กระจายนะมณฑล | น. ชื่อกลบท วรรคต้นใช้อักษรสูงนำหน้า วรรคที่ ๒ ใช้อักษรกลาง วรรคที่ ๓ ใช้อักษรตํ่า ตัวอย่างว่า สมเด็จพระศิริวิบุลกิตติ์ กำจัดจากโศกวิโยคหา ค่อยตรึกตรองฉลองคุณพระชนมา (ชุมนุมตำรากลอน). |
ดุริยางค์จำเรียง | น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดให้วรรคหนึ่งมี ๙ คำ ในแต่ละวรรคให้มีคำซ้ำ ๓ คู่ ในแต่ละคู่มีคำอื่นมาคั่นตำแหน่งละ ๑ คำ เช่น หวั่นหวั่นจิตรคิดคิดไปใจใจหวล อ่อนอ่อนท้อรอรอรวนนวลนวลสมร ท้าวท้าวแนบแอบแอบน้องย่องย่องจร เหนื่อยเหนื่อยนอนขอนขอนไม้ใต้ใต้ไทร (กลบลศิริวิบุลกิตติ์). |
ตรียมก | (ตฺรียะมก) น. ชื่อกลอนกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดบังคับวรรคละ ๙ คำ วรรคหนึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ให้ใช้พยัญชนะที่มีเสียงพ้องกัน ๒ เสียงในแต่ละช่วง เช่น สิ้นอาสัญในอาศรมที่อาศรัย อนาถใจอนาโถโอ้อางขนาง พระองค์เดียวพระอับเปลี่ยวพระองค์นาง ม้วยชีพวางสิ้นชีวาตม์ขาดชีวัง (ศิริวิบุลกิตติ). |
โตเล่นหาง | น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง สัมผัสสระคำที่ ๕ กับคำที่ ๖ ในแต่ละวรรค เช่น ขอเดชะพระ องค์จงโปรดเศียร ให้สมเพียรโย ธาข้าบาทสนอง (ศิริวิบุลกิติ์), ในศิริวิบุลกิติ์ เรียก สิงห์โตเล่นหาง |
ถาวรธิรา | น. ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง บังคับให้มีคำที่ใช้ไม้ม้วนทุกวรรค ไม่ให้มีคำที่ใช้ไม้มลาย เช่น จักกล่าวถึงมเหษีที่อยู่ใน อรัญใหญ่องค์เดียวอนาถา อนาถใจถึงองค์พระภัศดา ให้โศกาถึงบุตรสุดอาวรณ์ (ศิริวิบุลกิตติ์). |
นกกางปีก | น. กลอักษรแบบหนึ่ง บังคับคำซ้ำ ๑ คู่ โดยมีคำอื่นคั่นกลาง ๑ คำ ทุกวรรค มีลักษณะเหมือนนกกางปีกบิน เวลาอ่านให้อ่านคำซ้ำที่ละไว้นั้นด้วยจึงจะได้ความครบถ้วน เช่น สองกระษัตริย์ศัลย์ให้รันทด แสนกำสดสุดคิดพิไสมย ต่างองค์ทรงโศกาไลย พระภูวไนยนารถให้หวาดทรวง (ศิริวิบุลกิตติ์) อ่านว่า สองกระษัตริย์กระศัลย์ให้รันทด แสนกำสดสุดคิดสุดพิไสมย ต่างองค์ต่างทรงโศกาไลย พระภูวไนยภูวนารถให้หวาดทรวง. |
นาคเกี้ยวกระหวัด, นาคบริพันธ์ ๑ | (นากบอริพัน) น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้ ๒ คำต้นของวรรคต่อไปซ้ำกับ ๒ คำสุดท้ายของวรรคหน้า โดยให้สลับคำกัน เช่น พระปิตุรงค์ฟังบุตรเห็นสุดห้าม ห้ามสุดความคิดบุตรเห็นสุดหาญ หาญสุดไม่หยุดยั้งจะรั้งราญ ราญรั้งนานแน่วเนตรสังเวชบุตร (ศิริวิบุลกิตติ์). |
นาคราชแผลงฤทธิ์ ๑ | น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้วรรคหนึ่งมี ๘ คำ บังคับซ้ำเสียงพยัญชนะ ๓ คำ คือ คำท้ายวรรค (คำที่ ๖, ๗ และ ๘) กับ ๓ คำต้นวรรคถัดไป (คำที่ ๑, ๒ และ ๓) และซ้ำเสียงสระวรรคละ ๓ คู่ ในคำที่ ๓ กับ ๔ คำที่ ๕ กับ ๗ และคำที่ ๘ กับคำที่ ๑ ในวรรคถัดไป เช่น กรุงกระษัตริย์ตรัสฟังแค้นคั่งจิตร คิดแค้นใจไหวหวิดในจิตรฉงน จนฉงายกายไฉงใจร้อนรน จนร้าวราญการกระมลจิตรวนเวียน (ศิริวิบุลกิตติ์). |
นารายณ์ทรงเครื่อง | น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดบังคับวรรคหนึ่ง ๘ คำ แบ่งเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ โดยให้ ๒ จังหวะแรกใช้พยัญชนะเสียงซ้ำ ๒ ตัว และ ๒ จังหวะหลังใช้พยัญชนะเสียงอื่นซ้ำกัน ๒ ตัวในลักษณะเดียวกัน เช่น ข้าสาวข้าวศรีทรวดมีทรงมิ่ง นางแอบแนบอิงสุดถวิลแสนถวิล นมตั้งนั่งเต้าคลอเคล้าแคลคลิ้น ฬ่อหลาลาลินเลิศลินลาดลอย (ศิริวิบุลกิตติ์). |
เบญจวรรณห้าสี | น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง บังคับเสียงพยัญชนะตัวเดียวใน ๕ คำแรกของทุกวรรค เช่น จอมจักรเจ้าแจ้งเจาะฟังเพราะพร้อง จวนจิตรจ่องจนใจสงไสยสนิท (ศิริวิบุลกิตติ์), โบราณเขียนเป็น เบญจวรรณห้าศรี ก็มี. |
ยาดา | น. หญิงที่เป็นสะใภ้ด้วยกัน เช่น หนึ่งคือนางศิริมหามายา ยาดานารถบพิตรก็ดี (ม. คำหลวง ทศพร). |
ราชวรวิหาร | (ราดชะวอระวิหาน) น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชประดิษฐ์, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเทพศิรินทร์ วัดราชสิทธาราม, เรียกพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสูงสุด ว่า ชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดปทุมวนาราม วัดรัชฎาธิษฐาน. |
ราชินิกุล, ราชินีกุล | น. สกุลวงศ์ฝ่ายพระราชชนนีของพระมหากษัตริย์ เช่น นามสกุล ณ บางช้าง ในรัชกาลที่ ๒ นามสกุล ศิริสัมพันธ์ ในรัชกาลที่ ๓ นามสกุล สุจริตกุล ในรัชกาลที่ ๖. |