสมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncios)2) ผู้แทนทางการทูตผู้มีอำนาจพิเศษ (Envoys Extra-ordinary) และเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม (Ministers Plenipotentiary) อินเตอร์นันสิโอของสมเด็จพระสันตะปาปา3) อัครราชทูตผู้มีถิ่นประจำ (Ministers Resident)4) อุปทูต (Chargé d?affaires)คองเกรสแห่งเวียนนายังวางระเบียบเกี่ยวกับเรื่องการจัดลำดับ อาวุโสของบุคคลในคณะทูต ซึ่งชาติต่าง ๆ ได้ลงนามรับรองในสนธิสัญญาพาหุภาคีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว [การทูต] |
Heads of State | ผู้แทนที่สำคัญที่สุดของรัฐ หรือประมุขของรัฐ ในบางกรณีอาจทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐ ในการเจริญความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ โดยมีอำนาจเต็มที่จะประกอบการใด ๆ ได้ ประมุขของรัฐนั้นอาจได้แก่ พระจักรพรรดิ (Emperor) พระเจ้าแผ่นดิน (King) พระราชินี (Queen) และประธานาธิบดี (President)ประมุขของรัฐย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเคารพ และการยอมรับนับถือจากประเทศอื่นๆ ในสังคมนานาประเทศ ในแง่พิธีการทูต ผู้ที่เป็นกษัตริย์อาจได้รับเกียรติแตกต่างกับผู้ที่เป็นประธานาธิบดี แต่ความแตกต่างเช่นนี้หามีความสำคัญในแง่กฎหมายอย่างใดไม่ เมื่อประมุขของรัฐเดินทางไปเยือนต่างประเทศ ตัวประมุขพร้อมด้วยบุคคลในครอบครัวและบริวารทั้งหลาย ตลอดจนถึงทรัพย์สินของประมุขจะไดรับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งในทางแพ่งและอาญาคำว่าประมุขของรัฐอาจหมายถึงหัวหน้าของรัฐบาลก็ได้ เช่น ในกรณีสหรัฐอเมริกา แต่ในบางประเทศ เช่น อังกฤษ ประมุขของรัฐมิได้เป็นหัวหน้าของรัฐบาล ผู้ที่เป็นหัวหน้าของรัฐบาลได้แก่ นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) ในประเทศที่มีการปกครองในรูปสาธารณรัฐ (Republic) ถือว่าอำนาจอธิปไตยตกอยู่กับประชาชน แม้แต่ตัวประธานาธิบดีของประเทศก็ไม่มีอำนาจอธิปไตย หากแต่เป็นประชาชนพลเมืองคนหนึ่ง ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้เข้าไปบริหารประเทศตามกำหนดระยะเวลาหนึ่งภายใต้ รัฐธรรมนูญ และตัวประธานาธิบดี เช่น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ก็อาจถูกฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งโดยรัฐสภา หรือสภานิติบัญญัติได้ เรียกว่า Impeachment [การทูต] |
National Holiday | วันชาติ คือสถานเอกอัครราชทูตทีมีอยู่ทั่วโลก จะนิยมฉลองวันชาติของประเทศของตน ส่วนมากจะถือเอาวันครบรอบปีแห่งการประกาศเอกราช หรือวันครบรอบปีของเหตุการณ์ที่ทรงความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของ ประเทศตนเป็นวันชาติ ส่วนในประเทศที่มีระบอบกษัตริย์ ก็จะยึดเอาวันพระราชสมภพชองกษัตริย์หรือราชินีเป็นวันชาติของประเทศ ในวันชาติ สถานเอกอัครราชทูตจะมีธรรมเนียมจัดงานเลี้ยงรับรอง (Reception) ขึ้นในสถานเอกอัครราชทูตของตนหรือหากเป็นการไม่สะดวกที่จัดงานดังกล่าวขึ้น ในสถานทูต ก็มักไปจัดกัน ณ โรงแรมที่เหมาะสม ในงานเลี้ยงรับรองนี้จะเชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงการต่างประทเศ หัวหน้าคณะทูตข้าราชการในสถานเอกอัครราชทูตอื่น ๆ นักหนังสือพิมพ์ เจ้าหน้าที่สื่อมวลชน บุคคลชั้นนำด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม บรรดาคนชาติเดียวกับเอกอัครราชทูตที่กำลังอาศัยอยู่ในประเทศนั้น ตลอดจนบุคคลสำคัญในสังคม รวมทั้งมิตรสหายของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่สมควรเชิญ [การทูต] |
Termination of Mission of Diplomatic Agent | ภารกิจของผู้แทนทางการทูตหรือหัวหน้าคณะทูตจะสิ้น สุดลง 1. ระยะเวลาที่ผู้แทนทางการทูตได้รับแต่งตั้งให้ประจำอยู่ในประเทศผู้รับได้ครบ กำหนดตามวาระ2. เมื่อวัตถุประสงค์ของภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติได้สัมฤทธิผลเรียบ ร้อยแล้ว3. ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากต้องโยกย้ายไปที่อื่น หรือลาออก หรือเนื่องจากครบเกษียณอายุ4. ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของรัฐบาลของตน หรือกระทำตามคำขอร้องของรัฐบาลของประเทศผู้รับ ซึ่งเขาได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงานอยู่5. เนื่องจากการเสด็จสวรรคตของพระมหากษัตริย์ของประเทศตน หรือประเทศที่ตนได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงาน6. หากตัวเขาเองได้กระทำการอันเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศบางอย่าง หรือเนื่องจากเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่คาดไม่ถึง และมีลักษณะร้ายแรงจริง ๆ ตัวเขาเองจะต้องรับผิดชอบในการตัดความสัมพันธ์7. เมื่อรัฐบาลผู้รับ ซึ่งตัวเขาได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงานอยู่นั้น แล้วจะด้วยเหตุผลอย่างใดก็ตาม ได้แจ้งให้เขาเดินทางออกไปจากประเทศในทันที โดยไม่ต้องระให้รัฐบาลของตนเรียกตัวกลับ8. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งของผู้แทนทางการทูต ดังเช่น ได้รับเลื่อนตำแหน่งจากอัครราชทูตขึ้นเป็นเอกอัครราชทูต9. เนื่องจากเกิดสงครามขึ้นระหว่างรัฐทั้งสอง10. เนื่องจากถูกถอดจากตำแหน่ง หรือสละราชบัลลังก์ของประมุขของประเทศใดประเทศหนึ่ง 11. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในประเทศใดประเทศหนึ่ง จากระบบพระมหากษัตริย์เป็นระบบสาธารณรัฐ หรือเป็นระบบสาธารณรัฐอันมีประมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมาย12. เนื่องจากรัฐใดรัฐหนึ่งของทั้งสองรัฐต้องสูญสภาวะในการเป็นรัฐเหตุผลข้างต้น ทั้งหมดนี้ เป็นทรรศนะของเซอร์เออร์เนสท์ ซาทาว ซึ่งได้ให้ไว้ในหนังสือของท่าน ชื่อว่า ?A Guide to Diplomatic Practice? ฉบับเรียบเรียงใหม่ครั้งที่ 4 โดยเซอร์เนวิลล์ แบลนด์ [การทูต] |
Termination of Consular Office | การยุติลงของการหน้าที่ทางการกงสุล กล่าวคือ หน้าที่ของหัวหน้าคณะในสถานที่ทำการทางกงสุลจะยุติลงเนื่องจาก 1. วายชนม์2. รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับ3. รัฐผู้รับเพิกถอนอนุมัติบัตร (Exequatur)4. การหน้าที่ของผู้นั้นได้ถึงกำหนดครบวาระหรือยุติลง5. เกิดสงครามระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับไม่เหมือนกับกรณีคณะผู้แทนทางการทูต สถานที่ทำการทางกงสุลนั้น ภาระหน้าที่จะไม่ยุติลงเนื่องจากมีการเปลี่ยนกษัตริย์หรือประธานาธิบดีของ รัฐผู้ส่งหรือรัฐผู้รับ ข้อ 25 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาบัญญัติไว้ว่า ?การหน้าที่ของบุคคลในสถานที่ทำการกงสุลจะยุติลงก) เมื่อรัฐผู้ส่งได้บอกกล่าวไปยังรัฐผู้รับว่า การหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวได้ยุติลงแล้วข) เมื่อมีการเพิกถอนอนุมัติบัตรค) เมื่อรัฐผู้รับได้บอกกล่าวไปยังรัฐผู้ส่งว่า รัฐผู้รับได้เลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล [การทูต] |
visit | การเยือน " - State Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในระดับประมุขของรัฐ หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญของต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ ที่มีสถานะเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดี โดยเป็นการเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐผู้รับ รัฐผู้รับจะจัดพิธีการต้อนรับอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Official Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของ รัฐบาล หมายถึง การเยือนเป็นทางการของประมุขของรัฐ มกุฎราชกุมาร หัวหน้ารัฐบาล หรือหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่ง เทียบเท่า โดยเป็นแขกรับเชิญของรัฐบาล และจัดพิธีการรับรองต่าง ๆ อย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Visit as Guest of the Royal Thai Government การเยือนในฐานะแขกของรัฐบาล หมายถึง การเยือนของประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้า องค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าซึ่งไม่ได้เดินทางมาเยือนอย่าง เป็นทางการหรือเพื่อเจรจาทำงาน รวมทั้งการเสด็จฯ เยือนของพระราชวงศ์ รองประธานาธิบดีและบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งเทียบเท่า ซึ่งรัฐบาลไทยปรารถนาที่จะแสดงไมตรีจิตโดยเชิญให้มาเยือนประเทศไทยในฐานะแขก ของรัฐบาล และจัดการต้อนรับให้ เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเยือนในแต่ละกรณี - Working Visit การเยือนเพื่อเจรจาทำงาน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล และหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เจรจาในปัญหาหรือประเด็นใดเป็นการเฉพาะในระยะเวลาอันสั้น - Visit as Guest of Their Majesties the King and Queen of Thailand การเยือนในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ หมายถึง การเสด็จเยือนของพระราชวงศ์ต่างประเทศ หรือการเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ ในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วน พระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ - Private Visit การเยือนส่วนตัวหรือแวะผ่าน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ พระราชวงศ์ หัวหน้ารัฐบาล หรือผู้นำองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่า และบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเยือนเป็นการส่วนตัวหรือการแวะผ่านประเทศในระยะเวลา อันสั้น รัฐผู้รับจะจัดการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้ตามความเหมาะสม " [การทูต] |
Wives of Diplomats | ภรรยาของนักการทูต ในประเทศที่มีกษัตริย์ และเอกอัครราชทูตจัดถวายพระราชสาส์นตราตั้งต่อกษัตริย์หรือราชินีในฐานะ ประมุขของรัฐนั้น มักจะให้ภรรยาเข้าเฝ้าด้วยต่างหาก แต่การเข้าเฝ้านั้นจะมีพิธีรีตองน้อยกว่าของเอกอัครราชทูตในอดีตกาล ภรรยาของเอกอัครราชทูตมักจะไม่ได้รับการพิจารณารับรองและยกย่องเหมือนกับที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาทิเช่น ที่กรุงเวนิส ตามกฎหมายปี ค.ศ. 1268 ไม่อนุญาตให้ภรรยาของเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย ไม่ว่าจะไปประจำแห่งไหน เพราะเกรงว่าภรรยาอาจจะปากโป้งเกี่ยวกับการงานของสามี แต่กฎหมายได้กำหนดให้เอกอัครราชทูตนำพ่อครัวของตนเองติดตามไปด้วย เพื่อกันมิให้เอกอัครราชทูตต้องถูกวางยาพิษในอาหารที่รับประทานกล่าวโดยทั่ว ไปแล้ว ทุกวันนี้ภรรยาของเอกอัครราชทูตได้อุปโภคเอกสิทธิ เกียรติ ลำดับอาวุโส และความคุ้มกันต่าง ๆ เหมือนกับสามี ถึงแม้ในบางกรณีเอกอัครราชทูตกับภรรยาอาจแยกกันอยู่ก็ตาม ภรรยาของเอกอัครราชทูตที่เพิ่งยื่นสารตราตั้ง มักจะหาโอกาสไปเยี่ยมคารวะภรรยาของเอกอัครราชทูตอื่น ๆ ด้วย แม้ว่าในทุกวันนี้ธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวอาจจะไม่เคร่งครัดเหมือนกับสมัย ก่อน อนึ่ง ในบางประเทศได้มีระเบียบข้อบังคับ ห้ามมิให้ผู้แทนทางการทูตและทางการกงสุลที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ แต่งงานกับคนต่างชาติโดยมิได้รับอนุมัติจากรัฐบาลของตนก่อน [การทูต] |
attend on | (phrv) ถวายการดูแล (คนสำคัญเช่น กษัตริย์), See also: คอยรับใช้, Syn. attend upon |
attend upon | (phrv) ถวายการดูแล (คนสำคัญเช่น กษัตริย์), See also: รับใช้, Syn. attend on |
Bureau of the Crown Property | (n) สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ |
crown | (n) กษัตริย์, See also: ผู้ปกครอง |
crown prince | (n) ทายาทของกษัตริย์ที่เป็นผู้ชาย |
crown princess | (n) ทายาทของกษัตริย์ที่เป็นผู้หญิง |
dynast | (n) ผู้ปกครอง, See also: กษัตริย์ |
Elizabeth I | (n) สมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษช่วงปี ค.ศ.1558-1603, See also: พระธิดาของกษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 และแอนน์โบลีน, สมเด็จพระราชินีนาถของอังกฤษและไอร์แลนด์ใน |
Elizabeth II | (n) สมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ.1952ถึงปัจจุบัน, See also: พระธิดาของกษัตริย์จอร์จที่ 6 เป็นสมเด็จพระราชินีนาถของสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี ค.ศ.1926 |
emperor | (n) จักรพรรดิ์, See also: กษัตริย์, ฮ่องเต้, ผู้ครองจักรวรรดิ์, Syn. dictator, king, ruler |
enthrone | (vt) ให้ (กษัตริย์, สังฆนายก) ขึ้นนั่งบนบัลลังก์ (คำทางการ), Syn. crown |
equerry | (n) ราชองครักษ์, See also: ทหารองครักษ์, ข้าราชบริพารของกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในราชสำนักอังกฤษ |
grand duke | (n) ผู้ปกครองเมืองรองจากพระมหากษัตริย์ |
His Majesty | (n) พระองค์ (พระราชา, กษัตริย์) |
Jezebel | (n) ชายาของกษัตริย์ Ahab กษัตริย์องค์หนึ่งของยิว |
king | (n) กษัตริย์, See also: พระเจ้าแผ่นดิน, พระมหากษัตริย์, พระราชา |
kingly | (adj) ที่เกี่ยวกับกษัตริย์, See also: ของกษัตริย์, Syn. royal, magnificent |
kingship | (n) การปกครองโดยกษัตริย์, See also: ราชาธิปไตย |
Macbeth | (n) แม็กเบท เป็นกษัตริย์ของสก็อตแลนด์ |
Midas | (n) กษัตริย์ในนิยายกรีก |
monarch | (n) พระมหากษัตริย์, See also: กษัตริย์, พระราชา, เจ้าแผ่นดิน, Syn. king, queen, emperor |
monarchic | (adj) เกี่ยวกับกษัตริย์ |
monarchical | (adj) เกี่ยวกับกษัตริย์ |
monarchist | (n) ผู้เชื่อในระบอบการปกครองแบบกษัตริย์ |
monarchy | (n) การปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข, See also: ราชาธิปไตย, ระบอบกษัตริย์, Syn. kingship, sovereignty |
monarchy | (n) ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข |
Myrmidon | (n) กษัตริย์ในเทพนิยายกรีก |
Nero | (n) กษัตริย์นีโรของกรุงโรม |
palatine | (adj) ซึ่งมีอำนาจหรือสิทธิเท่ากับกษัตริย์ |
Pharaoh | (n) คำเรียกกษัตริย์อียิปต์โบราณ, See also: ฟาโรห์, กษัตริย์ฟาโรห์ |
potentate | (n) ผู้มีอำนาจมาก, See also: กษัตริย์, ผู้ปกครอง, Syn. monarch, sovereign |
princely | (adv) แบบเจ้าชาย, See also: อย่างกษัตริย์, Syn. august, sovereign |
pyramid | (n) พีระมิด, See also: ที่ฝังพระศพของกษัตริย์ในประเทศอียิปต์ |
queen mother | (n) ราชินีม่ายของกษัตริย์องค์ก่อน |
raja | (n) กษัตริย์หรือผู้ปกครองของอินเดีย มลายู ชวาและบอร์เนียว, See also: ราชา, Syn. king, rajah |
rajah | (n) กษัตริย์หรือผู้ปกครองของอินเดีย มลายู ชวาและบอร์เนียว, See also: ราชา, Syn. king, raja |
regal | (adj) เกี่ยวกับกษัตริย์หรือราชินี, See also: ของกษัตริย์หรือราชินี, แห่งกษัตริย์หรือราชินี, Syn. noble, kingly or queenly, royal |
regality | (n) ราชวงศ์, See also: ตำแหน่งกษัตริย์ |
regicide | (n) การปลงพระชนม์ (กษัตริย์), Syn. parricide, tyrannicide |
regicide | (n) ผู้ปลงพระชนม์ (กษัตริย์) |
regnal | (adj) เกี่ยวกับการครองราชย์ของกษัตริย์ (คำทางการ) |
royal | (adj) เกี่ยวกับราชวงศ์, See also: เกี่ยวกับกษัตริย์, เกี่ยวกับราชสำนัก, Syn. majestic, kingly, queenly |
royalist | (n) ผู้สนับสนุนการมีกษัตริย์ |
royalty | (n) อำนาจของกษัตริย์ |
royalty | (n) ลักษณะของกษัตริย์, Syn. kingliness, queenliness |
royalty | (n) สัมปทานจากกษัตริย์ |
scepter | (n) คทา, See also: คทาของกษัตริย์ เป็นสัญลักษณ์แห่งพระราชอำนาจ, Syn. cane, pole, sceptre, stick, wand |
sceptre | (n) คทา, See also: คทาของกษัตริย์ เป็นสัญลักษณ์แห่งพระราชอำนาจ, Syn. cane, pole, scepter, stick, wand |
seigneurial | (adj) เกี่ยวกับที่ดินศักดินาในแคนาดาที่ได้รับจากกษัตริย์ฝรั่งเศส |
seigneury | (n) ที่ดินศักดินาในแคนาดาที่ได้รับจากกษัตริย์ฝรั่งเศส, See also: ตำแหน่งขุนนางศักดินาสมัยกลาง |
aegeus | (อี' เจียส) n. ชื่อกษัตริย์ในกรุงเอเธนส์เป็นบิดาของ Theseus |
agamemnon | (แอกกะเมม' นอน) n. ชื่อกษัตริย์กรีกที่นำทัพในสงคราม Trojan |
appanage | (แอพ'พะเนจ) n. ที่ดินหรือรายได้รับตามระบบศักดินาแก่สมาชิกราชวงศ์กษัตริย์, ทรัพย์สินที่ครอบครองตามกฎหมาย |
autocracy | (ออทอค'คระซี) n. อัตตาธิปไตย, เอกาธิปไตย, ผู้มีอำนาจเด็ดขาด, การปกครองโดยผู้มีอำนาจเด็ดขาด, ราชาธิปไตยแบบกษัตริย์ที่มีอำนาจเด็ดขาด, ระบบเผด็จการ. autocratic (al) adj. |
basilic | (บะซิล'ลิค) adj. เกี่ยวกับกษัตริย์, Syn. kingly |
constitutional monarchy | n. การปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ, See also: constitutional monarch กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ |
crown | (เคราน์) n. มงกุฎ, มาลัย, มาลัยสวมศีรษะ, เครื่องประดับสำหรับศีรษะ, เกียรติยศจากผลงานที่ดีเด่น, -Phr. (the Crown ผู้มีอำนาจสูงสุด) , รัฐาธิปัตย์, เหรียญเงินตราที่มีรูปมงกุฎ, กษัตริย์, เหรียญเงินของอังกฤษสมัยก่อนที่เท่ากับ 5 ชิลลิงส์, ส่วนที่โผล่ขึ้นมา, สิ่งประดับบนยอด |
crown princess | n. ชายาของมงกุฏราชกุมาร, ทายาทที่เป็นหญิงของกษัตริย์, มงกุฎราชกุมาร |
czar | (ซาร์) n. กษัตริย์, จักรพรรดิ, จักรพรรดิรัสเซีย |
dynast | (ได'เนิสทฺ) n. ผู้ปกครอง (โดยเฉพาะที่มีการสืบทายาท) , กษัตริย์, Syn. ruler |
geld | (เจลดฺ) vt. ตอน (สัตว์) , ตัวอวัยวะสืบพันธุ์ออก, ภาษีที่ดินที่จ่ายกับกษัตริย์., See also: gelder n. |
gentleman-at-arms | n. ตำรวจหลวง, องครักษ์กษัตริย์อังกฤษ |
hammurabi | (ฮามูรา'บี) n. ชื่อกษัตริย์องค์หนึ่งของบาบิโลเนีย เป็นผู้ตราประมวลกฎหมายฉบับแรกของโลก |
hammurapi | (ฮามูรา'บี) n. ชื่อกษัตริย์องค์หนึ่งของบาบิโลเนีย เป็นผู้ตราประมวลกฎหมายฉบับแรกของโลก |
king | (คิง) n. กษัตริย์, ประมุข, ผู้นำ, เผ่า, ราชา, หมากรุกที่เดินข้ามกระดานจนได้เป็นเจ้า. vt. ทำให้เป็นกษัตริย์ vi. ปกครองเป็นกษัตริย์., See also: kinghood ดูking, Syn. ruler, sovereign |
kingly | (คิง'ลี) adj. ราช, เกี่ยวกับกษัตริย์ adv. อย่างกษัตริย์., See also: kingliness n. ดูkingly, Syn. noble |
kingship | (คิง'ชิพ) n. ความเป็นกษัตริย์, การปกครองโดยกษัตริย์. -Kingship พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, Syn. monarchy |
liege | (ลีจ) n. เจ้า, ผู้ครอบครองที่ดินโดยได้สิทธิจากกษัตริย์ (ในสมัยศักดินา) , ขุนนางผู้ใหญ่. adj. มีหน้าที่จงรักภักดีต่อกษัตริย์, เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ครอบครองที่ดินกับกษัตริย์ |
limited monarchy | n. การปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ, See also: constitutional monarch กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ |
monarch | (มอน'เนิร์ค) n. กษัตริย์, พระราชา, พระมหากษัตริย์, พระราชินี, ประมุขของรัฐ |
monarchy | (มอน'เนิร์คคี) n. ระบอบกษัตริย์, ราชาธิปไตย |
prince | (พรินซฺ) n. เจ้าชาย, พระราชนัดดา, กษัตริย์, เจ้าผู้ครองนคร, ผู้ดีเด่น, See also: princeship, n. |
prince consort | พระสวามีของกษัตริย์หญิง |
prince regent | n. ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนกษัตริย์ |
prince royal | n. โอรสองค์โตสุดของกษัตริย์ |
princess | (พริน'ซิส, -เซส) n. เจ้าหญิง, ชายาของเจ้าชาย, กษัตริย์ที่เป็นหญิง, หญิงที่มีชื่อเสียง, See also: princessly adj. |
queen | (ควีน) n. ราชินี, มเหสีของกษัตริย์, กษัตรี, เทพธิดา, เทพี, นางงาม, สิ่งที่เลิศที่สุด, ไพ่ควีน (Q) , ตัวหมากรุกฝรั่งที่มีอำนาจมากที่สุด, นางพญามด (ปลวก, ผึ้ง, ตัวต่อ, แตน) , ชายรักร่วมเพศ vi. ปกครองอย่างราชิน vt. ทำให้เป็นราชินี, ทำให้เป็นตัวหมากรุกQueen. |
queen consort | n. มเหสีของกษัตริย์ |
queen dowager | n. มเหสีหม้ายของกษัตริย์, พระพันปีหลวง, พระราชชนนี |
queen mother | n. มเหสีหม้ายของกษัตริย์, พระพันปีหลวง, พระราชชนนี |
regal | (รี'กัล) adj. เกี่ยวกับกษัตริย์, เกี่ยวกับเจ้า, ราชา, โอ่อ่า, หรูหรา, สง่าผ่าเผย, See also: regally adv. |
regalia | (รีเก'เลีย) n., pl. อำนาจสิทธิ์ขาดของกษัตริย์, เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของกษัตริย์, ราชกกุธภัณฑ์, เครื่องหมายเหรียญตราแสดงตำแหน่งยศหรือขั้น, เสื้อผ้าอาภรณ์อันหรูหรา |
regality | (รีแกล'ลิที) n. ความเป็นกษัตริย์, อำ-นาจสิทธิ์ขาดของกษัตริย์, ราชอาณาจักร, Syn. royalty |
regicide | (เรจ'จิไซดฺ) n. การปลงพระชนม์กษัตริย์, ผู้ปลงพระชนม์กษัตริย์, See also: regicidal adj. |
regius | (รี'เจียส) adj. (ศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยอังกฤษ) ดำรงตำแหน่งที่ตั้งขึ้นโดยหรือขึ้นอยู่กษัตริย์, ราช |
reign | (เรน) n., vi. (มี) การปกครองโดยกษัตริย์, อำนาจการปกครอง, อำนาจของรัฎฐาธิปัตย์, อำนาจครอบงำ, อิทธิพลครอบงำ, ครอบงำ, มีอยู่ทั่วไป, Syn. dominion |
royal | (รอย'เอิล) adj. เกี่ยวกับ (กษัตริย์, ราชินี, ราชนิกูล, ราชสำนัก) , ราช, หลวง, ใหญ่, มโหฬาร, เกี่ยวกับเจ้า, ดีเลิศ, เยี่ยม, ชั้นหนึ่ง, ในเรือของเสาเอก, See also: royally adv., Syn. regal, kingly, imperial, majestic |
royalist | (รอย'อัลลิสทฺ) n. , adj. (เกี่ยวกับ) สมาชิกพรรคอนุรักษ์กษัตริย์, See also: royalistic adj. |
royalty | (รอย'อัลที) n. บุคคลในราชวงศ์, ตำแหน่งกษัตริย์, พระบรมราช, ราชอาณาจักร, ราชตระกูล, สัมปทานจากกษัตริย์, ภาษีสัมปทาน, ค่าภาคหลวง, ความสูงส่ง |
scepter | (เซพ'เทอะ) n. คทา, คทาของกษัตริย์ , พระราชอำนาจ vt. มอบคทาให้, มอบอำนาจให้, See also: sceptral adj. |
sceptre | (เซพ'เทอะ) n. คทา, คทาของกษัตริย์ , พระราชอำนาจ vt. มอบคทาให้, มอบอำนาจให้, See also: sceptral adj. |
seigneury | (ซีน'ยะรี) n. (ในแคนาดา) ที่ดินศักดินาที่ได้รับพระราชทานจากกษัตริย์ฝรั่งเศส |
serjeanty | (ซาร์'เจินที) n. การเช่าที่ดินแบบหนึ่งที่ผู้เช่ารับใช้กษัตริย์เท่านั้น., Syn. sergeanty |
shah | (ชา) n. (อิหร่าน) กษัตริย์., See also: shahdom n. |
sovereign | (ซอฟ'เวอเรน) n., adj. (เกี่ยวกับ) กษัตริย์, รัฎฐาธิปัตย์, ผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศ, ผู้ปกครองประเทศ, ซึ่งมีอำนาจสูงสุด, สูงสุด, ใหญ่ยิ่งที่สุด, เหนือกว่าสิ่งอื่น ๆ ทั้งหมด, ม'อำนาจการปกครองตัวเองที่อิสระ, โดยสิ้นเชิง, โดยครบถ้วน, ม'ประสิทธิภาพ. |
sovereignty | (ซอฟ'เวอเรนที) n. อำนาจกษัตริย์, อำนาจรัฎฐาธิปัตย์, อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ, อำนาจอธิปไตย, รัฐหรือประเทศที่มีอำนาจอธิปไตย, รัฐหรือประเทศที่มีอำนาจในการปกครองตัวเองโดยอิสระ |
sword-bearer | n. ผู้ถือดาบของกษัตริย์หรือดาบในพิธี |
throne | (โธรน) n. ราชบัลลังก์, บัลลังก์, ตำแหน่งกษัตริย์, อำนาจกษัตริย์, ผู้ครองบัลลังก์, รัฎฐาธิปัตย์, ลำดับชั้นของเทพดา. vt. ทำให้ขึ้นครองบัลลังก์. vi. ขึ้นครองบัลลังก์ |
victoria | (วิคโท'เรีย) n. กษัตริย์อังกฤษและครองอินเดีย (ค.ศ.1876-1901) , เทพธิดาโรมันโบราณแห่งชัยชนะ, ชื่อรัฐในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย, ชื่อเมืองหลวงและเมืองท่าของฮ่องกง, ชื่อเมืองท่าในแคนาดา, ชื่อเมืองในตอนใต้ของมลรัฐเท็กซัส, See also: victress n. หญิงผ |
westminster abbey | n. ชื่อโบสถ์ในกรุงลอนดอนเป็นที่ฝังศพของกษัตริย์อังกฤษ |