กรมวัง | (กฺรมมะ-) น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่รักษาพระราชมนเทียร พระราชวังชั้นนอก พระราชวังชั้นใน บริหารกิจการในพระราชสำนัก และบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับสมใน ได้แก่ ศาลแพ่งวัง ศาลอาชญาวัง และศาลนครบาลวัง รวมทั้งบังคับบัญชาศาลมรดก |
โขลน ๒ | (โขฺลน) น. เจ้าพนักงานหญิงมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในพระราชฐานชั้นในของพระราชวังหลวงและวังหน้า. |
เครื่องสุกำศพ | น. เครื่องมัดศพประกอบด้วยผ้าขาว ด้ายดิบ กระดาษฟาง เป็นต้น ใช้แก่ศพที่ได้รับพระราชทานเกียรติยศประกอบศพตามระเบียบสำนักพระราชวัง. |
โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาทดลองงานทางด้านการเกษตร ภายในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ข้อมูลที่ได้จากการทดลองนำมาเป็นแบบอย่างสำหรับปฏิบัติตามหรือปรับปรุงแก้ไขในการประกอบอาชีพของราษฎร แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ โครงการไม่ใช่ธุรกิจ เช่น บ่อเพาะเลี้ยงปลานิล ป่าไม้สาธิต นาข้าวทดลอง และโครงการกึ่งธุรกิจ เช่น โรงงานผลิตและแปรรูปนมสดครบวงจร โรงสีข้าว. |
เงินปี | น. เงินที่มีกำหนดจ่ายให้แก่พระบรม-วงศานุวงศ์เป็นรายปีจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง. |
จอมมารดา | น. ตำแหน่งภรรยาของกรมพระราชวังบวรฯ วังหน้า ในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งมีพระโอรสพระธิดา. |
จุกช่อง | ก. อารักขาพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศ์ที่สำคัญ ตามช่องทางเสด็จพระราชดำเนินเมื่อเสด็จไปนอกพระราชวัง โดยจัดเจ้าหน้าที่ให้รักษาการณ์อยู่ตามช่องทาง เช่น ตรอก ซอย ปากคลอง. |
เจ้าจอม | ตำแหน่งภรรยาของกรมพระราชวังบวรฯ วังหน้า ในรัชกาลที่ ๑-๕ ซึ่งไม่มีพระราชโอรสพระราชธิดา. |
เจ้าจอมมารดา | ตำแหน่งภรรยาของกรมพระราชวังบวรฯ วังหน้า ในรัชกาลที่ ๑-๔ ซึ่งมีพระราชโอรสพระราชธิดา |
ช่องกุด | น. ประตูที่เจาะกำแพงพระราชวังหรือกำแพงเมือง เป็นช่องสี่เหลี่ยมเพดานโค้งมนบ้าง โค้งแหลมบ้าง อยู่ใต้แนวใบเสมาลงมา เป็นช่องทางสำหรับคนสามัญเข้าออก, เขียนเป็น ช่องกุฎ ก็มี เช่น ซุ้มทวารบานสุวรรณชมพูนุท ประตูลักช่องกุฎสลับกัน (อิเหนา). |
ช่องตีนกา | น. ช่องรูปกากบาทอยู่ระหว่างแนวบัวผ่าหวายทั้งคู่ตอนใต้ใบเสมาของกำแพงพระราชวังและกำแพงเมือง. |
ตำรวจวัง | น. ข้าราชการในพระองค์ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาพระราชวัง และดูแลไม่ให้มีการละเมิดระเบียบประเพณีวังเป็นต้น. |
ถาวรวัตถุ | (ถาวอระวัดถุ, ถาวอนวัดถุ) น. สิ่งที่ก่อสร้างเพื่อให้มั่นคงยั่งยืน เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ปราสาท พระราชวัง. |
ทนายเรือน | น. พนักงานฝ่ายในมีหน้าที่ติดต่อกับส่วนราชการต่าง ๆ ในพระราชวัง. |
ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน | น. ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า พระราชวัง. |
ท้าว ๑ | ตำแหน่งหญิงอาวุโส ซึ่งเป็นเจ้าจอม เจ้าจอมมารดาในรัชกาลก่อนหรือหญิงราชนิกุล ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินโปรดเกล้าฯ ตั้งไว้ในตำแหน่งสำหรับดูแลราชกิจฝ่ายในพระราชวัง เช่น ท้าวทรงกันดาล ท้าวสมศักดิ์, (ปาก) คุณท้าว นางท้าว |
ทำเนียบนาม | น. นามต่าง ๆ ที่พระมหากษัตริย์โปรดให้ขนานเป็นทำเนียบไว้ เช่น นามพระราชวัง นามพระที่นั่ง นามประตู นามป้อม ตลอดจนถึงนามที่ทางราชการเรียก, การลำดับนามช้างม้าสำคัญของหลวง เช่น ทำเนียบนามช้างสำคัญ ทำเนียบนามม้าสำคัญ. |
ทิม | น. ศาลาแถวหรือห้องแถวสำหรับเป็นที่พักหรือไว้ของในพระราชวัง เช่น ทิมตำรวจ ทิมแถว. |
ทิมดาบ | น. ที่พักเจ้าพนักงานรักษาการณ์หรือที่คุมขังคนเป็นโทษในพระราชวัง. |
ทิมสงฆ์ | น. ที่พักชั่วคราวสำหรับพระภิกษุสงฆ์ในพระราชวัง. |
นางท้าว | น. ตำแหน่งหญิงอาวุโส ซึ่งเป็นเจ้าจอม เจ้าจอมมารดาในรัชกาลก่อน หรือหญิงราชนิกุล ซึ่งพระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ตั้งไว้ในตำแหน่งสำหรับดูแลราชกิจฝ่ายในพระราชวัง |
บริจาริกา | (บอริ-) น. หญิงรับใช้, ประกอบกับคำ บาท เป็น บาทบริจาริกา หมายถึง ภรรยาที่เป็นสามัญชนของพระมหากษัตริย์ กรมพระราชวังบวร และเจ้าฟ้า, ที่ตัดใช้ว่า บริจา ก็มี เช่น บาทบริจา ทารบริจา อรรคบริจา, หรือตัดใช้ว่า บริจาริก ก็มี. |
บัญชร | หน้าต่างพระที่นั่ง พระมหาปราสาท ในพระราชวัง. |
บัณฑูร | (บันทูน) น. คำสั่ง, คำสั่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล |
บาทบริจาริกา | (บาดบอริ-) น. ภรรยาที่เป็นสามัญชนของพระมหากษัตริย์ กรมพระราชวังบวร และเจ้าฟ้า. |
เบี้ยหวัด | น. เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายปีให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์หรือข้าราชบริพารจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง, เงินปี หรือ เบี้ยหวัดเงินปี ก็เรียก |
พระที่นั่ง | น. อาคารที่ประทับของพระมหากษัตริย์ซึ่งตามปรกติอยู่ในพระราชวัง เช่น พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งอัมพรสถาน, อาคารที่เสด็จออกมหาสมาคม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งวโรภาษพิมาน, ที่ประทับซ้อนบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้นพปฎลเศวตฉัตร เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์, ยานที่ประทับในการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนแห่ทางบก เช่น พระที่นั่งพุดตานทอง พระที่นั่งราเชนทรยาน |
มนตรีหก | น. ตำแหน่งเจ้ากรมใหญ่จำนวน ๖ กรม ได้แก่ กรมล้อมพระราชวัง กรมพระสุรัสวดี กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมสังฆการีธรรมการ กรมพระอาลักษณ์ และกรมพระภูษามาลา. |
มหาชัย | น. ชื่อเพลงไทยโบราณ อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน อยู่ในเรื่องทำขวัญ ต่อมาแปลงเป็นทางฝรั่งใช้เป็นเพลงคำนับเมื่อบุคคลสำคัญมาถึงมณฑลพิธี, สำนักพระราชวังและข้อบังคับกระทรวงกลาโหมกำหนดให้ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาชัยรับและส่งเสด็จในพิธีการที่พระบรมวงศ์เสด็จพระราชดำเนินหรือเสด็จไปทรงเป็นประธาน และบรรเลงรับและส่งประธานในพิธีการที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และบรรเลงเป็นเพลงเคารพธงราชวงศ์เวลาผ่านหรือขึ้นลง นายทหารที่มียศจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ. |
เรือประตู | น. เรือหลวงที่จัดเข้าร่วมในกระบวนเสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขาและป้องกันอันตรายกระบวนเรือพระที่นั่ง จัดอยู่ตามตำแหน่งเป็นชั้น ๆ ข้างหน้ากระบวนมีเรือประตูนอกหรือเรือประตูชั้นนอกอยู่ข้างหน้าเรือคู่ชักหมู่หนึ่ง กับอยู่ต่อเรือคู่ชักเข้ามาก่อนถึงเรือดั้งอีกแถวหนึ่งเรียกว่า เรือประตูใน และยังมีอยู่ทางตอนท้ายกระบวนอีก ๒ หมู่ หมู่ต้นอยู่ต่อท้ายเรือกันเรียกว่า เรือประตูใน กับหมู่ปลายอยู่ต่อท้ายหมู่เรือพระที่นั่งกรมพระราชวังบวรฯ และเรือที่นั่งเจ้านายเรียกว่า เรือประตูนอก. |
ลาตาย | น. การที่ทายาทหรือญาติของผู้ตายซึ่งขอพระราชทานนํ้าอาบศพนำธูปเทียนแพ กระทงกรวยดอกไม้ และหนังสือกราบถวายบังคมลาตายไปกราบถวายบังคมลาที่สำนักพระราชวัง เป็นการกราบทูลข่าวการตายของผู้นั้นให้ทรงทราบ. |
วัง ๑ | น. ที่อยู่ของเจ้านาย, ถ้าเป็นที่อยู่ของพระมหากษัตริย์เรียก พระราชวัง หรือ พระบรมมหาราชวัง |
วังหน้า | น. วังที่ประทับของพระมหาอุปราช มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เรียกในราชการว่า พระราชวังบวรสถานมงคล ตั้งอยู่ด้านหน้าพระราชวังหลวงหรือพระบรมมหาราชวัง, ในรัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบวรราชวัง, ปัจจุบันเรียกพระราชวงศ์ฝ่ายนี้ ว่า ฝ่ายวังหน้า. |
วังหลวง | น. วังที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ในสมัยอยุธยาเรียกว่า พระราชวังหลวง, ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบรมมหาราชวัง. |
วังหลัง | น. วังที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ในสมัยอยุธยามักตั้งอยู่ทางด้านหลังของพระราชวังหลวง. |
ศาลหลวง | น. ที่พิจารณาตัดสินคดีความของคณะตุลาการตั้งอยู่นอกพระราชวังหลวง, ศาลาลูกขุนนอก ก็เรียก. |
ศาลาลูกขุน | น. ที่ประชุม ปรึกษา และสั่งราชการของคณะเสนาบดี ตั้งอยู่ในพระราชวังหลวง. |
ศาลาลูกขุนนอก | น. ที่พิจารณาตัดสินคดีความของคณะตุลาการตั้งอยู่นอกพระราชวังหลวง, ศาลหลวง ก็เรียก. |
สีหบัญชร | น. หน้าต่างที่พระมหากษัตริย์เสด็จออกให้เข้าเฝ้า เช่น สีหบัญชรที่พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต สีหบัญชรที่พระที่นั่งสุทไธศวรรย์ปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง. |
หม่อม | น. คำนำหน้านามสตรีสามัญที่เป็นภรรยาของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า |
หม่อม | ภรรยาที่เป็นสามัญชนของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า, หม่อมห้าม ก็เรียก |
หมายกำหนดการ | น. เอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงานพระราชพิธีซึ่งต้องอ้างพระบรมราชโองการ คือขึ้นต้นด้วยข้อความว่า “นายกรัฐมนตรีหรือเลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่า” เสมอไป. |