ถูกกัน | ก. เข้ากันได้, ชอบพอกัน. |
เกลียว | (เกฺลียว) ว. โดยปริยายหมายความว่า ขยันขันแข็ง เช่น หากินตัวเป็นเกลียว, นํ้าหนึ่งใจเดียวกัน เช่น เข้ากันเป็นเกลียว, ในลักษณะนี้ ถ้าไม่เข้าเกลียวกัน คือแตกพวกหรือไม่ถูกกัน หรือมีความเห็นไม่ลงรอยกัน ขัดแย้งกัน เรียกว่า ปีนเกลียว. |
ขมิ้นกับปูน | ว. ชอบวิวาทกันอยู่เสมอเมื่ออยู่ใกล้กัน, ไม่ถูกกัน. |
เข้า ๑ | ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทำให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน เข้าไม้ |
เข้าคอ | ก. ประพฤติให้ถูกใจกันได้, มีความประพฤติถูกกัน, ไม่ขัดคอกัน. |
คู่มิตร | น. ผู้ที่มีชะตาถูกกัน เป็นมิตรกัน, ผู้ที่รักใคร่กัน ไม่เป็นภัยแก่กัน ตรงข้ามกับ คู่ศัตรู. |
คู่ศัตรู | น. ผู้ที่มีชะตาไม่ถูกกัน เป็นศัตรูกัน, ผู้ที่เป็นภัยแก่กัน, ตรงข้ามกับ คู่มิตร. |
ชอบ ๑ | ถูกใจ, ถูกกัน, เช่น เขาชอบกันมาก, บางทีใช้หมายความไปในเชิงว่ารักใคร่ ก็มี เช่น หนุ่มสาวชอบกัน |
ต้องกัน | ว. ตรงกัน, พ้องกัน, ถูกกัน, เช่น ฤๅวาสนาน้องจะต้องกัน (อิเหนา), พยานให้การต้องกัน. |
ปีนเกลียว | ว. มีความเห็นไม่ลงรอยกัน, ขัดแย้งกัน, แตกพวกหรือไม่ถูกกัน. |
ผิดเส้น | ว. ไม่ถูกกัน. |
ไม่ลงโบสถ์กัน | ก. ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, เข้ากันไม่ได้. |
ระหองระแหง | ว. ผิดใจกันเพราะเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ, ไม่ใคร่ถูกกัน, เช่น เขามีเรื่องระหองระแหงกันอยู่เรื่อย. |
ศรศิลป์ไม่กินกัน | ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใดต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น. |
อริ | (อะริ, อะหฺริ) น. ข้าศึก, ผู้ที่ไม่ถูกกัน. |