กระหย่ง ๑ | ก. ทำให้สูงขึ้น เช่น กระหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระหย่งฟาง, กระโหย่ง หย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า. |
กระโหย่ง ๑ | (-โหฺย่ง) ก. ทำให้สูงขึ้น เช่น กระโหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระโหย่งฟาง, กระหย่ง หย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า. |
ข้น | ว. ลักษณะของเหลวที่มีการรวมตัวกันแน่นเข้า, ไม่ใส |
ของแข็ง | น. สิ่งที่รวมตัวกันแน่น, สิ่งที่มิใช่ของเหลวหรือแก๊ส |
ควบแน่น | น. กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในลักษณะซึ่งโมเลกุลของสารตั้งแต่ ๒ โมเลกุลขึ้นไปเข้ารวมตัวกันเป็นโมเลกุลใหญ่ขึ้นของสารใหม่ โดยวิธีขจัดโมเลกุลของนํ้าหรือโมเลกุลของสารอื่นออกไป |
ฝ้า | น. อนุภาคเล็ก ๆ ที่รวมตัวกัน มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ลอยอยู่บนผิวนํ้าหรือติดอยู่ที่แผลเป็นต้น |
เมฆ | (เมก) น. ไอนํ้าที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนลอยอยู่ในอากาศ. |
โลกายัต | น. ชื่อหนึ่งของลัทธิปรัชญาฝ่ายวัตถุนิยมของอินเดีย ถือว่าโลกนี้เกิดจากการรวมตัวกันเองของวัตถุธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ชีพหรือชีวิตเป็นเพียงผลิตผลของวัตถุธาตุที่รวมตัวกันนั้น คนเราเกิดครั้งเดียว ตายแล้วขาดสูญ ไม่มีโลกหน้า จึงควรแสวงหากามสุขเสียแต่วันนี้ พรุ่งนี้เราอาจตาย, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นอุจเฉททิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าตายแล้วสูญ, จารวาก ก็เรียก. |
สลายตัว | อาการที่ฝูงชนซึ่งรวมตัวกันเพื่อประท้วงเป็นต้นแล้วต่อมาได้แยกย้ายกันไป เช่น กลุ่มชนที่มาประท้วงได้สลายตัวไปหมดแล้ว. |
สันนิบาตเทศบาล | น. องค์กรของเทศบาลทั่วประเทศรวมทั้งเทศบาลเมืองพัทยาและกรุงเทพมหานคร ซึ่งรวมตัวกันโดยมีจุดมุ่งหมายช่วยเหลือ สนับสนุน และติดต่อประสานงานเทศบาลทั่วประเทศ โดยไม่มีจุดประสงค์ทางการเมือง เรียกว่า สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย. |
สารประกอบ | น. สารที่เกิดจากธาตุตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้นไปมารวมตัวกันโดยอาศัยปฏิกิริยาเคมี และมีอัตราส่วนผสมคงที่เสมอ. |
หย่ง ๑ | ก. ทำให้สูงขึ้น เช่น หย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น หย่งฟาง หย่งผม หย่งเส้นบะหมี่, กระหย่ง กระโหย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า. |
หิน ๑ | น. ของแข็งที่ประกอบด้วยแร่ชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ. |
โหย่ง ๑ | (โหฺย่ง) ก. ทำให้สูงขึ้น เช่น โหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น โหย่งฟาง โหย่งผม โหย่งเส้นบะหมี่, กระหย่ง กระโหย่ง หรือ หย่ง ก็ว่า. |
Commonwealth of Independent States | เครือรัฐเอกราช " กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราชเกิดจากการรวมตัวกันของบรรดาประเทศเกิดใหม่ภาย หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต (ยกเว้นประเทศ กลุ่มทะเลบอลติก 3 ประเทศ ได้แก่ ลิธัวเนีย แลตเวีย และเอสโตเนีย) ซึ่งได้ร่วมลงนามในปฏิญญา Alma-Ata ก่อตั้งเครือรัฐเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2534 ประกอบด้วยสมาชิก 12 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย ยูเครน เบลารุส มอลโดวา คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน คีร์กิซสถาน ทาจิกิสถาน อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน และจอร์เจีย " [การทูต] |
civil society | ประชาสังคม หมายถึง สังคมที่ประชาชนในระดับต่าง ๆ มีการรวมตัวกันอย่างแข็งแกร่ง เพื่อที่จะเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินทางเลือกสาธารณะ ที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของท้องถิ่นและประเทศโดยรวม [การทูต] |
concert of nations | ความปรองดองระหว่างชาติ หลักการและแนวคิดเรื่องความปรองดองระหว่างชาติเกิดขึ้นในยุโรป ระหว่าง พ.ศ. 2357-2358 ซึ่งเรียกว่า Concert of Europe หรือบางครั้งเรียกว่า Concert of Allies โดยการรวมตัวของกลุ่มรัฐพันธมิตรที่ต่อต้านการขยายอำนาจของฝรั่งเศส คือ รัสเซีย ออสเตรีย ปรัสเซีย และอังกฤษ ได้รวมตัวกันเป็นระบบแห่งยุโรป (European system) หรือระบบแห่งมหาอำนาจในยุโรป ซึ่งต่อมาฝรั่งเศสและสเปนได้เข้าร่วมในระบบความปรองดองแห่งยุโรปด้วย นอกจากนี้การเกิดระบบความปรองดองแห่งยุโรปซึ่งมีระบบการประชุมคองเกรส ระหว่างชาติมหาอำนาจเป็นกลไกสำคัญนั้น ยังเป็นการแสดงถึง "มหาอำนาจแห่งปฐมลำดับ" (The powers of the first order) และยังถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการเรียกชื่อที่ระบุคำว่ามหาอำนาจ (The first expression of the idea of the Great Powers) อย่างไรก็ตาม ระบบความปรองดองแห่งยุโรปได้ล่มสลายลงในปี พ.ศ. 2365 [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
security community | ประชาคมความมั่นคง เป็นการรวมตัวกันของบรรดาประเทศในภูมิภาคเพื่อศึกษาและเสริมสร้างความมั่นคง ของภูมิภาค โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือบนพื้นฐานของแนวความคิดของความมั่นคงร่วมกัน [การทูต] |
Agglomerate | 1.วัสดุคอมพาวด์: กลุ่มอนุภาคของวัสดุหนึ่งหรือหลายกลุ่มที่อยู่ด้วยกันอย่างหลวมๆ 2.น้ำยาง: กลุ่มของอนุภาคยางในสารละลายแขวนลอยน้ำยาง 3.เขม่าดำ: การรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนของเขม่าดำที่ยึดกันด้วยแรงแวนเดอวาล์ว (van der waal) เนื่องจากปกติอนุภาคของเขม่าดำจะไม่อยู่แยกกันเป็นอนุภาคเดี่ยวๆ แต่จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มของอนุภาคและกลุ่มของอนุภาคจะรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ก้อนอย่างถาวร [เทคโนโลยียาง] |
Anticoagulant | สารเคมีที่เติมลงในน้ำยางเพื่อหน่วงปฏิกิริยาจากแบคทีเรียที่ทำให้ อนุภาคยางที่แขวนลอยอยู่ในตัวกลางมารวมตัวกันเป็นก้อนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทำให้น้ำยางเสียสภาพ ตัวอย่างสารต้านการจับตัว เช่น แอมโมเนีย [เทคโนโลยียาง] |
Coagulant | สารเคมีที่เติมลงไปในตัวกลางที่มีอนุภาคขนาดเล็กแขวนลอยอยู่ ทำให้อนุภาคเหล่านั้นรวมตัวกันเป็นก้อนใหญ่และตกตะกอน เช่น การเติมกรดซัลฟุริก (H2SO4) กรดฟอร์มิก (HCOOH) หรือ กรดแอซิติก (CH3COOH) ลงในน้ำยาง ทำให้น้ำยางจับตัว [เทคโนโลยียาง] |
Aggregate, Loose | รวมตัวกันอย่างหลวมๆ [การแพทย์] |
Coagulation | การรวมกลุ่ม, การแข็งตัว, ตะกอนรวมตัวกัน, การรวมตัวกัน, จับเป็นก้อน, การแข็งเป็นลิ่ม, การจับกลุ่ม, โคแอคกูเลชัน [การแพทย์] |
Coalescence | การรวมตัวกัน, รวมตัวกัน, การเกิดโคอะเลสเซนส์, จับกันเป็นก้อน [การแพทย์] |
Deconjugated | ไม่รวมตัวกัน [การแพทย์] |
Dimerize | เกี่ยวพันจับคู่, รวมตัวกันเป็นสองเท่า [การแพทย์] |
Exudates, Organized | หนองรวมตัวกัน [การแพทย์] |
Fusion | การรวมภาพจากสองนัยน์ตาให้เป็นภาพเดียว, การเชื่อมติดกัน, วิธีหลอม, รวมกัน, การเชื่อมรวมตัวกัน, การเชื่อม, การเชื่อมติด, รวมตัวกัน, การผ่าตัดเชื่อมข้อ, การหลอมเหลว, การหลอมสาร, การเชื่อมประสาน, ผนึกติดกัน, การหลอม [การแพทย์] |
follicular cell | เซลล์ฟอลลิเคิล, เซลล์ที่รวมตัวกันเป็นฟอลลิเคิล [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
disaccharide | ไดแซ็กคาไรด์, สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุลมารวมตัวกัน เช่น ซูโครส ประกอบด้วยกลูโคส 1 โมเลกุลรวมกับฟรักโทส 1 โมเลกุล [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
law of constant proportion [ law of definite proportion ] | กฎสัดส่วนคงที่, กฎที่กล่าวว่าอัตราส่วนระหว่างมวลของธาตุที่รวมตัวกันเป็นสารประกอบจะมีค่าคงที่เสมอ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
polymerization | พอลิเมอไรเซชัน, การเกิดพอลิเมอร์, กระบวนการทางเคมีที่สารชนิดเดียวกันหลาย ๆ โมเลกุล (อาจมีตั้งแต่พันถึงหมื่นโมเลกุล) เกิดปฏิกิริยารวมตัวกันภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง ๆ ได้สารที่มีโมเลกุลใหญ่ขึ้นซึ่งเรียกว่า พอลิเมอร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
rock | หิน, สารแข็งที่รวมตัวกันอยู่เป็นเปลือกโลก อาจประกอบด้วยแร่ชนิดเดียวหรือหลายชนิดก็ได้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ หินอัคนี หินตะกอน และหินแปร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
mucus | เมือก, สารที่เป็นเมือกลื่น ๆ สร้างขึ้นจากต่อมบางชนิด เช่น เมือกจากต่อมน้ำลาย ทำหน้าที่ช่วยให้อาหารมารวมตัวกันเป็นก้อนเหนียวและลื่น เพื่อสะดวกในการกลืน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
accumulation | (n) การเก็บสะสม, See also: การพอกพูน, การรวมตัวกันมากขึ้น, การเพิ่มจำนวนมากขึ้น, Syn. collection |
ally | (vt) ทำให้รวมตัวกัน, See also: ทำให้เข้าร่วมเป็นกลุ่มเดียวกัน, Syn. unite |
ally | (vi) รวมตัวกัน, See also: เข้าร่วมเป็นกลุ่มเดียวกัน |
assembly | (n) กลุ่มคน, See also: คนที่รวมตัวกัน |
build up | (phrv) (รถยนต์)หนาแน่น (การจราจร), See also: ออกัน, รวมตัวกัน |
chamber of commerce | (n) กลุ่มผู้ทำธุรกิจที่รวมตัวกันเพื่อจุดประสงค์ทางการค้าขาย, See also: หอการค้า |
close-knit | (adj) ที่รวมตัวกัน, See also: ที่เป็นกลุ่มเดียวกัน, Syn. close |
clump | (vt) ทำให้รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน, Syn. mass, cluster |
collection | (n) การรวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นกอง, See also: การรวมกัน, Syn. accumulation, consolidation, agglomeration, amassment, gathering, assembling, amassing, accumulating, convening |
convene | (vi) ชุมนุมกัน, See also: รวมตัวกัน, Syn. meet, assemble |
convoke | (vt) เรียกชุมนุม, See also: เรียกมารวมตัวกัน, Syn. convene |
call together | (phrv) ขอให้มารวมกัน, See also: บอกให้มารวมตัวกัน |
cluster together | (phrv) รวมกลุ่มกัน, See also: รวมตัวกัน |
flock to | (phrv) ไปรวมตัวกันอยู่เพื่อ, See also: ชุมนุมกันเพื่อ |
flock together | (phrv) รวมตัวกันเพื่อ, See also: ชุมนุมกันเพื่อ |
federated | (adj) ซึ่งรวมตัวกันภายใต้ส่วนกลาง, See also: ซึ่งรวมเข้าเป็นสหพันธ์, Syn. confederate, joined, unified |
gather round | (phrv) ห้อมล้อมเข้ามา, See also: ฝูงชน เร่เข้ามา, ชุมนุม, รวมตัวกันเข้ามา, ล้อม, ล้อมรอบ, เข้ามาล้อม |
get together | (phrv) รวมตัวกัน, Syn. gather together |
group under | (phrv) รวมไว้ใต้, See also: รวมตัวกันอยู่ใต้, Syn. come under |
gather | (vi) ชุมนุม, See also: รวมกลุ่ม, รวมตัวกัน, จับกลุ่มกัน, Syn. group, band, flock, Ant. divide, scatter |
get-together | (n) การเลี้ยงสังสรรค์กันอย่างไม่เป็นทางการ (คำไม่เป็นทางการ), See also: การรวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการ, การพบปะกัน, Syn. informal gathering |
ingather | (vi) รวมตัวกัน (วรรณคดี), See also: ชุมนุมกัน, Syn. converge, assemble |
join up | (phrv) รวมกัน, See also: เชื่อมต่อกัน, รวมตัวกัน, Syn. link up, marry up |
keep together | (phrv) รวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว, See also: ร่วมกัน, อยู่ร่วมกัน, Syn. stick together |
knit together | (phrv) รวมตัวกัน, See also: รวมเป็นหนึ่งเดียว |
league together | (phrv) รวมตัวกัน |
manifestation | (n) การชุมนุม, See also: การเดินขบวน, การรวมตัวกัน, การประชุม |
meetinghouse | (n) สถานที่ชุมนุมหรือรวมตัวกัน, Syn. church, hall, auditorium |
mix | (vt) ทำให้รวมตัวกัน, Syn. unite, join, link, Ant. separate |
nuclear fusion | (n) การรวมตัวกันของnucleiของอะตอมเพื่อสร้างnucleusที่หนักกว่า |
rallying point | (n) คนหรือเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้คนมารวมตัวกันสนับสนุนบางสิ่ง |
reunification | (n) การรวมตัวกันใหม่ (หลังจากแบ่งแยก) |
reunite | (vi) รวมตัวกันใหม่, See also: ชุมนุมใหม่, Syn. reassemble, reconvene, rejoin |
reunite | (vt) รวมตัวกันใหม่, See also: ชุมนุมใหม่, Syn. reassemble, reconvene, rejoin |
round up | (idm) ชุมนุมกัน, See also: รวบรวม, รวมตัวกัน |
throng | (vi) มาชุมนุมกัน, See also: มารวมตัวกัน, มารวมกลุ่มกัน, Syn. gather |
trust | (n) ระบบผูกขาดทางการค้า, See also: สหกรณ์บริษัท, การรวมตัวกันของบริษัท |
unification | (n) การรวมตัวกัน, See also: กระบวนการรวมตัว, Syn. integration, solidarity |
union | (n) การรวมตัวกัน, See also: การรวมกัน, Syn. blend |
unite | (vi) รวมตัวกัน, See also: รวมกันเป็นหนึ่งเดียว, Syn. merge, Ant. separate, divide |
aggregate | (แอก' กริเกท) adj., n., vt., vi. รวมตัว, สิ่งที่รวมตัวกัน, ไหลไปรวมกัน, สรุป. |
amphimixis | (แอมฟิมิค' ซิส) n., (pl. -mixes) n. การรวมตัวกันของเซลล์เพศ (ในขบวนการผสมพันธุ์กันแบบใช้เพศ) , การร่วมกันของเซลล์เพศพ่อและเซลล์เพศแม่ |
anisogamous | (แอนนิซอก' กะมัส) adj. เกิดจากการรวมตัวกันของเซลล์เพศ (gametes) ที่ไม่เหมือนกันและมักมีขนาดต่างกัน -anisogamy n. |
bitmap | (บิตแมป) แผนที่บิตหมายถึง เส้นตัดกันของบิตในแนวตั้งและแนวนอน ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงให้เป็นจุดภาพ ภาพในคอมพิวเตอร์นั้นจะประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ ของแสง ซึ่งเรียกว่าจุดภาพ (pixel) รวมตัวกัน ภาพที่มีจำนวนจุดภาพมาก จะยิ่งดูคมชัดมากดู pixel ประกอบ |
bitmapped font | แบบอักษรบิตแมปหมายถึง แบบอักษรที่มีลักษณะของบิตแมป กล่าวคือประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ รวมตัวกันที่เรียกว่าจุดภาพ (pixel) เมื่อขยายขนาดให้ใหญ่ จะเห็นรอยหยัก ๆ ไม่เรียบสวย กับทั้งยังเปลืองที่เก็บมาก ดู bitmapped image ประกอบ |
composite | (คอม'พะซิท, คัมพอส'ซิท) adj. ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ , ประกอบขึ้น, ผสมเป็น, เกี่ยวกับพืชตระกูล Compositae (เช่น ต้นเบญจมาศ) n. ของที่รวมตัวกัน, สารประกอบ, รูปผสม, พืชตระกูลเบญจมาศ., See also: compositeness n. ดูcomposite, Syn. manifol |
computer user group | กลุ่มผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หมายถึง กลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์ บุคคลเหล่านี้มักจะรวมตัวกันเพื่อช่วยกันศึกษาวิธีการใช้ซอฟต์แวร์และเครี่องคอมพิวเตอร์ให้ได้ประโยชน์สูงสุด บางทีก็จะแบ่งย่อยลงไปเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เฉพาะผู้ที่มีความสนใจใกล้เคียงกันจริง ๆ เช่นแบ่งไปตามชนิดของเครื่องที่ใช้ (พีซี/แมคอินทอช) หรือตามประเภทของโปรแกรมที่ใช้ เช่น ประมวลผลคำ (word processing) , ตารางจัดการ (spreadsheet) บางที ใช้เรียกเพื่อให้ดูต่างจากกลุ่มผู้ที่ขายคอมพิวเตอร์ดู computer vendor group เปรียบเทียบ |
condensate | (คันเดน'เซท) n. สิ่งที่เกิดจากการรวมตัวกันแน่น |
condensation | (คอนเดนเซ'เชิน) n. การรวมตัวกันแน่น, See also: condensative adj. ดูcondensation |
fusion | (ฟิว'เชิน) n. การหลอมละลาย, การหลอมเหลว, สิ่งที่หลอมละลาย, การผสมของพรรคการเมือง, ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่นิวเคลียสของอะตอมที่เบารวมตัวกันเป็นนิวเคลียสที่หนักขึ้น (nuclear, See also: fusion, Syn. coalescence, combine, Ant. separate |
ifips | (ไอฟิปส์) ย่อมาจาก International Federation of Information Processing Societies แปลว่า สหพันธ์สมาคมระหว่างประเทศเพื่อการประมวลผลสารสนเทศ เป็นองค์กรหนึ่งที่เกิดจากการรวมตัวกัน ในอันที่จะพัฒนาวิทยาการสารสนเทศ (information science) และการประมวลผลข้อมูลให้ก้าวหน้า |
incoherence | (อินโคเฮีย' เรินซฺ) n. การไม่เกาะติดกัน, การไม่รวมตัวกัน, ความร่วน, สิ่งที่ไม่เกาะติดกัน, ความไม่สัมพันธ์กัน |
incorporated | (อินคอร์' พะเรททิด) adj.เป็นรูปบริษัท, ซึ่งรวมตัวกัน., See also: incorporatedness n., Syn. include, involve |
incorporation | (อินคอร์พะเร' เชิน) n. การรวมเข้าเป็นบริษัท, การรวมตัวกัน |
integrate | (อิน'ทะเกรท) vt. ทำให้รวมตัวกันเป็นก้อน, รวบรวม vi. รวมตัวกันเป็นกลุ่ม, ประสานกัน., See also: integrative adj., Syn. unify |
integrated | (อิน'ทะเกรททิด) adj. รวมตัวกัน, ประสานกัน |
pixel | (พิก'เซลฺ) ย่อมาจาก picture element หมายถึง จุดที่เล็กที่สุดที่รวมตัวกันเป็นภาพ เหมือนอะตอมที่รวมตัวกันเป็นโมเลกุล (อะตอมนั้นไม่อาจจะแยกแยะต่อไปได้อีกแล้ว) จอภาพที่แสดงภาพที่มีจุด เล็ก ๆ มาก จะยิ่งให้ภาพที่คมชัด ในปัจจุบัน จอภาพชั้นดีและมีประสิทธิภาพสูง จะมีถึง 1, 280 จุดในแนวตั้ง และ 1, 024 จุดในแนวนอน |
precipitation | (พรีซิพ'พิเท'เชิน) n. การเร่งให้เกิดขึ้น, การตกตะกอน, การถลำเข้าสู่, การพุ่ง, การถลำ, ความใจร้อน, ความเร่งรีบ, ความหุนหันพลันแล่น, ตะกอน, ผลิตผลการรวมตัวกันของไอน้ำในอากาศ (ฝน, หิมะ, ลูกเห็บ, น้ำค้าง) , ปริมาณที่รวมตัวกันดังกล่าว |
rennin | ทำให้โปรตีนในนมรวมตัวกันเป็นก้อนเรียกว่า carsinogen |
reunion | (รียู'เนียน) n. การรวมตัวกันใหม่, การชุมนุมกันใหม่, การทำให้สามัคคีกันใหม่, การพบกันใหม่, Syn. remeeting |
unification | (ยูนิฟิเค'เชิน) n. การรวมตัวกัน, ความสอดคล้องกัน |
unifier | (ยู'นิไฟเออะ) n. ผู้รวม, ผู้ที่ทำให้สอดคล้องกัน, ตัวทำให้รวมตัวกัน |
user group | กลุ่มผู้ใช้หมายถึง กลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์ บุคคลเหล่านี้มักจะรวมตัวกันเพื่อช่วยกันศึกษาวิธีการใช้ซอฟต์แวร์และเครี่องคอมพิวเตอร์ให้ได้ประโยชน์สูงสุด บางทีก็จะแบ่งย่อยลงไปเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เฉพาะผู้ที่มีความสนใจใกล้เคียงกันจริง ๆ เช่นแบ่งไปตามชนิดของเครื่องที่ใช้ (พีซี/แมคอินทอช) หรือตามประเภทของโปรแกรมที่ใช้ เช่น ประมวลผลคำ (word processing) , ตารางจัดการ (spread sheet) ดู vendor group เปรียบเทียบ |
vendor group | กลุ่มผู้ขายหมายถึงกลุ่มบุคคลที่ทำงานด้านการขายเครื่องคอมพิวเตอร์ มักใช้ในกรณีที่ต้องการแยกให้เห็นความแตกต่างกับกลุ่มผู้ใช้ (user group) ทั้งสองกลุ่มมักจะรวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะและความเห็นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในมุมและทัศนะที่แตกต่างกันดู user group เปรียบเทียบ |