นิทรา | (นิดทฺรา) น. การหลับ, การนอนหลับ. |
นิทรา | (นิดทฺรา) ก. หลับ, นอน, เช่น ให้หาวนิทราเป็นพ้นไป (อิเหนา). |
นิทรารมณ์ | น. การหลับ. |
โยคนิทรา | น. การเข้าฌานแล้วไม่รู้สึกถึงสิ่งภายนอก, อาการที่แสร้งทำเช่นนั้น. |
กระเดื่อง ๓ | กระดาก เช่น ไป่กระเดื่องสะดุ้ง ฟูมฟาย (นิทราชาคริต), นิยมใช้เข้าคู่กันเป็น กระดากกระเดื่อง. |
คู ๒ | ก. กิริยาที่นกบางชนิดเช่นนกเขาหรือนกพิราบขันหรือร้อง, โดยปริยายหมายความว่า พูดแทะโลมกัน เช่น ข้อยคูดนูแนบนิทรา (สรรพสิทธิ์). |
ง่าน ๒ | ก. งุ่นง่าน เช่น มารดาเห็นบุตรเงื้อ ง่านใจ (นิทราชาคริต). |
จัก ๓ | ก. รู้, ทราบ, แจ้ง, จำได้, เช่น รู้จัก, ข้อยคูดนูแนบนิทรา รมย์ร่วมรถพาหนห่อนจักสึกสมประดี (สรรพสิทธิ์). |
เซ็ก | ก. เซ็งแซ่ เช่น เสียงกระเกริกเกรียวก้อง เซ็กห้องเสียงหัว (นิทราชาคริต). |
ตะโพง | โทง ๆ, โหย่ง ๆ, เช่น ก็จะทำคลุมโปงตะโพงดัน (ปกีรณำพจนาดถ์), ลุกขึ้นมาทั้งโปง วิ่งตะโพงกอดบาท (นิทราชาคริต), ตะพง ก็ว่า. |
ท ๒ | ใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซอ ในคำบางคำ เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคำบางคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียง ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ อินทรา นิทรา อิเล็กทรอนิกส์. |
ท่าว ๒ | ว. เท่า, ราวกับ, เช่น กูเปนใหญ่บังคับ ให้เขาจับทำโพย โดยพลการเขาหลาย ผิดเชิงนายกับบ่าว ท่าวจักทอดธุระ กะว่าฝันเป็นแน่ (นิทราชาคริต). |
ทุรน | ก. เดือดร้อน, ดิ้นรน, เช่น ราชาธิราชอาณา ทั่วสีมามณฑล จะทุรนเดือดแด แปรบเห็นที่พึ่ง (นิทราชาคริต). |
โทษกรณ์ | (โทดสะกอน) น. โทษ, อาชญา, เช่น รู้สึกซึ่งโทษกรณ์ ตนผิด (นิทราชาคริต). |
นิทร | (นิด) ก. นิทรา, นอน, เช่น จักจรมาดลกุฎี กลับมอบศรีเสวตฉัตรไชยห้อมแห่งไคลครนิทร (ม. คำหลวง สักรบรรพ). |
ผ่อย | ก. ม่อย เช่น ลมจับพับผ่อยพ้น นับครั้งคราวหลาย (นิทราชาคริต). |
ร้า ๓ | ก. รา, วางมือ, เช่น ใช่จักร้าโดยง่าย (นิทราชาคริต). |
ร้า ๔ | ก. ร่า, ร่าเริง, เช่น ชาวที่ร้าเปิดทวาร (นิทราชาคริต). |
ร้า ๕ | ก. ดึง, ทึ้ง, เช่น เขาก็ร้าตัวเข้ากรง (นิทราชาคริต) |
ลิลิตสุภาพ | น. ลิลิตที่ใช้ร่ายสุภาพหรือร่ายโบราณขึ้นต้น แล้วใช้โคลงสุภาพกับร่ายสุภาพหรือร่ายโบราณสลับระคนอยู่ในเรื่องเดียวกัน เช่น ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย ลิลิตนิทราชาคริต. |
สดับ | ได้ยิน เช่น ถึงแม้ว่าจะสนิทนิทรา ก็ผวาเมื่อสดับศัพท์เสียงพี่ (วิวาหพระสมุท). |