โกรธ | (โกฺรด) ก. ขุ่นเคืองใจอย่างแรง, ไม่พอใจอย่างรุนแรง, ราชาศัพท์ว่า ทรงพระโกรธ เช่น ก็จะทรงพระโกรธดั่งเพลิงกาล (อิเหนา). |
ธงนำริ้ว | ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง บังคับให้ซ้ำคำ ๒ คำต้นในวรรค โดยคำที่ซ้ำเปลี่ยนไปทุกวรรค เช่น กุ๋ยกุ๋ยหน้าไม่เก้อละเมอหึง ฟังฟังก็เหมือนแกล้งแพร่งความอึง คิดคิดและให้ขึ้งขุ่นเคืองใจ (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ). |
ผิดพ้องหมองใจ | ก. ขุ่นเคืองใจ. |
หมองหมาง | ว. ไม่ผ่องใสเพราะมีความขุ่นเคืองใจ. |
หมาง | ก. กระดาก เช่น หมางกัน คือ กระดากกัน หมางหน้า คือ กระดากหน้า, อาการที่ห่างเหินกันเพราะขุ่นเคืองใจหรือผิดใจกันเป็นต้น เช่น คนคู่นี้แต่ก่อนก็ดูสนิทสนมกันดี แต่เดี๋ยวนี้ดูเขาหมางกันไป, หมาง ๆ ก็ว่า, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น บาดหมาง หมองหมาง หมางใจ. |
หมางใจ | ก. ผิดใจ, ขุ่นเคืองใจ. |
หมางเมิน | ก. ห่างเหินเพราะขุ่นเคืองใจจนไม่อยากเห็นหน้า. |