กวางชะมด | ดู ชะมด ๒. |
จันทน์ชะมด | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Aglaia silvestris (M. Roem.) Merr. ในวงศ์ Meliaceae ขึ้นตามป่าชื้นบางแห่ง เนื้อไม้หอม. |
จันทน์ชะมด | ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Mansonia gagei J.R. Drumm. ex Prain ในวงศ์ Sterculiaceae ขึ้นตามป่าดิบบนเขาหินปูน เนื้อไม้หอม, จันทน์หอม ก็เรียก. |
ชะมด ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae หน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาว มีลายเป็นปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้อวัยวะเพศ มักหากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด [ Viverricula malaccensis (Gmelin) ] เป็นชนิดที่ใช้นํ้ามันจากต่อมกลิ่นทำเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง ( Viverra zibetha Linn.), ชะมดแผงสันหางดำ ( V. megaspila Blyth), อีสานเรียก เห็นอ้ม. |
ชะมด ๒ | น. ชื่อกวางในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae เป็นกวางขนาดเล็ก ลำตัวป้อม หัวเล็ก ไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้งออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย ( Moschus moschiferus Linn.) กวางชะมดเขาสูง [ M. chrysogaster (Hodgson) ] กวางชะมดดำ ( M. Fuscus Li) และกวางชะมดป่า ( M. berezovskii Flerov) ไม่พบในประเทศไทยแต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. |
ชะมด ๓ | น. ชื่อมะกรูดพันธุ์หนึ่ง. |
ชะมด ๔ | น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเม่า มะพร้าวขูด และน้ำตาล กวนให้เข้ากัน ปั้นเป็นก้อนกลมแบน ชุบด้วยแป้งข้าวเจ้าแล้วทอดน้ำมัน. |
ชะมดเชียง | น. ชื่อเครื่องหอมชนิดหนึ่งซึ่งได้จากกวางชะมดตัวผู้ ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้. (ดู กวางชะมด ประกอบ). |
ชะมดต้น | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Abelmoschus moschatusMedik. subsp. moschatus ในวงศ์ Malvaceae ดอกสีเหลือง โคนกลีบสีนํ้าตาลเข้ม เมล็ดมีกลิ่นคล้ายกลิ่นชะมดเช็ด ใช้ทำยาได้, ฝ้ายผี ก็เรียก. |
กระแจะ ๑ | น. ผงเครื่องหอมต่าง ๆ ที่ประสมกันสำหรับทา เจิม หรืออบผ้า โดยปรกติมีเครื่องประสม คือไม้จันทน์ แก่นไม้หอม ชะมดเชียง หญ้าฝรั่น. |
กวาง ๑ | (กฺวาง) น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Cervidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องกีบคู่ มีหลายชนิด รูปร่างลำตัวเพรียว คอยาว ขายาว หางสั้น ตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้ ผลัดเขาปีละครั้ง ชนิดที่พบทั้งตัวผู้และตัวเมียมีเขา ได้แก่ กวางเรนเดียร์ [ Rangifer tarandus (Linn.) ] ชนิดที่ตัวเมียไม่มีเขา ได้แก่ กวางป่าหรือกวางม้า ( Cervus unicolor Kerr) ส่วนพวกที่ตัวผู้และตัวเมียไม่มีเขา ได้แก่ กวางชะมด (Moschus spp.) และกวางวอเตอร์เดียร์ ( Hydropotes inermis Swinhoe). |
เครื่องหอม | น. สิ่งต่าง ๆ ที่มีกลิ่นหอม เช่น แป้งร่ำ น้ำอบไทย, สิ่งที่ทำให้มีกลิ่นหอม เช่น ชะมดเช็ด กำยาน พิมเสน. |
จันทน์หอม | ดู จันทน์ชะมด (๒). |
ชมดชม้อย | (ชะมดชะม้อย) ก. ช้อนตาชำเลืองด้วยทีท่าชดช้อย. |
ชระมด | (ชะระ-) น. ชะมด. |
นาภี ๒ | น. ชะมด เช่น มฤคนาภี ว่า ตัวชะมด. |
ฝ้ายผี | ดู ชะมดต้น. |
เห็นอ้ม | น. ชะมด.(ดู ชะมด ๑). |