คอคอด | น. แผ่นดินที่กิ่วคอดและมีน้ำล้อมรอบอยู่ทั้ง ๒ ด้าน ตรงที่กิ่วคอดจะเชื่อมต่อระหว่างแผ่นดินใหญ่ ๒ แห่ง หรือเชื่อมต่อระหว่างแผ่นดินใหญ่กับแหลมให้ติดต่อถึงกันได้ เช่น คอคอดกระ. |
คอด | ว. ลักษณะของส่วนที่เล็กหรือแคบเข้าแล้วผายออกไป, กิ่ว. |
คานคอดิน | น. คานที่วางบนเสาตอม่อ มักจะอยู่เสมอระดับดิน. |
กระจิบ ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Sylviidae ปากเล็กบาง ปลายแหลมตรง ขายาวเรียวเล็ก ร้องเสียงคล้าย “จิบ ๆ ” กินแมลง มีหลายชนิด เช่น กระจิบธรรมดาหรือกระจิบหางยาว [ Orthotomus sutorius (Pennant) ] กระจิบคอดำ ( O. atrogularis Temminck) กระจิบหัวแดง ( O. sepiumHorsfield). |
กระดี่ ๑ | น. ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Trichogaster วงศ์ Belontiidae เช่นเดียวกับปลาสลิดแต่มีขนาดเล็กกว่า ครีบท้องยาวยื่นเป็นเส้น มี ๓ ชนิด คือ กระดี่หม้อ [ T. trichopterus (Pallas) ] ข้างตัวมีลายหลายเส้นพาดขวาง มีจุดดำที่กลางลำตัวและคอดหางแห่งละ ๑ จุด ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร, สลาก หรือ สลาง ก็เรียก, กระดี่นาง [ T. microlepis (Günther) ] สีขาวนวล และ กระดี่นางฟ้าหรือกระดี่มุก [ T. leeri (Bleeker) ] พบเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม, บางท้องถิ่นในแถบอีสานเรียก กระเดิด. |
กระดูกอึ่ง | น. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล Dendrolobium และ Dicerma วงศ์ Leguminosae คือ ชนิด D. triangulare (Retz.) Schindl. มักขึ้นในที่โล่งตํ่าซึ่งชุ่มแฉะในฤดูฝน ฝักเล็กแบนคอดกิ่วเป็นข้อ ๆ ใช้ทำยาได้, ขมิ้นนาง ขมิ้นลิง ลูกประคำผี หน้านวล เหนียวหมา หรือ อีเหนียว ก็เรียก |
กระทด | ว. คด, ไม่ตรง, เช่น คอกระทดคดคอดหยัก รวดท้าย (ตำราช้างคำโคลง), ไม้กระทดกระทำทอน ทุกที่ กงนา (โลกนิติ). |
กระสา ๑ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Ciconiidae ปากหนาแบนข้าง ยาว ปลายแหลมตรง คอและขายาว เวลาบินคอเหยียดตรง ทำรังด้วยกิ่งไม้อยู่บนยอดไม้สูง กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น กระสาคอขาว [ Ciconia episcopus (Boddaert) ] กระสาคอดำ [ Ephippiorhynchus asiaticus (Latham) ]. |
กะราง, กะลาง | น. ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิด ใน ๒ วงศ์ ลำตัวอ้วนป้อม หากินเป็นฝูงตามพื้นดิน อาจหากินร่วมกับนกชนิดอื่น ๆ พวกที่อยู่ในวงศ์ Sylviidae มีปากหนาสั้นสีดำปลายแหลม เช่น กะรางหัวหงอก [ Garrulax leucolophus (Hardwicke) ] กะรางคอดำ [ G. chinensis (Scopoli) ] กะรางสร้อยคอเล็ก [ G. monileqer (Hodgson) ] พวกที่อยู่ในวงศ์ Upupidae ได้แก่ กะรางหัวขวาน ( Upupa epops Linn.) ปากยาวแหลมโค้งสีดำ หงอนขนสีส้มขอบดำ ลักษณะหงอนขนเหมือนหมวกของอินเดียนแดง ขนตามลำตัวสีนํ้าตาลอมเหลือง มีแถบดำขาวสลับกัน, ชนิดนี้ การางหัวขวาน หรือ หงอนชบา ก็เรียก. |
ก้านคอ | น. ลำคอด้านหลัง. |
กิ้งโครง ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Sturnidae รูปร่างอ้วนป้อมคล้ายนกเอี้ยง หางสั้น ขาแข็งแรง กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมี ๖ ชนิด ชนิดที่มีขนาดเล็ก เช่น กิ้งโครงแกลบปีกขาว [ Sturnus sinensis (Gmelin) ] ชนิดที่มีขนาดกลาง เช่น กิ้งโครงคอดำ ( S. nigricollis (Paykull)), คลิ้งโคลง ก็เรียก. |
กิ่ว | ว. คอดมาก, เล็กตอนกลาง, เช่น คอกิ่ว ท้องกิ่ว หางกิ่ว |
กิ่ว | คอด. |
ขึ้นคอ | ก. เอามาห้อยคอด้วยความนับถือ เช่น พระสมเด็จองค์นี้ขึ้นคอได้. |
แข้งไก่ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Megalaspis cordyla (Linn.) ในวงศ์ Carangidae ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย เรียวลู่ไปทางคอดหางซึ่งแคบมากและเป็นเหลี่ยมแข็งคล้ายแข้งไก่ หน้าครีบก้นมีกระดูกเป็นหนามแข็ง ๒ อัน พับซ่อนในร่องเนื้อได้ ตาโตมีหนังตาไขมัน ปากกว้าง ครีบอกยาวใหญ่เป็นรูปเคียว ครีบหางเป็นแฉกกว้าง ท้ายครีบหลังและครีบก้นมีครีบฝอย ๗-๑๐ ครีบ เรียงห่างกัน เกล็ดเล็กแต่เฉพาะที่อยู่ในแนวเส้นข้างตัวจนถึงข้างหางขยายใหญ่มาก ด้านบนของหัวและลำตัวมีสีเขียวอมเทา ด้านท้องมีสีขาวเงิน ขอบแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีดำใหญ่ ว่ายน้ำเร็ว อยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, ขาไก่ อีลอง อีโลง หรือ หางแข็ง ก็เรียก. |
คอ | ส่วนของภาชนะที่คอดอยู่ระหว่างตัวกับปาก เช่น คอหม้อ |
คอระฆัง | น. ส่วนพระเจดีย์ตรงคอด ต่อองค์พระเจดีย์ (ที่เรียกระฆัง) กับบัลลังก์. |
คาบสมุทร | น. ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมเกือบรอบ ตามปรกติมักต่อเนื่องกับผืนแผ่นดินใหญ่เป็นคอคอด หรือยื่นยาวออกไปในทะเล. |
แค้ | น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในสกุล Bagarius วงศ์ Sisoridae หัวแบนแผ่ หนวดแบน ตาเล็ก ลำตัวยาวเรียวลู่จนแคบมากที่คอดหาง ครีบหางเป็นแฉกยาว ผิวหนังเป็นตุ่มแข็ง มีแต้มขนาดใหญ่สีนํ้าตาลเข้มอยู่บนหลังเป็นระยะ ๆ ครีบต่าง ๆ สีนํ้าตาล พบอาศัยตามพื้นท้องแม่นํ้าสายใหญ่ ๆ มี ๓ ชนิด ในประเทศไทยที่พบทั่วไปได้แก่ ชนิด B. bagarius (Hamilton-Buchanan) ซึ่งยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร และ B. yarrelli Sykes ยาวได้ถึง ๒ เมตร, คัง หรือ ตุ๊กแก ก็เรียก. |
จะละเม็ด ๑ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิด ในสกุล Pampus วงศ์ Stromateidae และในสกุล Parastromateus วงศ์ Carangidae รูปร่างป้อม ค่อนข้างสั้น ลำตัวแบนข้างมาก หัวเล็กมน ปากเล็ก เกล็ดเล็ก บริเวณคอดหางไม่มีสันคม ได้แก่ จะละเม็ดขาว [ Pampus argenteus (Euphrasen) ] หางเป็นแฉกยาว เว้าลึก จะละเม็ดเทา [ P. chinensis (Euphrasen) ] หางเว้าตื้น ทั้ง ๒ ชนิดนี้ไม่มีครีบท้อง ส่วนจะละเม็ดดำ [ Parastromateus niger (Bloch) ] ที่บริเวณคอดหางเป็นสันคม และมีครีบท้องเฉพาะในปลาขนาดเล็ก. |
ช้อนไอศกรีม | น. แผ่นไม้หรือแผ่นพลาสติกเล็ก ๆ ปลายมน กลางคอดเล็กน้อย สำหรับตักไอศกรีมกิน. |
ซาบะ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลาง มี ๓ ชนิด คือ ชนิด Scomber australasicus Cuvier ชนิด S. japonicas Houttuyn และชนิด S. scombrus Linn. ในวงศ์ Scombridae ลำตัวกลมยาว เรียวไปทางคอดหาง ชนิดแรกมีลวดลายสีน้ำเงินเข้มเป็นเส้นทะแยงหยักเรียงขนานชิดกันเป็นระเบียบอยู่เหนือเส้นข้างตัว ที่ต่ำลงไปจนถึงท้องลวดลายจะแตกเป็นจุดประสีเทาจางกระจายอยู่ทั่วไป ส่วนชนิดที่ ๒ มีลวดลายหยิกหยักสีน้ำเงินจางกว่า และกินบริเวณเกือบถึงแนวกลางลำตัว ๒ ชนิดแรกเป็นปลาฝูง พบกระจายพันธุ์อยู่ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดีย ชนิดที่ ๓ มีลายสีน้ำเงินเป็นริ้วขวางอยู่ครึ่งบนของลำตัว พบอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน. |
ไซ ๒ | น. ชื่องูน้ำจืดขนาดกลางชนิด Enhydris bocourti Jan ในวงศ์ Colubridae หัวป้อมใหญ่ ปลายปากมน คอไม่คอด ลำตัวอ้วนกลมสีน้ำตาลเหลืองหรือน้ำตาลแดง บนหลังมีลายเป็นปล้องใหญ่ หางสั้น มีพิษอ่อนมาก ผู้ถูกกัดมักไม่มีปฏิกิริยาต่อพิษงูชนิดนี้. |
ดัก ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Amblyceps mucronatum Ng & Kottelat ในวงศ์ Amblycipitidae ตาเล็กมาก มีหนวดอยู่ระหว่างรูจมูก ๔ คู่ ไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว แบนข้าง ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง มีแผ่นเนื้ออยู่ส่วนหน้าของครีบอก ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นแผ่นเนื้อ คอดหางกว้าง ครีบหางเป็นแฉก พบอาศัยอยู่ตามแหล่งต้นนํ้าลำธาร ขนาดยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร. |
ต้นคอ | น. ส่วนโคนของลำคอด้านหลัง. |
ต่อ ๑ | น. ชื่อแมลงหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ อันดับ Hymenoptera มีความยาว ๑.๕ เซนติเมตรขึ้นไป มีปีก ๒ คู่ ลักษณะเป็นแผ่นบางใส ปีกคู่หลังเล็กกว่าปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน ช่วงต่อระหว่างปล้องอกกับปล้องท้องคอดกิ่ว เพศเมียมีเหล็กในสำหรับต่อยปล่อยนํ้าพิษทำให้เจ็บปวดอาจถึงตายได้ และสามารถต่อยได้หลายครั้งต่างกับผึ้ง บางชนิดอยู่อย่างลำพัง แต่บางชนิดรวมกลุ่มทำรังอยู่เป็นฝูง ที่สำคัญได้แก่ วงศ์ Vespidae เช่น ต่อหัวเสือ [ Vespa affinis (Linn.) ] ต่อหลุม ( V. mandarinia Smith) นอกจากนี้ยังมีต่อในวงศ์อื่น ๆ เช่น ต่อกาเหว่า หมาร่า ต่อแมงมุม. |
ทู ๒ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Rastrelliger brachysoma (Bleeker) ในวงศ์ Scombridae หัวท้ายเรียว ลำตัวแบนข้าง เกล็ดเล็กบาง ด้านหลังสีน้ำเงินอมเขียว ปากกว้างเอียงขึ้นเล็กน้อย มีครีบหลัง ๒ ตอน ตอนที่ ๒ อยู่ตรงข้ามกับครีบก้น โดยต่างก็มีครีบย่อย ๕ อัน เรียงต่ออยู่ข้างท้าย ชิดโคนครีบหลังตอนแรกมีจุดสีดำ ๓-๖ จุด เรียงอยู่ ๑ แถว ข้างท้องสีขาวเงิน คอดหางแคบ อาศัยรวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้า. |
น้ำผึ้ง ๓ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Gyrinocheilus aymonieri (Tirant) และชนิด G. pennocki (Fowler) ในวงศ์ Gyrinocheilidae ลำตัวทรงกระบอก คอดหางใหญ่ ครีบหางเว้าตื้น ปลายหัวมน งุ้ม ตาเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านบน ที่สำคัญคือ มีรูน้ำเข้า ๑ รูอยู่เหนือแผ่นปิดเหงือก บริเวณจะงอยปากมีตุ่มเนื้อขนาดเล็ก ไม่มีหนวด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำ ข้างตัวมีจุดสีดำเรียงสลับกันตามยาวอยู่ ๒ แถว จุดสีดำยังอาจพบบนครีบ อาศัยตามที่ลุ่มน้ำต้นฤดูน้ำ หรือตามลำธารบนภูเขา กินสาหร่ายและพืชน้ำอื่น ๆ ปรกติใช้ปากดูดเกาะห้อยตัวอยู่กับวัตถุใต้น้ำหรืออยู่ตามพื้นท้องน้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๒๘ เซนติเมตร, สร้อยน้ำผึ้ง ปากใต้ ลูกผึ้ง ผึ้ง หรือ อีดูด ก็เรียก. |
ปล้องอ้อย | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Acanthopthalmus kuhlii (Valenciennes) ในวงศ์ Cobitidae ลำตัวยาว แบนข้าง ท้องมน คอดหางกว้าง หัวเล็กปลายทู่ ปากเล็กอยู่ตํ่า ตาเล็ก มีกระดูกเป็นหนามอยู่ใต้ตา เกล็ดเล็กมาก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง พื้นลำตัวสีเหลืองอ่อนหรือส้ม มีแถบกว้างสีดำหรือนํ้าตาลเข้มพาดขวางเป็นปล้อง ๆ โดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องนํ้าที่เป็นกรวดเป็นทรายตามลำธารเขตภูเขา เคลื่อนไหวรวดเร็วคล้ายงูเลื้อย กินสาหร่ายและเศษซาก ขนาดยาวเพียงไม่เกิน ๘ เซนติเมตร. |
ผมนาง | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Alectis ciliaris (Bloch), A. indicus (Rüppell), Carangoides armatus (Rüppell) และ C. hedlandensis (Whitley) ในวงศ์ Carangidae รูปร่างแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ลำตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก คอดหางเล็ก เกล็ดละเอียด เว้นแต่ที่ส่วนปลายของเส้นข้างตัว โดยเฉพาะบริเวณคอดหางเกล็ดจะขยายใหญ่เป็นสันแข็ง มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน โผล่อยู่หน้าครีบก้น และพับลงในร่องได้ ที่สำคัญคือ ต่างก็มีส่วนหน้าของทั้งครีบหลังตอนที่ ๒ และครีบก้นที่เป็นเส้นยาวมาก ลำตัวสีเงิน เฉพาะใกล้สันหลังเป็นสีฟ้าอมเทา ในระยะที่เป็นปลาขนาดเล็กจะมีลายพาดขวางเป็นบั้งสีเทาอยู่หลายแถบ เส้นครีบที่เป็นลายยาวมีสีคลํ้าหรือดำ จึงได้ชื่อว่า ผมนาง เฉพาะปลาขนาดเล็กของชนิด A. indicus (Rüppell) ยังมีครีบท้องยาวมากและมีขนาดยาวได้ถึง ๑๕๐ เซนติเมตร, โฉมงาม ก็เรียก. |
ม่ง ๑ | น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลในกลุ่มปลาหางแข็ง หางกิ่ว หรือสีกุน โดยเฉพาะที่มีขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ ในวงศ์ Carangidae มีลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับลงในร่องได้ คอดหางแคบ เกล็ดบนเส้นข้างตัวใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็งโดยเฉพาะที่บริเวณคอดหาง ไม่มีสีฉูดฉาด อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด Caranx sexfasciatus Quoy & Gaimard, C. melampygus Cuvier, C. ignobilis (Forsska&npsp;ํl), Carangoides gymnostethus (Cuvier), C. fulvoguttatus (Forsska&npsp;ํl) และ Alectis ciliaris (Bloch) ปลาเหล่านี้บางชนิดอาจมีขนาดยาวได้ถึง ๑.๔ เมตร, กะมง กะม่ง หรือ ม่ง ก็เรียก. |
มด ๑ | น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Formicidae ส่วนท้องปล้องที่ ๑ หรือปล้องที่ ๑ และปล้องที่ ๒ ที่ติดกับอกคอดกิ่ว ด้านหลังส่วนที่คอดมีโหนกนูน ลักษณะนี้ทำให้มดแตกต่างไปจากต่อ แตน และปลวก มีรูปร่าง ลักษณะ สี และกลิ่นแตกต่างกันตามชนิด เดินกันเป็นทางเพื่อขนอาหาร หรือย้ายรัง เป็นแมลงสังคม ทำรังอยู่เป็นกลุ่ม แบ่งชั้นวรรณะเป็นมดนางพญา มดผู้ และมดงาน มดงานเป็นมดเพศเมียที่เป็นหมันทำหน้าที่สร้างรัง เลี้ยงดูตัวอ่อน และหาอาหาร บางชนิดเมื่อถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยใช้อวัยวะต่อยปล่อยกรดหรือกัดให้เกิดแผลและปล่อยกรดออกมาทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือทำให้เจ็บปวดได้. |
ม้า ๓ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Boesemania microlepis (Bleeker) ในวงศ์ Sciaenidae ลำตัวกว้างมากในแนวอกและท้อง แล้วเรียวเล็กลงมากที่คอดหาง ก้านครีบแข็งก้านที่ ๒ ของครีบก้นใหญ่มาก ครีบหางมีปลายแหลม ครีบท้องมีปลายเป็นเส้นสั้น ๆ เกล็ดในแนวเส้นข้างตัวเด่นชัดเจนและเรียงต่อเลยไปจนสุดปลายของครีบหาง ลำตัวและหัวมีสีเงินหรือเทาอ่อน ด้านหลังมีลายสีเทาเอียงอยู่ตามแถวของเกล็ด พบทุกลุ่มนํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร, เขตลุ่มแม่นํ้าโขงเรียก กวาง เขตลุ่มแม่นํ้าบางปะกงเรียก หางกิ่ว. |
ยักษ์มักกะสัน | น. ผู้มีใจคอดุร้าย. |
สร้อยนกเขา | น. ชื่อปลาน้ำจืดบางชนิดในสกุล Osteochilus และ Dangila วงศ์ Cyprinidae ที่มีจุดสีเข้มบนเกล็ด ทำให้เห็นเป็นแถวของจุดเรียงตามยาวอยู่ข้างตัวหลายแถว เหนือครีบอกหรือที่คอดหางมีแต้มหรือจุดสีดำใหญ่ โดยเฉพาะที่พบทั่วไปคือ ชนิด O. hasselti (Valenciennes) ที่ส่วนหลังมีสีเขียวหรือฟ้าเทา ด้านข้างสีนวลและท้องเป็นสีขาวเงิน และมีกลุ่มจุดสีแดงกระจายอยู่เหนือครีบอก ครีบต่าง ๆ ยกเว้นครีบอกมีสีแดงหรืออมแดง ในบางท้องที่ปลาชนิดนี้จะมีสีดังกล่าวจางมาก ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ขี้ขม นกเขา ทองลิน หรือ ตูโบ ก็เรียก. |
สำลี ๓ | น. ชื่อปลาทะเลในสกุล SeriolinaและSeriolaวงศ์ Carangidae โดยเฉพาะชนิด Seriolina nigrofasciata (Rüppell) ซึ่งมีลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวทู่ ครีบหลังตอนหน้าเล็ก ก้านครีบสั้น เกล็ดเล็กมาก เกล็ดตามแนวเส้นข้างตัวไม่เป็นหนามแต่ยกเป็นสันนูนเล็ก ๆ เฉพาะบริเวณคอดหาง และไม่มีกระดูกหนามแข็งโผล่อยู่หน้าครีบก้น หัวและลำตัวตลอดจนครีบต่าง ๆ มีสีเทาเข้มจนถึงดำ ท้องสีขาวหรือเทา ปลาขนาดเล็กมีแถบหรือแต้มสีที่เข้มกว่า ๕-๗ แนว พาดทแยงลงด้านหน้าจากแนวสันหลังและจางลงเมื่อปลามีขนาดโตขึ้น ก้านครีบและกระดูกของปลาชนิดนี้ค่อนข้างอ่อน ขนาดยาวได้ถึง ๗๐ เซนติเมตร, ช่อลำดวน ก็เรียก. |
สีกุน | น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ที่มีขนาดเล็กหรือขนาดกลาง ในวงศ์ Carangidae ในกลุ่มปลาหางแข็ง หางกิ่ว หรือม่ง ที่มีแถบสีเหลืองพาดจากตาถึงคอดหาง หรือมีสีเหลือบเหลืองบนข้างตัว มักมีจุดสีดำที่มุมแผ่นปิดเหงือก อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่หรือเล็กใกล้ฝั่ง ส่วนใหญ่เป็นชนิดในสกุล Selaroides ซึ่งมีชนิดเดียว คือ S. leptolepis (Cuvier) และชนิดในสกุล Alepis, Selarส่วนสกุล Atuleมีชนิดเดียวคือ A. mate (Cuvier) ปลาเหล่านี้มีขนาดยาว ๑๔-๒๗ เซนติเมตร. |
เสือตอ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Datnioides pulcher (Bleeker) และ D. undecimradiatusRoberts & Kottelat ในวงศ์ Lobotidae ลำตัวกว้าง แบนข้าง แนวสันหลังโค้งมากกว่าแนวสันท้อง หัวแหลม ปากกว้างพอประมาณเชิดขึ้นเล็กน้อย จะงอยปากอยู่ต่ำกว่าระดับตา เกล็ดเล็กเป็นแบบเกล็ดหนาม ส่วนท้ายของครีบหลัง ครีบก้นและครีบหางมีขอบกลม ปลายครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้นสั้น ๆ พื้นลำตัวและครีบมีสีเทาจนถึงเหลืองและชมพูหม่น หรือน้ำตาลหม่นหรือคล้ำ ที่สำคัญคือมีแถบใหญ่สีดำหรือน้ำตาลเข้มพาดขวางอยู่บนหัว ลำตัว และคอดหาง รวม ๖ แถบ สำหรับชนิดแรกที่เคยพบในลุ่มน้ำภาคกลางและแม่น้ำโขง มีประวัติทางพฤติกรรมว่ามักหลบอยู่ตามตอไม้จมน้ำ ปัจจุบันปลาในธรรมชาติแทบไม่มีให้พบกันอีก ส่วนอีกชนิดหนึ่งพบเฉพาะในแม่น้ำโขง ทั้ง ๒ ชนิดคล้ายกันมากและมีขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, ลาด หรือ เสือ ก็เรียก. |
เสือพ่นน้ำ | น. ชื่อปลาน้ำกร่อยทุกชนิดในสกุล Toxotesวงศ์ Toxotidae บางชนิดอยู่ได้ดีในเขตน้ำจืด ทุกชนิดมีพฤติกรรมในการว่ายเสมอผิวน้ำและล่าเหยื่อจำพวกแมลงและแมงเป็นส่วนใหญ่ที่อยู่เหนือผิวน้ำได้ถึง ๓ เมตร ด้วยการพ่นเม็ดน้ำเป็นทางให้ไปโดนเหยื่อตกลงมาเป็นอาหาร ทุกชนิดมีพื้นลำตัวและครีบสีเงินอมเหลืองแกมเขียว ที่สำคัญคือ มีแถบหรือแต้มสีดำพาดขวางอยู่ตั้งแต่หัวถึงคอดหาง ขนาดยาว ๓๐-๕๐ เซนติเมตร, เสือ ก็เรียก. |
เสือสุมาตรา | น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิด Systomus partipentazona (Fowler) ในวงศ์ Cyprinidae มีรูปทรงคล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังมีก้านครีบแข็งก้านสุดท้ายมีขอบจักเป็นฟันเลื่อยละเอียด มีหนวดเพียงที่ขากรรไกรบน เกล็ดใหญ่ เส้นข้างตัวไปสุดที่แนวใต้ครีบหลังเท่านั้น พื้นลำตัวทั่วไปสีเหลืองเทา โดยเฉพาะใกล้แนวสันหลัง ที่สำคัญคือมีแถบสีดำเด่นพาดขวางจากสันหลังถึงหรือเกือบถึงสันท้อง ๔ แถบ คือ ที่บนหัว ที่แนวหน้า หลังครีบหลัง และที่คอดหาง ฐานครีบหลังและครีบก้นมีสีดำ ที่จะงอยปาก ขอบปลายครีบหลัง ครีบท้อง และครีบหางมีสีแดง ขนาดยาวไม่เกิน ๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก เสือ หรือ ข้างลาย. |
หงส์ ๒ | (หง) น. ชื่อนกจำพวกเป็ดขนาดใหญ่หลายชนิด วงศ์ย่อย Cygninae ในวงศ์ Anatidae คอยาว เป็นนกที่นำเข้ามาในประเทศไทย มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรป อเมริกา และตอนเหนือของทวีปเอเชีย เช่น หงส์ขาว [ Cygnus olor (Gmelin) ] หงส์ดำ [ C. atratus (Latham) ] หงส์คอดำ [ C. melanocorypha (Molina) ]. |
หมอ ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Anabas testudineus (Bloch) ในวงศ์ Anabantidae ลำตัวป้อม แนวสันหลังโค้งพอ ๆ กับแนวสันท้อง แบนข้าง ท้องกลม คอดหางกว้าง ตาอยู่ค่อนไปทางปลายหัว ปากกว้างเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กแต่แข็งแรง ขอบกระดูกแผ่นปิดเหงือกหยักเป็นหนามแข็ง ใช้แถกเพื่อช่วยยึดยันให้เคลื่อนไปบนบกได้ดี ขอบครีบต่าง ๆ กลม ลำตัวและครีบมีสีดำคลํ้า ส่วนปลาขนาดเล็กมีสีจางกว่าและมีลายบั้งพาดลำตัวเป็นระยะ ๆ อาศัยอยู่ในแหล่งนํ้าแทบทุกประเภท พบขึ้นมาบนบกในฤดูฝนเสมอ ซึ่งเป็นธรรมชาติการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยแบบหนึ่ง และยังแสดงให้เห็นความสามารถในการหายใจในที่ดอนได้อีกด้วย ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, หมอไทย หรือ สะเด็ด ก็เรียก, อีสานเรียก เข็ง. |
หมาร่า | น. ชื่อแมลงพวกต่อหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Sphecidae และ Eumenidae ลักษณะแตกต่างจากต่อ ในวงศ์ Vespidae คือปล้องต้น ๆ ของส่วนท้องมีส่วนคอดยาวกว่า ใช้ดินเหนียวทำรังขนาดเท่ากำปั้นหรือเล็กกว่าติดตามกิ่งไม้หรือตามที่อยู่อาศัยของคน ในรังส่วนใหญ่มีหนอนหรือแมลงลำตัวอ่อนนุ่มที่ถูกต่อยจนเป็นอัมพาตเพื่อเก็บไว้เป็นอาหารของตัวอ่อน เช่น ชนิด Sceliphron javanum (Lepeletier) ในวงศ์ Sphecidae และชนิด Eumenes esuriens Fabricius ในวงศ์ Eumenidae. |
หมู ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดทุกชนิดในสกุล Botia วงศ์ Cobitidae ลำตัวยาวป้อม แบนข้าง คอดหางกว้างมาก มีหนวด ๓ คู่ หนังหนาคลุมเกล็ดมิด บริเวณใต้ตามีเงี่ยงเป็นง่ามกระดูกกางและพับซ่อนตามยาวในร่องเนื้อได้ มีหลายชนิด เช่น ชนิด B. beauforti Smith, B. helodesSauvage, B. modesta Bleeker พบทั่วไปและชุกชุมในฤดูฝน. |
หยัก, หยัก ๆ | ก. เฉือนหรือควั่นให้เป็นรอยคอด, ทำให้เป็นรอยเป็นแง่, เช่น หยักไม้. |
หยัก, หยัก ๆ | น. รอยควั่น, รอยคอด, เช่น ควั่นหัวเสาให้เป็นหยัก บากไม้ให้เป็นหยัก. |
หลอด ๑ | (หฺลอด) น. ของกลมยาวขนาดเล็กที่มีรูตลอด เช่น หลอดกาแฟ หลอดแก้ว, โดยปริยายเรียกสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลอดตะเกียง หลอดไฟฟ้า หลอดวิทยุ หลอดนีออน หลอดทดลอง, เรียกแกนที่มีช่วงกลางคอดคล้ายลูกล้อสำหรับพันด้ายว่า หลอดด้าย, เรียกด้ายที่พันหลอดเช่นนั้น ว่า ด้ายหลอด, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ยาฉีด ๓ หลอด. |
หางกิ่ว | น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Carangidae อยู่ในกลุ่มปลาหางแข็ง สีกุน หรือม่ง ลักษณะสำคัญคือ ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับได้ คอดหางแคบมาก เกล็ดบนเส้นข้างตัวที่คอดหางใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็ง อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด Atule mate (Cuvier) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร ส่วนชนิดที่ใหญ่และยาวกว่าชนิดแรกมากคือ Caranx sexfasciatus Quoy & Gaimard ขนาดยาวได้ถึง ๗๘ เซนติเมตร สำหรับชนิดหลังนี้ สีขน ก็เรียก. |
หางนกยูง ๒ | น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่ออกลูกเป็นตัว ชนิด Poecilia reticulata Peters ในวงศ์ Poeciliidae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ นำเข้ามาเลี้ยงและขยายพันธุ์เป็นปลาสวยงาม ลำตัวยาว แบนข้าง คอดหางใหญ่ ปากเล็กเชิดขึ้น ตาโต ตัวผู้มีขนาดโตได้ยาวเพียง ๓ เซนติเมตร ส่วนตัวเมียยาวได้ถึง ๖ เซนติเมตร, กินยุง ก็เรียก. |
อินทรี ๒ | (-ซี) น. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่ทุกชนิดในสกุล Scomberomorus วงศ์ Scombridae ลำตัวแบนข้างเรียวยาว คอดหางเล็กมีสันเนื้อ ๓ แนวอยู่ที่โคนหาง หัวแหลม ปากกว้าง ปลายขากรรไกรบนและล่างยาวเสมอกัน เกล็ดเป็นแบบเกล็ดเรียบมีขนาดเล็กมาก ด้านหลังมีสีเทาดำอมฟ้าหรือน้ำเงิน ด้านท้องมีสีเงิน ข้างลำตัวมีลวดลายเป็นสีดำคล้ำแตกต่างกันชัดเจนระหว่างชนิดและเป็นที่มาของชื่อ คือ อินทรีบั้ง [ S. commerson (Lacepède) ] อินทรีจุด [ S. guttatus (Bloch & Schneider) ] อินทรีแท่งหรืออินทรีแท่งดินสอ [ S. lineolatus Cuvier ]. |
stenotic; stenosal; stenosed | ตีบ, คอด, -หดแคบ [ มีความหมายเหมือนกับ stegnotic ๑ ] [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
secondary venturi | คอคอดทุติยภูมิ [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
stenochoria; stenosis | การตีบ, การคอด, การหดแคบ [ มีความหมายเหมือนกับ stegnosis ๒ และ stricture ๑ ] [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
stenosal; stenosed; stenotic | ตีบ, คอด, -หดแคบ [ มีความหมายเหมือนกับ stegnotic ๑ ] [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
stenosed; stenosal; stenotic | ตีบ, คอด, -หดแคบ [ มีความหมายเหมือนกับ stegnotic ๑ ] [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
stenosis; stenochoria | การตีบ, การคอด, การหดแคบ [ มีความหมายเหมือนกับ stegnosis ๒ และ stricture ๑ ] [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
stegnosis | ๑. ส่วนคอด, รอยคอด [ มีความหมายเหมือนกับ constriction ]๒. การตีบ, การคอด, การหดแคบ [ มีความหมายเหมือนกับ stenochoria; stenosis และ stricture ๑ ] [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
stegnotic | ๑. ตีบ, คอด, -หดแคบ [ มีความหมายเหมือนกับ stenosal; stenosed; stenotic ]๒. ยาสมาน [ มีความหมายเหมือนกับ astringent ] [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
stricture, annular | รอยคอดรัดรอบ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
stricture, cicatricial | รอยคอดแผลเป็น [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
stricture | ๑. การตีบ, การคอด, การหดแคบ [ มีความหมายเหมือนกับ stegnosis ๒ และ stenochoria; stenosis ]๒. ส่วนตีบ, ส่วนคอด, รอยคอด [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
annular stricture | รอยคอดรัดรอบ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
cervix | ๑. คอ๒. คอมดลูก [ มีความหมายเหมือนกับ cervix uteri; neck, uterine; neck of the womb ]๓. ส่วนคอด [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
constrict | ตีบ, คอด [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
constriction | ส่วนคอด, รอยคอด [ มีความหมายเหมือนกับ stegnosis ๑ ] [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
cicatricial stricture | รอยคอดแผลเป็น [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
damping off | โรคเน่าคอดิน [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕] |
isthmus | ส่วนคอด [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
isthmus | คอคอด [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖] |
venturi | ๑. คอคอด [ มีความหมายเหมือนกับ throat ]๒. เวนจูริ [พลังงาน ๒๖ ม.ค. ๒๕๔๕] |
venturi | คอคอด, เวนจูริ [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
variable-choke carburetor; variable-venturi carburetor | คาร์บูเรเตอร์แบบคอคอดแปรผันได้ [ มีความหมายเหมือนกับ constant vacuum carburetor ] [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
variable-choke carburetor; variable-venturi carburetor | คาร์บูเรเตอร์แบบคอคอดแปรผันได้ [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
variable-venturi carburetor; variable-choke carburetor | คาร์บูเรเตอร์แบบคอคอดแปรผันได้ [ มีความหมายเหมือนกับ constant vacuum carburetor ] [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
variable-venturi carburetor; variable-choke carburetor | คาร์บูเรเตอร์แบบคอคอดแปรผันได้ [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
throat | คอคอด [ มีความหมายเหมือนกับ venturi ๑ ] [พลังงาน ๒๖ ม.ค. ๒๕๔๕] |
throat | คอคอด [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
torose | คอดเป็นระยะ [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕] |
torulose | คอดน้อย [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕] |
thoracostenosis | ๑. อกคอด๒. เอวกิ่ว [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
neck | ส่วนคอด [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
undercut | ส่วนเว้า, ส่วนคอด [ทันตแพทยศาสตร์๑๓ มี.ค. ๒๕๔๕] |
undercut gauge | เกจวัดส่วนเว้า, เกจวัดส่วนคอด [ทันตแพทยศาสตร์๑๓ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Kra, Isthmus of (Thailand) | คอคอดกระ [TU Subject Heading] |
Adenoma, Acidophilic | อซิฟิลิเดโนมา, อซิโดฟิลิคอดีโนมา, อซิโดฟิลิคอดีโนมา [การแพทย์] |
Adenoma, Basophilic | เบโซฟิลิคอดีโนมา, เบโซฟิลิคคอเดโนมา [การแพทย์] |
Angle, Codman's | มุมคอดแมน [การแพทย์] |
Aorta, Coarctation of | หลอดเลือดเอออร์ตาคอด [การแพทย์] |
Buddy Squats | ขี่คอดันขึ้น [การแพทย์] |
Cauda Equina | คอดาอีควินา;คอดาอีไควนา, ไขสันหลัง;คอดาอีไควนา [การแพทย์] |
Cervical Constriction | รอยคอด [การแพทย์] |
Coarctation | รอยตีบ, การคอด [การแพทย์] |
Coarctation Syndrome | กลุ่มอาการหลอดเลือดคอด [การแพทย์] |
Cod | ปลาคอด [การแพทย์] |
Cod Liver Oil | น้ำมันตับปลา, น้ำมันตับปลาคอด [การแพทย์] |
Constriction | ส่วนคอด, การบีบรัด, รอยคอด, การหด, อารมณ์ถูกบีบรัด, แคบ, บีบบังคับตนเอง, การคอด [การแพทย์] |
Constriction Band | รอยรัดคอดกิ่ว [การแพทย์] |
Cytomegalic Adrenocortical Hypoplasia | ซัยโตเมกาลิคอดรีโนคอร์ติคัลฮัยโปเพลเซีย [การแพทย์] |
Endocarditis, Staphylococcal Infective | โรคลิ้นหัวใจอักเสบสแตฟฟิโลคอคคัส, โรคลิ้นหัวใจอักเสบสแตฟฟิโลคอดคัส [การแพทย์] |
neck | neck, พื้นที่คอด, พื้นดินคอด [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ] |
neck cutoff | neck cutoff, ลำน้ำลัดส่วนคอด [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ] |
neck | neck, ส่วนคอด [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ] |
meander neck | meander neck, ส่วนคอดทางน้ำโค้งตวัด [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ] |
Isthmus | ส่วนที่เชื่อม, ส่วนคอด, อิชมัส, คอมดลูก, ช่องแคบ, คอคอด, บริเวณอิสธ์มัส [การแพทย์] |
Lymph Nodes, Cervical, Superficial | ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอด้านนอก [การแพทย์] |
คอคอด | [khøkhøt] (n) EN: isthmus |
คอด | [khøt] (adj) EN: narrowed ; constricted FR: resserré ; rétréci |
คอดกิ่ว | [khøtkiu] (adj) EN: compressed |
นกเดินดงคอดำ | [nok doēn dong khø dam] (n, exp) EN: Black-throated Thrush FR: Grive à gorge noire [ f ] ; Merle à gorge noire [ m ] |
นกกะรางคอดำ | [nok karāng khø dam] (n, exp) EN: Black-throated Laughingthrush FR: Garrulaxe à joues blanches [ m ] ; Garrulax chinois [ m ] ; Garrulaxe de Chine [ m ] |
นกกิ้งโครงคอดำ | [nok kingkhrōng khø dam] (n, exp) EN: Black-collared Starling FR: Étourneau à cou noir [ m ] ; Martin à col noir [ m ] |
นกกินแมลงคอดำ | [nok kin malaēng khø dam] (n, exp) EN: Black-throated Babbler FR: Timalie à gorge noire [ f ] |
นกกินปลีหางยาวคอดำ | [nok kin plī hāng yāo khø dam] (n, exp) EN: Black-throated Sunbird FR: Souimanga sombre [ m ] ; Souimanga à gorge noire [ m ] ; Souimanga à poitrine noire [ m ] |
นกกระจิบคอดำ | [nok krajip khø dam] (n, exp) EN: Dark-necked Tailorbird FR: Couturière à col noir [ f ] ; Fauvette-couturière à poitrine noire [ f ] ; Couturière des bois [ f ] |
นกกระจ้อยคอดำ | [nok krajøi khø dam] (n, exp) EN: Rufous-faced Warbler FR: Pouillot à gorge blanche [ f ] ; Fauvette à face rousse [ f ] ; Fauvette-gobemouches à gorge blanche [ f ] ; Pouillot à gorge striée [ m ] |
นกกระสาคอดำ | [nok krasā khø dam] (n, exp) EN: Black-necked Stork FR: Jabiru d'Asie [ m ] ; Jabiru asiatique [ m ] |
นกนางแอ่นทรายสร้อยคอดำ | [nok nāng-aen sāi søikhø dam] (n, exp) EN: Sand Martin ; Bank Swallow FR: Hirondelle de rivage [ f ] ; Hirondelle des sables [ f ] ; Hirondelle grise [ f ] ; Cotyle riveraine [ f ] |
นกนิลตวาท้องสีส้มคอดำ | [nok nintawā thøng sī som khø dam] (n, exp) EN: Rufous-bellied Niltava FR: Gobemouche sundara [ m ] ; Niltava à ventre roux [ m ] ; Niltava à ventre rouge [ m ] ; Niltava sundara [ m ] |
นกพญาไฟเล็กคอดำ | [nok phayāfai lek khø dam] (n, exp) EN: Fiery Minivet FR: Minivet flamboyant [ m ] |
ปลาค็อด = ปลาคอด | [plā khot = plā khøt] (n) EN: cod FR: morue [ f ] |