จรดพระเมรุ | น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือข้างหนึ่งหงาย งอข้อศอก หักข้อมือ ระดับแง่ศีรษะ มืออีกข้างหนึ่งจีบหงาย แขนตึง ระดับไหล่ เอียงศีรษะข้างเดียวกับมือที่แขนตึง. |
คดซ่าง | น. สิ่งปลูกสร้างชั่วคราวขนาดย่อม ยกพื้น และดาดหลังคา สำหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรมในงานออกพระเมรุ ตั้งอยู่ ๔ มุมพระเมรุ, คดสร้าง ซ่าง สร้าง ส้าง สำซ่าง หรือ สำสร้าง ก็เรียก. |
เครื่องต้น | น. เครื่องทรงสำหรับพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธี เช่น พระราชพิธีบรม-ราชาภิเษก, เรียกเต็มว่า ฉลองพระองค์เครื่องต้น, เครื่องทรงสำหรับพระพุทธรูป ซึ่งมีลักษณะอย่างเครื่องทรงพระเจ้าจักรพรรดิ เช่น พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ วัดหน้าพระเมรุราชิการาม |
ฉากบังเพลิง | น. เครื่องกั้นในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระศพ บนพระเมรุมาศหรือพระเมรุ เพื่อบังมิให้ไฟลุกลามขณะถวายพระเพลิงพระบรมศพหรือพระศพ มีลักษณะเป็นฉากพับได้ที่ติดไว้กับเสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน เมื่อจะใช้งานจึงดึงหรือยกมาปิดไว้. |
ซ่าง ๒ | น. สิ่งปลูกสร้างชั่วคราวขนาดย่อม ยกพื้น และดาดหลังคา สำหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรมในงานออกพระเมรุ ตั้งอยู่ ๔ มุมพระเมรุ, คดซ่าง คดสร้าง สร้าง ส้าง สำซ่าง หรือ สำสร้าง ก็เรียก. |
ตาลปัตรบังเพลิง | (-เพฺลิง) น. ตาลปัตรที่มีลักษณะเช่นเดียวกับพัดยศของพระสงฆ์ชั้นราชาคณะ ตรงกลางเว้นช่องว่างไว้ใส่ตะเกียงหรือโคมไฟ ปักตั้งรายรอบพระเมรุชั้นพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ชั้นสูง มีรูปเทวดานั่งคุกเข่าประคองโคนด้ามตาลปัตร, ตาลิปัตรบังเพลิง ก็เรียก. |
ทุ่ง | น. ที่ราบโล่งใช้เพาะปลูก เช่น ทุ่งไร่ทุ่งนา หรือใช้ประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น ทุ่งพระเมรุ. |
เมรุ, เมรุ- | ที่เผาศพ เดิมผูกหุ่นทำเป็นภูเขาเลียนแบบเขาพระสุเมรุ ซึ่งตั้งที่เผาขึ้นบนนั้น ของหลวงทำเป็นเรือนโถง เครื่องยอดหรือมณฑปครอบที่เผา เรียกว่า พระเมรุ, ต่อมาเรียกที่เผาศพทั่วไปทั้งมียอดและไม่มียอด ว่า เมรุ. |
เมรุทอง | (เมน-) น. เมรุขนาดเล็ก มีรูปทองอย่างบุษบก สร้างอยู่ภายในพระเมรุมาศ ประดิษฐานพระโกศทรงพระบรมศพเพื่อถวายพระเพลิง เรียกว่า พระเมรุทอง. |
เมรุมาศ | (เมรุมาด) น. สิ่งปลูกสร้างโดยขนบนิยมอย่างไทย มีลักษณะเป็นเครื่องยอดขนาดใหญ่ สูง สำหรับประดิษฐานพระบรมศพ ภายในมีพระเมรุทองซึ่งมีรูปทรงอย่างบุษบกขนาดเล็ก เป็นที่ประดิษฐานพระโกศทรงพระบรมศพสำหรับถวายพระเพลิง ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเมรุมาศ. |
สร้าง ๒ | (ส้าง) น. สิ่งปลูกสร้างชั่วคราวขนาดย่อม ยกพื้น และดาดหลังคา สำหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรมในงานออกพระเมรุ ตั้งอยู่ ๔ มุมพระเมรุ, ส้าง ซ่าง คดซ่าง คดสร้าง สำซ่าง หรือ สำสร้าง ก็เรียก. |
ส้าง | น. สิ่งปลูกสร้างชั่วคราวขนาดย่อม ยกพื้น และดาดหลังคา สำหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรมในงานออกพระเมรุ ตั้งอยู่ ๔ มุมพระเมรุ, คดซ่าง คดสร้าง ซ่าง สร้าง สำซ่าง หรือ สำสร้าง ก็เรียก. |
สำซ่าง | น. สิ่งปลูกสร้างชั่วคราวขนาดย่อม ยกพื้น และดาดหลังคา สำหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรมในงานออกพระเมรุ ตั้งอยู่ ๔ มุมพระเมรุ, คดซ่าง คดสร้าง ซ่าง สร้าง ส้าง หรือ สำสร้าง ก็เรียก. |
พระเมรุ | เป็นเมรุที่ใช้สำหรับราชวงศ์ที่ทรงฐานานุศักดิ์ เมื่อตายใช้ราชาศัพท์ว่า ทิวงคต หรือสิ้นพระชนม์โดยที่ภายในพระเมรุไม่มีพระเมรุทอง [ศัพท์พระราชพิธี] |
ฉากบังเพลิง | เครื่องกั้นในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระศพ บนพระเมรุมาศหรือเมรุ มีลักษณะเป็นฉากพับได้ ติดไว้กับเสาเมรุมาศทั้ง ๔ ด้าน เมื่อใช้งานจะดึงหรือยกมาปิดไว้ ใช้สำหรับศพชั้นโกศเท่านั้น, Example: <p><img src="http://stks.or.th/thaiglossary/sites/default/files/total-chark-2.jpg" alt="ฉากบังเพลิง"> <p>เครื่องกั้นในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระศพ บนพระเมรุมาศหรือเมรุ [ศัพท์พระราชพิธี] |
พระเสลี่ยงกลีบบัว | พระเสลี่ยงกลีบบัว ทำด้วยไม้ปิดทองประดับกระจกทั้งองค์ มีคานหาม ๒ คาน ขนาดกว้าง ๐.๘๒ เมตร ยาวรวมคาน ๔.๒๐ เมตร สูง ๑.๑๐ เมตร ลำคานเป็นไม้กลมกลึงทาสีแดง ปลายกลึงเป็นหัวเม็ดทรงมัณฑ์ปิดทองประดับกระจก ใช้สำหรับพระสงฆ์พระราชคณะสงฆ์สวดนำพระโกศเวียนรอบพระเมรุ [ศัพท์พระราชพิธี] |
พระเมรุพิมาน | อาคารถาวรที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งตั้งพระบรมศพ หรือพระศพเวลาถวายพระเพลิงอัญเชิญพระบรมศพหรือพระศพจากพระเมรุพิมานไปถวายพระเพลิงที่พระเมรุ (ขนาดน้อย) อีกแห่งใกล้ ๆ หรือไม่ไกลกันมาก [ศัพท์พระราชพิธี] |
พระเมรุบรรพต | พระเมรุซึ่งสร้างบนภูเขาสมมุติ [ศัพท์พระราชพิธี] |
รถพระโกศจันทน์ | รถสำหรับเปลี่ยนขณะประดิษฐานที่พระเมรุมาศกับเป็นรถพระที่นั่งสำรอง [ศัพท์พระราชพิธี] |
พระเมรุมาศ | พระเมรุขนาดสูงใหญ่ ลักษณะเป็น กุฎาคาร คือ เรือนยอด หมายถึงเรือนซึ่งทำหลังคาต่อกันเป็นยอดแหลม [ศัพท์พระราชพิธี] |
พระที่นั่งทรงธรรม | อาคารโถง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระเมรุ ใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่่จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศล และเป็นที่สำหรับพระสงฆ์สดับปกรณ์ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ [ศัพท์พระราชพิธี] |
หอเปลื้อง | ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกตรงมุขหลังของพระเมรุเป็นอาคารขนาดเล็ก ภายในเขตราชวัติ ลักษณะเป็นอาคารทรงไทย มีฝากั้นโดยรอบ เป็นสถานที่สำหรับเก็บพระโกศหลังจากได้เชิญพระศพขึ้นประดิษฐานบนพระจิตกาธานแล้ว [ศัพท์พระราชพิธี] |
ราชวัติ | เป็นแนวรั้วกั้นเป็นเขตปริมณฑลของพระเมรุทั้ง ๔ ด้าน [ศัพท์พระราชพิธี] |
พระวอสีวิกากาญจน์ | เป็นพระราชยานประทับราบสำหรับเจ้านายฝ่ายในและพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ นอกจากใช้เสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชพิธีแล้ว ยังใช้ในงานพระบรมศพสมเด็จพระบรมราชินีด้วย คือ เชิญพระราชสรีรางคารจากพระเมรุมาศท้องสนามหลวงกลับเ้ข้าพระบรมมหาราชวัง [ศัพท์พระราชพิธี] |