bears fished | หมีขนสีแดง, ตัวใหญ่เป็นนักล่ากลุ่มปลาsalmonที่วายทวนน้ำไปวางไข่ทุกๆปี |
วางไข่ | (v) lay eggs, Syn. ออกไข่, ตกไข่, Example: เต่าทะเลมักจะขึ้นมาวางไข่บนชายหาดในตอนกลางคืน |
วางไข่ | ก. ออกไข่ (ใช้แก่เต่าและปลา). |
กระแตแต้แว้ด ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Vanellus indicus (Boddaert) วงศ์ย่อย Charadriinae ในวงศ์ Charadriidae ปากยาว หัวสีดำ ขนบริเวณหูสีขาว มีติ่งเนื้อสีแดงพาดระหว่างตาผ่านหน้าผาก ขายาวสีเหลือง วางไข่ในแอ่งตื้น ๆ บนพื้นดิน กินแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก ร้องเสียงแตแต้แว้ด, กระต้อยตีวิด ต้อยตีวิด หรือ แต้แว้ด ก็เรียก. |
กุ้งนาง | น. กุ้งก้ามกรามเพศเมีย ลำตัวและก้ามมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้เสมอเมื่อมีอายุเท่ากัน สีอ่อนกว่ากุ้งก้ามกรามซึ่งเป็นเพศผู้ วางไข่ติดหน้าท้อง ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนในน้ำกร่อย แล้วมาอาศัยเจริญเติบโตจนเป็นตัวเต็มวัยในน้ำจืด. |
กุดจี่ | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scarabaeidae หัวแบน ขาแบน ด้านข้างขามีลักษณะเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย ลำตัวยาว ๐.๕-๖.๐ เซนติเมตร ส่วนใหญ่สีน้ำตาลเข้มหรือดำ อาศัยอยู่ตามมูลสัตว์ ปั้นมูลสัตว์เป็นก้อนเพื่อวางไข่ ตัวเต็มวัยเมื่อถูกตัวมักทำเสียงดังฉู่ฉี่ บางครั้งจึงเรียก ตัวฉู่ฉี่หรือด้วงจู้จี้ ชนิดที่พบบ่อย เช่น Onitis subopacusArrow, Onthophagus seniculus Fabricius พบทุกภาค, กุดจี่ที่มีขนาดใหญ่ เช่น กุดจี่ขี้ช้างหรือด้วงขี้ช้าง ( Heliocopris dominus Bates) พบมากในภาคเหนือและภาคอีสาน, จี่ ก็เรียก. |
ดาสวน | น. ชื่อแมลงพวกมวนชนิด Sphaerodema rusticum (Fabricius) และ S. molestum (Dufour) ในวงศ์ Belostomatidae ลักษณะคล้ายแมลงดานาแต่ตัวเล็กกว่ามาก ลำตัวยาวประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร ตัวอ่อนอยู่ในน้ำ กินแมลงหรือสัตว์น้ำขนาดเล็ก ตัวเต็มวัยมักบินเข้าหาแสงไฟ เพศเมียวางไข่บนหลังเพศผู้เป็นกลุ่มยึดติดกันด้วยสารเหนียว นำมาคั่วกับเกลือกินได้, แมลงดาสวน สีเสียด แมลงสีเสียด มวนหลังไข่ หรือ มวนก้าน ก็เรียก |
ดุเหว่า | (-เหฺว่า) น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Eudynamis scolopacea (Linn.) ในวงศ์ Cuculidae ตัวเล็กกว่ากาเล็กน้อย ตาแดง หางยาว ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีนํ้าตาล มีลายจุดสีขาวพาดตลอดลำตัว วางไข่ให้นกชนิดอื่นฟัก มักหากินตามลำพัง กินแมลงและผลไม้, กาเหว่า ก็เรียก. |
ตีแปลง | อาการที่ปลากัดกอข้าว กอกก เป็นต้น สำหรับวางไข่. |
เต่าตนุ | (ตะหฺนุ) น. ชื่อเต่าทะเลชนิด Chelonia mydas (Linn.) ในวงศ์ Cheloniidae เกล็ดกระดองหลังแต่ละเกล็ดมีลายเป็นทางคล้ายแสงอาทิตย์ จึงมีผู้เรียกว่า เต่าแสงอาทิตย์ ตีนแบนเป็นพาย ตีนหน้าใหญ่ยาวใช้เป็นหลักในการว่ายน้ำ ปรกติอาศัยอยู่ในทะเล จะขึ้นมาตามชายหาดเฉพาะเมื่อจะวางไข่เท่านั้น. |
ไน ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางชนิด Cyprinus carpio Linn. ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวรี แบนข้าง คล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังใหญ่และยาวกว่า ปากเล็ก ไม่มีฟัน มีหนวด ๒ คู่ เกล็ดใหญ่ขอบเรียบ บางสายพันธุ์อาจเป็นเพียงหย่อมเกล็ดหรือเกล็ดเล็กละเอียด มีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น สีเขียวอมเทา เงิน ทอง ส้ม เหลือง ดำคลํ้า หรือเป็นแต้มเป็นด่างดวงของสีเหล่านี้ วางไข่ติดไว้กับพรรณไม้นํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, หลีโก หรือ หลีฮื้อ ก็เรียก. |
เบญกานี ๑ | น. ชื่อเรียกก้อนแข็ง ๆ หรือปุ่มหูดที่เกิดตามใบของไม้ก่อชนิด Quercus infectoriaOliv. ในวงศ์ Fagaceae เกิดจากการวางไข่ของแมลงชนิด Cynips tinctoria ในวงศ์ Cynipidae รสฝาดจัด ใช้ทำยาได้ เรียกว่า ลูกเบญกานี. |
ปาด ๒ | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Rhacophoridae รูปร่างใกล้เคียงกับกบหรือเขียด ขายาว ขาคู่หลังยาวกว่าขาคู่หน้ามาก ปลายนิ้วเป็นปุ่มแบนสามารถยึดเกาะติดกับพื้นผิวหน้าเรียบได้ มักพบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ ตัวผู้ทำกองฟองสำหรับตัวเมียวางไข่ไว้ตามกิ่งไม้เหนือชายนํ้า กินแมลง เช่น ปาดบ้านหรือเขียดตะปาด [ Polypedates leucomystax (Gravenhorst) ] ซึ่งพบทั่วไป, ปาดบินหรือปาดเขียวตีนดำ ( Rhacophorus nigropalmatus Boulenger), ปาดตะปุ่มจันทบุรี ( Theloderma stellatum Taylor), เขียดตะปาด ก็เรียก. |
มดแดง | น. ชื่อมดชนิด Oecophylla smaragdina (Fabricius) ในวงศ์ Formicidae มดงานลำตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร สีส้มหรือนํ้าตาลปนแดงตลอดรวมทั้งหนวดและขา ตาเล็ก สีนํ้าตาลแก่ ทำรังอยู่ตามต้นไม้ เช่น มะม่วง ขนุน โดยใช้ใบมาห่อเข้าด้วยกัน ขณะถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยกัดให้เกิดแผลแล้วปล่อยกรดออกมาทำให้ปวดแสบปวดร้อน เพศเมียที่มีปีก เรียก แม่เป้ง ลำตัวยาว ๑.๕-๑.๘ เซนติเมตร สีเขียวปนน้ำตาล ปีกใสสีน้ำตาล เมื่อผสมพันธุ์แล้วทำหน้าที่วางไข่เพียงอย่างเดียวเป็นมดนางพญา, มดส้ม ก็เรียก. |
แมลงวันทอง | น. ชื่อแมลงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Tephritidae รูปร่างคล้ายแมลงวันแต่ลำตัวเรียวกว่า อกและท้องสีน้ำตาลแก่มีแต้มสีเหลืองหรือส้มแตกต่างกันตามชนิด โดยรวมแล้วมองดูคล้ายสีทอง หลังผสมพันธุ์เพศเมียเจาะเปลือกผลไม้เพื่อวางไข่ เมื่อฟักเป็นตัวหนอนทำลายผลไม้ ตัวเต็มวัยพบตอมอยู่ตามดอกไม้บางชนิด เช่น เดหลีใบกล้วย [ Spathiphyllum cannifolium (Dryand) ] ที่พบมากคือ ชนิด Bactrocera dorsalis (Hendel) ตัวหนอนทำลายผลไม้ เช่น มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ พุทรา, แมลงวันผลไม้ ก็เรียก. |
ลาย ๒ | น. ชื่อยุงหลายชนิด ในสกุล Aedes วงศ์ Culicidae ผนังด้านล่างของส่วนท้องมีเกล็ด พื้นลำตัวสีดำหรือน้ำตาลแก่ เกล็ดสีขาวสลับเป็นแถบลายต่าง ๆ เพศเมียมีรยางค์คู่ใกล้ปากสั้นกว่าตัวผู้ เกาะดูดเลือดโดยลำตัวขนานกับพื้น วางไข่ในน้ำนิ่งสะอาด ที่พบทั่วไปตามบ้าน เช่น ชนิด A. aegypti (Linn.) เป็นพาหะนำโรคมาสู่คน เช่น โรคไข้เลือดออก. |
เลื้อยคลาน | น. สัตว์เลือดเย็นจำพวกที่ผิวหนังมีเกล็ดปกคลุม หายใจด้วยปอดอย่างจิ้งจก จิ้งเหลน จระเข้ เต่า งู ส่วนมากวางไข่ หลายชนิดออกลูกเป็นตัว ลูกอ่อนมีลักษณะอย่างพ่อแม่ เรียกว่า สัตว์เลื้อยคลาน, เดิมเรียกว่า สัตว์เสือกคลาน. |
Spawning | การวางไข่ [TU Subject Heading] |
Multiparous | วางไข่มาแล้วมากกว่า 1 ครั้ง [การแพทย์] |
วางไข่ | [wāng khai] (v, exp) EN: lay an egg ; lay eggs ; deposit eggs FR: pondre un oeuf |
stonefly | (n, name) สโตนฟลาย เป็นแมลงใน อันดับ พลีคอปเทอร่า (Order Plecoptera: Class Insecta) ลักษณะตัวเต็มวัย (adult) แบ่งออกเป็น ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ชัดเจน; ส่วนหัว (head) มีหนวด (antennae) ยาว 1 คู่ มีตารวม (compound eyes) 1 คู่ มีตาเดี่ยว (ocelli) 0-3 ตา มีปากแบบกัดกิน (Chewing mouthpart), ส่วนอก (thorax) มีขา 3 คู่ มีปีก 2 คู่เป็นแผ่นบางใส (membranous wings) ปีกคู่หลัง (hind wings) จะซ้อนพับอยู่ใต้ปีกคู่หน้า (fore wings), ส่วนท้อง (abdomen) ยาวแบ่งเป็นปล้อง; มีการเจริญเติบโตแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete metamorphosis) คือเจริญเติบโตจากไข่ ฟักออกมาเป็นตัวอ่อน ลอกคราบหลายครั้งจนเป็นตัวเต็มวัย โดยไม่มีระยะดักแด้; ในระยะตัวอ่อน (nymph) มีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยแต่ไม่มีปีก อาจพบเหงือก (gills) รูปร่างต่าง ๆ ตามลำตัวเป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล (Lotic habitat, running water) บางชนิดมีนิสัยการกินแบบผู้ล่า (predator) กินสัตว์อื่นที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร แต่บางชนิดกินเศษซากตะกอนในแหล่งน้ำเป็นอาหาร (detritivore) และเมื่อลอกคราบครั้งสุดท้ายเป็นตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่บนบกใกล้แหล่งน้ำ สโตนฟลายบางชนิดที่มีวงจรชีวิตระยะตัวอ่อนเป็นเวลายาวนาน เมื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยแล้วจะจับคู่ผสมพันธุ์ทันทีโดยไม่กินอาหาร แต่ในบางชนิดที่มีวงจรชีวิตใช้เวลาในระยะตัวอ่อนน้อย เมื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยแล้วจะกินน้ำหรือเศษซากพืชหรือซากตะกอนเพียงเล็กน้อย เพื่อพัฒนาระบบสืบพันธุ์ให้เจริญเต็มที่ ก่อนจับคู่ผสมพันธุ์ เมื่อผสมพันธุ์แล้วตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่ลงในแหล่งน้ำไหลเพื่อให้ไข่ฟักออกมาเป็นตัวอ่อนอาศัยเจริญเติบโตในแหล่งน้ำไหลนั้นต่อไป; จากลักษณะการดำรงชีวิตโดยอาศัยพึ่งพาแหล่งน้ำอยู่เกือบตลอดทั้งวงจรของชีวิต แมลงชนิดนี้จึงจัดอยู่ในกลุ่มของแมลงน้ำ (Aquatic insect), See also: plecoptera |
cuckoo | (n) นกชนิดหนึ่งทางยุโรปที่ชอบวางไข่ไว้ในรังนกชนิดอื่น |
lay | (vi) วางไข่, See also: ออกไข่, Syn. produce |
layer | (n) แม่ไก่ที่วางไข่ |
new-laid | (adj) ซึ่งวางไข่ใหม่ |
pullet | (n) ไก่ตัวเมียอายุน้อย (โดยเฉพาะที่ยังไม่เริ่มวางไข่) |
queen bee | (n) นางพญาผึ้ง, See also: ผึ้งตัวเมียตัวเดียวที่วางไข่ในรังผึ้ง |
run | (vi) ว่ายทวนน้ำไปวางไข่, Syn. go upstream to spawn |
shotten | (adj) ซึ่งวางไข่ |
spawn | (vi) วางไข่ |
spawn | (vt) วางไข่ |
aculeus | (อะคิว' เลียส) ส่วนที่มีรูปคล้ายหนามที่สำหรับวางไข่ของผึ้ง |
anadromous | (อะแตด' โรมัส) adj. ซึ่งว่ายจากทะเลสู่แม่น้ำเพื่อวางไข่ (running upward) |
deposit | (ดิพอส'ซิท) { deposited, depositing, deposits } vt. ทับถม, สะสม, กอง, ฝากไว้, ฝากเงิน, วางไข่ vi. ฝากไว้. n. สิ่งที่ทับถม, การฝาก, ที่เก็บเงินฝาก, เงินมัดจำ |
eggcup | n. ถ้วยสำหรับวางไข่ต้มที่ยังไม่ได้ปอก |
lay | (เล) { laid, laid, laying, lays } vt. วาง, ปู, พาด, ลาด, ปู, ปล่อย, ทา, ตีแผ่น, เผยแพร่, นำเสนอ, ฝัง, ลงราก, กำหนด, ตั้ง, วางแผน, วางโครง, ออกไข่, ทิ้งระเบิด, กำหนดโทษ, วางเดิมพัน, พนัน, กะ, วัด, กด, ระงับ, บรรเทา, มุ่งหมาย, เล็งปืน vi. วางไข่, ออกไข่, พนัน, วางเดิมพัน, ขันต่อ, วางโครงการ, นอ |
shotten | (ชอท'เทิน) adj. (ปลา) วางไข่แล้ว, (กระดูก) เคลื่อนจากที่ |
spawn | (สพอน) n. กลุ่มไข่ปลา, ลูกหลาน, แหล่งกำเนิด, vi., vt. วางไข่, คลอดลูก, ให้กำเนิด, สร้างเป็นจำนวนมาก, See also: spawner n., Syn. produce, generate |
deposit | (vt) ฝากเงิน, สะสม, วางลง, วางมัดจำ, วางไข่, กองไว้ |
blowfly | แมลงวันจำพวก Chrysomya rufifacies ในตระกูล Calliphoridae ชอบวางไข่ในมูลสัตว์ อาหารเน่าเสีย, แมลงวันหััวเขียว |
ichneumon fly | แมลงคล้ายตัวต่อจำพวก Megarhyssa ในตระกูล Ichneumonidae ที่วางไข่ในตัวหนอนของแมลงอื่น |
mayfly | (n, name, uniq) ชีปะขาว หรือชีผะขาวก็เรียก ชีผ้าขาวก็เรียก หรือเมย์ฟลายส์ (mayflies) ชื่อวิทยาศาสตร์ เอพฮีมีรอบเทอรา (Ephemeroptera) ตัวขนาดเล็กถึงกลาง ปีกบางมีเส้นมากมาย ปีกคู่แรกใหญ่กว่าคู่หลัง ตัวเมียวางไข่ในน้ำ ตัวอ่อนรูปร่างเรียวยาวอาศัยในน้ำนาน 1-2 ปี ลอกคราบหลายครั้งจนเป็นแมลงโตเต็มวัย มีปีก ชอบเล่นไฟ มันมีอายุเพียง 1-2 วันเท่านั้น ไม่กินอาหาร ผสมพันธุ์แล้วตาย ฤดูกาลวางไข่อยู่ในราวกลางเดือนเมษายน พบใกล้แหล่งน้ำ บ่อน้ำ ลำธาร ตัวแก่เต็มที่จะลอกคราบออกพร้อมบินขึ้นจากผิวน้ำไปยังแสงสว่าง เป็นการบินขึ้นมาดูโลกครั้งแรกและครั้งสุดท้ายในชีวิต |
ovipositor | (n) ท่อวางไข่ของแมลง |
Stoneflies | (n) สโตนฟลาย เป็นแมลงใน อันดับ พลีคอปเทอร่า (Order Plecoptera: Class Insecta) ลักษณะตัวเต็มวัย (adult) แบ่งออกเป็น ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ชัดเจน; ส่วนหัว (head) มีหนวด (antennae) ยาว 1 คู่ มีตารวม (compound eyes) 1 คู่ มีตาเดี่ยว (ocelli) 0-3 ตา มีปากแบบกัดกิน (Chewing mouthpart), ส่วนอก (thorax) มีขา 3 คู่ มีปีก 2 คู่เป็นแผ่นบางใส (membranous wings) ปีกคู่หลัง (hind wings) จะซ้อนพับอยู่ใต้ปีกคู่หน้า (fore wings), ส่วนท้อง (abdomen) ยาวแบ่งเป็นปล้อง; มีการเจริญเติบโตแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete metamorphosis) คือเจริญเติบโตจากไข่ ฟักออกมาเป็นตัวอ่อน ลอกคราบหลายครั้งจนเป็นตัวเต็มวัย โดยไม่มีระยะดักแด้; ในระยะตัวอ่อน (nymph) มีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยแต่ไม่มีปีก อาจพบเหงือก (gills) รูปร่างต่าง ๆ ตามลำตัวเป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล (Lotic habitat, running water) บางชนิดมีนิสัยการกินแบบผู้ล่า (predator) กินสัตว์อื่นที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร แต่บางชนิดกินเศษซากตะกอนในแหล่งน้ำเป็นอาหาร (detritivore) และเมื่อลอกคราบครั้งสุดท้ายเป็นตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่บนบกใกล้แหล่งน้ำ สโตนฟลายบางชนิดที่มีวงจรชีวิตระยะตัวอ่อนเป็นเวลายาวนาน เมื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยแล้วจะจับคู่ผสมพันธุ์ทันทีโดยไม่กินอาหาร แต่ในบางชนิดที่มีวงจรชีวิตใช้เวลาในระยะตัวอ่อนน้อย เมื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยแล้วจะกินน้ำหรือเศษซากพืชหรือซากตะกอนเพียงเล็กน้อย เพื่อพัฒนาระบบสืบพันธุ์ให้เจริญเต็มที่ ก่อนจับคู่ผสมพันธุ์ เมื่อผสมพันธุ์แล้วตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่ลงในแหล่งน้ำไหลเพื่อให้ไข่ฟักออกมาเป็นตัวอ่อนอาศัยเจริญเติบโตในแหล่งน้ำไหลนั้นต่อไป; จากลักษณะการดำรงชีวิตโดยอาศัยพึ่งพาแหล่งน้ำอยู่เกือบตลอดทั้งวงจรของชีวิต แมลงชนิดนี้จึงจัดอยู่ในกลุ่มของแมลงน้ำ (Aquatic insect), See also: Stonefly, Plecoptera, Stonefly, Syn. Plecoptera |
Gegensatz | (n) |der, pl. Gegensätze| ความแตกต่าง เช่น Im Gegensatz zu meisten Fischen legen Delphine keine Eier. ปลาโลมาไม่วางไข่ต่างจากปลาทั่วไป, See also: das Gegenteil |