Hereditary effect | ผลต่อพันธุกรรม, ผลกระทบของรังสีต่อสารพันธุกรรมของเซลล์สืบพันธุ์ของผู้ที่ได้รับรังสี แล้วถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปยังรุ่นถัดไป [นิวเคลียร์] |
Genetic effec | ผลต่อพันธุกรรม , ผลกระทบของรังสีต่อสารพันธุกรรมของเซลล์สืบพันธุ์ของผู้ที่ได้รับรังสี แล้วถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปยังรุ่นถัดไป [นิวเคลียร์] |
Gene | ยีน, ส่วนของดีเอ็นเอทำหน้าที่กำหนดลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต ผ่านการสร้างโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างและกิจกรรมต่างๆ ของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ลักษณะที่ปรากฏภายนอกแบบต่างๆ เช่น รูปร่างหน้าตาของเด็กที่มีส่วนคล้ายกับพ่อแม่ สีสันของดอกไม้ หรือรสชาติของผลไม้ รวมไปถึงลักษณะภายในบางอย่างที่ไม่อาจสังเกตเห็นได้ด้วยตา เป็นผลโดยตรงหรือผลบางส่วน (ร่วมกับสิ่งแวดล้อม) จากการทำงานของยีน [เทคโนโลยีชีวภาพ] |
Cells, Allogeneic | เซลล์ของบุคคลอื่นซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน, เซลล์ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมแตกต่างกัน [การแพทย์] |
Embryo splitting | Embryo splitting, การโคลนนิ่งตัวอ่อน (embryo cloning) เนื่องจากเป็นการทำให้เกิดตัวอ่อนหลายตัวที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน โดยที่เซลล์ของตัวอ่อนจะถูกแบ่งออกไปตั้งแต่เซลล์ยังอยู่ในระยะที่สามารถ แบ่งตัวเพื่อเกิดตัวอ่อนที่เหมือนกันได้ และเซลล์ที่ถูกแยกไปจะสามารถพัฒนาเป็นตัว [ชีวจริยธรรม] |
phamacogenomics | phamacogenomics, เป้าหมายของศาสตร์นี้คือการใช้ข้อมูลด้านพันธุกรรมเพื่อการวินิจฉัยโรค ช่วยในการทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคในแต่ละบุคคล และทำให้แพทย์สามารถให้การรักษาผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างเหมาะสม เช่น การกำหนดชนิดและปริมาณยา ตามลักษณะทางพันธุกรรมของผู้ป่วย [ชีวจริยธรรม] |
monohybrid cross | การผสมพิจารณาลักษณะเดียว, การผสมระหว่างพ่อพันธุ์และ แม่พันธุ์เพื่อศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม โดยพิจารณาลักษณะที่ต้องการผสมเพียงลักษณะเดียว เช่น ผสมหนูสีดำกับหนูสีขาวโดยพิจารณาลักษณะสีขนของหนูเท่านั้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
dihybrid cross | การผสมพิจารณาสองลักษณะ, การผสมระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์โดยพิจารณาลักษณะที่ต้องการผสม 2 ลักษณะ ควบคู่กัน เพื่อศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เช่น ผสมหนูขนเกรียนสีดำกับหนูขนฟูสีขาว เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
chromosome | โครโมโซม, องค์ประกอบหนึ่งของเซลล์มีลักษณะเป็นท่อนอยู่ในนิวเคลียส ประกอบด้วย DNA และโปรตีน มีความสำคัญในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
genotype | จีโนไทป์, แบบของยีนหรือชุดของ คู่ยีน ซึ่งควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตแต่ละหน่วย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
carrier | พาหะ, 1. สิ่งมีชีวิตที่นำเอาลักษณะทางพันธุกรรมหรือเชื้อโรคไปถ่ายทอดให้แก่สิ่งมีชีวิตอื่น 2. อิเล็กตรอนซึ่งเป็นตัวพาประจุไฟฟ้าในตัวนำหรือสารกึ่งตัวนำ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
phenotype | ฟีโนไทป์, ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏให้เห็นโดยการควบคุมของยีน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
gene | ยีน, สารประกอบพวก DNA ที่ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
recessive | ลักษณะด้อย, ลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถแสดงออกมาได้ เมื่อยีนที่ควบคุมลักษณะนั้นเป็นยีนเฮเทอโรไซกัส แต่ถ้าเป็นยีนฮอมอไซกัสก็จะแสดงลักษณะนั้นออกมาได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
dominant | ลักษณะเด่น, ลักษณะทางพันธุกรรมที่แสดงออกมาได้แม้ยีนที่ควบคุมลักษณะนั้น จะเป็นยีนเฮเทอโรไซกัส [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
sex-linkage | การเกี่ยวเนื่องกับเพศ, การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ควบคุมโดยยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศเท่านั้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |