คำผวน | น. คำที่พูดทวนกลับได้ เช่น ตกที่อิฐ ผวนเป็น ติดที่อก. |
ท้น | ก. เอ่อสูงขึ้นจนเปี่ยมพร้อมจะไหลล้นหรือไหลทวนกลับขึ้นไป เช่น นํ้าท้นฝั่ง, อาการที่เนื้อล้นออกมาจนเห็นเป็นรอยนอกเสื้อ เช่น สวมเสื้อคับจนเนื้อท้น. |
ปฏิโลม | ว. ทวนกลับ. |
ผวน | (ผฺวน) ก. หวน, กลับ, เช่น ผวนคำ, เรียกคำที่พูดทวนกลับเช่นนั้น เช่น ตกที่อิฐ ผวนเป็น ติดที่อก ว่า คำผวน. |
ย้อน | ก. หวนกลับ เช่น ย้อนไป ย้อนมา ย้อนกลับบ้าน, ทวนกลับ เช่น ย้อนเกล็ด ย้อนหลัง, พูดสวนตอบ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เด็กย้อนผู้ใหญ่ ลูกย้อนแม่. |
ย้อนรอย | ก. ทวนกลับตามรอยเดิม เช่น ตำรวจย้อนรอยผู้ร้าย. |
วิโลม | ว. ย้อนขน, ทวนกลับ, ผิดธรรมดา. |
สะบัดย่าง | ว. อาการที่ม้าวิ่งหรือเดินสะบัดขาอย่างสง่างาม เช่น ว่าพลางทางขับม้าสีหมอก ให้ออกสะบัดย่างวางใหญ่ (ขุนช้างขุนแผน), ฝ่ายสมิงพระรามขึ้นม้าควบไปแต่เวลาเช้าจนสามโมงบ่ายฝึกหัดม้านั้นให้รู้จักทำนองรบรับได้คล่องแคล่วสันทัดแล้ว ก็ชักม้าสะบัดย่างน้องเป็นเพลงทวนกลับมา (ราชาธิราช). |