ประชวร | (ปฺระชวน) ก. เจ็บป่วย, เจ็บไข้, เจ็บ. (ใช้แก่เจ้านาย). |
กรรมชวาต | (กำมะชะวาด) น. ลมเกิดแต่กรรม คือ ลมเกิดในครรภ์เวลาคลอดบุตร ได้แก่ ลมเบ่ง เช่น พอถึงพระหัตถ์พระราชเทวีก็ทรงจับเอากิ่งรัง พอเกิดลมกรรมชวาตหวั่นไหวประชวรพระครรภ์ (ปฐมสมโพธิกถา), เขียนเป็น กรรมัชวาต ก็มี. |
เจ็บ | ก. ป่วยไข้, ราชาศัพท์ว่า ประชวร |
เจ็บไข้, เจ็บป่วย | ก. ไม่สบายเพราะโรคหรือความไข้หรือเหตุอื่นที่ทำให้รู้สึกเช่นนั้น, เจ็บไข้ได้ป่วย ก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า ทรงพระประชวร หรือ ประชวร. |
ทรง | ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่น ไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน ให้ใช้ว่า ตรัส ประทับ พระราชทาน. |
นาภิ, นาภี ๑ | น. สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี |
ปัชชร | (ปัดชอน) ก. ประชวร. |
ล้อมวง | อารักขาเขตพระราชฐานหรือบริเวณรอบสถานที่ที่ประทับนอกพระนคร ทั้งการเสด็จโดยสถลมารคและชลมารค, รักษาความสงบเรียบร้อยระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประชวร หรือพระรัชทายาทก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ โดยจัดเจ้าหน้าที่ล้อมที่ประทับเป็นชั้น ๆ. |