ระนาด | (n) xylophone, Example: เวลาเขานั่งตีระนาดต้องเอาม้าเตี้ยมารองก้นไม่งั้นตีไม่ถนัด, Count Unit: ราง, Thai Definition: เครื่องปี่พาทย์ชนิดหนึ่ง มีรูปเป็นรางยาว ตอนบนมีแผ่นไม้หรือเหล็กหรือทองเหลืองหลายๆ อัน มีความยาวลดหลั่นกันตามลำดับของเสียงประมาณ 17 - 21 ลูก |
ระนาด | (n) bamboo strips tied together by rattan used as matting in ship hold, Count Unit: ผืน, แผ่น, Thai Definition: ไม้ไผ่ที่ถักอย่างเรือก สำหรับรองท้องเรือ |
ระนาด | (adj) lying superimposed disorderly, See also: in disorder, Syn. ระเนระนาด, ระเนนระนาด, Thai Definition: อาการที่ล้มทับกัน, อาการที่เรียงกันเป็นแถว, มักใช้เข้าคู่กับ ระเน และ ระเนน เป็น ระเนระนาด และ ระเนนระนาด |
พระนาด | (n) mattress on the elephant' back, Syn. พนาด, Example: ควาญช้างเตรียมพระนาดปูบนหลังช้างก่อนออกป่า, Count Unit: อัน, Thai Definition: เบาะสำหรับปูบนหลังช้างเพื่อออกป่า |
ระนาดเอก | (n) alto xylophone, Example: ลูกชายครูศุขบ้านบางลำพูกำลังโด่งดังมีชื่อในทางระนาดเอก, Count Unit: ลูก; ผืน; ราง, Thai Definition: ระนาดที่มีระดับเสียงแกร่งกร้าวกว่าระนาดทุ้ม มีไม้แข็ง 2 อันสำหรับตี |
ลูกระนาด | (n) a piece of gamelan, Example: เขาเอาแก้วหล่อให้เป็นลูกระนาด |
ระนาดทุ้ม | (n) alto bamboo xylophone, See also: alto xylophone, Example: นักดนตรีกำลังถ่วงระนาดทุ้มด้วยตะกั่ว, Count Unit: ราง |
ระเนระนาด | (adj) lying superimposed disorderly, See also: in disorder, Syn. เกลื่อนกลาด, ระเนนระนาด, Example: รถพุ่งชนรั้วไม้ไผ่จนล้มระเนระนาด, Thai Definition: เกลื่อนกลาด (ใช้แก่สิ่งที่อยู่ในลักษณะที่ล้มทับกันอยู่เรี่ยรายมากมาย) |
ล้มระเนระนาด | (v) fall disorderly, Example: บรรดาไม้ดอกไม้กระถางที่เขาปลูกไว้หักยับล้มระเนระนาด |
พระนาด | น. เบาะสำหรับปูบนหลังช้างเพื่อออกป่า, พนาด ก็ว่า. |
ระนาด ๑ | น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี มีลูกและเสียงเรียงต่อกันอยู่บนราง มีหลายแบบ มีไม้ตีคู่หนึ่ง เรียกว่า ไม้ระนาด, ลักษณนามว่า ราง. |
ระนาดแก้ว | น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ลักษณะคล้ายระนาดเอกเหล็กหรือระนาดทุ้มเหล็ก ลูกระนาดทำด้วยแผ่นแก้วหนาวางเรียงบนรางระนาด ปัจจุบันไม่นิยมใช้เนื่องจากเสียงไม่ไพเราะ. |
ระนาดทอง | น. ชื่อระนาดชนิดหนึ่ง มีเสียงสูง เลียนแบบระนาดเอกที่เป็นเครื่องไม้ ลูกระนาดทำด้วยทองเหลือง นิยมใช้บรรเลงในวงมโหรีเครื่องใหญ่. |
ระนาดทุ้ม | น. ระนาดที่มีเสียงนุ่มนวลกว่าระนาดเอก ลูกระนาดเช่นเดียวกับระนาดเอก แต่มีขนาดใหญ่และยาวกว่า ปรกติมี ๑๗ ลูก ปากรางระนาดเว้าโค้งขึ้นคล้ายปากเปลญวน ด้านล่างตัดตรงขนานกับพื้น มีเท้าเล็ก ๆ ตรงมุม ๔ เท้า ไม้ตีใช้แต่ไม้นวมอย่างเดียว. |
ระนาดเอก | น. ระนาดที่มีเสียงแกร่งกว่าระนาดทุ้ม ลูกระนาดโดยมากทำด้วยไม้ไผ่บง ไม้ชิงชัน หรือไม้มะหาด ฝานหัวท้ายและท้องตอนกลาง โดยปรกติมี ๒๑ ลูก รางระนาดมีรูปทรงคล้ายเปลญวน หัวตัดท้ายตัด มีเท้ารูปสี่เหลี่ยมคล้ายเชิงขันรับอยู่ใต้รางสำหรับตั้ง ไม้ตีมี ๒ อย่าง คือ ไม้แข็งใช้เมื่อต้องการเสียงแกร่งกร้าว และไม้นวมเมื่อต้องการเสียงเบาและนุ่มนวล. |
ระนาดเอกเหล็ก | น. ชื่อระนาดชนิดหนึ่ง รูปร่างเหมือนระนาดทองทุกประการ แต่ลูกระนาดทำด้วยเหล็ก ใช้บรรเลงผสมในวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่. |
ระนาด ๒ | น. ไม้ไผ่ที่ถักอย่างเรือกสำหรับรองท้องเรือ. |
ระนาด ๓ | ว. อาการที่ล้มทับกัน, อาการที่เรียงกันเป็นแถว, มักใช้เข้าคู่กับคำ ระเน และ ระเนน เป็น ระเนระนาด และ ระเนนระนาด. |
ระเนนระนาด, ระเนระนาด | ว. เกลื่อนกลาด (ใช้แก่สิ่งที่อยู่ในลักษณะที่ล้มทับกันอยู่เรี่ยรายมากมาย). |
ลูกระนาด | ว. เรียกถนนที่มีผิวจราจรขรุขระมีลักษณะคล้ายลูกระนาดหรือลูกคลื่น ว่า ถนนเป็นลูกระนาด, เรียกสะพานที่เอาไม้จริงมาตีอันเว้นอัน ว่า สะพานลูกระนาด. |
ไล่ลูกระนาด | ก. ตีไล่เสียงเพื่อตรวจหาระดับเสียงลูกระนาดที่ไม่ถูกต้อง. |
กรอด ๓ | (กฺรอด) ก. บรรเลงดนตรีประเภทเครื่องตีดำเนินทำนอง โดยวิธีบังคับหรือห้ามเสียงในช่วงท้ายให้สั้นลง มักใช้ในการตีระนาด ฆ้องวง และกรับเสภา. |
โขน ๒ | ไม้ประกับหัวท้ายส่วนสุดโค้งของรางระนาด ฆ้องวง หรือส่วนปลายสุดของซอด้วง. |
เครื่องห้า ๒ | น. ปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรี ๕ อย่าง คือ ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง. |
เครื่องใหญ่ | น. ปี่พาทย์เครื่องคู่ที่เพิ่มระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็ก. |
จับมือ | ก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวาของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้ทำตามในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง เช่น จับมือรำ จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น ชาวบ้านจับมือกันพัฒนาแหล่งน้ำ. |
เดี่ยว ๑ | ก. แสดงฝีมือการบรรเลงดนตรีคนเดียวโดยใช้ทางบรรเลงพิเศษ เช่น เดี่ยวปี่ เดี่ยวซอ เดี่ยวระนาด เดี่ยวเปียโน. |
เดี่ยวรอบวง | ก. บรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนอง เรียงตามลำดับหน้าที่ของเครื่องดนตรี เช่นในวงปี่พาทย์เรียงลำดับดังนี้ ปี่ ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดทุ้ม. |
ทาง ๑ | วิธีดำเนินทำนองโดยเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละอย่าง เช่น ทางระนาดเอก ทางจะเข้, วิธีดำเนินทำนองของเพลงที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยเฉพาะ เช่น ทางครู ก. ทางครู ข. ทางเดี่ยว ทางหมู่. |
ทางเก็บ | น. วิธีบรรเลงดนตรีแบบหนึ่ง โดยดำเนินทำนองเป็นพยางค์เสียงช่วงสั้นต่อเนื่องกันไป ส่วนใหญ่นิยมใช้กับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี เช่น ระนาดเอก ขิม. |
เนรนาถ | (เนระนาด) ก. ไม่มีที่พึ่ง, ซัดเซพเนจร, เช่น ก็เนรนาถประพาสพรตยังเขาสิงขรบวรวงกต (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
เนียรนาท | (เนียระนาด) ก. กึกก้อง เช่น เสียงฆ้องกลองประนังเนียรนาท สะเทือนท้องวนาวาสหิมวันต์ (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์), นีรนาท ก็ใช้. |
เบญจดุริยางค์ | น. ปี่พาทย์เครื่องห้า มี ๒ ชนิด คือ เครื่องอย่างเบาใช้ประกอบการเล่นละครพื้นเมืองชนิดหนึ่ง และเครื่องอย่างหนักใช้ประกอบการเล่นโขนชนิดหนึ่ง, เครื่องอย่างเบามี ปี่ไฉน ๑ ทับ ๒ (ตัวผู้ ๑ ใบ ตัวเมีย ๑ ใบ) กลองตุ๊ก ๑, เครื่องอย่างหนักมี ปี่ใน ๑ ระนาดเอก ๑ ฆ้องวงใหญ่ ๑ กลองทัด ๑ คู่ ตะโพน ๑ ฉิ่ง ๑. |
ปี่พาทย์เครื่องคู่ | น. วงปี่พาทย์ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง (ปัจจุบันนิยมใช้ปี่ในเพียงเลาเดียว). |
ปี่พาทย์เครื่องห้า | น. วงปี่พาทย์ประกอบด้วย ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง. |
ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ | น. วงปี่พาทย์ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองทัด และฉิ่ง, แต่บางทีก็มีฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ และฆ้องโหม่งผสมด้วย (ปัจจุบันนิยมใช้แต่ปี่ใน). |
โปงลาง | น. เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นท่อนไม้กลมผูกร้อยเรียงกันตามลำดับขนาดและลำดับเสียงเช่นเดียวกับระนาด แต่มีขนาดใหญ่กว่า. |
พนาด | น. เบาะสำหรับปูหลังช้างเพื่อออกป่า เช่น พรายพัสตร์พนาดพร้อม ภูษา (ยวนพ่าย), ใช้ว่า พระนาด ก็มี. |
พิณพาทย์ | น. ชื่อเรียกวงดนตรีไทยโบราณ ประกอบด้วยเครื่องดีด คือ พิณ ผสมกับเครื่องตี ได้แก่ ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก และเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า ต่อมาเปลี่ยนพิณ เป็น ปี่ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น ปี่พาทย์. |
มือ ๒ | น. ใช้ประกอบหน้าชื่อเครื่องดนตรีที่ใช้มือบรรเลง เพื่อหมายถึงผู้ที่มีความชำนาญหรือมีทักษะในการบรรเลงดนตรีนั้น ๆ เช่น มือระนาด มือจะเข้ มือกลอง มือปี่. |
ไม้แข็ง | น. ไม้ตีระนาดมี ๒ ส่วน ส่วนที่ใช้มือถือทำด้วยไม้ไผ่เหลากลม ตอนปลายที่ใช้ตีพอกด้วยผ้าชุบยางรักเมื่อตีจะมีเสียงกังวาน ใช้เฉพาะระนาดเอก, โดยปริยายหมายความว่า วิธีการเฉียบขาด, อำนาจเด็ดขาด, เช่น เด็กคนนี้ต้องใช้ไม้แข็งจึงจะปราบอยู่. |
ไม้นวม | น. ไม้ตีระนาดที่พันผ้าและด้ายถักหลาย ๆ รอบจนแน่น เมื่อใช้ตีจะมีเสียงนุ่มนวล, โดยปริยายหมายความว่า วิธีการนิ่มนวล, ความอ่อนโยน, เช่น นักเรียนชั้นนี้ต้องใช้ไม้นวมจึงยอมเข้าเรียน. |
รั่ว ๒ | ว. อาการที่ไล่ไม้ตีระไปบนลูกระนาดทำให้เสียงบางเสียงขาดหายไป หรือไม่ชัดเจน เช่น เขาตีระนาดรั่ว. |
ราง ๑ | โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รางระนาด |
ราง ๑ | ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นราง เช่น ลูกคิดรางหนึ่ง ระนาด ๒ ราง รางรถไฟ ๓ ราง. |
รางบดยา | น. เครื่องบดยาไทยและยาจีนให้เป็นผง ทำด้วยโลหะรูปร่างคล้ายรางระนาด แต่ก้นสอบ มีลูกบด. |
ราบ | ล้มระเนระนาด เช่น พายุพัดป่าราบ |
เสียงแก้ว | น. ลักษณะของเสียงที่กังวานและใสดุจแก้ว โดยเฉพาะในการตีระนาดเอก มโหรีจะต้องจับไม้ตีให้หัวแม่มือเน้นที่ปลายก้านไม้ตีให้แน่นและตีทั้งแขนหรือทั้งตัว เสียงจึงจะแข็งเป็นกังวานออกมาเป็นเสียงแก้ว. |
เหน่ง ๒ | (เหฺน่ง) ว. มีเสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงระนาดเป็นต้น. |