19 ผลลัพธ์ สำหรับ *การสงคราม*
หรือค้นหา: การสงคราม, -การสงคราม-

NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
การสงคราม(n) battle, See also: war, warfare, fight, Syn. การสู้รบ, การต่อสู้, การศึก, การศึกสงคราม, Example: การสงครามมีแต่จะทำให้สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน, Count Unit: ครั้ง

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กระทู้ ๑หลัก เช่น ช้างพังพลายเป็นสัตว์มีคุณแล้วก็เป็นกระทู้ราชการสำหรับแผ่นดินสืบมา (ท้องตราโบราณ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๗), ประการหนึ่งปืนเป็นกระทู้การสงคราม (เรื่องตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราชครั้งกรุงธนบุรี ประชุมพงศ. ๒).
ขีปนาวุธ(ขีปะ-) น. อาวุธซึ่งถูกส่งออกไปจากผิวพิภพเพื่อใช้ประหัตประหารหรือทำลายในการสงคราม โดยมีการบังคับวิถีในตัวเองเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย การบังคับวิถีนี้บังคับเฉพาะตอนขึ้นเท่านั้น มีหลายชนิด เช่น ขีปนาวุธข้ามทวีป.
ฉุปศาสตร์(ฉุปะสาด) น. วิชาว่าด้วยการสงคราม.
ทหารผ่านศึกน. ทหารหรือบุคคลซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ในราชการทหาร หรือบุคคลซึ่งทำหน้าที่ทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด และได้กระทำหน้าที่นั้นในการสงครามหรือในการรบไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรหรือในการปราบปรามการจลาจล
นักงานน. หน้าที่ เช่น อันการสงครามครั้งนี้ ไว้นักงานพี่จะช่วยหัก (รามเกียรติ์ ร. ๑), เจ้าพนักงาน เช่น เหวยนักงานเอ๋ย เร่งรุกเร็วบัดนี้พลัน จงแสดงทุกข์แห่งโอรส ให้ปรากฏโดยคดี ว่าบัดนี้หมู่สีพีลงโทษ โกรธจอมธรรม์ (ม. คำหลวง หิมพานต์).
ภาวะฉุกเฉินน. ภาวะอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร หรืออันอาจทำให้ประเทศตกอยู่ในภาวะคับขันหรือภาวการณ์รบหรือการสงคราม.
ยุทธภัณฑ์น. อาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ สารเคมี สารชีวะ สารรังสี หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่อาจนำไปใช้ในการรบหรือการสงครามได้.
สถานการณ์ฉุกเฉินน. สถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขันหรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย การรบหรือการสงคราม.
สมร ๑, สมร-(สะหฺมอน, สะหฺมอนระ-, สะหฺมอระ-) น. การรบ, การสงคราม.

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
diplomatic clearance numberหมายเลขการอนุญาตให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งของประเทศหนึ่ง ๆ ผ่านเข้าไปในอาณาเขตของอีกประเทศหนึ่งได้โดยเหตุผลทางการทูต อาทิ อากาศยานเฉพาะกิจ เรือที่ใช้ในการสงคราม ฯลฯ [การทูต]
New World Orderระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต]
War Crimesอาชญากรรมสงคราม ตามกฎบัตรต่อท้ายความตกลงว่าด้วยการพิจารณาลงโทษ อาชญากรสางคามที่สำคัญ ๆ ของฝ่ายอักษะยุโรป (European Axis) การกระทำต่อไปนี้ถือว่าเป็นอาชญากรรมสงครามคือ การละเมิดกฎหมายหรือประเพณีของการสงคราม เช่น การฆ่า การปฏิบัติอันโหดร้าย หรือการขับคนไปทำงานเยี่ยงทาส หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใด ซึ่งกระทำต่อราษฎรพลเรือนของดินแดนที่ถูกยึดครอง การฆ่าหรือปฏิบัติอย่างโหดร้ายต่อเชลยศึกหรือบุคคลในท้องทะเล การฆ่าตัวประกัน การปล้นสะดมทรัพย์สินสาธารณะหรือส่วนบุคคล การทำลายล้างตัวเมืองหรือหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่จำเป็นในแง่การทหาร [การทูต]

NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
warfare(n) การทำสงคราม, See also: การสู้รบ, การสงคราม

Hope Dictionary
pitched battlen. การสงครามที่ได้มีการจัดกองกำลังทหารอย่างมีระเบียบและมีการกำหนดสนามรบไว้ก่อน, การรบแบบตั้งที่มั่น, การรบที่ดุเดือด
warfare(วอร์'แฟร์) n. การสงคราม, การทำสงคราม, การสู้รบ, Syn. fighting, war, battle

Nontri Dictionary
battle(n) การต่อสู้, การรบ, การปะทะ, การสงคราม, การประจัญบาน
warfare(n) การสงคราม, การสู้รบ
warlike(adj) ชอบรบพุ่ง, ชวนทะเลาะ, เหมือนสงคราม, เพื่อการสงคราม

Time: 0.0235 seconds, cache age: 0.04 (clear)Longdo Dict -- https://dict.longdo.com/