กรมพระนครบาล | (กฺรมมะ-) ดู กรมเมือง. |
ร้อยเอ็ดเจ็ดพระนคร, ร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ, ร้อยเอ็ดเจ็ดหัวเมือง | ว. ทั่วทุกแห่งหน. |
เลียบพระนคร | ก. เสด็จพระราชดำเนินรอบพระนครภายหลังบรมราชาภิเษกแล้ว, เลียบเมือง ก็ว่า. |
กรมเมือง | (กฺรมมะ-) น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยในราชธานีและปริมณฑล ปราบปรามโจรผู้ร้าย รวมทั้งบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีความอุกฉกรรจ์และดูแลคุก (เรือนจำ) มหันตโทษ, เวียง หรือ กรมพระนครบาล ก็เรียก |
จาตุกรณีย์ | น. ราชกิจ ๔ อย่าง คือ ๑. ตัดสินความเมือง ๒. บำรุงราษฎร ๓. บำรุงผลประโยชน์บ้านเมือง ๔. ป้องกันพระนคร, บางทีในบทกลอนใช้ว่า จาตุกรณย์, จาตุรราชการ ก็ว่า. |
ซ้าย | ว. ตรงข้ามกับ ขวา, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ, ถ้าหันหลังไปทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านซ้ายมือ เรียกว่า ฝั่งซ้าย ด้านขวามือ เรียกว่า ฝั่งขวา เช่น ฝั่งพระนครอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา |
ตระเวน | (ตฺระ-) ก. เที่ยวตรวจตรา เป็นหน้าที่ของข้าราชการโบราณในกรมพระนครบาล เช่น พลตระเวน, พาไปทั่ว ๆ เพื่อประจาน ในความว่า นำนักโทษตระเวนไปทั่วเมือง, ใช้ว่า กระเวน ตะเวน หรือ ทะเวน ก็มี |
ทศมาส | น. ๑๐ เดือน เช่น เมื่อพระนางเธอทรงพระครรภ์ถ้วนทศมาส ปรารถนาจะประพาสชมพระนคร (ม. ร่ายยาว หิมพานต์). |
เทครัว | ก. อพยพครอบครัว, กวาดต้อนผู้คนพลเมืองจากถิ่นฐานเดิมไปไว้ที่อื่น, เช่น ในปีเดียวนั้นให้เทครัวเมืองเหนือทั้งปวงลงมายังกรุงพระนครศรีอยุทธยา (พงศ. ประเสริฐ) |
นาคาวโลก | (-คาวะ-) น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยเยื้องมาข้างหน้าประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระองค์ตามปรกติ เอี้ยวพระกายผินพระพักตร์ไปทางซ้าย (เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลีอย่างไว้อาลัย ด้วยจะเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย). |
พลตระเวน | (พน-) น. พลตำรวจพระนครบาลผู้ตรวจตราเหตุการณ์. |
ร้อยเอ็ด | เป็นจำนวนมากตั้งร้อย เช่น ร้อยเอ็ดพระนคร. |
ล้อมวง | อารักขาเขตพระราชฐานหรือบริเวณรอบสถานที่ที่ประทับนอกพระนคร ทั้งการเสด็จโดยสถลมารคและชลมารค, รักษาความสงบเรียบร้อยระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประชวร หรือพระรัชทายาทก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ โดยจัดเจ้าหน้าที่ล้อมที่ประทับเป็นชั้น ๆ. |
เลียบเมือง | ก. เสด็จพระราชดำเนินรอบพระนครภายหลังบรมราชาภิเษกแล้ว, เลียบพระนคร ก็ว่า. |
วงเล็บเหลี่ยม | น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนง, ใช้กันข้อความในการเขียนบรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏในหนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐานยืนยัน เช่น [ ตรี อมาตยกุล ] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[ x + 4 – 3{ x + 5 – 4(x + 1) } ] = 23, ใช้ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อแสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [ Ba2+ ][ F−2 ] = 1.05.10−6, Na2[ Fe(Cn)5(NO) ]·2H2O. |
วิหารแกลบ | (-แกฺลบ) น. วิหารขนาดเล็ก มีพื้นที่ภายในสำหรับพระภิกษุนั่งปฏิบัติกรรมฐานได้เพียงรูปเดียว เช่น วิหารแกลบที่วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. |
วิหารราย | น. วิหารขนาดใกล้เคียงกับวิหารน้อย ตั้งเรียงรายภายในพุทธาวาสโดยรอบ เช่น วิหารรายวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ศาลารายที่ใช้สำหรับพิธีสวดโอ้เอ้วิหารราย เช่น ศาลารายวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร. |