ตามที่จริง | สัน. คำขึ้นต้นประโยคหรือข้อความแสดงถึงความที่ถูกที่ควร, ที่จริง หรือ อันที่จริง ก็ว่า. |
กฎ | ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. |
กรมธรรม์ | (กฺรมมะทัน) น. เอกสารสัญญาซึ่งทำขึ้นตามที่กฎหมายกำหนด เช่น เอกสารที่ทาสลูกหนี้ยินยอมให้กรมการอำเภอทำให้ไว้แก่เจ้าหนี้นายเงิน สัญญาขายฝากที่ไร่ที่สวน, คำนี้เรียกเต็มว่า สารกรมธรรม์ หรือย่อว่า สารกรม, บางทีเรียกเพียงคำเดียวว่า กรม ก็มี เช่น กู้หนี้ถือสีนกันเข้าชื่อในกรมหลายคน (สามดวง). |
กระจับบก | น. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งขึ้นในป่าตํ่าตามที่นํ้าท่วม มักขึ้นปะปนกับเถากรด ซึ่งดูผาด ๆ คล้ายคลึงกัน ใบคู่ ขอบใบตอนบนที่ใกล้หรือติดกับก้านมีต่อมข้างละต่อม ผลนัยว่าแบน ๆ รูปสามเหลี่ยม ไม้ใช้ทำฟืน. |
กระชัง ๒ | น. เครื่องสำหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นกง ๔ อัน แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะเป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบเพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกรํ่า เมื่อจับปลาหรือกุ้งได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่ากระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สำหรับจับปลาขนาดใหญ่มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยนํ้าไว้. |
กระเซ้ากระซี้ | ก. พูดรบเร้ารํ่าไรเพื่อให้ได้ตามที่ต้องการ, เซ้าซี้ ก็ว่า. |
กระโดนดิน | น. ชื่อไม้พุ่มเตี้ยชนิด Careya herbacea Roxb. ในวงศ์ Lecythidaceae ชอบขึ้นตามที่ลุ่มดินทราย ลักษณะทั่วไปคล้ายกระโดน สูงไม่เกิน ๑ เมตร ผลมีขนาดย่อมกว่า, กระโดนเบี้ย ก็เรียก. |
กระเรียน | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Grus antigone (Linn.) ในวงศ์ Gruidae ขนลำตัวสีเทา หนังหัวและต้นคอสีแดง คอยาว ขายาว ปีกกว้าง หางกว้างและสั้น เวลาบินคอเหยียดตรง หากินตามที่ราบลุ่ม กินพืช แมลง และสัตว์ขนาดเล็ก, กาเรียน ก็เรียก. |
กระสัง ๑ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Piperomia pellucida (L.) Humb. Bonpl. et Kunth ในวงศ์ Piperaceae ขึ้นอยู่ทั่วไปตามที่ชื้น ลำต้นอวบนํ้า. |
กราฟ | เซตของจุดที่เรียงกันอย่างมีระเบียบตามที่กำหนดขึ้นด้วยสมการหรืออสมการ. |
กลับคำ | ก. พูดแล้วไม่เป็นตามพูด, ไม่ทำตามที่พูดไว้, พูดแล้วเปลี่ยนคำพูด. |
กะพร่องกะแพร่ง | ไม่เต็มที่, ไม่ครบถ้วน, ไม่พอเพียง, (ตามที่คาดหมายไว้). |
กักยาม | น. การกักตัวไว้ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่สมควรตามที่จะกำหนด. |
กาซะลองคำ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Radermachera ignea (Kurz) Steenis ในวงศ์ Bignoniaceae ชอบขึ้นตามที่ค่อนข้างชุ่มชื้นทางภาคเหนือ เปลือกเรียบสีเทา ดอกสีเหลืองทอง, อ้อยช้าง ก็เรียก. |
กามท-, กามทท | (กามมะทะ-, กามมะทะทะ, กามมะทด) น. การให้ตามที่ปรารถนา, ผู้ให้สิ่งที่น่าปรารถนา เช่น หนึ่งโสดกามทราช จักประพาศยลราชี ตามวิถีแนวไม้ไพรระเรียง (ม. คำหลวง หิมพานต์). |
กินปิ่นโต | ก. ว่าจ้างให้ทำอาหารใส่ปิ่นโตส่งให้ตามที่ตกลงกัน, ผูกปิ่นโต ก็ว่า, (ปาก) ว่าปิ่นโต. |
กินเปล่า | (-เปฺล่า) น. เรียกเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิตามที่ตกลงกัน ว่า เงินกินเปล่า. |
กุระ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Shirakiopsis indica (Willd.) Esser ในวงศ์ Euphorbiaceae ขึ้นตามที่ลุ่มนํ้าขังและริมคลองนํ้ากร่อย ทุกส่วนมียางขาว ผลกลม แก่จัดแยกออกเป็น ๓ ซีก, สมอทะเล ก็เรียก. |
แก้บน | ก. เซ่นสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามที่ตนได้บนบานไว้, ใช้บน ก็ว่า. |
แก้ฟ้อง | ก. แก้ไขคำฟ้องตามที่ศาลสั่งในกรณีที่คำฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย |
แกนทราย | น. แกนที่ใช้ในการหล่อพระพุทธรูปหรืองานประติมากรรมไทยด้วยวิธีสูญขี้ผึ้ง ทำด้วยทรายผสมดินเหนียว หมักให้ชุ่มและเหยียบให้เข้ากันจนเหนียว จึงปั้นขึ้นเป็นรูปเลา ๆ เรียกว่า โกลน แล้วผึ่งให้แห้ง จากนั้นเอาขี้ผึ้งพอกและปั้นส่วนผิวจนเป็นรูปตามที่ต้องการ. |
ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า | ก. บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ตนต้องการ เช่น จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์เรา เหมือนข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า (สังข์ทอง). |
ขอร้อง | ก. ขอให้ช่วยเหลือ, ขอให้ทำตามที่ขอ. |
ขอช้าง ๒ | น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง ปากยาวรูปร่างคล้ายขอช้าง ตัวขนาดนกยูงแต่คอสั้นกว่า สีน้ำตาลไหม้ หากินตามที่โล่งเตียน เช่น ตามชายทุ่งนา. |
ข่อยน้ำ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมชนิด Streblus taxoides (K. Heyne) Kurz ในวงศ์ Moraceae ขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ลำต้นและกิ่งก้านมักงอหักไปมา ใบเกลี้ยง ไม่สากคาย, ข่อยหยอง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ขี้แรด. |
ขาดเหลือ | ก. ไม่ครบตามที่ควรมี เช่น ถ้ามีสิ่งใดขาดเหลือ ก็ขอให้บอก. |
ขายตามตัวอย่าง | น. การขายที่คู่สัญญาตกลงซื้อขายทรัพย์สินตามที่ผู้ขายได้นำทรัพย์สินมาแสดงให้ดูเป็นตัวอย่าง. |
ขายเหมา | (-เหฺมา) น. การขายซึ่งผู้ซื้อตกลงซื้อทรัพย์สินที่ผู้ขายเสนอขายหมดทั้งจำนวนในราคาตามที่ตกลงกัน. |
ขุด | ก. กิริยาที่สับ เจาะ แทง หรือ คุ้ยเอาดินหรือสิ่งที่อยู่ในดินขึ้น เช่น ขุดดิน ขุดศพ, อาการที่ขุดดินหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มีรูปร่างตามที่ต้องการ เช่น ขุดหลุม |
เขตติดโรค | น. ท้องที่หนึ่งท้องที่ใด ในหรือนอกราชอาณาจักรที่มีโรคติดต่อเกิดขึ้น ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด. |
เขตอำนาจศาล | น. พื้นที่และอำนาจของศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดีตามที่กฎหมายบัญญัติ. |
เข้าทาง | ก. ตรงตามที่ต้องการ, ตรงตามที่ถนัด. |
เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม | ก. ประพฤติตนตามที่คนส่วนใหญ่ประพฤติกัน. |
เข้าล็อก | ก. เป็นไปตามที่คาดหมาย. |
คณะกรมการจังหวัด | น. คณะบุคคลซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น และให้ความเห็นชอบในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด กับปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนด. |
คณะองคมนตรี | น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัยจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนด มีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราช-กรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ. |
คดี | เรื่องหรือความที่ฟ้องร้องหรือกล่าวหากันในทางกฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการตามกระบวนวิธีพิจารณาความตามที่กฎหมายกำหนด เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง. |
คราด ๒ | (คฺราด) น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Compositae ขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่าในที่ชื้นแฉะ เรียกกันว่า ผักคราด หรือ ผักคราดหัวแหวน เช่น ชนิด Acmella oleracea (L.) R. K. Jansen ดอกสีเหลืองทรงกรวยแหลม ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย, พายัพเรียก ผักเผ็ด. |
ความเห็น | น. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็นว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ. |
คัดท้าย | ก. คอยคุมให้ไปตรงตามที่ต้องการ, โดยปริยายหมายความว่า อยู่ตำแหน่งสุดท้ายหรือเกือบสุดท้าย. |
คัดไทย | น. วิชาคัดภาษาไทยตามที่ครูสั่ง. |
ค่าเสมอภาค | น. มูลค่าหรือราคาของหุ้น หรือหลักทรัพย์อื่นตามที่ตราไว้ |
ค้าง ๑ | ก. ตกลงมาหรือขึ้นไปติดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, ติดอยู่กลางทาง, ติดอยู่, เช่น เรือค้างแห้ง ค้างหนี้, ยังไม่แล้วเสร็จตามที่กำหนด เช่น ทำงานค้าง |
เครือดิน | น. ไม้เถาตามที่กล่าวไว้ในไตรภูมิวินิจฉัยว่ามีสัณฐานประดุจดังผักบุ้งและแพงพวย. |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ | น. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด. |
โคกกระออม | น. ชื่อไม้เถาชนิด Cardiospermum halicacabum L. ในวงศ์ Sapindaceae ขึ้นทั่วไปตามที่รกร้าง ลำต้นเรียวเป็นร่อง ใบสีเขียวอ่อน มีมือเกาะ ดอกเล็ก สีขาว ผลกลม มีกลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยมพองลมหุ้มอยู่ รากและใบใช้ทำยาได้, กระออม ก็เรียก. |
โครงการ | น. แผนหรือเค้าโครงตามที่กะกำหนดไว้. |
งด | ก. หยุดหรือเว้น คือ ไม่กระทำหรือไม่ดำเนินการตามปรกติ เช่น ผู้ป่วยต้องงดอาหารและน้ำตามที่แพทย์สั่ง. |
เงินกินเปล่า | น. เงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิตามที่ตกลงกัน. |
เงินรายปี | น. จำนวนเงินที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายให้แก่ผู้รับเงินรายปีตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบเงินรายปี ซึ่งผู้รับประกันภัยสัญญาว่า ตราบใดที่ผู้เอาประกันชีวิตยังทรงชีพอยู่ บริษัทจะจ่ายเงินให้ตลอดไปจนกว่าจะเสียชีวิต หรือจะจ่ายให้ชั่วระยะเวลาหนึ่งตามที่ตกลงไว้ เงินรายปีนี้อาจจะจ่ายเป็นงวด รายปี รายครึ่งปี หรือรายเดือนก็ได้ จำนวนเงินที่จ่ายอาจจะคงที่ เพิ่มขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงก็ได้. |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ | สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบําเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้สร้างขึ้นสําหรับพระราชทานเป็น บำเหน็จความชอบในราชการหรือส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึงเครื่องราช-อิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำ ความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด [ศัพท์พระราชพิธี] |
Shortfall | ผู้ขายทำผิดสัญญาไม่สามารถส่งก๊าซให้ผู้ซื้อได้ตามที่ผู้ซื้อขอ, Example: เหตุการณ์ที่ผู้ขายทำผิดสัญญาไม่สามารถส่งก๊าซให้ผู้ซื้อได้ตามที่ผู้ซื้อขอ ให้ส่งก๊าซมาในช่วงเวลาหนึ่งๆ ภายใต้ CDC (Contractual Delivery Capacity) หรือ DCQ (Daily Contract Quantity) ที่ได้รับรองไว้ จะถูกลงโทษโดยส่งมอบก๊าซส่วนที่ส่งขาดไปในภายหลังในราคาลดลง เช่น ในราคา 75% ของ current price [ปิโตรเลี่ยม] |
Show | ผู้ขายทำผิดสัญญาไม่สามารถส่งก๊าซให้ผู้ซื้อได้ตามที่ผู้ซื้อขอ, การปรากฏมีอยู่ของน้ำมันหรือก๊าซ, Example: การปรากฏมีอยู่ของน้ำมันหรือก๊าซที่เห็นได้ในเศษหินตัด (Cuttings) แท่งหิน (cores) หรือในน้ำโคลนที่ใช้ในการเจาะ (drilling mud) [ปิโตรเลี่ยม] |
Capital requirement | เงินทุนตามที่กำหนดไว้ [เศรษฐศาสตร์] |
Compulsory licence | ใบอนุญาตตามที่กฎหมายบังคับ [เศรษฐศาสตร์] |
Special monitoring | การเฝ้าสังเกตพิเศษ, การตรวจติดตามที่กำหนดขึ้นสำหรับสถานการณ์จำเพาะ ของสถานปฏิบัติการ เพื่อให้ได้ข้อมูลเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่ามีการควบคุมที่ดี โดยมากจะใช้ในขั้นตอนดำเนินการของสถานปฏิบัติการใหม่ ใช้ในกรณีที่มีการดัดแปลงที่สำคัญของสถานปฏิบัติการและวิธีปฏิบัติ หรือใช้กับปฏิบัติการภายใต้ภาวะผิดปกติ เช่น การเกิดอุบัติเหตุ การเฝ้าสังเกตพิเศษนี้ อาจเป็นการเฝ้าสังเกตรายบุคคล หรือ การเฝ้าสังเกตสถานปฏิบัติการเฉพาะแห่ง, Example: [นิวเคลียร์] |
Roentgen equivalent man | หน่วยเดิมที่ใช้วัดปริมาณรังสีสมมูล, เป็นผลคูณระหว่างปริมาณรังสีดูดกลืนที่มีหน่วยเป็นแร็ด กับค่าปรับเทียบที่แตกต่างกันตามชนิดและพลังงานของรังสี (อาร์บีอี) สำหรับรังสีเอกซ์หรือแกมมา ค่าปรับเทียบมีค่าใกล้เคียงกับ 1 (ในทางปฏิบัติใช้ค่า 1) นั่นคือ เมื่อรังสีก่อไอออนชนิดใดก็ตามที่ก่อให้เกิดผลทางชีวภาพต่อเซลล์ที่มีชีวิตเทียบเท่ากับการรับรังสีเอกซ์หรือแกมมา 1 แร็ด เรียกว่าได้รับปริมาณรังสีสมมูล 1 เรม ปัจจุบันหน่วยเรมนี้ใช้หน่วยซีเวิร์ตแทน โดย 1 ซีเวิร์ตเท่ากับ 100 เรม (ดู equivalent dose, H$_T$ และ sievert, Sv ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
system | ระบบ, ที่รวมของส่วนประกอบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน มีจุดประสงค์ร่วมกัน และมีขอบเขตโดยแน่ชัด เช่น คอมพิวเตอร์เป็นระบบ เพราะประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาตามที่ผู้ใช้กำหนด ร่างกายมนุษย์เป็นระบบเพราะประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ร่างกายมีชีวิตอยู่ ระบบทั้งหลายต้องรับอินพุดรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเข้าไปในระบบ ต่อจากนั้นจึงนำอินพุดเหล่านั้นมาดำเนินการให้เกิดเป็นเอาท์พุต หรือปรับอินพุดหรือการดำเนินการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การนำเอาท์พุดมาพิจารณาแล้วปรับ ดังนี้เรียกว่า การป้อนกลับ (feedback) [คอมพิวเตอร์] |
Patent | สิทธิบัตร, หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention)การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Model)ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
Selective Dissemination Information | บริการสารสนเทศคัดสรรเพื่อเผยแพร่ตามที่ผู้ใช้ระบุความต้องการ [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
Ad hoc | เพื่อวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายโดยเฉพาะ เช่น คณะกรรมการการเมืองพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะ ตามที่รับมอบหมายจากสมัชชาสหประชาชาตินั้น แต่เดิมมีชื่อว่าคณะกรรมการการเมืองเฉพาะเรื่อง (Ad hoc Committee) [การทูต] |
Aide-memoire หรือ Memoire | แปลตามตัวอักษรว่า ช่วยความจำ เป็นหนังสือโต้ตอบทางการทูตประเภทหนึ่ง คือ บันทึกสังเขปของการเจรจาที่ได้กระทำกันเสร็จสิ้นแล้ว บันทึกช่วยจำเช่นนี้ไม่มีการกล่าวนำเป็นทางการและไม่มีการลงชื่อ ซึ่งจะมอบให้แก่กันเมื่อเสร็จการเจรจากันแล้ว ความมุ่งหมายของบันทึกนี้คือ เพื่อบันทึกข้อเท็จจริงไว้เป็นหลักฐานซึ่งผู้รับบันทึกทราบดีแล้วบันทึกช่วย จำก็คือ บันทึกสรุปการสนทนาทางการทูตอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างผู้แทนหรือพนักงานทางการทูตกับหัวหน้าหรือพนักงานของกระทรวงการต่าง ประเทศ จุดประสงค์ตามที่ชื่อบ่งอยู่แล้วว่า เป็นการสรุปประเด็นต่าง ๆ ในการสนทนาเพื่อเตือนความจำนั้นเอง ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะมอบบันทึกนี้ไว้กับกระทรวงการต่างประเทศ ในบันทึกนั้นบรรทัดแรกจะระบุว่าใครเป็นผู้ส่งและใครเป็นผู้รับบันทึก ผู้ส่งบันทึกจะต้องลงชื่อย่อกำกับบันทึกไว้ด้วยบันทึกช่วยจำอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า pro memoria โดยปกติภาษาที่ใช้ใน pro memoria จะมีลักษณะถ้อยคำเป็นทางการมากกว่า aide-memoire [การทูต] |
Ambassador | เอกอัครราชทูต - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัคร ราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว [การทูต] |
Bangkok Plan of Action | แผนปฏิบัติการกรุงเทพ (ในการประชุมอังค์ถัด) เป็นเอกสารที่ระบุรายละเอียดของแนวนโยบาย วิธีการ และมาตรการในการดำเนินนโยบายด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการพัฒนาที่ประเทศสมาชิกอังค์ถัดได้ตกลงโดยฉันทามติเมื่อการประชุมอัง ค์ถัด ครั้งที่ 10 เพื่อให้ประเทศสมาชิกอังค์ถัดและสำนักเลขาธิการอังค์ถัดดำเนินการให้บรรลุ วัตถุประสงค์ตามที่แถลงไว้ในแถลงการณ์กรุงเทพ และเป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมืองเช่นเดียวกัน แผนปฏิบัติการกรุงเทพแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้ (1) การประเมินผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบของโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีต่อการ พัฒนา (2) การประมวลพัฒนาการของข้อริเริ่มระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ (3) มาตรการและข้อริเริ่มต่าง ๆ ที่นำมาใช้โดยประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศกำลังพัฒนารวมตัวเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้ และ (4) บทบาทในอนาคตของอังค์ถัด [การทูต] |
Commencement of the Functions of the Head of Diplomatic Mission | การเริ่มต้นรับหน้าที่ของหัวหน้าคณะผู้แทนทางการ ทูต กล่าวคือ เมื่อหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตเดินทางไปถึงนครหลวงของประเทศผู้รับแล้ว ควรรีบแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทราบว่า ตนได้เดินทางมาถึงแล้วและขอนัดเยี่ยมคารวะ ตามปกติกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของอธิบดีกรมพิธีการทูตจะดำเนินการตระเตรียมให้หัวหน้าคณะ ผู้แทนทางการทูตได้เข้ายื่นสารตราตั้งต่อไประหว่างนั้น หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะต้องไม่ไปพบเยี่ยมผู้ใดเป็นทางการ จนกว่าจะได้ยื่นสารตราตั้งเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี หัวหน้าคณะผู้แทนอาจขอพบเป็นการภายในกับหัวหน้าของคณะทูตานุทูต (Dean หรือ Doyen of the Diplomatic Corps) ได้ เพื่อขอทราบพิธีการปฏิบัติในการเข้ายื่นสารตราตั้งต่อประมุขของประเทศผู้รับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 13 ว่า1. พึงถือได้ว่าหัวหน้าคณะผู้แทนได้เข้ารับภารกิจหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้งหรือเมื่อตนได้บอกกล่าวการมาถึงของตน พร้อมทั้งได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้งต่อกระทรวงการต่างประเทศของ รัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกันในแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป2. ลำดับของการยื่นสารตราตั้ง หรือสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง จะได้พิจารณากำหนดตามวันและเวลาของการมาถึงของหัวหน้าคณะผู้แทน [การทูต] |
Conduct of Diplomatic Mission Towards the Receiving State | ในการปฏิบัติของคณะผู้แทนทางการทูตต่อรัฐผู้รับ นั้นหน้าที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของนักการทูตคือ จะต้องละเว้นจากการเข้าแทรกแซงใด ๆ ในกิจการภายในของรัฐผู้รับ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในมาตราที่ 41 ว่า1. โดยไม่เสื่อมเสียแก่เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของตน เป็นหน้าที่ของบุคคลทั้งมวลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นนี้ ที่จะเคารพกฎหมายรวมทั้งข้อบังคับของรัฐผู้รับ บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ที่จะไม่แทรกสอดในกิจการภายในของรัฐนั้นด้วย2. ธุรกิจในทางการทั้งมวลกับรัฐผู้รับ ซึ่งรัฐผู้ส่งได้มอบหมายแก่คณะผู้แทนให้กระทำกัน โดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นเช่นที่อาจจะตกลงกัน3. สถานที่ของคณะผู้แทนต้องไม่ใช้ไปในทางที่ไม่ต้องด้วยกับการหน้าที่ของคณะผู้ แทน ดังที่ได้กำหนดลงไว้ในอนุสัญญานี้ หรือโดยกฎเกณฑ์อื่นของกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป หรือด้วยการตกลงพิเศษอื่นใดที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ข้อ 42 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติด้วยว่า ตัวแทนทางการทูตจะต้องไม่ปฏิบัติกิจกรรมใดทางวิชาชีพหรือพาณิชย์เพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวในรัฐผู้รับตามบทบัญญัติข้างต้นของอนุสัญญากรุงเวียนนา พอจะตีความหมายได้ว่า ผู้แทนทางการทูตจะต้องเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เพื่อที่จะธำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมทั้งความปลอดภัยในรัฐผู้รับ การปฏิบัติใดๆ ที่ถูกต้องของผู้แทนทางการทูตนั้นย่อมเป็นเครื่องประกันอย่างดีที่สุด ที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตนั้นจะถูกล่วงละเมิดมิได้ตามที่กล่าวอ้าง [การทูต] |
Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] |
Consular Fees and Charges | ค่าธรรมเนียมและค่าภาระทางกงสุล ตามข้อ 39 ของอนุสัญญากรุงเวียนนา ได้กำหนดไว้ว่า1. สถานที่ทำการทางกงสุล อาจเรียกเก็บในอาณาเขตของรัฐผู้รับ สำหรับการปฏิบัติงานทางกงสุลซึ่งค่าธรรมเนียม ค่าภาระตามที่ได้บัญญัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง2. จำนวนเงินที่เก็บได้ในรูปค่าธรรมเนียมและค่าภาระตามที่อ้างถึงในวรรค 1 ของข้อนี้ ใบรับสำหรับค่าธรรมเนียมหรือค่าภาระเช่นว่านั้น จะได้รับยกเว้นจากค่าติดพันและภาษีทั้งปวงในรัฐผู้รับ [การทูต] |
Diplomatist หรือ Diplomat | ใช้กับราชการทุกคนที่ประจำทำงานในด้านทางการทูต ไม่ว่าจะประจำอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศ หรือในราชการต่างประเทศ คือ ในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือในสำนักงานทางทูตอื่นๆในทรรศนะของ เซอร์แฮโรลด์ นิโคลสัน นักการทูตยอดเยี่ยมคนหนึ่งของอังกฤษ ได้ระบุไว้ว่า นักการทูตหรือ Diplomat จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ ยึดถือความเป็นจริง มีความแม่นยำ สงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น อารมณ์ดี มีความสงบเสงี่ยมและมีความจงรักภักดี ทั้งยังจะต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญา มีความรู้ มองเห็นการณ์ไกล มีความสุขุมรอบคอบ ใจดีกับแขกและผู้แปลกหน้า มีเสน่ห์ มีความอุตสาหะวิริยะ มีความกล้า และมีปฏิภาณในทำนองเดียวกัน Francoise de Callieres (1645-1717) นักการทูตชั้นเยี่ยมของฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป็นเอกอัครราชทูตประจำโปแลนด์ ซาวอย ฮอลแลนด์ บาวาเรีย และลอเรน ได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งชื่อว่า De la miniere avec les souverains เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการเจรจาทางการทูต ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังเป็นที่รับรองกันทั่วไปว่าเป็นหนังสือที่ดีเยี่ยมเล่ม หนึ่ง หรือเป็นจินตกวีนิพนธ์เรื่องการดำเนินการทูตกับเจ้าผู้ครองนคร (Princes) สมัยนั้นCallieres ได้วางมาตรฐานของนักการทูตไว้สูงมากเพราะเขาเห็นว่า ไม่มีงานราชการใด ๆ ที่จะยากยิ่งไปกว่าการเจรจา ในการเจรจานั้น ผู้เจรจาจะต้องสามารถมองเห็นเหตุการณ์ทะลุปรุโปร่ง หรือมีสติปัญญาเฉียบแหลม มีความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง มีความละมุนละไม มีความรอบรู้และความเข้าใจอย่างกว้างขวาง ตลอดจนข้อสำคัญที่สุด ต้องเป็นผู้มีความสุขุมคัมภีรภาพ สามารถมองเห็นการณ์ไกลชนิดเจาะลึกทีเดียว นอกจากนี้ จะต้องเป็นผู้มีอารมณ์ขันอย่างสม่ำเสมอ ไม่โกรธง่าย มีจิตใจสงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น พร้อมเสมอที่จะรับฟังทุกคนที่เขาพบด้วยความตั้งอกตั้งใจ พูดจาอย่างเปิดเผย และมีอารมณ์ร่าเริงไม่หน้าเง้าหน้างอ มีอัธยาศัยไมตรี รวมทั้งมีกิริยาท่าทางเป็นที่ต้องตาต้องใจกับทุกคน ในฐานะนักเจรจา (Negotiator) นักการทูตจะต้องมีคุณลักษณะและคุณสมบัติตามที่กล่าวมานี้เป็นอย่างน้อย เนื่องจากมีการเจรจาเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของนักการทูตนั่นเอง [การทูต] |
Duration of Diplomatic Privileges and Immunities | ระยะเวลาของการอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทาง การทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 39 ว่า?1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ที่จะได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาใน อาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตนต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน 2. เมื่อภารกิจหน้าที่ของบุคคล ซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามปกติให้สิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดอันสมควรที่จะทำเช่นนั้น แต่จะยังมีอยู่จนกระทั่งเวลานั้น แม้ในกรณีของการขัดแย้งด้วยอาวุธ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปโดยบุคคลเช่นว่านั้น ในการปฏิบัติการหน้าที่ของตนในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน ความคุ้มกันนั้นให้มีอยู่สืบไป 3. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามีสิทธิที่จะได้สืบไป จนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป 4. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นอยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว รัฐผู้รับสามารถอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่การส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดก และการรับมรดกนั้น ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับเพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่เพียงถ่ายเดียวของผู้วายชนม์ ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือในฐานะเป็นคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน? [การทูต] |
Free Trade Zones | เขตปลอดภาษี เป็นอาณาบริเวณที่อยู่ใกล้ท่าเรือหรือท่าอากาศยานที่อนุญาตให้นำเข้าโดยไม่ ต้องเสียภาษีนำเข้า ทั้งนี้ อาจเป็นการนำเข้าเพื่อส่งไปยังประเทศที่สาม หรือนำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าสำหรับส่งออกตามที่กฎหมายกำหนด จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าของประเทศ นั้น ๆ ให้สามารถส่งออกไปขายแข่งกับตลาดโลกได้มากขึ้น [การทูต] |
Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต] |
human security | ความมั่นคงของมนุษย์ " หมายถึง การสร้างสภาพที่มั่นคงให้แก่มนุษย์โดยครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านการเมือง (เช่น การปลอดจากภัยสงคราม) ด้านเศรษฐกิจ (เช่น การกินดีอยู่ดี การมีสุขอนามัย) และด้านสังคม (เช่น การมีสิทธิพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด) " [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
International Labor Organization | คือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน ปีค.ศ.1919 วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ การมีส่วนเกื้อกูลให้มีสันติภาพอันถาวร ด้วยการส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในสังคม โดยต้องการให้ทุกประเทศปฏิบัติการปรับปรุงสภาวะแรงงาน ส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นการที่จะให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมเป็นประจำ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายแรงงาน และฝ่ายจัดการ เพื่อเสนอแนะและจัดให้มีมาตรฐานระหว่างประเทศ ร่วมกันจัดร่างสัญญาแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าแรง ชั่วโมงทำงาน อายุการทำงาน เงื่อนไขการทำงานสำหรับคนงานในระดับต่าง ๆ ค่าชดเชยสำหรับคนงาน การประกันสังคม การหยุดพักร้อนโดยให้รับเงินเดือน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม บริการต่าง ๆ ในหน้าที่การงาน การตรวจแรงงาน เสรีภาพในการคบหาสมาคมกัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น องค์การยังได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างกว้างขวางแก่รัฐบาลของประเทศ สมาชิก รวมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือเอกสารรายคาบ เรื่องค้นคว้าและรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสังคม อุตสาหกรรม และแรงงานILO ปฏิบัติงานผ่านองค์กรต่าง ๆ โดยองค์กรสำคัญที่สุดภายในองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ซึ่งประชุมกันเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยคณะผู้แทนแห่งชาติ ในจำนวนนี้มีผู้แทนจากฝ่ายรัฐบาล 2 คน ผู้แทนฝ่ายจัดการ 1 คน และผู้แทนฝ่ายแรงงานอีก 1 คน หน้าที่สำคัญคือจัดวางมาตรฐานทางสังคมระหว่างประเทศขึ้นในรูปของอนุสัญญา องค์กรภายในองค์การอีกส่วนหนึ่งคือคณะผู้ว่าการ (Governing Body) จะประกอบด้วย สมาชิก 40 คน ในจำนวนนี้ 20 คน จะเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 คน จากจำนวนนี้จะได้แก่ ตัวแทนจากประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ส่วนตัวแทนของฝ่ายจัดการ (หรือนายจ้าง) จะมีจำนวน 10 คน และอีก 10 คนเป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงาน คณะผู้ว่าการนี้จะทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานของคณะกรรมาธิการ และคณะกรรมการขององค์การ คือสำนักแรงงานระหว่างประเทศจะมีหน้าที่รวบรวมเผยแพร่ข้อสนเทศ ช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่ขอร้องให้ช่วยร่างกฎหมายตามที่ได้มีมติ ตกลงในที่ประชุมใหญ่ นอกจากนี้ ยังรับดำเนินการสอบสวนเรื่องต่าง ๆ เป็นพิเศษ รวมทั้งออกสิ่งพิมพ์เผยแพร่องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีสำนักงานใหญ่ตั้ง อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
legalisation | นิติกรณ์ " กระบวนการรับรองความถูกต้อง คำแปลหรือลายมือชื่อผู้มีอำนาจ ลงนามในเอกสาร โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต สถานกงสุล หรือหน่วยงานตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ได้รับการยอมรับและสามารถนำไปใช้ได้ในทางการระหว่างประเทศ " [การทูต] |
Legalisation (legalization) | นิติกรณ์ กระบวนการรับรองความถูกต้อง คำแปลหรือลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามในเอกสาร โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ สถานฑูต สถานกงสุล หรือหน่วยงานตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ได้รับการยอมรับและสามารถนำไปใช้ได้ในทางการระหว่างประเทศ [การทูต] |
Order of Precedence | หมายถึง ลำดับอาวุโสทางการทูต โดยถือยศหรือตำแหน่งเป็นบรรทัดฐาน โดยเฉพาะในโอกาสที่ไปร่วมพิธีต่าง ๆ ตลอดจนการเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการ นักการทูตทั่วโลกต่างถือลำดับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิถีพิถันกันไม่ น้อย เพราะในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ หากมีการจัดลำดับอาวุโสไม่ถูกต้อง เขาผู้นั้นซึ่งคำนึงถึงศักดิ์ศรีในฐานะตัวแทนของประเทศย่อมต้องรู้สึกว่า นอกจากจะไม่ได้รับความถูกต้องแล้ว ยังเป็นการดูแคลนประเทศของตนด้วยในสมัยก่อน ผู้ที่ทำหน้าที่ชี้ขาดในเรื่องลำดับอาวุโสของบรรดาประมุขของรัฐทั้งหลาย คือสมเด็จพระสันตะปาปา ต่อมาในการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาเมื่อปี ค.ศ. 1815 ที่ประชุมได้ตกลงกันให้ถือวันที่เดินทางมาถึงประเทศผู้รับ และได้แจ้งให้ทราบเป็นทางการว่าเป็นเรื่องลำดับอาวุโส ผู้ที่มาถึงก่อนย่อมมีอาวุโสกว่าผู้ทีมาทีหลัง อย่างไรก็ดี มาในทุกวันนี้มีหลายประเทศถือหลักว่า ผู้แทนทางการทูตที่ยื่นสารตราตั้งก่อนจะมีอาวุโสกว่าผู้ยื่นสารตราตั้งที หลัง และในกรณีที่เกิดความเห็นไม่ลงรอยกันระหว่างบุคคลในคณะทูตเรื่องลำดับอาวุโส ประเทศเจ้าภาพหรือประเทศผู้รับจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดอนุสัญญากรุงเวียนนาว่า ด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติเกี่ยวกับลำดับอาวุโสของผู้แทนทางการ ทูตไว้ดังนี้ ?ข้อ 16 1. ให้หัวหน้าคณะผู้แทนมีลำดับอาวุโสในแต่ละชั้นของตนตามลำดับวันและเวลาที่ เข้ารับการหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้ง หรือเมื่อได้บอกกล่าวการมาถึงของตนและได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง ต่อกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงตามแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป 2. การเปลี่ยนแปลงในสารตราตั้งของหัวหน้าคณะผู้แทน ซึ่งไม่เกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงชั้นใด ๆ จะไม่กระทบกระเทือนลำดับอาวุโสของหัวหน้าคณะผู้แทน 3. ข้อนี้ไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่ทางปฏิบัติใด ซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับ ในเรื่องลำดับอาวุโสของผู้แทนของโฮลี่ซี ข้อ 17 ลำดับอาวุโสของสมาชิกคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูตของคณะผู้แทนนั้น ให้หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้บอกกล่าวแก่กระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน? [การทูต] |
Persona non grata | เป็นศัพท์ที่ใช้กับนักการทูตหรือผู้แทนทางการทูต ที่ประจำอยู่ในประเทศซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นไม่ปรารถนาให้อยู่ต่อไปอีกแล้ว หลังจากที่ได้ไปประจำทำงานในตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้น หรือก่อนหน้าที่นักการทูตผู้นั้นจะเดินทางไปถึงดินแดนของประเทศผู้รับ (Receiving State) นักการทูตที่ถูกประกาศเป็น persona non grata หรือ บุคคลที่ไม่พึงปรารถนานั้น เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ กล่าวคำดูหมิ่นรัฐบาลของประเทศที่ตนไปประจำอยู่ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองนั้น แทรกแซงในการเมืองภายในของเขา เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของเขา ใช้ถ้อยคำก้าวร้าวต่อประเทศนั้น วิพากษ์ประมุขแห่งประเทศของเขากระทำการอันเป็นที่เสียหายต่อประโยชน์หรือต่อ ความมั่นคงของประเทศ และกระทำการอื่น ๆ ในทำนองนั้นตามปกติรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพที่เป็นฝ่ายเสียหายจะขอร้องให้ รัฐบาลผู้ส่ง (Sending government) เรียกตัวนักการทูตผู้กระทำผิดกลับประเทศ ซึ่งตามปกติรัฐบาลผู้ส่งมักจะปฏิบัติตาม รัฐบาลของประเทศผู้เสียหายจะแจ้งให้นักการทูตผู้นั้นทราบว่า รัฐบาลจะไม่ทำการติดต่อเกี่ยวข้องเป็นทางการกับเขาอีกต่อไป หรืออาจจะบอกให้นักการทูตผู้นั้นออกไปจากประเทศโดยไม่เกรงใจแต่อย่างใดก็ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 9 ดังต่อไปนี้ ?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ และโดยมิต้องชี้แจงถึงการวินิจฉัยของตนว่า หัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่พึงโปรด หรือว่าบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีใดเช่นว่านี้ ให้รัฐผู้ส่งเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นกับคณะผู้แทนเสียก็ได้ตามที่เหมาะสมบุคคลอาจจะ ถูกประกาศให้เป็นผู้ไม่พึงโปรด หรือไม่พึงยอกรับได้ก่อนที่จะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธ หรือไม่นำพาภายในระยะเวลาอันสมควร ที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันของคนภายใต้วรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับสามารถปฏิเสธที่จะยอมรับนับถือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นว่าเป็นบุคคล ในคณะผู้แทนก็ได้? [การทูต] |
Personal Diplomacy | คือการเจรจากันโดยตรงระหว่างรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างประเทศด้วยกัน ส่วนการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขของรัฐ หรือหัวหน้าของรัฐบาล แต่เดิมก็จัดอยู่ในประเภทการมทูตส่วนบุคคล แต่มาในปัจจุบันนี้ มักนิยมเรียกกันว่าเป็นทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) แยกออกต่างหากจากการทูตส่วนบุคคลมีผู้สังเกตการณ์หลายคนเตือนว่า ในกรณีที่เกิดเรื่องหรือปัญหาที่ยังคาราคาซังอยู่นั้น ไม่ควรหันเข้าใช้วิธีส่งผู้แทนพิเศษจากนครหลวงไปแก้ปัญหา ควรให้เอกอัครราชทูตเป็นผู้ดำเนินการมากกว่า เพราะประการแรก การกระทำเช่นนั้นยังผลเสียหายต่อศักดิ์ศรีของตัวเอกอัครราชทูตเอง ทั้งยังกระทบกระเทือนต่อการที่เขาจะปฏิบัติงานให้ประสบผลอย่างเต็มที่ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้นในภายหน้าด้วย อีกประการหนึ่ง จะพึงคาดหมายได้อย่างไรว่า ตัวผู้แทนพิเศษที่ส่งไปนั้นจะมีความรอบรู้เกี่ยวกับภูมิหลังของปัญหา รวมทั้งตัวบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่ากับตัวเอกอัครราชทูตเอง ซึ่งได้ประจำทำงานอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้ว ณ ที่นั่น แม้แต่ แฮโรลด์ นิโคลสัน ก็ไม่เห็นด้วย และได้เตือนว่า การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศหนึ่งไปเยือนและพบปะกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอีกประเทศหนึ่งบ่อย ๆ นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำและไม่ควรสนับสนุน เพราะการกระทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ประชาชนคาดหมายไปต่าง ๆ นานาแล้ว ยังจะทำให้เกิดเข้าใจผิด และเกิดความสับสนขึ้นมาได้แม้แต่ผู้รอบรู้ในเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางการ ทูตบางคนก็ยังแคลงใจว่า การทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) จะได้ประโยชน์และให้ผลจริง ๆ หรือไม่ นอกจากเฉพาะในกรณียกเว้นจริง ๆ เท่านั้น บ้างเห็นว่า การพบปะเจรจาแบบสุดยอดมักจะกลายสภาพเป็นการโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์มากกว่า ที่จะเป็นการเจรจากันอย่างแท้จริง เพราะมีอันตรายอยู่ว่า ผู้ร่วมเจรจามักจะแสดงความคิดเห็นตามความรู้สึกมากกว่าตามข้อเท็จจริง เพราะมัวแต่เป็นห่วงและคำนึงถึงประชามติในประเทศของตนมากเกินไปนอกจากนี้ ผู้เจรจาไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ข้อลดหย่อนหรือทำการประนีประนอม ( ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งหากจะให้เจรจาบังเกิดผล) เพราะกลัวเสียหน้าหากกระทำเช่นนั้น ตามปกติ ถ้าให้นักการทูตเป็นผู้เจรจา เขาจะมีโอกาสมากกว่าที่จะใช้วิธีหลบหลีกอันชาญฉลาดในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้เป็นผลตามที่มุ่งประสงค์ [การทูต] |
persons of concern | บุคคลในความห่วงใย หมายถึง ผู้หนีภัยจากการประหัตประหารที่มิได้มีสถานะเป็นผู้ลี้ภัย หรือผู้พลัดถิ่น แต่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) จะดูแลช่วยเหลือโดยมีสถานะพิเศษตามที่ได้ตกลงกับประเทศผู้รับ [การทูต] |
Potsdam Proclamation | คือคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดม ออกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 โดยหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน ลงนามโดยประธานาธิบดีของรัฐบาลจีนคณะชาติ เป็นคำประกาศเมื่อตอนใกล้จะเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฝ่ายสัมพันธมิตรดังกล่าวกำลังทำสงครามขับเคี่ยวอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่น พึงสังเกตว่า สหภาพโซเวียต ในตอนนั้นมิได้มีส่วนร่วมในการออกคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดมแต่อย่างใดโดยแท้จริงแล้ว คำประกาศนี้เท่ากับเป็นการยื่นคำขาดให้ฝ่ายญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกเอาว่าจะทำ การสู้รบต่อไป หรือจะยอมจำนนเพื่อยุติสงคราม คำประกาศได้เตือนอย่างหนักแน่นว่า หากญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะสู้รบต่อไป แสนยานุภาพอันมหาศาลของสัมพันธมิตรก็จะมุ่งหน้าโจมตีบดขยี้กองทัพและประเทศ ญี่ปุ่นให้แหลกลาญ แต่หากว่าญี่ปุ่นยอมโดยคำนึงถึงเหตุผล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ตั้งเงื่อนไขไว้หลายข้อ สรุปแล้วก็คือ ลัทธิถืออำนาจทหารเป็นใหญ่จะต้องถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปจากโลกอำนาจและอิทธิพล ของบรรดาผู้ที่ชักนำให้พลเมืองญี่ปุ่นหลงผิด โดยกระโจนเข้าสู่สงครามเพื่อครองโลกนั้น จะต้องถูกทำลายให้สิ้นซาก รวมทั้งพลังอำนาจในการก่อสงครามของญี่ปุ่นด้วยจุดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด จะต้องถูกยึดครองไว้จนกระทั่งได้ปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของสัมพันธมิตรเป็นผล สำเร็จแล้ว อำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่นให้จำกัดอยู่เฉพาะภายในเกาะฮอนซู ฮ็อกไกโด กิวชู ชิโกกุ และเกาะเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด อาชญากรสงครามทุกคนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาล รวมทั้งที่ทำทารุณโหดร้ายต่อเชลยศึกของสัมพันธมิตร รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องกำจัดสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่เป็นอุปสรรคต่อการรื้อฟื้น และเสริมสร้างความเชื่อถือในหลักประชาธิปไตยในระหว่างพลเมืองญี่ปุ่น และจัดให้มีเสรีภาพในการพูด การนับถือศาสนา และในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการด้านอุตสาหกรรมที่จะเกื้อกูลต่อภาวะ เศรษฐกิจของประเทศ และความสามารถที่จะชำระค่าปฏิกรรมสงคราม แต่จะไม่ยอมให้คงไว้ซึ่งกิจการอุตสาหกรรมชนิดที่จะช่วยให้ญี่ปุ่นสร้างสม อาวุธเพื่อทำสงครามขึ้นมาอีก ในทีสุด กำลังทหารสัมพันธมิตรจะถอนตัวออกจากประเทศญี่ปุ่นในทันทีที่จุดประสงค์ต่าง ๆ ได้บรรลุผลเรียบร้อยแล้ว ในตอนท้ายของเงื่อนไข สัมพันธมิตรได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เสียโดยไว [การทูต] |
Secretariat of the United Nations | คือสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสมัชชาตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ตามที่องค์การต้องการหน้าที่สำคัญของเลขาธิการสหประชา ชาติ คือ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การ นำเรื่องใดก็ตามเสนอต่อคณะมนตรีความมั่นคง ซี่งตามทรรศนะของเลขาธิการเห็นว่าเป็นภัยคุกคามสันติภาพและความมั่นคง ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ทำรายงานประจำปี และรายงานเพิ่มเติมใด ๆ ที่จำเป็นเสนอต่อสมัชชาสหประชาชาติ เกี่ยวกับงานขององค์การ สหประชาชาติคณะเจ้าหน้าที่ที่ทำงานช่วยเหลือเลขาธิการนั้น ถือเป็นเจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศ ประกอบด้วยชนชาติต่าง ๆ ในการเกณฑ์เจ้าหน้าที่เหล่านี้เข้าทำงานกับสหประชาชาติ จะคัดแต่ผู้ที่มีประสิทธิภาพ ความสามารถ และความซื่อสัตย์ในระดับสูงสุด และคำนึงถึงเขตภูมิศาสตร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการทำงานตามหน้าที่ ทั้งตัวเลขาธิการและคณะเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมงาน จะต้องไม่แสวงหรือรับคำสั่งจากรัฐบาลใด ๆ หรือจากผู้มีอำนาจหน้าที่อื่นใดที่อยู่นอกเหนือองค์การสหประชาชาติ ขณะเดียวกัน สมาชิกของสหประชาชาติได้ตกลงยอมรับนับถือความรับผิดชอบที่มีลักษณะระหว่าง ประเทศของสำนักเลขาธิการ และจักไม่แสวงใช้อิทธิพลใด ๆ ต่อสำนักเลขาธิการ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบเหล่านั้น [การทูต] |
Size of Staff of Diplomatic Mission | ขนาดของคณะผู้แทนทางการทูต โดยพฤตินัย จำนวนคณะผู้แทนทางการทูตจะมีตั้งแต่แห่งละหนึ่งหรือสองคนขึ้นไป จนถึงแห่งละ 100 กว่าคนได้ แต่โดยส่วนเฉลี่ย คณะผู้แทนทางการทูต จะมีจำนวนระหว่าง 12 ถึง 24 คน สำหรับคณะผู้แทนทางการทูตที่ประจำอยู่ในนครหลวงของประเทศใหญ่ๆ เช่น ที่กรุงวอชิงตันดีซี กรุงลอนดอน กรุงปารีส กรุงมอสโก กรุงปักกิ่ง และกรุงโตเกียว เป็นต้น จะมีเจ้าหน้าที่ทูตมากกว่าปกติอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูตได้บัญญัติอยู่ในมาตรา 11 ว่า ?1. เมื่อไม่มีความตกลงเฉพาะในเรื่องขนาดของคณะผู้แทน รัฐผู้รับอาจเรียกร้องให้ขนาดของคณะผู้แทนอยู่ในจำนวนจำกัดตามที่ตนเห็นว่า เหมาะหรือเป็นปกติได้ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์หรือสภาวการณ์ในรัฐผู้รับ และความจำเป็นของคณะผู้แทนเฉพาะราย 2. ภายในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน และบนมูลฐานที่ไม่เลือกปฏิบัติ รัฐผู้รับอาจปฏิเสธได้เช่นเดียวกัน ที่จะยอมรับพนักงานเฉพาะรายประเภทหนึ่งประเภทใดก็ได้? [การทูต] |
The Foreign Office | ในสมัยก่อน เมื่อสังคมนานาชาติมีสมาชิกประเทศอยู่เพียงไม่กี่แห่ง และการเจริญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน ดังนั้น ประมุขของรัฐหรือหัวหน้าของรัฐบาลจะเป็นผู้บริหารกิจการต่างประเทศด้วยตนเอง แต่มาในปัจจุบันเป็นไปไม่ได้ที่จะกระทำเช่นนี้ ดังนั้นทุกวันนี้ รัฐบาลของประเทศเกือบจะทุกแห่งจะมีสำนักงานในระดับกระทรวงแยกออกต่างหาก เพื่อดำเนินกิจการต่างประเทศโดยเฉพาะสำนักงานนี้จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันใน แต่ละประเทศ เช่นเรียกว่า The Ministry of (หรือ for) Foreign Affairs, The Ministry of External Affairs, The Department of State หรือ The Department of Foreign Affairs หรือ Gaimusho เป็นต้น ส่วนหัวหน้าสำนักงานหรือเจ้ากระทรวงนั้น จะเป็นบุคคลในคณะรัฐมนตรี และเรียกชื่อตำแหน่งต่างๆ กัน เช่น The Secretary of Foreign Affairs, The Minister of External Affairs, The Secretary of State หรือ Foreign Minister หรือ Foreign Secretary ตัวรัฐมนตรีนี้จะมีผู้ช่วย ซึ่งบางตำแหน่งเรียกว่า ปลัดกระทรวง (Under-Secretaries), ผู้ช่วยปลัดกระทรวง (Assistant Under-Secretaries) พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการที่ได้ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วงาน ของกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปมักจะแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกเรียกว่าฝ่ายธุรการ (Home Service) ทำหน้าที่บริหารกิจการต่าง ๆ ภายในประเทศ ซึ่งเกี่ยวกันกับกิจการต่างประเทศ รวมทั้งการติดต่อเกี่ยวข้องกับคณะทูตานุทูต และฝ่ายที่สองเรียกว่า Foreign Service เป็นฝ่ายดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในต่างแดน อันมีสถานทูต สถานกงสุล และสำนักงานอื่น ๆ เป็นตัวแทน ประกอบด้วยข้าราชการฝ่ายการทูตและฝ่ายวิชาการ ซึ่งประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลและสำนักงานระหว่างประเทศอื่น ๆ แต่ประเทศไทยเรายังมิได้แบ่งออกเป็นสองฝ่ายดังกล่าวตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศเป็นตัวกลาง ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างประเทศ ส่วนหัวหน้าคณะทูตภายในนครหลวงของแต่ละประเทศจะทำการติดต่อใด ๆ ทั้งหมดกับกระทวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับงานภายในกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นกรม กอง โดยถือตามเขตภูมิศาสตร์ต่าง ๆ เช่น กรมหรือกองการเอเชีย กรมการแอฟริกา กรมการอเมริกัน กรมการยุโรป และอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีกรมกองอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่ด้านธุรการ และด้านการสื่อสารติดต่อ การประชุม การประสานงานความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การคลัง การบริการในต่างประเทศ การสารนิเทศ การกฎหมาย การห้องสมุด การหนังสือเดินทาง การบุคลากร การพิธีการทูต การวิจัย การสนธิสัญญา การตรวจลงตรา (Visa) และการสหประชาชาติในปัจจุบันในหลาย ๆ ประเทศ ผู้ที่สมัครขอรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศจะต้องมีคุณวุฒิตามที่กระทรวง กำหนด เช่น จะต้องผ่านการสอบไล่ ทั้งในภาคปากเปล่า และข้อเขียน ตลอดจนจะต้องปรากฏตัวต่อหน้าคณะกรรมการสอบไล่ (Board) ซึ่งจะเป็นฝ่ายให้คะแนนบุคลิกและคุณภาพส่วนตัว แล้วนำคะแนนไปบวกกับคะแนนสอบข้อเขียน ในบางแห่งต้องการให้ผู้สมัครสอบเข้ารับการฝึกอบรม และให้อยู่ในระหว่างการทดลองดูความประพฤติ (Probationary period) อีกด้วย [การทูต] |
Waiver of Immunity | การสละความคุ้มกันทางการทูต ในเรื่องนี้บางประเทศออกกฎไว้ว่า ความคุ้มกันจากอำนาจทั้งทางแพ่งหรืออาญาของผู้แทนทางการทูตที่ประจำอยู่ใน ประเทศผู้รับ ตามที่กฎหมายระหว่างประเทศได้มอบให้ รวมทั้งคณะเจ้าหน้าที่ทางการทูตและบุคคลในครอบครัวของเขานั้น ย่อมสละมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมอย่างชัดแจ้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศของผู้นั้น เหตุผลของการออกกฎข้อนี้เป็นเพราะเขาถือว่า ความคุ้มกันนั้นมิได้เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่โดยตรงหากแต่เกี่ยวกับตำแหน่ง หน้าที่ของเขามากกว่าเรื่องการสละความคุ้มกันข้างต้น อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 32 ว่า?1. ความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูตและของบุคคลที่อุปโภคความคุ้มกัน ภายใต้ขอ้ 37 อาจสละได้โดรัฐผู้ส่ง 2. การสละต้องเป็นที่ชัดแจ้งเสมอ 3. การริเริ่มคดีโดยตัวแทนทางการทูต หรือโดยบุคคลที่อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลภายใต้ข้อ 37 จะกันตัวแทนทางการทูตหรือบุคคลนั้นจากการอ้างความคุ้มกันของอำนาจศาล ในส่วนที่เกี่ยวกับการฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียกร้องสิทธิ สำคัญนั้น 4. การสละความคุ้มกันจากอำนาจศาลในส่วนที่เกี่ยวกับคดีแพ่งหรือคดีปกครอง ไม่ให้ถือว่ามีนัยเป็นการสละความคุ้มกันในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตาม คำพิพากษา ซึ่งจำเป็นต้องมีการสละต่างหากอีก? [การทูต] |
Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] |
เชื้อเพลิง | เชื้อเพลิง, หมายความรวมถึง ถ่านหิน หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงสังเคราะห์ ฟืน ไม้ แกลบ กากอ้อย ขยะและสิ่งอื่น ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [พลังงาน] |
น้ำมันเชื้อเพลิง | น้ำมันเชื้อเพลิง, ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่นและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ หรือสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น และให้หมายความรวมถึงสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [พลังงาน] |
สถานีบริการ | สถานีบริการ, สถานที่สำหรับจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนโดยวิธีเติมหรือใส่ลงในที่บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงของยานพาหนะ โดยใช้มาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด ที่ติดตั้งไว้เป็นประจำ และให้หมายความรวมถึงสถานที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง [พลังงาน] |
Fairness | ความถูกต้องตามที่ควร [การบัญชี] |
Mooney viscosity | ความหนืดของยางดิบหรือยางคอมพาวด์ ทดสอบด้วยเครื่องวัดความหนืด Mooney viscometer ซึ่งเครื่องวัดดังกล่าวมีจานโลหะหมุนอยู่ในห้องใส่ยางภายใต้อุณหภูมิและความ ดันตามที่กำหนดไว้ การหมุนของจานโลหะในยางทำให้เกิดแรงบิด (torque) ขึ้น และจะขับให้สปริงรูปตัวยูเกิดการเคลื่อนที่ ใช้ไมโครมิเตอร์วัดขนาดการเคลื่อนที่ให้ออกมาเป็นมาตรที่เรียกว่า Mooney Viscosity เช่น 50 ML 1+4 (100C) 50 หมายถึง ค่าความหนืดที่วัดได้ในหน่วยมูนนี่ M หมายถึง Mooney L หมายถึง จานหมุนขนาดใหญ่ (ถ้าใช้จานหมุนขนาดเล็กให้ใช้อักษร S) 1 หมายถึง ระยะเวลาที่ใช้ในการอุ่นยางก่อนทดสอบ เป็นนาที 4 หมายถึง เวลาที่ใช้ในการทดสอบ เป็นนาที 100 degree C หมายถึง อุณหภูมิที่ใช้ในการทดสอบ [เทคโนโลยียาง] |
ความสุข | ความสุข, สิ่งที่ใช้บ่งบอกระดับสภาวะจิตใจของบุคคล ณ ช่วงเวลา หรือ สถานการณ์หนึ่ง ๆ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามที่บุคคลนั้นรู้สึก (ปัจจัยภายนอกตัวบุคคล) และรับรู้ (ปัจจัยภายในบุคคล) จากสิ่งกระตุ้น โดยที่การรับรู้จะมีอิทธิพลเหนือกว่าความรู้สึก เพราะใช้สร้างสมดุลของร่างกายแล [สุขภาพจิต] |
balanced diet | การกินอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนได้สัดส่วน, การกินอาหารให้ครบทุกประเภทและให้ได้ปริมาณสารอาหารตามที่ร่างกายต้องการ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
sound signal | การสื่อด้วยเสียง, พฤติกรรมทางสังคมของสัตว์โดยใช้เสียงเป็นสื่อ เพื่อให้สัตว์ตัวอื่นเข้าใจความหมายตามที่ตนต้องการ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
aperture | ช่องรับแสง, ช่องให้แสงผ่านในทัศนูปกรณ์ เช่น กล้องถ่ายรูป เป็นต้น ช่องนี้อาจปรับขนาดให้แสงผ่านเข้ามากน้อยได้ตามที่ต้องการ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
artificial selection | การคัดเลือกของมนุษย์, กระบวนการที่มนุษย์ผสมพันธุ์และเลี้ยงสิ่งมีชีวิตให้มีลักษณะตามที่ต้องการ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
translation | การเลื่อนขนาน, การเลื่อนขนานบนระนาบเป็นการแปลงทางเรขาคณิตที่มีการเลื่อนจุดทุกจุดไปบนระนาบตามแนวเส้นตรงในทิศทางเดียวกันและเป็นระยะทางที่เท่ากันตามที่กำหนด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
biotechnology | เทคโนโลยีชีวภาพ, ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้สิ่งมีชีวิต หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตเพื่อให้เกิดประโยชน์ตามที่ต้องการ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
experimentation | การทดลอง, การทดสอบหรือพิสูจน์สมมติฐานที่มีการวางแผนการทดสอบอย่างมีระบบ แล้วลงมือทำตามที่ออกแบบไว้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
according to | (prep) ตามแต่, See also: ตามที่, ตาม, Syn. in accordance with, in agreement with |
aforementioned | (adj) ดังที่กล่าวมาก่อนแล้ว, See also: ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น, ดังที่กล่าวมา |
as | (conj) ดังที่, See also: ตามที่ |
awry | (adj) ผิดพลาด, See also: ผิด, ซึ่งไม่เป็นไปตามที่คาด, Syn. wrong, amiss, astray |
barnstorming | (adj) ซึ่งเปิดการแสดงไปตามที่ต่างๆ |
brainwash | (vt) ล้างสมอง, See also: ชักจูงให้เชื่อตามที่พูด, Syn. proselytize |
brainwash | (n) การล้างสมอง, See also: การชักจูงให้เชื่อตามที่พูด |
carjacking | (n) การจี้รถเพื่อให้ขับไปตามที่คนร้ายต้องการ |
cooperate | (vi) ยอมทำตาม, See also: ทำตามที่สั่ง, Syn. comply |
fall short | (phrv) ไม่เป็นไปตามที่คาด, See also: ต่ำกว่าที่หวังไว้ |
fall short of | (phrv) (จำนวน) ต่ำกว่าที่คาดไว้, See also: จำนวน ไม่เป็นไปตามที่หวังไว้, ไม่เพียงพอ, Syn. come short of |
fizzle out | (phrv) (ระเบิด) ไม่ระเบิดตามที่วางแผนไว้ (คำไม่เป็นทางการ), See also: ไม่ปะทุขึ้นมา |
demur | (vi) ไม่ยอมทำตาม, See also: ปฏิเสธที่จะทำตามที่ได้ถูกร้องขอให้ทำ, คัดค้าน, ปฏิเสธ, รีรอ, Syn. disagree, dispute, challenge |
derail | (vt) ทำให้สิ่งต่างๆ ไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้, See also: ทำให้หยุดชะงัก |
effectual | (adj) ที่ได้ผลตามที่ตั้งใจ, See also: ได้ผล, ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างที่คาดหวังไว้, Syn. efficient, qualified |
go off | (phrv) ประสบความสำเร็จ, See also: เป็นไปตามที่คาด, Syn. bring off, carry off |
go right | (phrv) เป็นไปตามที่วางแผน, See also: ทำได้ถูกต้อง, Syn. go wrong |
in reference to | (idm) เนื่องจาก, See also: ตามที่, เกี่ยวกับ |
in regard to | (idm) เนื่องจาก, See also: ตามที่, เกี่ยวกับ |
in relation to | (idm) เนื่องจาก, See also: ตามที่, เกี่ยวกับ |
on target | (idm) ตามเป้าหมาย, See also: ตามที่คาดไว้ |
say a mouthful | (idm) พูดได้ตรงตามที่เป็นจริงๆ, See also: พูดสิ่งที่เป็นประโยชน์ |
suit one's actions to one's words | (idm) ทำตามคำพูด, See also: ทำตามที่ขู่เอาไว้, ทำตามสัญญา |
to the letter | (idm) ตรงตามที่เขียน, See also: ตรงตามที่บอกทุกประการ |
toe the line | (idm) แค่ทำตามที่ต้องการ, See also: แค่ทำตามกฎ |
with respect to | (idm) เนื่องจาก, See also: ตามที่, เกี่ยวกับ |
ideally | (adv) ถ้าสมบูรณ์แบบ, See also: ถ้าเป็นไปตามที่นึกฝันไว้ |
in accordance with | (adv) ตามที่, See also: ตาม |
in loc. cit. | (adv) ในที่ๆ อ้างถึง (loc. cit มาจาก loco citato), See also: ตามที่กล่าวถึง, Syn. loc. cit. |
itinerant | (n) ผู้ที่เดินทางไปตามที่ต่างๆ (โดยเฉพาะคนจน) |
knock about | (phrv) เดินทางไปตามที่ต่างๆ (คำไม่เป็นทางการ) |
knock around | (phrv) เดินทางไปตามที่ต่างๆ (คำไม่เป็นทางการ) |
literal | (adj) ตามที่เป็นจริง, See also: แท้จริง, Syn. truthful, exact, reliable |
loc. cit. | (abbr) ตามที่อ้างอิงไว้ในข้อความที่กล่าวมาแล้ว (คำย่อของ loco citato) |
materialise | (vt) ทำให้เป็นจริง, See also: ทำให้เป็นไปตามที่คาดไว้, Syn. actualize, crystallize |
materialize | (vt) ทำให้เป็นจริง, See also: ทำให้เป็นไปตามที่คาดไว้, Syn. actualize, crystallize |
nestle | (vi) อยู่ในที่กำบัง, See also: ตั้งพักพิงอยู่, อยู่ใต้ร่มเงา, ตั้งรกรากอยู่ตามที่พึงพอใจ, ตั้งถิ่นฐานตามธรรมชาติอยู่ใน |
nominally | (adv) ตามที่เรียกกันมา, See also: แต่ในนาม |
per | (prep) ตามที่, Syn. according to, as said by, on the authority of |
pick-up | (n) คนโบกรถ, See also: คนเดินทางรอนแรมไปตามที่ต่างๆโดยการโบกรถ |
pursuance | (n) การทำให้ลุล่วงตามที่ต้องการ, Syn. presecution, pursuit, perseverance |
Regency | (adj) ซึ่งมีรูปแบบตามที่นิยมในช่วงปี ค.ศ.1811-1820 ของอังกฤษ |
reportedly | (adv) ตามรายงาน, See also: ตามที่รายงานไว้ |
reportorial | (adj) ตามที่รายงานไว้ |
roadshow | (n) การแสดงโดยเดินทางไปตามที่ต่างๆ |
You're the doctor | (sl) ฉันจะยอมทำตามที่ (คุณ) บอก, See also: ฉันยินยอมให้ คุณรับผิดชอบ |
seeming | (adj) ตามที่ปรากฏ, See also: ตามที่เห็นภายนอก, โดยผิวเผิน, ที่มองเห็น, Syn. apparent, appearing, ostensible |
seemingly | (adv) ตามที่ปรากฏ, See also: ตามที่เห็นภายนอก, Syn. apparently, to the eye, supposedly, ostensibly |
seemingness | (n) การเห็นผิวเผิน, See also: การเห็นตามที่ปรากฏ |
send over | (phrv) ส่งไปตามที่ต่างๆ, Syn. come over, send round, take round |
as | (แอซ) pron., adv., prep., conj. ตามที่, ตาม, ดังที่, เหมือน, เช่นเดียวกับ, อย่าง, เช่น, ในข้อนี้, ดุจดัง, ดูประหนึ่ง, ฉันใด, ในฐานะที่ |
asyndeton | (อะซิน'ดีทัน) n. การตัดสันธาน (conjunction) ออก. -asyndetic อสมวาร <คำแปล>หมายถึง กระบวนการหรือการกระทำใด ๆ ก็ตามที่ไม่สอดประสานหรือสมนัยกัน (ใช้ในการรับและส่งข้อมูลทางโทรศัพท์) |
bespoke | (บิสโพค') กริยาช่อง 3 ของ bespeak adj. ทำตามที่ลูกค้าสั่ง, ทำโดยเฉพาะ, ซึ่งหมั้นไว้แล้ว, Syn. custom-made |
beta test | ทดสอบรอบสองหมายถึง โปรแกรมที่ทำออกมาให้ลูกค้าทำการทดสอบเป็นครั้งที่สอง (ครั้งแรกเรียกว่า alpha test) เพื่อจะดูว่า โปรแกรมดังกล่าวปฏิบัติงานตามที่ต้องการได้เรียบร้อยครบถ้วนดีแล้วหรือยัง ก่อนที่จะนำออกขายในตลาด โปรแกรมที่นำออกมาทดสอบเหล่านี้มักจะมีเขียนบอกไว้ด้วย เพื่อให้ผู้ใช้รู้ว่า ยังเป็นโปรแกรมที่อยู่ในขั้นทดลองใช้ เช่น Alpha 1, Beta 5 ซึ่งหมายถึง รุ่น 1.0 หรือ 5.0 นั่นเองดู alpha test ประกอบ |
boot | (บูท) { booted, booting, boots } n. รองเท้าหุ้มข้อเท้า, รองเท้าบู๊ท, เครื่องหุ้มคล้ายปลอก, ฝาครอบป้องกัน, ปลอกหุ้มเบาะ, โครงรถ, เครื่องรัดทรมานข้อเท้า, การเตะ, การถีบ, การปลดออก vt. สวมรองเท้าบู๊ท, เตะ, ถีบ เริ่มต้นใหม่เริ่มเครื่องใหม่หมายถึง การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เริ่มต้นทำงาน (ว่ากันว่า คำ "boot" นี้ มาจากคำว่า "bootstrap" เบื้องหลังการใช้คำ ๆ นี้ อยู่ที่การขู่ว่า ถ้าไม่ทำงานแล้วละก็ โดนรองเท้าบู๊ตแน่ ๆ เลย) การเริ่มเครื่องใหม่นั้น โดยปกติ เมื่อกดสวิตช์เปิดแล้ว คอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นทำงานด้วยการอ่านจานบันทึกในหน่วยบันทึก A: ถ้าในหน่วยบันทึก A: ไม่มีจานบันทึก ก็จะไปอ่านจานบันทึก C: (จะไม่สนใจหน่วยบันทึก B: เลย) ถ้ามีจานบันทึกใน A: จานบันทึกนั้นจะต้องมีคำสั่งระบบ (แฟ้มข้อมูล command.com) อยู่ คอมพิวเตอร์จึงจะเริ่มต้นทำงานต่อไปได้ ถ้าจานบันทึกใน A: ไม่มีคำสั่งระบบ จะมีรายงานบนจอภาพว่าเป็น "non-system disk" ในกรณีเช่นนี้ต้องเปลี่ยน แผ่น A: หรือดึงแผ่น A: ออก แล้วเริ่มต้นใหม่จาก หน่วยบันทึก C: (ถ้ามี) อนึ่ง การเริ่มเครื่องใหม่นั้น ทำได้ 2 วิธี วิธีแรกเริ่มด้วยการเปิดสวิตช์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ได้อธิบายแล้ว เรียกว่า "cold boot" อีกวิธีหนึ่งที่ใช้เมื่อมีการเปิดเครื่องอยู่ก่อนแล้ว แต่ต้องการเริ่มเครื่องใหม่ หรือเครื่องเกิดขัดข้องหรือค้าง (hang) ให้ กดแป้น CTRL +ALT +DEL เรียกว่า "warm boot" |
brain damaged | ใช้การไม่ได้ไร้สมองหมายถึง อะไรก็ตามที่ภายนอกดูดี แต่ข้างในจริง ๆ นั้นแย่มาก ๆ เข้าทำนอง "ข้างนอกสุกใส ข้างในต๊ะติ่งโหน่ง" สำนวนภาษาไทย อีกสำนวนหนึ่งที่มีความหมายคล้ายกันก็คือ "สวยแต่รูป จูบไม่หอม" ถ้าใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็หมายถึงเครื่องที่ทำงานไม่มีประสิทธิภาพเหมือนกับที่โฆษณาเอาไว้ |
character code | รหัสอักขระหมายถึงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่กำหนดให้ใช้เป็นรหัสแทนอักขระ หรือมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่มีการตกลงกันไว้ เป็นต้นว่า ตารางรหัสแอสกี (ASCII table) และรหัสเอ็บซีดิก (EBCDIC) โปรแกรมสำเร็จบางโปรแกรมใช้รหัสเหล่านี้ผสมกับตัวอักขระบางตัวเป็นรหัสคำสั่งให้เป็นการขีดเส้นใต้ , ทำตัวเอน ฯ |
clip art | แฟ้มภาพกฤตศิลป์หมายถึง ภาพที่ได้รับอนุญาตให้ตัดหรือคัดลอกมาใช้ได้ด้วยวิธีการทางคอมพิวเตอร์ (เช่น ใช้คำสั่ง cut หรือ copy) มีการนำมาเก็บรวบรวมไว้เพื่อใช้ในงานพิมพ์ตั้งโต๊ะ (desktop publishing) หรืองานพิมพ์ต่าง ๆ ในชุดโปรแกรมสำเร็จที่ชื่อ Microsoft Office จะมี Microsoft clip gallery รวบรวมภาพไว้ให้เลือกมากมาย เพื่อให้คัดลอกไปใช้ในงานพิมพ์ได้ตามที่ต้องการ |
computer operation | การดำเนินการคอมพิวเตอร์การปฏิบัติการคอมพิวเตอร์หมายถึง การที่คอมพิวเตอร์ทำงานไปตามคำสั่ง เช่น อ่านข้อมูล นำข้อมูลไปเก็บ นำข้อมูลมาบวก ลบ ฯ เป็นต้น แล้วได้ผลตามที่ต้องการ |
computer programmer | นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์หมายถึง คนที่เขียนโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการได้ และควรจะมีความชำนาญด้วย (สำหรับคนที่หัดเขียนใหม่ ๆ ไม่ควรจะใช้คำ ๆ นี้) นักเขียนโปรแกรมที่ดีนั้น จะต้องรู้วิธีแก้ปัญหา และรู้ด้วยว่า จะแก้อย่างไร รวมทั้งต้องเข้าใจหลักและกฎเกณฑ์ของภาษาต่าง ๆ ที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจด้วย เพื่อจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งได้ |
control panel | แผงควบคุมเป็นชื่อโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) กลุ่มหนึ่ง เป็นตัวกำหนดเกี่ยวกับอุปกรณ์ หรือส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้เป็นไปตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น จอภาพ, เมาส์ , แป้นพิมพ์, หน่วยความจำ ระบบเครือข่าย ฯ control panel นี้จะมีให้ใช้ทั้งในแมคอินทอช และระบบวินโดว์บนพีซี หรือ Presentation Manager ของ โอเอสทู (OS 2) |
custom-built | adj. สร้างหรือทำตามที่สั่งของลูกค้า |
data processing | n. กระบวนการหรือเทคนิคการป้อนข้อมูล ใช้ตัวย่อว่า DP (อ่านว่า ดีพี) หมายถึง การนำข้อมูลดิบ (raw data) มาดำเนินการบางประการ เช่น จัดจำแนก คัดแยก คำนวณ บันทึก เปรียบเทียบ เพื่อให้เกิดผลตามที่ต้องการ หรือ ผลที่จะนำไปใช้ต่อไป โดยปกติจะใช้คำเต็ม ๆ ว่า electronic data processing หรือ EDP ซึ่งหมายเฉพาะถึง การประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เท่านั้น |
edp | (อีดีพี) ย่อมาจาก electronic data processing (แปลว่า การประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์) หมายถึงการใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ซึ่งก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นเอง) ทำการประมวลผลข้อมูลที่รับเข้าไปได้อย่างรวดเร็ว แล้วแสดงผลลัพธ์ให้ตามที่สั่ง |
electronic data processin | การประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ใช้ตัวย่อว่า EDP (อ่านว่า อีดีพี) หมายถึงการใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ซึ่งก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นเอง) ทำการประมวลผลข้อมูลที่รับเข้าไปได้อย่างรวดเร็ว และแสดงผลลัพธ์ให้ตามที่สั่ง |
execution time | เวลากระทำการหมายถึงช่วงเวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่งในโปรแกรม เริ่มตั้งแต่ต้นจนได้รับคำตอบตามที่กำหนดไว้ในโปรแกรม ไม่นับรวมเวลาที่ใช้ในการแปลจากภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรม เป็นภาษาเครื่อง (machine language) |
face value | ค่าแท้จริง, ค่าตามที่พิมพ์ไว้หน้าบัตร |
file processing | การประมวลผลแฟ้มข้อมูลหมายถึงการนำแฟ้มข้อมูลมาประมวลผล โดยปกติหมายถึงการเขียนโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำให้ เพื่อให้ได้ผลตามที่ต้องการ |
file server | เครื่องบริการแฟ้มในระบบเครือข่าย (network) โดยปกติจะมีคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่ง เรียกว่าเครื่องบริการแฟ้ม ซึ่งจะใช้เป็นที่เก็บ ทั้งโปรแกรม และแฟ้มข้อมูลที่จะใช้ร่วมกันไว้ในฮาร์ดดิสก์ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเดียวกัน สามารถเรียกใช้ โปรแกรมและแฟ้มข้อมูลเหล่านั้นพร้อมกันได้ โดยเรียกจาก เครื่องบริการแฟ้มดังกล่าว เครื่องบริการแฟ้ม นี้จะทำหน้าที่ ดูแลการใช้แฟ้มข้อมูล และการส่งข้อมูลไปให้ตามที่มีผู้ต้องการเรียกมา |
fixed point number | จำนวนเต็มหมายถึง เลขที่มีจุดทศนิยม (สมมติ) ตายตัว หรือที่เรียกว่า เลขจำนวนเต็ม (integer) ตรงข้ามกับ floating point number ซึ่งหมายถึงเลขทศนิยมที่จะกำหนดให้มีเลขตามหลังจุด ทศนิยมกี่หลักก็ได้ตามที่ต้องการ |
inconsistence | (อินคันซิส' เทินซฺ) n. ความไม่สอดคล้องกัน, ความไม่ลงรอยกัน, ความขัดกัน, ความไม่เป็นไปตามที่ว่า, สิ่งที่ไม่สอดคล้องกัน., Syn. inconsistency |
inconsistent | (อินคันซิส' เทินทฺ) n. ไม่สอดคล้องกัน, ไม่ลงรอยกัน, เข้ากันไม่ได้, ขัดกัน, ไม่เป็นไปตามที่ว่า., See also: inconsistently adv., Syn. incompatible, incongruent |
inverted file | แฟ้มผกผันหมายถึง โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลชนิดหนึ่ง ที่มีดรรชนีคอยบ่งบอกถึงที่อยู่ (location) ของระเบียน (record) ที่มีการเรียกใช้บ่อย ๆ หรือระเบียนที่มีลักษณะตามที่กำหนด |
loc. cit | (ลอค'ซิท') ตามที่ที่อ้างอิงไว้ ในข้อความที่กล่าวมาแล้ว, (Latin) loco citato |
locus | (โล'คัส) n. สถานที่, ตำแหน่ง, ตำแหน่งของ genes ในโครโมโซม, (คณิตศาสตร์) ชุดของจุดทั้งหมดเส้นทั้งหมดหรือผิวหน้าทั้งหมด ที่มีลักษณะตามที่ต้องการ pl. -loci, Syn. site, place |
nominal | (นอม'มะเนิล) adj. เพียงในนาม, ตามที่เรียกกัน, พอเป็นพิธี, เกี่ยวกับชื่อ |
ok button | ปุ่มตกลงหมายถึง ช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ มีตัวอักษร OK อยู่ข้างใน มักจะปรากฏให้เห็นในกรอบสนทนา (dialog box) ในระบบวินโดว์ ถ้ากดปุ่มนี้ ก็เท่ากับเป็นคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ลงมือปฏิบัติตามคำสั่งที่กำหนดไว้ในกรอบสนทนา หลังจากที่เลือกหรือกำหนดตัวเลขบางตัวตามที่ต้องการได้แล้ว ปุ่มนี้มักจะมีคู่มากับปุ่ม Cancel เพราะถ้าไม่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติ ก็กดปุ่ม Cancel แทน OK (ใช้ในแมคอินทอชด้วย) |
op. cit | (ออพ'ซิท') L. opere citato (ตามที่อ้างอิง) |
programmer | นักเขียนโปรแกรมนักเขียนชุดคำสั่งหมายถึง คนที่เขียนโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการได้ และควรจะมีความชำนาญด้วย (สำหรับคนที่หัดเขียนใหม่ ๆ ไม่ควรจะใช้คำ ๆ นี้) นักเขียนโปรแกรมที่ดีนั้น จะต้องรู้วิธีแก้ปัญหา และรู้ด้วยว่า จะแก้อย่างไร รวมทั้งต้องเข้าใจหลักและกฎเกณฑ์ของภาษาต่าง ๆ ที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจด้วย เพื่อจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งได้ |
programming | การเขียนโปรแกรมการสร้างโปรแกรมหมายถึง การเขียนหรือสร้างคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ตามที่ต้องการ ด้วยภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ (สามารถแปลได้) ในการเขียนโปรแกรมนี้ ผู้เขียนจะต้องเข้าใจถึงขั้นตอนการแก้ปัญหา วิธีการแก้ รวมทั้ง ศัพท์และไวยากรณ์ ตลอดจนกฎเกณฑ์ของภาษาที่เลือกใช้ ดู programming language ประกอบ |
quantum libet | จำนวนมากตามที่ต้องการ |
reportedly | (รีพอร์ท'ทิดลี) adv. ตามที่รายงาน, ตามข่าว |
reputedly | (รีพิว'ทิดลี) adv. ตามที่เลื่องลือกัน |
seeming | (ซีม'มิง) adj. ตามโฉมภายนอก, ตามผิวเผิน, ตามที่ปรากฎ., See also: seemingly adv. seemingness n., Syn. apparen |
under | (อันเดอะ) prep., adj., adv. ภายใต้, ใต้, ข้างล่าง, ล่าง, ต่ำกว่า, น้อยกว่า, รอง, ในสังกัด, ตามที่, ในระหว่างที่. -Phr . (go under ยอมแพ้ ตกต่ำ), Syn. beneath, below |
ut dict | abbr. latin ut dictum (ตามที่สั่ง) |
visually | (วิช'ชวลลี) adj. โดยสายตา, โดยทัศนวิสัย, โดยการมอง, โดยการเห็น, ตามที่ปรากฎแก่สายตา -S.noticeably, apparently |