ข้านอกเจ้าข้าวนอกหม้อ | น. จำนวนคนซึ่งมีจำนวนมาก ย่อมกระทำหรือประพฤตินอกออกไปจากคำสั่งหรือแบบอย่างขนบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมามากเช่นกัน ดังข้อความว่า กาลแต่ก่อนเจ้านายน้อยตัว ก็ไม่รั่วไม่ร้ำข้างไหนหนัก ครั้นภายหลังเจ้านายมากขึ้นก็เกิดการรั่วร้ำไปต่าง ๆ เป็นการข้านอกเจ้า เข้านอกหม้อ ลูกนอกพ่อ หลานนอกปู่ เป็นขึ้น (พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๔). |
ทึ่ง | ก. อยากรู้อยากเห็นเกินกว่าที่ควรจะเป็น (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระบรมราชินีนาถ) |
ผู้หญิงริงเรือ, ผู้หญิงยิงเรือ | น. ผู้หญิงทั่วไป เช่น เห็นผู้หญิงริงเรือที่เนื้อเหลือง (อภัย), อีกอย่างหนึ่งจะไปติดพันกับผู้หญิงริงเรือที่อยู่ในที่หวงแหน (พระราชหัตถเลขา รัชกาลที่ ๔), ของพม่าเป็นเรื่องของพระอินทร์ ดูสนิทกว่าที่จะให้ผู้หญิงยิงเรือ. |
เพลง | โดยปริยายหมายถึง แบบอย่าง เช่น ต่างกันไปคนละเพลง (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส), ชั้นเชิง เช่น ร้อยภาษามาสู่เคยรู้เพลง (อภัย). |
ไม่มีปี่มีกลอง, ไม่มีปี่มีขลุ่ย | ก. ไม่มีเค้า เช่น การที่เจ็บนั้นก็ไม่มีปี่มีกลอง (พระราชหัตถเลขา ร. ๗). |
ศาสน์ | น. คำสั่ง, คำสั่งสอน, โดยปริยายหมายถึง พระราชหัตถเลขาทางราชการและลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระราชศาสน์ สมณศาสน์. |