Radiation | การฉายรังสี [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Radurization | การลดจุลินทรีย์ด้วยรังสี, การฉายรังสีอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า 10 กิโลเกรย์เพื่อลดจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสียหรือเสื่อมคุณภาพ เช่น แบคทีเรีย รา อาหารที่ผ่านการฉายรังสีจะเก็บรักษาได้นานขึ้น เช่น ปลาสด สตรอว์เบอร์รี่ เครื่องเทศ เครื่องปรุงรส (ดู food irradiation ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Radiotherapy | รังสีรักษา, การบำบัดด้วยรังสี, การใช้รังสีชนิดก่อไอออนบำบัดรักษาโรค มี 4 วิธี คือ <br> 1. การฉายรังสีไปยังอวัยวะเป้าหมาย (Teletherapy) เช่น ต่อมน้ำเหลือง กล่องเสียง ปอด โดยใช้รังสีเอกซ์จากเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น หรือใช้รังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์-60</br> <br> 2. การฝังสารกัมมันตรังสี ในเนื้อเยื่อหรือโพรงอวัยวะ (Brachy therapy) เช่น ปากมดลูก และช่องปาก โดยใช้ซีเซียม-137, อิริเดียม-192 หรือ ทอง-198</br> <br> 3. การให้สารกัมมันตรังสีทางปาก เช่น การรับประทานสารประกอบไอโอดีน-131 (Na<sup>131I</sup>) เพื่อรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์</br> <br> 4. การฉีดสารกัมมันตรังสีทางเส้นเลือด เช่น สารประกอบไอโอดีน-131 (Lipiodol-<sup>131</sup>I) ใช้รักษามะเร็งตับ</br> [นิวเคลียร์] |
Radiolytic product | ผลผลิตการแยกสลายด้วยรังสี, สารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีสารใดๆ เช่น การฉายรังสีอาหาร รังสีจะถ่ายเทพลังงานให้โมเลกุลต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร เช่น น้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้า และ เกิดการแยกสลาย ได้อนุมูลอิสระซึ่งไม่เสถียรและทำปฏิกิริยากับสารที่เป็นองค์ประกอบของอาหารได้สารประกอบต่างๆ ที่มีโมเลกุลเล็กลง [นิวเคลียร์] |
Radicidation | การฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี, การฉายรังสีอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า 10 กิโลเกรย์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคชนิดที่ไม่สร้างสปอร์ เช่น ซาลโมเนลลา ชิเกลลา อี.โคไล เชื้อโรคเหล่านี้เป็นต้นเหตุทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรง ปวดท้อง ขาดน้ำ อาเจียน และเป็นไข้ อาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อฆ่าเชื้อโรค เช่น แหนม กุ้งแช่แข็ง ขากบแช่แข็ง เนื้อไก่แช่แข็ง การฆ่าเชื้อโรคด้วยวิธีนี้เทียบได้กับการพาสเจอไรซ์ <br>(ดู food irradiation ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Radiation therapy | รังสีรักษา, การบำบัดด้วยรังสี, การใช้รังสีชนิดก่อไอออนบำบัดรักษาโรค มี 4 วิธี คือ <br> 1. การฉายรังสีไปยังอวัยวะเป้าหมาย (Teletherapy) เช่น ต่อมน้ำเหลือง กล่องเสียง ปอด โดยใช้รังสีเอกซ์จากเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น หรือใช้รังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์-60</br> <br> 2. การฝังสารกัมมันตรังสี ในเนื้อเยื่อหรือโพรงอวัยวะ (Brachy therapy) เช่น ปากมดลูก และช่องปาก โดยใช้ซีเซียม-137, อิริเดียม-192 หรือ ทอง-198</br> <br> 3. การให้สารกัมมันตรังสีทางปาก เช่น การรับประทานสารประกอบไอโอดีน-131 (Na<sup>131I</sup>) เพื่อรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์</br> <br> 4. การฉีดสารกัมมันตรังสีทางเส้นเลือด เช่น สารประกอบไอโอดีน-131 (Lipiodol-<sup>131</sup>I) ใช้รักษามะเร็งตับ</br> [นิวเคลียร์] |
Radiation sterilization in insects | การทำหมันแมลงด้วยรังสี, การฉายรังสีแมลงในระยะใดๆ ของการเจริญเติบโต เพื่อทำให้เป็นหมัน โดยแมลงตัวเมียไม่สามารถผลิตไข่ หรือตัวผู้ไม่สามารถสร้างสเปิร์ม หรือสเปิร์มไม่แข็งแรงไม่สามารถผสมกับไข่ได้ หรือแมลงไม่สามารถจับคู่ผสมพันธุ์ได้ หรือไข่ที่ปฏิสนธิแล้วไม่ฟักออกเป็นตัว เนื่องจากการกลายของเซลล์สืบพันธุ์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิด ระยะการเจริญเติบโตของแมลง และปริมาณรังสีที่ใช้ <br>(ดู sterile insect technique (SIT) ประกอบ)</br>, Example: [นิวเคลียร์] |
Radiation sprout inhibition | การยับยั้งการงอกด้วยรังสี, การฉายรังสีอาหารประเภทพืชหัวด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า 0.15 กิโลเกรย์ เพื่อควบคุมหรือหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ทำให้เกิดการงอก ยังผลให้สามารถเก็บรักษาอาหารได้นานหลายเดือน ทั้งนี้ต้องเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่จะทำให้อาหารเน่าเสีย อาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อยับยั้งการงอก เช่น หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง กระเทียม <br>(ดู food irradiation ประกอบ) </br> [นิวเคลียร์] |
Radiation disinfestation | การยับยั้งการแพร่พันธุ์ของแมลงด้วยรังสี, การฉายรังสีอาหารหรือผลิตผลการเกษตรด้วยปริมาณรังสีไม่เกิน 1 กิโลเกรย์ เพื่อทำลายแมลงและยับยั้งการแพร่พันธุ์ ทั้งนี้อาหารหรือผลิตผลการเกษตรจะต้องบรรจุในภาชนะที่เหมาะสมเพื่อป้องกันแมลงที่จะมาทำลายหลังการฉายรังสีแล้ว อาหารหรือผลิตผลการเกษตรที่ใช้กรรมวิธีนี้ เช่น มะม่วง มะละกอ เมล็ดโกโก้ ถั่ว ข้าว ข้าวสาลี ปลาแห้ง ปลารมควัน ดอกกล้วยไม้ <br>(ดู food irradiation ประกอบ) </br> [นิวเคลียร์] |
Radappertization | การทำปลอดจุลินทรีย์ด้วยรังสี, การฉายรังสีอาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ซึ่งบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิทด้วยปริมาณรังสีสูงกว่า 10 กิโลเกรย์ เพื่อฆ่าจุลินทรีย์ทั้งหมดที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค หรือ จุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย เพื่อให้อาหารนั้นเก็บรักษาได้นานหลายเดือนหรือเป็นปีที่อุณหภูมิห้อง อาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อทำให้ปลอดจุลินทรีย์ เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่งวงรมควัน อาหารสำหรับผู้ป่วย และอาหารสำหรับมนุษย์อวกาศ (ดู food irradiation ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Irradiated food | อาหารฉายรังสี, อาหารที่ผ่านการฉายรังสีด้วยปริมาณรังสีที่เหมาะสม ซึ่งไม่ก่อให้เกิดสารกัมมันตรังสี หรือมีรังสีตกค้างแต่ประการใด จึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อการพาณิชย์ภายในประเทศจะต้องมีฉลากแสดงข้อความ และเครื่องหมายว่าผ่านการฉายรังสีแล้ว พร้อมทั้งระบุวัตถุประสงค์ของการฉายรังสี ชื่อ ที่ตั้ง ของผู้ผลิต และผู้ฉายรังสี วัน เดือน ปี ที่ฉายรังสี, Example: [นิวเคลียร์] |
Food irradiation | การฉายรังสีอาหาร, การนำอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งผลิตอย่างถูกสุขลักษณะและบรรจุในภาชนะหรือหีบห่อที่เหมาะสม ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรือลำอิเล็กตรอนจากเครื่องเร่งอนุภาค ด้วยปริมาณรังสีที่เหมาะสม เพื่อฆ่าเชื้อโรคหรือพยาธิ ยับยั้งการทำลายหรือแพร่พันธุ์ของแมลง ยืดอายุการเก็บรักษา ยับยั้งการงอก และชะลอการสุก [นิวเคลียร์] |
Gamma greenhouse | เรือนรังสีแกมมา, เรือนเพาะเลี้ยงพืชที่มีหลังคาโปร่งแสง บริเวณตรงกลางเรือนหรือด้านใดด้านหนึ่งของห้องติดตั้งเครื่องฉายรังสีแกมมา มีกำแพงคอนกรีตหนาเพื่อป้องกันไม่ให้รังสีออกสู่ภายนอก และมีเครื่องควบคุมการฉายรังสีอยู่ด้านนอก ใช้สำหรับศึกษาผลของรังสีต่อพืชและการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยให้พืชที่ปลูกในกระถางได้รับรังสีปริมาณต่ำอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลานาน [นิวเคลียร์] |
Gamma irradiation | การฉายรังสีแกมมา [นิวเคลียร์] |
Irradiation | การฉายรังสี [TU Subject Heading] |
Backward Projection | การพยากรณ์ย้อนหลัง หรือวิธีการฉายภาพย้อนหลัง (retrojection), Example: เป็นการพยากรณ์กลับไปในอดีต ใช้ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม มักมีความแม่นยำกว่าการพยากรณ์อนาคตเพราะสามารถทดสอบกับข้อมูลจริงได้ [สิ่งแวดล้อม] |
gamma irradiation | การฉายรังสีแกมมา, การนำวัตถุใดๆ ไปฉายรังสีแกมมาโดยไม่มีรังสีตกค้าง [พลังงาน] |
irradiated food | อาหารฉายรังสี, คือ อาหารที่ผ่านกระบวนการฉายรังสีด้วยปริมาณรังสีที่เหมาะสม ซึ่งไม่ก่อให้เกิดสารกัมมันตรังสี หรือมีรังสีตกค้างแต่ประการใดจึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อการพาณิชย์ภายในประเทศ จะต้องมีฉลากแสดงข้อความ และเครื่องหมายว่าผ่านการฉายรังสีแล้ว พร้อมทั้งระบุวัตถุประสงค์ของการฉายรังสี ชื่อ ที่ตั้งของผู้ผลิต ผู้ฉายรังสีและวันเดือนปีที่ฉายรังสี [พลังงาน] |
radappertization | การทำให้ปลอดจากเชื้อจุลินทรีย์ด้วยรังสี, คือ การนำอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ซึ่งบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน ด้วยปริมาณรังสีสูงกว่า 10 กิโลเกรย์ เพื่อฆ่าจุลินทรีย์ทั้งหมดที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคหรือจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย ยังผลให้อาหารนั้นเก็บได้นานหลายเดิอน หรือเป็นปี โดยไม่ต้องใช้ความเย็น เช่น การทำอาหารแช่แข็ง หรือใช้ความร้อน เช่น การทำอาหารกระป๋อง ตัวอย่างอาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อทำให้ปลอดจุลินทรีย์ ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อไก่งวงรมควัน อาหารสำหรับคนไข้ และอาหารสำหรับมนุษย์อวกาศ [พลังงาน] |
radiation disinfestation | การควบคุมการแพร่พันธุ์ของแมลงด้วยรังสี, คือ การนำอาหารหรือผลิตผลการเกษตร ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน เพื่อกำจัด หรือยับยั้งการขยายพันธุ์ของแมลงที่อาจมีอยู่ในอาหารหรือผลิตผลการเกษตร และจะต้องบรรจุในภาชนะที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการกลับเข้ามาทำลายของแมลงที่อาจมีอยู่ในอาหาร หรือผลิตผลการเกษตรที่ฉายรังสีด้วยปริมาณรังสีไม่เกิน 1 กิโลเกรย์ เช่น มะม่วง มะละกอ เมล็ดโกโก้ ถั่ว ข้าว ข้าวสาลี ปลาแห้ง ปลารมควัน ดอกกล้วยไม้ [พลังงาน] |
radiation sprout inhibition | การยับยั้งการงอกด้วยรังสี, คือ การนำอาหารประเภทพืชหัวไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน ด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า0.15 กิโลเกรย์ เพื่อควบคุม หรือหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ทำให้เกิดการงอก ยังผลให้สามารถเก็บรักษาอาหารได้นานหลายเดือนโดยไม่งอกหรืองอกเล็กน้อย ทั้งนี้ต้องเก็บรักษาอาหารที่ผ่านการฉายรังสีที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ทำให้ อาหารเน่าเสีย ตัวอย่างของอาหารที่นำมาฉายรังสี ได้แก่ หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง กระเทียม และขิง [พลังงาน] |
radicidation | การฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี, คือ การนำอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน ด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า 10 กิโลเกรย์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคชนิดที่ไม่สร้างสปอร์ เช่น ซาลโมเนลลา ชิเกลลาอี.โคไล ฯลฯ เชื้อโรคเหล่านี้เป็นต้นเหตุทำให้เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรง ปวดท้อง ขาดน้ำ อาเจียน และเป็นไข้ ตัวอย่างอาหารที่นำมาฉายรังสีเพื่อฆ่าเชื้อโรค ได้แก่ แหนม กุ้งแช่แข็ง ขากบแช่แข็ง และเนื้อไก่แช่แข็ง การฆ่าเชื้อโรคด้วยวิธีนี้เทียบได้กับการพาสเจอร์ไรซ์ [พลังงาน] |
radiolytic products | เรดิโอไลติกโปรดักส์, คือ สารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีอาหาร เมื่อรังสีทะลุผ่านอาหาร รังสีจะถ่ายเทพลังงานให้โมเลกุลต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร เช่น น้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้า และเกิดปฏิกิริยาเรดิโอไลซิส ได้อนุมูลอิสระซึ่งไม่เสถียร และไปทำปฏิกิริยากับสารที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร ได้สารประกอบต่างๆ ที่มีโมเลกุลเล็กลง ซึ่งเรียกโดยรวมว่า เรดิโอไลติก โปรดักส์ การเกิดอนุมูลอิสระนอกจากจะเกิดจากการใช้รังสีแล้ว ยังเกิดจากการใช้ความร้อน เช่น การต้ม การทอด การอบ การย่าง และการปิ้ง และอนุมูลอิสระที่เกิดจากการใช้ความร้อนนี้ทำให้เกิดสารประกอบต่างๆ ที่มี โมเลกุลเล็กลงได้เช่นกัน แต่เรียกโดยรวมว่าเทอร์โมไลติกโปรดักส์ และเมื่อเปรียบเทียบกับเรดิโอไลติกโปรดักส์ พบว่า สารประกอบส่วนใหญ่เป็นชนิดเดียวกัน และเป็นสารประกอบที่ตรวจพบได้ในอาหารที่ไม่ได้ฉายรังสี [พลังงาน] |
radurization | การลดจุลินทรีย์ด้วยรังสี, คือ การนำอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน ด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า 10 กิโลเกรย์ เพื่อลดแบคทีเรีย หรือป้องกันการเจริญเติบโตของรา ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้อาหารเน่าเสียหรือเสื่อมคุณภาพ อาหารที่ผ่านการฉายรังสีจะเก็บรักษาได้นานขึ้น ตัวอย่างอาหารที่นำมาฉายรังสีเพื่อลดจุลินทรีย์ ได้แก่ ปลาสด เครื่องเทศ เครื่องปรุงรส และสตรอเบอรี [พลังงาน] |
Post cure | การให้ความร้อนและ/หรือการฉายรังสี ซึ่งจะทำหลังจากการวัลคาไนซ์แล้ว เพื่อเพิ่มสมบัติของยางให้ดีขึ้น [เทคโนโลยียาง] |
Diarrhea, Radiation Induced | ท้องร่วงที่เหนี่ยวนำโดยการฉายรังสี [การแพทย์] |
Irradiated | การฉายแสง, นำไปผ่านรังสี [การแพทย์] |
Irradiation | กัมตภาพรังสี, การรักษาด้วยรังสี, การฉายแสงรักษา, การฉายรังสี, ได้รับสารรังสี, การฉายแสง [การแพทย์] |
Irradiation, Cerebro-Spinal Axis, Whole | การฉายรังสีทั้งสมองและไขสันหลัง [การแพทย์] |
Irradiation, Conventional | การฉายแสงจากข้างนอกเข้าไป [การแพทย์] |
Irradiation, External | การฉายแสง [การแพทย์] |
Irradiation, Extracorporeal | การฉายรังสีแก่เม็ดเลือดขาวขณะที่อยู่นอกร่างกาย, ฉายรังสีนอกร่างกาย [การแพทย์] |
Irradiation, Pelvic, Whole | การฉายรังสีต่อช่องเชิงกรานทั้งหมด [การแพทย์] |
Loss, Projected | การฉายภาพการสูญเสีย [การแพทย์] |
Manpower Projections | การฉายภาพกำลังคน [การแพทย์] |
emission | (อีมิช'เชิน) n. การปล่อยออกมา, การฉาย, การแพร่, สิ่งที่ถูกปล่อยหรือแพร่ออกมา, See also: emissive adj. |
irradiation | (อิเรดิเอ'เชิน) n. การฉายรังสี, การส่องสว่าง, ปริมาณรังสีที่กระทบต่อหน่วยพื้นที่, Syn. irradiating, beam |
movies | (มู'วีซ) n., pl. ภาพยนต์, การฉายภาพยนต์ |
preview | (พรี'วิว) n. การชมก่อน, การแสดงก่อน, การฉายภาพยนตร์ก่อน, การฉายภาพยนตร์โฆษณาก่อนภาพยนตร์จริง, สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงการมาของอีกสิ่งหนึ่ง. vt. ชมก่อน, ดูก่อน, แสดงก่อน., See also: previewer n., Syn. prevue |
projection | (พระเจค'เชิน) n. การวางโครงการ, การวางแผน, การออกแบบ, การยิง, การโผล่ออกมา, การนูนออกมา, การปล่อยออกมา, การส่อง, การฉาย, ภาพทอดเงา, ภาพฉาย, การคำนวณทุน, การคำนวณอัตราการก้าวหน้า, การคาดคะเน, การประเมิน, แผนการ, โครงการ., Syn. overhang, predicito |
screening | (สครีน'นิง) n. การปกคลุม, การป้องกัน, การร่อน, การฉายภาพยนตร์, การติดม่าน, การติดฉาก, screenings เศษที่ติดตะแกรงร่อน, แผ่นตาข่าย, แผ่นตะแกรง, สิ่งที่เป็นตาข่าย |
vitamin d | n. วิตามิน D1, D2, D3 พบในนมและน้ำมันตับปลา หรือได้จากการฉายรังสีอุลตราไวโอเลตไปที่provitamin-D |