นายก | (n) president, See also: chairman, Syn. ผู้นำ, Example: ท่านนายกได้กล่าวสุนทรพจน์ในการเปิดประชุมได้อย่างกินใจ, Count Unit: คน, ท่าน, Thai Definition: ผู้เป็นหัวหน้าคณะบริหารบ้านเมือง |
นายกฯ | (n) prime minister, See also: PM, chancellor, Syn. นายกรัฐมนตรี, Example: นายกฯ เดินทางไปเชื่อมสัมพันธ์ทางการค้าที่ประเทศมาเลเซีย, Count Unit: คน, ท่าน, Thai Definition: หัวหน้ารัฐบาล, ตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐมนตรี |
นครนายก | (n) Nakhon Nayok, Syn. จังหวัดนครนายก, Count Unit: จังหวัด, Thai Definition: ชื่อจังหวัดหนึ่งในประเทศไทยอยู่ทางภาคกลาง |
มัคนายก | (n) liaison, See also: spiritual guide, Syn. มรรคนายก, Example: คุณตาทองย้อยเป็นมัคนายกประจำวัดนี้, Thai Definition: ผู้จัดการทางกุศล, ผู้ชี้แจงทางบุญ, Notes: (บาลี) |
สภานายก | (n) president, See also: chairman, Syn. สภาบดี, Thai Definition: ผู้เป็นประธานในที่ประชุม, Notes: (สันสกฤต) |
อุปนายก | (n) vice president, See also: vice chairman, Example: เขาเคยเป็นอุปนายกสมาคมโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทย, Count Unit: คน |
สังฆนายก | (n) Chairman of the Ecclesiastical |
นายกรัฐมนตรี | (n) prime minister, See also: PM, chancellor, Syn. นายกฯ, Example: วันนี้นายกรัฐมนตรีไปเปิดอนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกอย่างเป็นทางการ, Count Unit: คน, ท่าน, Thai Definition: ตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐมนตรี, หัวหน้ารัฐบาล |
นายกเทศมนตรี | (n) mayor, See also: Lord Mayor, Example: ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งปลดนายกเทศมนตรี เนื่องจากพัวพันการค้าของเถื่อน, Count Unit: คน, ท่าน, Thai Definition: ตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้บริหารงานเทศบาล |
รองนายกรัฐมนตรี | (n) Deputy Prime Minister, See also: vice-premier, Syn. รองนายกฯ, Ant. นายกรัฐมนตรี, Example: ฯพณฯ มีชัย ฤชุพันธ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีผู้แตกฉานในด้านกฎหมาย, Count Unit: คน, Thai Definition: ผู้มีอำนาจหน้าที่รองมาจากนายกรัฐมนตรี |
สำนักนายกรัฐมนตรี | (n) Office of the Prime Minister, Syn. นร |
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี | (n) Secretariat of the Prime Minister, Syn. สลน |
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี | (n) Office of the Permanent Secretary; Prime Minister Office, Example: สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานกลางในการเร่งรัดติดตามส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจกรณีเจ้าหน้าที่ทุจริตในทางการเงิน |
สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี | (n) Secretariat of the Prime Minister, Syn. สลน., Example: สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นหน่วยงานราชการที่มีความพร้อมที่จะเข้าร่วมในโครงการนำร่อง IT Model Office |
จตุรงคนายก | (จะตุรงคะ-) น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรคแบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกรายจักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง (ชุมนุมตำรากลอน). |
นรเทพ, นรนาถ, นรนายก, นรบดี, นรบาล, นรราช | (นอระ-) น. พระราชา. |
นายก | (นา-ยก) น. ผู้นำ, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น นายกราชบัณฑิตยสถาน นายกสมาคม นายกสโมสร. |
นายกเทศมนตรี | น. ตำแหน่งผู้รับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล. |
นายกเมืองพัทยา | น. ตำแหน่งผู้รับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษ เมืองพัทยา. |
นายกรัฐมนตรี | น. ตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐมนตรี. |
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด | น. ตำแหน่งผู้รับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัด. |
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล | น. ตำแหน่งผู้รับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบองค์การบริหารส่วนตำบล. |
ภูธเรศ, ภูธเรศวร, ภูนาถ, ภูนายก, ภูเนตุ, ภูบดินทร์, ภูบดี, ภูบาล, ภูเบนทร์, ภูเบศ, ภูเบศวร์, ภูป, ภู | น. พระเจ้าแผ่นดิน. |
มรรคนายก | (มักคะนายก) น. “ผู้นำทาง” คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือ ผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด. |
มัคนายก | น. “ผู้นำทาง” คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด. |
วินายก | น. ผู้ขจัดสิ่งขัดข้อง, พระวิฆเนศวร |
วินายก | พระพุทธเจ้า. |
สภานายก, สภาบดี | น. ผู้เป็นประธานในที่ประชุม. |
สมุหนายก | น. ตำแหน่งข้าราชการชั้นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน ดูแลรับผิดชอบและเป็นประธานที่ประชุมเสนาบดีของฝ่ายพลเรือน รวมทั้งการปกครองและการยุติธรรมในหัวเมืองฝ่ายเหนือ. |
สังฆนายก | น. ตำแหน่งหัวหน้าคณะสังฆมนตรีตามพระราช-บัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔. |
กฎกระทรวง | น. ข้อกำหนดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ให้ออกกฎกระทรวง, เดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี ถ้าเป็นข้อกำหนดที่นายกรัฐมนตรีออก เรียกว่า กฎสำนักนายกรัฐมนตรี. |
การเปิดอภิปรายทั่วไป | น. กลไกที่ฝ่ายนิติบัญญัติใช้ควบคุมฝ่ายบริหาร เช่น การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี หรือฝ่ายบริหารจะรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น การเปิดอภิปรายทั่วไปที่คณะรัฐมนตรีร้องขอให้มีขึ้นเพื่อรับฟังความคิดเห็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากสมาชิกสภา. |
กุนซือ | น. ที่ปรึกษา เช่น พรรคนี้มีกุนซือเก่ง ๆ หลายคน ใครนะเป็นกุนซือให้นายกยุบสภา. |
คณะรัฐมนตรี | น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน. |
จังหวะ | น. ระยะที่สม่ำเสมอ เช่น หัวใจเต้นเป็นจังหวะ, ระยะที่กำหนดไว้เป็นตอน ๆ เช่น เพลงจังหวะช้า จังหวะเร็ว พูดเป็นจังหวะ, โดยปริยายหมายความว่าโอกาสอันควร เช่น เจ้านายกำลังโกรธ ไม่มีจังหวะจะเข้าพบ. |
เจ้าสังกัด | น. ส่วนราชการที่หน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานอื่นสังกัดอยู่ เช่น กระทรวงยุติธรรมเป็นเจ้าสังกัดของกรมราชทัณฑ์ สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. |
ไตรโลกย์ | น. ไตรโลก เช่น อันว่าพระไตรโลกย์ครู สวยมภูญาณนายก (ม. คำหลวง สักบรรพ). |
ทบวง | (ทะ-) น. ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่สูงกว่ากรม โดยมีทบวง ๒ ประเภท คือ ทบวงที่มีฐานะเทียบเท่ากับกระทรวง และทบวงที่มีฐานะต่ำกว่ากระทรวงซึ่งต้องอยู่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง. |
ทหารผ่านศึก | ทหารหรือบุคคลซึ่งทำการป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด. |
ท่าว ๒ | ว. เท่า, ราวกับ, เช่น กูเปนใหญ่บังคับ ให้เขาจับทำโพย โดยพลการเขาหลาย ผิดเชิงนายกับบ่าว ท่าวจักทอดธุระ กะว่าฝันเป็นแน่ (นิทราชาคริต). |
ทิศ ๖ | น. ทิศที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคล มี ทิศเบื้องหน้าหรือบูรพทิศ ได้แก่ บิดามารดากับบุตร ทิศเบื้องขวาหรือทักษิณทิศ ได้แก่ ครูอาจารย์กับศิษย์ ทิศเบื้องหลังหรือปัจฉิมทิศ ได้แก่ สามีกับภรรยา ทิศเบื้องซ้ายหรืออุตรทิศ ได้แก่ มิตร ทิศเบื้องบนหรือปุริมทิศ ได้แก่ สมณพราหมณ์กับศาสนิกชน และทิศเบื้องล่างหรือเหฏฐิมทิศ ได้แก่ นายกับบ่าวหรือผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา. |
เทศบาล | น. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ประกอบด้วยนายกเทศมนตรีและสภาเทศบาล. |
ธง | น. ผืนผ้ารูปสี่เหลี่ยมหรือสามเหลี่ยม โดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทำด้วยกระดาษและสิ่งอื่น ๆ ก็มี สำหรับ (๑) ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ ตำแหน่งในราชการ โดยมีกำหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพนายกอง. (๒) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอกที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจำนนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย. (๓) ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า และอื่น ๆ. (๔) ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ. (๕) ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริง. (๖) ใช้ถือเข้ากระบวนแห่ |
นายประเพณี | น. หัวหน้ารักษาประโยชน์ของวัดและบำรุงวัดได้บังคับว่ากล่าวทั่วไป (ทำนองมรรคนายก). |
บริณายก | (บอรินายก) น. ปริณายก, ผู้นำบริวาร, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่. |
ประกาศ | ข้อความที่ทางราชการแจ้งให้ประชาชนทราบหรือวางแนวทางให้ปฏิบัติ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศกระทรวง ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี. |
ผู้ | น. คำใช้แทนบุคคล เช่น นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หรือใช้แทนคำว่า คน เช่น ผู้นั้น ผู้นี้ ทุกผู้ทุกนาม หรือใช้แทนสิ่งที่ถือเสมือนคน เช่น ศาลเป็นผู้ตัดสิน |
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง | น. ผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งทางการเมือง เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี นายกเทศมนตรี. |
ผู้บริหารท้องถิ่น | น.ผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้ง หรือแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นให้ทำหน้าที่บริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี. |
ภาษาแบบแผน | น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก. |
มหาดไทย | น. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในสมัยโบราณ มีสมุหนายกเป็นประธาน, ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ บำบัดทุกข์บำรุงสุข การพัฒนาชนบทและชุมชน การส่งเสริมการศึกษาและการประกอบอาชีพ การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การป้องกันสาธารณภัย การผังเมือง การโยธา และการราชทัณฑ์. |
แม่กอง | น. ผู้เป็นนายกอง, หัวหน้างาน, เช่น แม่กองทำปราสาทพระเทพบิดร แม่กองทำประตูประดับมุก. |
รัฐมนตรีเจ้าสังกัด | น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง นายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวง. |
รับ | ก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้ เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉันไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่างประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร |
ราชการบริหารส่วนกลาง, ราชการส่วนกลาง | น. การปกครอง ดูแล และการปฏิบัติภารกิจของรัฐในฐานะเป็นศูนย์กลางของการบริหารราชการแผ่นดิน โดยจัดแบ่งองค์กรในการปฏิบัติหน้าที่เป็นสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม เช่น ราชบัณฑิตยสถาน. |
รายทาง | ว. เรียงรายไปตามทางเป็นระยะ ๆ เช่น ตำรวจยืนรักษาการณ์รายทาง มีประชาชนมาคอยต้อนรับนายกรัฐมนตรีตามรายทาง. |
รุมล้อม | ก. ออเข้ามา, รุมเข้ามาห้อมล้อม, เช่น นักข่าวรุมล้อมนายกรัฐมนตรี. |
สกลมหาสังฆปริณายก | (สะกนมะหาสังคะปะรินายก) น. ตำแหน่งของสมเด็จพระสังฆราชในฐานะที่ทรงเป็นประมุขแห่งคณะสงฆ์ทั้งปวง. |
สัมภาษณ์ | ก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือวิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน. |
สาร ๑, สาร- ๑ | ข้อความ, ถ้อยคำ, เรื่องราว, เช่น กล่าวสาร สื่อสาร, หนังสือ เช่น นิตยสาร วารสาร, จดหมาย เช่น เขียนสาร สารของนายกรัฐมนตรีถึงเยาวชน. |
สำนัก | น. ที่อยู่อาศัย เช่น อยู่สำนักวัดมหาธาตุ, ที่ทำการ เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี |
สุนทรพจน์ | (สุนทอนระ-, สุนทอระ-) น. คำพูดที่ประธานหรือบุคคลสำคัญเป็นต้นกล่าวในพิธีการหรือในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น นายกรัฐมนตรีกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ. |
เสนอตัว | ก. แสดงความจำนงมอบตัวให้พิจารณาเพื่อแต่งตั้งหรือรับไว้ทำงานเป็นต้น เช่น เขาเสนอตัวรับใช้ประชาชน เขาเสนอตัวเป็นนายกสมาคม. |
หมาไล่เนื้อ | น. คนที่รับใช้ผู้อื่นเมื่อเวลายังทำประโยชน์ให้ได้ ผู้เป็นนายก็เมตตาเลี้ยงดู แต่เมื่อทำประโยชน์ไม่ได้แล้ว ผู้เป็นนายก็ทอดทิ้งไม่ไยดีหรือหาเรื่องลงโทษขับไล่ไสส่งเป็นต้น เปรียบเสมือนหมาไล่เนื้อ เมื่อแก่สิ้นเขี้ยวสิ้นเล็บ ใช้ไล่ล่าสัตว์ไม่ได้ เจ้าของก็ไม่เมตตาเลี้ยงดูอีกต่อไป. |
president | ๑. ประธาน, ประธานที่ประชุม, นายก๒. อธิการบดี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
president, vice | ๑. รองประธาน, รองประธานที่ประชุม, อุปนายก๒. รองอธิการบดี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Premier; Prime Minister; Prime Minister | นายกรัฐมนตรี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Premier; Prime Minister | นายกรัฐมนตรี [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Premier, Deputy; Prime Minister, Deputy | รองนายกรัฐมนตรี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Prime Minister; Premier | นายกรัฐมนตรี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Prime Minister; Premier | นายกรัฐมนตรี [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
plan, strong-mayor | เทศบาลแบบนายกเทศมนตรีมีอำนาจมาก (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
plan, weak-mayor | เทศบาลแบบนายกเทศมนตรีมีอำนาจน้อย (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Lord Mayor | นายกเทศมนตรี (อังกฤษ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
strong-mayor plan | เทศบาลแบบนายกเทศมนตรีมีอำนาจมาก (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
mayor | นายกเทศมนตรี [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
mayor | นายกเทศมนตรี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Chancellor | นายกรัฐมนตรี (ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและสาธารณรัฐออสเตรีย) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
chancellor | นายกรัฐมนตรี (ของบางประเทศ เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี) (ก. รัฐธรรมนูญ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Deputy Premier; Deputy Prime Minister | รองนายกรัฐมนตรี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Deputy Prime Minister; Deputy Premier | รองนายกรัฐมนตรี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
vice president | ๑. รองประธาน, รองประธานที่ประชุม, อุปนายก๒. รองอธิการบดี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
weak-mayor plan | เทศบาลแบบนายกเทศมนตรีมีอำนาจน้อย (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Women prime ministers | นายกรัฐมนตรีสตรี [TU Subject Heading] |
Mayors | นายกเทศมนตรี [TU Subject Heading] |
Prime ministers | นายกรัฐมนตรี [TU Subject Heading] |
Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy | ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต] |
ASEAN-JAPAN SUMMIT | การประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น เป็นการประชุมระหว่างผู้นำอาเซียนและนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ซึ่งในหลักการจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540 [การทูต] |
courtesy call | การเยี่ยมคารวะ เป็นการเข้าพบเพื่อทำความรู้จักกันของบุคคลสำคัญหรือนักการทูต เช่น การเข้าพบระหว่างนักการทูตด้วยกัน หรือนักการทูตเข้าพบรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีของประเทศอื่นเข้าพบนายกรัฐมนตรี ฯลฯ [การทูต] |
Foreign Policy | นโยบายต่างประเทศ คือแผนการดำเนินการในกิจการระหว่างประเทศ ซึ่งผู้กำหนดนโยบายในคณะรัฐบาลเป็นผู้จัดขึ้น ในประเทศที่มีรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปรัฐสภา ผู้ที่จะชี้ขาดเรื่องนโยบายต่างประเทศได้แก่คณะรัฐมนตรี อันมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะ และจะได้รับความเห็นชอบจากผู้แทนของประชาชนที่ได้รับการเลือกตั้ง ส่วนรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปประธานาธิบดี ตัวประธานาธิบดีเองซึ่งโดยปกติแล้วจะได้รับคำแนะนำจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ และบุคคลชั้นผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติ จะเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศ [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Heads of State | ผู้แทนที่สำคัญที่สุดของรัฐ หรือประมุขของรัฐ ในบางกรณีอาจทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐ ในการเจริญความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ โดยมีอำนาจเต็มที่จะประกอบการใด ๆ ได้ ประมุขของรัฐนั้นอาจได้แก่ พระจักรพรรดิ (Emperor) พระเจ้าแผ่นดิน (King) พระราชินี (Queen) และประธานาธิบดี (President)ประมุขของรัฐย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเคารพ และการยอมรับนับถือจากประเทศอื่นๆ ในสังคมนานาประเทศ ในแง่พิธีการทูต ผู้ที่เป็นกษัตริย์อาจได้รับเกียรติแตกต่างกับผู้ที่เป็นประธานาธิบดี แต่ความแตกต่างเช่นนี้หามีความสำคัญในแง่กฎหมายอย่างใดไม่ เมื่อประมุขของรัฐเดินทางไปเยือนต่างประเทศ ตัวประมุขพร้อมด้วยบุคคลในครอบครัวและบริวารทั้งหลาย ตลอดจนถึงทรัพย์สินของประมุขจะไดรับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งในทางแพ่งและอาญาคำว่าประมุขของรัฐอาจหมายถึงหัวหน้าของรัฐบาลก็ได้ เช่น ในกรณีสหรัฐอเมริกา แต่ในบางประเทศ เช่น อังกฤษ ประมุขของรัฐมิได้เป็นหัวหน้าของรัฐบาล ผู้ที่เป็นหัวหน้าของรัฐบาลได้แก่ นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) ในประเทศที่มีการปกครองในรูปสาธารณรัฐ (Republic) ถือว่าอำนาจอธิปไตยตกอยู่กับประชาชน แม้แต่ตัวประธานาธิบดีของประเทศก็ไม่มีอำนาจอธิปไตย หากแต่เป็นประชาชนพลเมืองคนหนึ่ง ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้เข้าไปบริหารประเทศตามกำหนดระยะเวลาหนึ่งภายใต้ รัฐธรรมนูญ และตัวประธานาธิบดี เช่น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ก็อาจถูกฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งโดยรัฐสภา หรือสภานิติบัญญัติได้ เรียกว่า Impeachment [การทูต] |
High Level Panel on Threats, Challenges and Change | คณะผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงว่าด้วยภัยคุกคาม ความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง แต่งตั้งโดยนาย Kofi Annan เลขาธิการสหประชาชาติ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 16 คน มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายก - รัฐมนตรีเป็นประธาน [การทูต] |
International Conferences | คือการประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้ง สุดท้าย [การทูต] |
Iron Curtain | ม่านเหล็ก เป็นศัพท์ที่อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ผู้ล่วงลับไปแล้ว คือ เซอร์วินสตัน เชอชิลล์ เป็นผู้บัญญัติขึ้นหมายถึงเครื่องกีดขวางปิดกั้นเขต ซึ่งโซเวียตรัสเซียและประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกไม่ยอมให้มีการ ติดต่อหรือเดินทางเข้าไปในอาณาเขตของประเทศดังกล่าว ที่เรียกกันว่า ประเทศหลังม่านเหล็ก เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองในระหว่างสงครามเย็น แต่ภายหลังที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ล่มสลาย ม่านเหล็กก็พลอยหมดสภาพไปในที่สุด [การทูต] |
Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Fund | กองทุนให้ความช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน " ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนให้ความช่วย เหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน พ.ศ. 2539 โดยให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงาน รับผิดชอบ มีวัตถุประสงค์ให้เงินกู้ผ่อนปรนแก่รัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินของรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม เพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาประเทศ โดยเงินกู้ที่ รัฐบาลไทยปล่อยให้กู้นี้ จะต้องเป็นเงินสกุลบาท และส่วนหนึ่งของ เงินกู้จะต้องนำไปซื้อสินค้าและบริการจากภาคเอกชนไทย " [การทูต] |
Personal Inviolability of Diplomatic Agents | หมายถึง ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ กล่าวคือ มาตรา 29 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้ว่า ?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทุตจะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ ให้รัฐผู้รับปฏิบัติต่อตัวแทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร และดำเนินการที่เหมาะสมทั้งมวลที่จะป้องกันการประทุษร้ายใด ๆ ต่อตัวบุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางการทูต?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ นั้น ได้ถือเป็นปัจจัยหลักในการที่ให้ผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิและความคุ้มกัน ทั้งมวล ถึงกับมีการพูดกันว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อตัวเอกอัครราชทูต จักถือว่าเป็นการทำร้ายต่อประมุขของประเทศซึ่งผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเป็น ตัวแทนอยู่ ทั้งยังถือว่าเป็นการยังผลร้ายต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชาติทั้ง มวลด้วยตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1964 ชายหนุ่มญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งมีจิตวิปลาส ได้ใช้มีดแทง นายเอ็ดวิน โอไรส์ชาวเออร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศญี่ปุ่น ในเขตนอกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงโตเกียว รัฐมนตรีว่าการกระทวงมหาดไทยญี่ปุ่นได้ลาออกจากตำแหน่งทันทีและรุ่งขึ้นใน วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1964 นายอิเคดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ได้ทำการขอโทษต่อประชาชนชาวอเมริกันทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการดำเนินการในทำนองนี้ และการที่นายกรัฐมนตรีอิเคดะได้ปฏิบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้นั้น มีความสำคัญมากเพียงใดตัวแทนทางการทูตจะถูกจับ ถูกฟ้องศาล หรือถูกลงโทษฐานประกอบอาชญากรรมนั้นไม่ได้ เพราะถือว่าผู้แทนทางการทูตมิได้อยู่ในอำนาจศาลของรัฐผู้รับ อย่างไรก็ดี หากผู้แทนทางการทูตกระทำความผิดอย่างโจ่งแจ้ง รัฐผู้รับอาจขอให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับไปยังประเทศของเขาได้ในทันที [การทูต] |
อดีตนายกรัฐมนตรี | [adīt nāyok ratthamontrī] (n, exp) EN: former prime minister FR: ancien Premier ministre [ m ] |
จังหวัดนครนายก | [Jangwat Nakhøn Nāyok] (n, prop) EN: Nakhon Nayok province FR: province de Nakhon Nayok [ f ] |
มรรคนายก | [makkhanāyok] (n) EN: lay temple officiator |
นครนายก | [Nakhøn Nāyok] (n, prop) EN: Nakhon Nayok (Central) FR: Nakhon Nayok (Centre) |
นายก | [nāyok] (n) EN: president ; chief ; chairman FR: président [ m ] |
นายก | [nāyok] (n) EN: Prime Minister ; Premier FR: Premier ministre [ m ] |
นายก เล็ก | [nāyok lek] (n) EN: mayor FR: maire [ m, f ] ; bourgmestre (Belg.) [ m, f ] |
นายกรัฐมนตรี | [nāyokratthamontrī] (n, exp) EN: Prime Minister ; Premier FR: Premier ministre [ m ] |
นายกรัฐมนตรีคนใหม่ | [nāyokratthamontrī khon mai] (n, exp) FR: le nouveau Premier ministre |
นายกเทศมนตรี | [nāyok thēsamontrī] (n) EN: mayor FR: maire [ m, f ] ; bourgmestre (Belg.) [ m, f ] ; maïeur = mayeur (Belg.) [ m ] |
รองนายกรัฐมนตรี | [røng-nāyokratthamontrī] (n) EN: Deputy Prime Minister ; vice-premier |
รองนายกฯ | [røng-nāyok] (n) EN: Deputy Prime Minister |
รองนายกรัฐมนตรี | [røng-nāyokratthamontrī] (n) EN: Deputy Prime Minister |
รองนายกเทศมนตรี | [røng nāyok thēsamontrī] (n, exp) EN: deputy mayor FR: adjoint au maire [ m ] ; échevin [ m ] (Belg.) |
สำนักนายกรัฐมนตรี | [samnak nāyokratthamontrī] (n, exp) EN: Prime Minister's office FR: services du Premier ministre [ mpl ] |
สังฆนายก | [sangkhanāyok] (n) EN: Chairman of the Ecclesiastical |
สภานายก | [saphānāyok] (n) EN: president ; chairman FR: président [ m ] |
alcalde | (แอลแคล' ดี) n., (pl. -des) นายกเทศมนตรีที่มีอำนาจพิจารณาคดี., Syn. alcade |
bishop | (บิช'เชิพ) n. หัวหน้าบาทหลวง, สังฆนายก, ตัวหมากรุกฝรั่งที่เทียบเท่ากับโคนของหมากรุกไทย, See also: bishopric adj. ดูbishop |
chancellery | (ชาน'ชะเลอรี) n. ตำแหน่งเสนาบดี, สำนักงานเสนาบดี, รัฐมนตรี, ตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีของบางประเทศ, สถานเอกอัครราชฑูต, สถานกงสุลใหญ่, เจ้าหน้าที่ทั้งหมดของสถานเอกอัครราชฑูต (หรือกงสุล) , เลขานุการเอกอัครราชทูต (หรือกงสุล) , นายกรัฐมนตรี (ของบางประเทศ) , ตุลาการใหญ่ของบางประเ |
chancellor | (ชาน'ซะเลอ) n. เสนาบดี, อัครมหาเสนาบดี, นายกรัฐมนตรี, เอกอัครราชทูต, ตุลาการใหญ่, See also: chancellorship n. |
commissary | (คอม'มิเซอรี) n. ร้านขายอาหารและเสบียง, ที่จ่ายเสบียง, รองหัวหน้า, commissar, รองอธิบดีตำรวจ, รองนายกเทศมนตรี |
lenin | (เลน'นิน) n. Vladimir Ilyich นายกรัฐมนตรีโซเวียต (ค.ศ.1918-1924) |
lord mayor | n. นายกเทศมนตรีเมืองใหญ่ |
mayor | (เม'เออะ, แม'เออะ) n. นายกเทศมนตรี -mayoral adj., See also: mayorship n. |
mayoralty | (เม'เออรัลที, แม'เออรัลที) n. สำนักนายกเทศมนตรี |
mayoress | (เม'เออริส, แม'เออริส) n. นายกเทศมนตรีหญิง |
premier | (พรีเมียร์', พริมเยียร์') n. นายกรัฐมนตรี, อัครมหาเสนาบดี. adj. เป็นหัวหน้า, นำหน้า, ครั้งแรก, เก่าที่สุด., See also: premiership n., Syn. prime minister |
presidency | (เพรส'ซิเดินซี) n. ตำแหน่งประธาน, ตำแหน่งประธานาธิบดี, ตำแหน่งนายก |
president | (เพรส'ซิเดินทฺ) n. ประธาน, นายก, ประธานาธิบดี, ประมุข, ประธานบริษัท, อธิการบด' (ของมหาวิทยาลัยอเมริกา) , คณบดี (ของมหาวิทยาลัยในอังกฤษ), Syn. chairman |
vice chancellor | n. รองอัครมหาเสนาบดี, รองนายกรัฐมนตรี, รองอธิการบดีมหาวิทยาลัย |
vice-premier | (ไวสฺ'เพรม'เมียร์) n. รองนายกรัฐมนตรี |
weather station | สถานีติดตั้งเครื่องมือตรวจสภาพอากาศและทำนายการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ, สถานีอุตุนิยมวิทยา |