ขาอ่อน | น. ส่วนหลังของขานับตั้งแต่โคนขาถึงขาพับ. |
คริสต์ศตวรรษ | (คฺริดสะตะวัด) น. รอบ ๑๐๐ ปี นับตั้งแต่วันสมภพของพระเยซู. |
คริสต์ศักราช | (คฺริดสักกะหฺราด) น. ปีนับตั้งแต่วันสมภพของพระเยซู เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๕๔๓ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๕๔๓ เท่ากับคริสต์ศักราช). |
เจ็ดชั่วโคตร | น. วงศ์สกุลที่สืบสายโลหิต ซึ่งนับตั้งแต่ตัวเองขึ้นไป ๓ ชั้น คือ ชั้นพ่อ ชั้นปู่ และชั้นทวด กับนับจากตัวเองลงมาอีก ๓ ชั้น คือ ชั้นลูก ชั้นหลาน และชั้นเหลน รวมเป็นเจ็ดชั่วโคตร ไม่นับผู้หญิงรวมด้วย. |
เจ้า ๑ | เชื้อสายของพระมหากษัตริย์นับตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป และผู้ได้รับสถาปนาอิสริยยศขึ้นเป็นเจ้า, บางแห่งหมายถึงกษัตริย์ก็มี เช่น เจ้ากรุงจีน |
เจ้านาย | น. เชื้อสายของพระมหากษัตริย์นับตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป และผู้ได้รับสถาปนาอิสริยยศขึ้นเป็นเจ้า, เจ้า ก็เรียก |
ตีน ๑ | น. อวัยวะส่วนล่างสุดของคนหรือสัตว์ นับตั้งแต่ใต้ข้อเท้าลงไป สำหรับยืนหรือเดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นหรือส่วนล่างของสิ่งบางอย่าง เช่น ตีนม่าน ตีนมุ้ง |
บรรพบุรุษ | น. ผู้เป็นต้นวงศ์ตระกูลซึ่งมีผู้สืบสายโลหิตมา, บุคคลที่นับตั้งแต่ปู่ย่าตายายขึ้นไป. |
ปฐมโพธิกาล | (ปะถมมะโพทิกาน) น. กาลแรกตรัสรู้ คือ ระยะเวลานับตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้จนถึงทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ. |
พุทธศักราช | (-สักกะหฺราด) น. ปีนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานมา. |
รัตนโกสินทรศก | (รัดตะนะโกสินสก) น. ปีนับตั้งแต่วันตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๒๓๒๔ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๒๓๒๔ เท่ากับรัตนโกสินทรศก). |
วิกาล, วิกาล- | ผิดเวลา (ใช้แก่การกินอาหารผิดเวลาตามที่พระวินัยกำหนด นับตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น) เช่น กินอาหารในเวลาวิกาล. |
สังฆาธิการ | น. พระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์นับตั้งแต่ตำแหน่งเจ้าคณะภาคลงมาจนถึงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาส เรียกว่า พระสังฆาธิการ. |
หน้าขา | น. ส่วนหน้าของขานับตั้งแต่โคนขาถึงหัวเข่า. |
อายุ | น. เวลาที่ดำรงชีวิตอยู่, เวลาชั่วชีวิต, ช่วงเวลานับตั้งแต่เกิดหรือมีมาจนถึงเวลาที่กล่าวถึง, ระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น อายุใบอนุญาต ยานี้หมดอายุแล้ว, ระยะเวลาที่กำหนดรู้ความยั่งยืนของสิ่งนั้น ๆ เช่น อายุของหิน. |
ฮิจเราะห์ | น. ชื่อศักราชในศาสนาอิสลาม นับตั้งแต่ปีที่ศาสดามุฮัมหมัดออกจากเมืองมักกะฮ์ (เมกกะ) ไปเมืองมะดีนะฮ์ (เมดินา) เริ่มแต่ พ.ศ. ๑๑๖๕ เป็นปีทางจันทรคติซึ่งมี ๓๕๔ หรือ ๓๕๕ วัน. |
Agreement | การที่รัฐที่ผู้จะไปประจำตำแหน่งในรัฐนั้นได้ตกลง เห็นชอบกับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอชื่อให้เป็นผู้แทนทางการทูต อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้ บัญญัติไว้ว่า1. รัฐผู้ส่งไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นที่แน่นอนว่า รัฐผู้รับได้ให้ความเห็นชอบแล้ว สำหรับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอจะแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐนั้น2. รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลแก่รัฐผู้ส่งในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตซึ่งรอการถวายสารตราตั้งจะต้องเริ่มดำเนิน การเพื่อเดินทางไปยังรัฐผู้รับในเรื่องนี้ มีตัวอย่างไม่น้อยที่รัฐผู้รับปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบด้วยเหตุผลบางอย่าง นับตั้งแต่อ้างว่า การเสนอชื่อผู้รับการแต่งตั้งได้กระทำกะทันหันเกินไป และมิได้แจ้งข้อเท็จจริงมาก่อน หรือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอให้เป็นผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเคยกล่าวตำหนิ วิพากษ์รัฐผู้รับ หรือผู้รับการเสนอชื่อมมีภรรยาเป็นชาวยิว หรือผู้รับการเสนอชื่อถือศาสนาโรมันคาทอลิก หรือผู้นั้นเคยปฏิบัติไม่ดีต่อชนชาติของรัฐผู้รับ หรือผู้นั้นในขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างถูกฟ้องร้อง ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกง เป็นต้นกล่าวโดยย่อ agr?ment คือ การให้ความเห็นชอบของรัฐผู้รับ แก่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐผู้ส่งให้เป็นผู้แทนทางการทูตนั่นเอง [การทูต] |
Madagascar Action Plan | แผนปฏิบัติการมาดากัสการ์ เป็นแผนพัฒนาประเทศมาดากัสการ์ที่เป็นรูปธรรมฉบับแรก นับตั้งแต่มาดากัสการ์ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2503 รัฐบาลมาดากัสการ์ ได้รับงบประมาณที่ใช้ดำเนินการ (ประมาณ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) มาจากแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ เป้าหมายหลักของ MAP ได้แก่ การพัฒนาระบบคมนาคม การพัฒนาชนบท การปรับปรุงระบบสาธารณสุข และการส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจ [การทูต] |
Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] |
Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] |
bark | เปลือกไม้, ผิวนอกของลำต้นนับตั้งแต่ชั้นของวาสคิวลาร์แคมเบียมออกมา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
follicle stage | ระยะก่อนตกไข่, ระยะเวลาที่เริ่มนับตั้งแต่ประจำเดือนหมดไปจนถึงมีการตกไข่ (สำหรับคนจะกินเวลาประมาณ 13 - 15 วัน) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
information and communication technology (ICT) | เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที), เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ข้อมูล และการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือการประมวลผล การรับและการส่งข้อมูล การจัดเก็บ และการนำข้อมูลไปใช้งานใหม่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
a.u.c. | abbr. (Latin) aburbe condita (นับตั้งแต่วันสร้างเมือง, ในปีแห่งการสร้างเมือง) |
anno urbis conditae | (อาน' โน อัวบิส คอน' ดิทิ) นับตั้งแต่วันสร้างเมือง (กรุงโรม A. U. C.) |
first generation computer | คอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่งนับตั้งแต่เริ่มมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ มนุษย์ได้พัฒนาเครื่องมือนี้ติดต่อกันมาตลอด ทำให้มีการแบ่งวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ออกเป็นยุค (generation) พัฒนาการของคอมพิวเตอร์ยุคแรกถือว่าเริ่มตั้งแต่ ค.ศ.1951 ถึงต้น ค.ศ.1960 คอมพิวเตอร์สมัยนั้นสามารถเก็บโปรแกรมได้ ใช้หลอดสุญญากาศเป็นหน่วยความจำ ทำให้มีขนาดใหญ่ กินเนื้อที่มาก ระหว่างทำงาน จะทำให้เกิดความร้อนสูงตลอดเวลา การทำงานจะทำได้ทีละอย่าง และจะเรียงกันไปตามลำดับคำสั่งอย่างเคร่งครัด ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมก็มีแต่ภาษาแอสเซมบลี (assembly language) ดู generation ประกอบ |
since | (ซินซฺ) adj., prep., conj.นับตั้งแต่นั้นมา, ตั้งแต่, ในเมื่อ, เนื่องด้วย, เนื่องจาก, โดยเหตุที่, เมื่อ (หลายปี) มาแล้ว., See also: since long นานมาแล้ว, แต่ก่อนนานมาแล้ว, Syn. from then till now, ago |
vax | แวกซ์เป็นชื่อของคอมพิวเตอร์ยี่ห้อหนึ่ง ผลิตโดยบริษัท Digital Equipment Corp (DEC) แต่เดิมมาบริษัทนี้จะผลิตเฉพาะคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe) และมินิคอมพิวเตอร์ (minicom- puter) นับตั้งแต่ ค.ศ.1988 เป็นต้นมา แวกซ์ได้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกสู่ตลาดด้วย และเป็นไมโครคอมพิวเตอร์ ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง เทียบเคียงได้กับรุ่นใหญ่ที่เคยผลิตในสมัยก่อนเลยด้วยซ้ำ นับเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียงในตลาดยี่ห้อหนึ่ง |