ข้อพิพาท | น. ข้อขัดแย้งหรือโต้แย้งระหว่างผู้เป็นคู่กรณี. |
ข้อพิพาทแรงงาน | น. ข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้าง. |
ข้อ | เนื้อความตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง, ข้อความ ก็ว่า, เรื่อง เช่น ข้อพิพาท ข้อยุติ, หัวข้อ เช่น ข้ออ้าง ข้อข้องใจ |
คดีปกครอง | น. คดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนหรือระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากกระทำหรือการละเว้นการกระทำในทางปกครองของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ. |
ชี้สองสถาน | ก. กระบวนการที่ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดี และระบุให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลัง. |
นัดหยุดงาน | น. ลูกจ้างร่วมกันไม่ทำงานชั่วคราวเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน. |
ประนีประนอมยอมความ | น. ชื่อสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้ง ๒ ฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน. |
ปิดงาน | น. การที่นายจ้างปฏิเสธไม่ยอมให้ลูกจ้างทำงานชั่วคราวเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน. |
อนุญาโตตุลาการ | น. บุคคลที่คู่กรณีพร้อมใจกันตั้งขึ้นเพื่อให้ชำระตัดสินในข้อพิพาท. |
peaceful settlement; pacific settlement | การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
pacific settlement; peaceful settlement | การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
point in dispute | ประเด็นข้อพิพาท [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
lis (L.) | คดีความ, ข้อพิพาท [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
labour dispute | ข้อพิพาทแรงงาน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
labour dispute | ข้อพิพาทแรงงาน [ ดู industrial dispute ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
settlement, comprehensive | การระงับข้อพิพาทแบบเบ็ดเสร็จ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
settle a dispute | ระงับข้อพิพาท [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
settlement | ๑. การตั้งถิ่นฐาน, นิคม๒. การระงับข้อพิพาท [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
settlement, pacific; settlement, peaceful | การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
settlement, peaceful; settlement, pacific | การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
adjudicatory process | กระบวนการระงับข้อพิพาททางปกครอง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
justiciable controversy | คดีที่มีข้อพิพาท [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
minor dispute | ข้อพิพาทแรงงานในข้อตกลงร่วม (เกี่ยวกับสภาพการจ้าง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
major dispute | ข้อพิพาทแรงงานนอกข้อตกลงร่วม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
matter in dispute | ข้อพิพาท, กรณีพิพาท [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
matter in issue | ประเด็นข้อพิพาท [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
contentious case | คดีมีข้อพิพาท [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
comprehensive settlement | การระงับข้อพิพาทแบบเบ็ดเสร็จ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
conflict | ข้อพิพาท, ข้อขัดแย้ง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
conciliation | การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
compromise | ๑. ประนีประนอมยอมความ (ก. แพ่ง)๒. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (ก. ระหว่างประเทศ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
dispute, labour | ข้อพิพาทแรงงาน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
dispute | ๑. ข้อพิพาท๒. โต้แย้ง, ค้าน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
industrial dispute | ข้อพิพาทแรงงาน [ ดู labour dispute ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
international dispute | ข้อพิพาทระหว่างประเทศ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
interference | ๑. กระบวนพิจารณาข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิบัตร (ก. สิทธิบัตร)๒. การสอดแทรก (ก. ระหว่างประเทศ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
trade dispute | ข้อพิพาททางการค้า [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
non contentious case | คดีที่ไม่มีข้อพิพาท [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Dispute | ข้อพิพาท [เศรษฐศาสตร์] |
Investment dispute | ข้อพิพาทในการลงทุน [เศรษฐศาสตร์] |
Conflict | ข้อพิพาท [เศรษฐศาสตร์] |
Boundary disputes | ข้อพิพาทเขตแดน [TU Subject Heading] |
Dispute resolution (Law) | การระงับข้อพิพาท (กฎหมาย) [TU Subject Heading] |
Pacific settlement of international disputes | การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี [TU Subject Heading] |
Convention on Elimination of All Forms of Discrimination Against Women | อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2522 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2527 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบและเพื่อความ เสมอภาคระหว่างสตรีและบุรุษในทุกด้าน ขณะนี้มีประเทศต่าง ๆ เป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้ว 167 ประเทศ (ข้อมูลถึงกรกฎาคม 2543) ไทยยังคงมีข้อสงวนอีก 2 ข้อ ในอนุสัญญาฯ คือ ข้อ 16 เรื่องความเสมอภาคในด้านครอบครัวและการสมรส และ ข้อ 29 เรื่องการระงับการตีความ การระงับข้อพิพาท โดยรับอนุญาโตตุลาการ [การทูต] |
dispute settlement | การระงับข้อพิพาท [การทูต] |
Good Offices และ Mediation | วิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยฉันมิตร คำว่า Good Offices หมายถึง การช่วยเป็นสื่อกลาง ส่วน Mediation หมายถึง การไกล่เกลี่ยศัพท์ทั้งสองนี้หมายถึงวิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ โดยฉันมิตร กล่าวคือ ในกรณีข้อพิพาทซึ่งการเจรจากันทางการทูตไม่สามารถตกลงกันได้ง่าย ๆ ดังนั้น รัฐที่สามอาจยื่นมือเข้าช่วยเป็นสื่อกลาง หน้าที่ในการนี้มิใช่ออกความเห็นหรือวินิจฉัยชี้ขาดว่าใครถูกใครผิดในกรณี ข้อพิพาท หากเป็นแต่เพียงแสวงหาลู่ทางที่จะระงับข้อพิพาทจะต้องมีให้น้อยที่สุดเท่า ที่จะทำได้ และถือว่าเป็นกาดรกระทำฉันมิตร (Friendly act) คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธข้อเสนอได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดทางการ เมือง หรือคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจขอร้องให้ช่วยเป็นสื่อกลาง หรือให้ช่วยไกล่เกลี่ย ตามธรรมดาการช่วยเป็นสื่อกลางนั้นเป็นเพียงการเข้าช่วยงานพื้นฐาน หรือให้มีการเริ่มต้นการเจรจาเท่านั้น ส่วนงานเจรจาที่จะกระทำโดยตรงกว่าจะมีลักษณะเป็นการไกล่เกลี่ย แต่ในทางปฏิบัติไม่ค่อยมีการคำนึงกันนักถึงความแตกต่างจริงๆ ระหว่างวิธีทั้งสอง คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธไม่ยอมรับการไกล่เกลี่ยไม่ว่าเวลาใดก็ได้ จะเห็นได้ว่า การช่วยเป็นสื่อกลางกับการไกล่เกลี่ยนั้นแตกต่างกัน คือ ในกรณีการช่วยเป็นสื่อกลาง ฝ่ายที่สามจะกระทำแต่เพียงช่วยให้มีการหันหน้าเข้าเจรจากันระหว่างคู่พิพาท ส่วนในกรณีการไกล่เกลี่ย ฝ่ายที่สามพยายามจัดให้มีการเจรจากันจริง ๆ ตามมูลฐานข้อเสนอของตน ฝ่ายที่เสนอช่วยเป็นสื่อกลางหรือช่วยไกล่เกลี่ยนั้น อาจจะมาจากประเทศที่สาม หรือจากองค์การระหว่างประเทศ หรือจากบุคคลธรรมดาคนหนึ่งก็ได้ [การทูต] |
Judicial Settlement | การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยศาลตุลาการ ก่อนที่จะเกิดองค์การสหประชาชาติ รัฐทั้งหลายที่มีกรณีพิพาทระหว่างประเทศจะฟ้องร้องต่อศาลระวห่างประเทศแห่ง หนึ่ง มีชื่อว่าศาลประจำยุติธรรมระหว่าประเทศ (Permanent Court of International Justice) ซึ่งองค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1920 ได้ประชุมกันเป็นครั้งแรก ณ กรุงเฮก เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1922 หลังจากนั้นเป็นเวลา 23 ปี ผู้พิพากษาของศาลก็ได้ลาออกในปีค.ศ. 1946 และสันนิบาตชาติได้ยุบศาลนี้ในปีเดียวกันเมื่อมีการสถาปนาองค์การสหประชา ชาติขึ้น ได้มีการจัดตั้งศาลระหว่างประเทศขึ้นใหม่ เรียกว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ตามกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรนี้ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 92 ว่า ?ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจักเป็นองค์กรทางตุลาการอันสำคัญของสหประชาชาติ ศาลจักดำเนินหน้าที่ตามธรรมนูญผนวกท้าย ซึ่งยึดถือธรรมนูญของศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นมูลฐาน และซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับกฎบัตรฉบับปัจจุบัน?ศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศนี้ ประชุมกันเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1946 [การทูต] |
pacific settlement of disputes | การระงับข้อพิพาทด้วยสันติวิธี [การทูต] |
Pacific Settlement of International Disputes | หมายถึง การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี คงจะจำกันได้ว่า ในตอนเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศในโลกฝ่ายเสรีซึ่งเป็นผู้ชนะ ต่างมีเจตนาอันแน่วแน่ที่จะหาทางมิให้เกิดสงครามขึ้นอีกในโลก จึงตกลงร่วมกันก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ (Charter of the United Nations)ดังนั้น ข้อ 2 ของกฎบัตรสหประชาชาติจึงได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกมีพันธกรณีที่จะต้องหาทางระ งังกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี และข้อ 33 ของกฎบัตรก็ได้บัญญัติไว้ว่า ?1. ผู้เป็นคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรณีพิพาทใด ๆ ซึ่งหากดำเนินอยู่ต่อไป น่าจะเป็นอันตรายแก่การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ก่อนอื่นจักต้องแสวงหาการแก้ไขโดยการเจรจา ไต่สวน ไกล่เกลี่ย ประนีประนอม อนุญาโตตุลาการ การระงับโดยทางศาล การหันเข้าอาศัยทบวงการตัวแทน การตกลงส่วนภูมิภาค หรือสันติวิธีประการอื่นใดที่คู่กรณีจะพึงเลือก 2. เมื่อเห็นว่าจำเป็น คณะมนตรีความมั่นคงจักเรียกร้องให้คู่พิพาทระงับกรณีพิพาทของตนโดยวิธีเช่น ว่านั้น? [การทูต] |
Shanghai Cooperation Organization | พัฒนามาจากเวทีการประชุม Shanghai Five ซึ่งจีนเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 เดิมมีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ จีน รัสเซีย คาซัคสถาน สาธารณรัฐคีร์กีซ และทาจิกิสถาน ต่อมาเมื่อเดือนมิถุนายน 2544 อุซเบกิสถาน ได้เข้าเป็นสมาชิกด้วย จึงมีการเปลี่ยนชื่อกลไกความ ร่วมมือนี้เป็น Shanghai Cooperation Organization เดิมมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจและแก้ไขข้อพิพาทเกี่ยวกับพรมแดนของประเทศสมาชิก และต่อมาได้ขยายขอบเขตความร่วมมือให้ครอบคลุม ทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจการค้า วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม การศึกษา พลังงาน การคมนาคม [การทูต] |
The Hague Peace Conferences | การประชุมสันติภาพ ณ กรุงเฮก ในประเทศเนเธอร์แลนด์ การประชุมนี้ได้กระทำกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1899 โดย พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่สอง ของประเทศรัสเซียเป็นผู้จัดให้มีขึ้น ณ กรุงเฮก เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1899 ที่ประชุมได้รับรองอนุสัญญาว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติ วิธี ได้ตกลงจัดตั้งศาลซึ่งตัดสินประเทศโดยสันติวิธี พร้อมทั้งได้ตกลงจัดตั้งศาลซึ่งตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการเป็นการถาวร และเสนอแนะให้วางประมวลพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการ ทั้งยังได้ตกลงรับรองอนุสัญญาและปฏิญญาต่าง ๆ หลายฉบับ ในจำนวนนี้ ที่สำคัญที่สุดได้แก่ อนุสัญญาควบคุมกฎหมายและขนบประเพณีว่าด้วยการทำสงครามภาคพื้นดินการประชุม สันติภาพ ณ กรุงเฮกครั้งที่สอง หรือการประชุม ณ กรุงเฮกปี ค.ศ.1907 ตามคำขอร้องของรัฐบาลรัสเซีย ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.1907 วัตถุประสงค์สำคัญของการประชุมคือต้องการปรับปรุงและขยายข้อความในอนุสัญญา ต่าง ๆ ที่ทำไว้เมื่อปี ค.ศ. 1899 ว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี รวมทั้งกฎหมายและขนบประเพณีเกี่ยวกับสงครามภาคพื้นดิน ตลอดจนรับรองอนุสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายและขนมประเพณีของการทำสงครามทางทะเล การประชุม ณ กรุงเฮกครั้งที่สองนี้ยังได้เสนอแนะให้ที่ประชุมกำหนดให้ประเทศผู้ลงนาม รับรองและนำออกใช้ซึ่งร่างอนุสัญญาว่าด้วยการก่อตั้งศาลสถิตยุติธรรม เพื่อพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการอีกด้วย [การทูต] |
unsettled dispute | ข้อพิพาทที่ยังไม่ระงับ [การทูต] |