ปีบ ๑ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Millingtonia hortensis L.f. ในวงศ์ Bignoniaceae ใบเป็นใบประกอบ ดอกยาว สีขาว กลิ่นหอม ดอกแห้งใช้ประสมยาสูบ, พายัพเรียก กาซะลอง, อีสานเรียก กางของ. |
ปีบ ๒ | น. ภาชนะทำด้วยสังกะสีเป็นต้น รูปสี่เหลี่ยม สำหรับบรรจุสิ่งของ, ปี๊บ ก็ว่า. |
กรวย ๑ | น. ของมีรูปกลม กลวง ยาวเรียวแหลม, เรียกขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ น้ำตาลปีบ เป็นต้น หยอดในกรวยใบตอง ว่า ขนมกรวย, กระทงมีฝาเป็นกรวยครอบ ข้างในใส่หมากหรือเมี่ยงสำหรับถวายพระอุปัชฌาย์และคู่สวดในการบวชนาค เรียกว่า กรวยอุปัชฌาย์และกรวยคู่สวด |
กางของ | น. ต้นปีบ. (ดู ปีบ ๑). |
กาซะลอง | น. ต้นปีบ. (ดู ปีบ ๑). |
ไข่จิ้งหรีด | น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทำด้วยข้าวตากคั่วจนพองเหลืองกวนกับนํ้าตาลปีบที่เคี่ยวเหนียว บางทีโรยมะพร้าวขูดด้วย. |
ไข่นกกระสา | น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทำด้วยสาคูเม็ดเล็กผสมนํ้าตาลปีบ ปั้นเป็นก้อน นึ่ง มีไส้ทำด้วยถั่วเขียวนึ่งผัดกับพริกไทย. |
ครบบวช | ว. ที่มีอายุตั้งแต่ ๒๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ถือว่าอุปสมบทเป็นภิกษุได้. |
แซยิด | น. วันที่มีอายุครบ ๕ รอบนักษัตร คือ ๖๐ ปีบริบูรณ์ตามคติของจีน, เรียกการทำบุญในวันเช่นนั้นว่า ทำบุญแซยิด. |
ถ้วย ๒ | น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ นํ้าตาลปีบ เป็นต้น มีหน้าทำด้วยกะทิ แป้ง ใส่เกลือเล็กน้อย ใส่ถ้วยนึ่ง. |
ถ้วยตะไล ๒ | น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ น้ำตาลปีบ เป็นต้น มีหน้าทำด้วยกะทิ แป้ง ใส่เกลือเล็กน้อย ใส่ถ้วยตะไลนึ่ง. |
ทหารกองเกิน | น. ผู้ซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์และยังไม่ถึงสามสิบปีบริบูรณ์ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินเมื่อมีอายุย่างเข้าสิบแปดปี หรือผู้ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินภายหลังอายุย่างเข้าสิบแปดปีแต่ไม่เกินสี่สิบหกปี. |
นางสาว | น. คำนำหน้าชื่อหญิงที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้วหรือหญิงซึ่งเป็นหม้าย ก็มีสิทธิใช้คำนำหน้าชื่อว่า นางสาว ได้. |
นาย | น. คำนำหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป |
น้ำตาล | น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีรสหวาน โดยมากได้จากตาล มะพร้าว อ้อย, ถ้าเป็นความหมายเฉพาะอย่างและทำด้วยอะไร ก็เติมคำนั้น ๆ ลงไป เช่น ทำจากตาล เรียกว่า นํ้าตาลโตนด, ทำจากมะพร้าว เรียกว่า นํ้าตาลมะพร้าว, ทำจากอ้อย แต่ยังไม่ได้ทำให้เป็นนํ้าตาลทราย เรียกว่า นํ้าตาลทรายดิบ, ทำเป็นเม็ด ๆ เหมือนทราย เรียกว่า นํ้าตาลทราย, ทำเป็นผงละเอียดหรือจับกันเป็นก้อน ๆ สีนํ้าตาล เรียกว่า นํ้าตาลทรายแดง, ทำเป็นก้อนแข็งเหมือนกรวด เรียกว่า นํ้าตาลกรวด, ทำเป็นงบ เรียกว่า นํ้าตาลงบ, เคี่ยวให้ข้น ๆ เรียกว่า นํ้าตาลตงุ่น, หยอดใส่ใบตาลหรือใบตองแห้งทำเป็นรูปปี่ เรียกว่า นํ้าตาลปี่, หยอดเป็นปึก เรียกว่า นํ้าตาลปึก, หยอดใส่หม้อ เรียกว่า นํ้าตาลหม้อ, บรรจุใส่ปีบ เรียกว่า น้ำตาลปีบ หรือ น้ำตาลปี๊บ, รองมาใหม่ ๆ ยังไม่ได้เคี่ยว เรียกว่า นํ้าตาลสด, ถ้าต้มให้เดือด เรียกว่า นํ้าตาลลวก, ถ้าใส่เปลือกตะเคียน มะเกลือ หรือเคี่ยม เป็นต้น หมักไว้ระยะหนึ่งจนมีแอลกอฮอล์ กินแล้วเมา เรียกว่า นํ้าตาลเมา. |
บรรลุนิติภาวะ | ก. มีอายุถึงกำหนดที่กฎหมายให้พ้นจากภาวะความเป็นผู้เยาว์และให้มีความสามารถใช้สิทธิตามกฎหมายทั้งปวงได้โดยสมบูรณ์ด้วยตนเอง โดยกฎหมายกำหนดให้บุคคลพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อผู้เยาว์ทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย. |
ปิดบัญชี | ก. บันทึกสรุปผลการดำเนินกิจการเมื่อสิ้นงวดหรือครบปีบัญชีเพื่อแสดงให้รู้ว่าได้กำไรหรือขาดทุนเท่าไร. |
ปี๊บ ๑ | น. ปีบ. (ดู ปีบ ๒) |
ผู้ใหญ่ | น. คนที่มีอายุมาก, บุคคลที่มีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์แล้ว, คนที่เป็นหัวหน้าในการงาน, บุคคลชั้นผู้บังคับบัญชา. |
พะโล้ | น. ชื่ออาหารแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้ลูกโป๊ยกั้ก อบเชย และเครื่องเทศอื่น ๆ ตำเคล้าคลุกกับเป็ดหรือห่านเป็นต้นให้เข้ากันดี และเคี่ยวจนน้ำแห้ง, ถ้าทำอย่างไทยใช้น้ำตาลปีบเคี่ยวกับซีอิ๊วและน้ำปลา มีรสหวานเค็ม และมักไม่ใส่เครื่องเทศ เช่น ไข่พะโล้ หมูพะโล้. |
เยาวชน | น. บุคคลอายุเกิน ๑๕ ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์. |
อันตรายิกธรรม | (-ยิกะทำ) น. “ธรรมที่ทำอันตราย” หมายถึง เหตุขัดขวาง เช่น เหตุขัดขวางการอุปสมบท มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือเป็นโรคเรื้อนเป็นต้น. |