กล่อมหงส์ | น. ชื่อเพลงประเภทเพลงพื้นบ้าน |
กล่อมหงส์ | พิธีขับกล่อมหงส์ ทำต่อเนื่องจากพิธีตรียัมปวาย เป็นการส่งเสด็จพระอิศวร พระอุมา และพระมหาพิฆเนศวรกลับสู่สวรรค์ตามคติความเชื่อของพราหมณ์ |
กล่อมหงส์ | ช้าหงส์ หรือ ช้าเจ้าหงส์ ก็เรียก. |
ไข่หงส์ | น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทำด้วยแป้งทอด มีไส้ทำด้วยถั่วเขียวนึ่งผัดกับพริกไทย เกลือกน้ำตาลจนแห้ง ลักษณะกลม, ไข่เหี้ย ก็ว่า. |
ครรไลหงส์ | น. “พระผู้มีหงส์เป็นพาหนะ” หมายถึง พระพรหม เพราะพระพรหมทรงมีหงส์เป็นพาหนะ. |
ช้าหงส์, ช้าเจ้าหงส์ | น. ชื่อเพลงประเภทเพลงพื้นบ้าน |
ช้าหงส์, ช้าเจ้าหงส์ | พิธีขับกล่อมหงส์ ทำต่อเนื่องจากพิธีตรียัมปวาย เป็นการส่งเสด็จพระอิศวร พระอุมาและพระมหาพิฆเนศวร กลับสู่สวรรค์ตามคติความเชื่อของพราหมณ์ |
ช้าหงส์, ช้าเจ้าหงส์ | กล่อมหงส์ ก็เรียก. |
นางหงส์ | น. ชื่อวงปี่พาทย์ไทยที่ผสมวงอีกแบบหนึ่ง ประกอบด้วยปี่ชวาและกลองมลายู สำหรับบรรเลงในงานศพ |
นางหงส์ | ชื่อเพลงไทยใช้ประโคมศพ, ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงเรื่อง แล้วออกเพลงภาษาตอนท้าย. |
ปี่พาทย์นางหงส์ | น. วงปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลงเฉพาะในงานอวมงคล เรียกชื่อตามเพลงซึ่งใช้เป็นหลักในการบรรเลง คือ เพลงเรื่องนางหงส์ อัตรา ๒ ชั้น การประสมเครื่องดนตรีเหมือนวงปี่พาทย์ธรรมดาประสมกับวงบัวลอย แต่ใช้ปี่ชวาแทนปี่ใน ใช้กลองมลายูแทนตะโพนหรือกลองทัด. |
เป็ดหงส์ | น. ชื่อนกเป็ดนํ้าขนาดใหญ่ชนิด Sarkidiornis melanotos (Pennant) วงศ์ย่อย Anatinae ในวงศ์ Anatidae หัว คอ อก และท้องสีขาวประดำ ปีกสีเขียวเป็นมัน ตัวผู้ในช่วงฤดูผสมพันธุ์มีหงอนอยู่เหนือขากรรไกรบน ตัวเมียขนาดเล็กกว่าตัวผู้และสีหม่นกว่า อาศัยอยู่ทั้งในแหล่งน้ำทั่วไป และลำธารในป่า ทำรังตามโพรงไม้. |
มหาหงส์ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hedychium coronarium J. König ในวงศ์ Zingiberaceae ดอกใหญ่ สีขาวล้วนหรือมีสีเหลืองตอนกลาง กลิ่นหอม ชอบขึ้นในที่ลุ่มนํ้าขัง มักปลูกตามบ้าน, กระทายเหิน ก็เรียก, จันทบุรีและระยองเรียก เลเป หรือ ลันเต. |
เสาหงส์ | น. เสาที่ทำรูปหงส์ติดไว้ที่ยอด มักปักอยู่ตามหน้าวัดของชาวรามัญ. |
หงส-, หงส์ ๑ | (หงสะ-, หง) น. นกในนิยายถือว่าเป็นนกในตระกูลสูง มีเสียงไพเราะ เป็นพาหนะของพระพรหม |
หงส-, หงส์ ๑ | ในวรรณคดีหมายถึงบุคคลที่มีชาติตระกูลสูงและเปรียบการเดินที่งดงามอ่อนช้อยและเป็นสง่าเทียบด้วยการเดินของหงส์. |
หงส์ร่อนมังกรรำ | น. ชื่อพิธีกรรมทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่งที่หญิงทำเพื่อให้ผัวหลงรักตัวคนเดียว. |
หงสลีลา, หงส์ลีลา ๑ | (หงสะลีลา, หงลีลา) น. ท่าเดินอย่างหงส์. |
หงส์ลีลา ๒ | (หงลีลา) น. ชื่อท่ารำท่าหนึ่งอยู่ในลำดับว่า นาคาม้วนหาง กวางเดินดง หงส์ลีลา. |
หงส์แล่น | น. เครื่องประดับสันหลังคาหรือส่วนฐานของอาคาร ทำด้วยปูน ไม้ หรือหิน เป็นรูปหงส์เรียงกันเป็นแถว. |
หงส์ ๒ | (หง) น. ชื่อนกจำพวกเป็ดขนาดใหญ่หลายชนิด วงศ์ย่อย Cygninae ในวงศ์ Anatidae คอยาว เป็นนกที่นำเข้ามาในประเทศไทย มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรป อเมริกา และตอนเหนือของทวีปเอเชีย เช่น หงส์ขาว [ Cygnus olor (Gmelin) ] หงส์ดำ [ C. atratus (Latham) ] หงส์คอดำ [ C. melanocorypha (Molina) ]. |
หงส์ทอง | น. ชื่อเพลงไทย อัตราชั้นเดียว และอัตรา ๓ ชั้น ถ้าเป็นอัตรา ๒ ชั้น เรียกว่า เพลงเวสสุกรรม |
หงส์ทอง | ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงเถา หน้าทับปรบไก่. |
หงส์หยก | น. ชื่อนกปากขอขนาดเล็กชนิด Melopsittacus undulatus (Shaw) ในวงศ์ Psittacidae ตัวมีหลายสี เช่น เขียว เหลือง ฟ้า ขาว กินเมล็ดพืช เป็นนกที่นำเข้ามาในประเทศไทย มีถิ่นกำเนิดในประเทศออสเตรเลีย. |
หางหงส์ ๑ | น. ชายผ้านุ่งที่จีบโจงแล้วไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยให้จีบคลี่ห้อยจากเอวเบื้องหลังลงมาถึงหว่างขาอย่างตัวพระแต่งในละครรำ |
หางหงส์ ๑ | เรียกเครื่องประดับที่ทำเป็นรูปคล้ายหางหงส์ติดตั้งอยู่ปลายรวยระกา หรือปลายตะเข้สันหลังคาของโบสถ์และพระที่นั่งเป็นต้นตามแบบสถาปัตยกรรมไทย. |
หางหงส์ ๑ | ดูใน หาง. |
หางหงส์ ๒ | ดู พู่ระหง. |
กระทายเหิน | ดู มหาหงส์. |
กระว่า | น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น เสียงนกกระว่ามาตีลาน นกกรงหงส์ห่านร้องขานคู่ (มโนห์รา). |
กลองมลายู | น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปร่างลักษณะอย่างเดียวกับกลองแขก แต่ตัวกลองสั้นและอ้วนกว่า สายโยงเร่งเสียงทำด้วยหนัง ขึ้นหนัง ๒ หน้าด้วยหนังวัว ตีด้วยไม้งอน ใช้บรรเลงในวงบัวลอยในงานศพ และใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์นางหงส์. |
กล่อม ๓ | (กฺล่อม) น. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ ทำตอนพระเข้าหานาง ซึ่งเรียกว่า โลม หรือตอนขับบำเรอ เรียกว่า กล่อมมโหรี อันใช้เป็นเครื่องสายประสมในภายหลัง และมีชื่อเป็นชนิดต่าง ๆ คือ กล่อมช้าง กล่อมพระยา กล่อมนารี และกล่อมในพิธีพราหมณ์ เรียกว่า ช้าหงส์ หรือ ช้าเจ้าหงส์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์. |
โกกิล-, โกกิลา | (-ละ-) น. นกดุเหว่า เช่น โกกิลาหรือจะฝ่าเข้าฝูงหงส์ (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). |
ไข่เหี้ย | น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทำด้วยแป้งทอด มีไส้ทำด้วยถั่วเขียวนึ่งผัดกับพริกไทย เกลือกนํ้าตาลจนแห้ง ลักษณะกลมอย่างไข่เหี้ย, ไข่หงส์ ก็ว่า. |
ตะเกียบ | ชื่อเสาสั้นคู่หนึ่งที่ฝังลงดินสำหรับขนาบเสากลางซึ่งอยู่เหนือพื้นดินอย่างเสาดอกไม้พุ่ม เสาหงส์ เสาโคม เสาธง ให้ตั้งตรง มีสลัก ๒ อัน เมื่อถอดสลักอันหนึ่งออกแล้วโน้มเสากลางลงมาได้ |
ตะขาบ ๓ | เรียกธงชนิดหนึ่งทำด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกันไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้น ที่ปลายไม้ทั้ง ๒ ข้างติดธงสามเหลี่ยมเล็ก ๆ ทำให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาดกว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา ว่า ธงตะขาบ. |
ตีนผี | น. ไม้ซึ่งอยู่ใต้หางหงส์ สอดอยู่ในช่องว่างระหว่างแปหัวเสากับเชิงกลอน. |
เตือนตา | ก. ชวนดู เช่น สุวรรณหงส์ทรงภู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม (กาพย์เห่เรือ). |
ทรง | ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม |
ธงตะขาบ | น. ธงชนิดหนึ่งทำด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกันไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้น ที่ปลายไม้ทั้ง ๒ ข้างติดธงสามเหลี่ยมเล็ก ๆ ทำให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาดกว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา, ธงประดาก ก็เรียก. |
ธงประดาก | น. ธงชนิดหนึ่งทำด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกันไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้น ที่ปลายไม้ทั้ง ๒ ข้างติดธงสามเหลี่ยมเล็ก ๆ ทำให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาดกว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา, ธงตะขาบ ก็เรียก. |
นาคสะดุ้ง | น. ตัวไม้ที่ทำอย่างตัวนาค ทอดต่อลงมาจากแปหาญถึงหางหงส์ทั้ง ๒ ข้างของหน้าบัน โบราณเรียกว่า เครื่องสะดุ้ง. |
ใบระกา | น. ชื่อตัวไม้หรือปูนปั้นทำเป็นครีบ หรือลวดลายต่าง ๆ ติดกับตัวลำยองระหว่างช่อฟ้ากับหางหงส์ ประกอบ ๒ ข้างหน้าบันโบสถ์ วิหาร และปราสาท เป็นต้น. |
พญา | ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, (มักใช้นำหน้านามอื่น) เช่น พญานาค พญาหงส์. |
พู่ | น. กลุ่มหรือกระจุกที่ประกอบด้วยขนสัตว์ ไหม ด้าย หรือสิ่งอื่น ๆ ที่คล้ายกัน โดยมากใช้ห้อย เช่น พู่เรือสุพรรณหงส์ พู่ม่าน, ที่ใช้ชูก็มีบ้าง เช่น พู่หมวกเครื่องยศทหารบางเหล่า. |
พู่ระหง | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Hibiscus schizopetalus (Dyer) Hook.f. ในวงศ์ Malvaceae ดอกสีแดงห้อยลง กลางดอกมีเกสรเป็นพู่ยาว, หางหงส์ ก็เรียก. |
เรือพระที่นั่ง | น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งจักรี เรือพระที่นั่งจันทร หรือเสด็จพระราชดำเนินในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช. |
เรือพระที่นั่งกิ่ง | น. เรือหลวงแบบโบราณสำหรับเป็นลำทรงของพระมหากษัตริย์ เสด็จพระราชดำเนินในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งกิ่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งกิ่งศรีสมรรถไชย เรือพระที่นั่งกิ่งไกรสรมุข. |
เรือพระที่นั่งชัย | น. เรือพระที่นั่ง เช่น เรือสุพรรณหงส์ เรืออนันตนาคราช เรือเอนกชาติภุชงค์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระชัยวัฒน์ประดิษฐานขึ้นเป็นประธานบนบุษบกกลางลำ เป็นเรือนำกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคเสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชสงคราม หรือการพระราชพิธีสำคัญ, เรียกย่อว่า เรือชัย. |
ลันเต | น. ต้นมหาหงส์. (ดู มหาหงส์). |
หงส์ | [hong] (n) EN: swan FR: cygne [ m ] |
หงส์ | [hong] (n) EN: Chinese legendary phoenix |
หงส์แดง | [Hong Daēng] (n, prop) EN: Thai name for the Liverpool F.C. |
หงส์เหนือมังกร | [hong neūa mangkøn] (n, exp) EN: swan over dragon |
หงส์ร่อนมังกรรำ | [hong rǿn mangkøn ram] (n, exp) EN: hovering phoenix, dancing dragon |
หงส์หยก | [hongyok] (n) EN: parakeet |
มหาหงส์ | [mahāhong] (n) EN: White Ginger ; Butterfly Lily ; Garland Flower ; Ginger Lily |
นกหงส์หยก | [nok hong yok] (n) EN: parakeet FR: perruche [ f ] |
เป็ดหงส์ | [pet hong] (n, exp) EN: Comb Duck FR: Canard à bosse [ m ] ; Sarcidiome [ m ] ; Canard-à-bosse bronzé [ m ] ; Canard casqué [ m ] ; Canard sarcidiorne [ m ] ; Sarcidiome à bosse [ m ] |
ผักกาดหางหงส์ | [phakkāt hānghong] (n, exp) EN: Chinese Cabbage-Michilli |
พู่ระหงส์ | [phū rahong] (n, exp) EN: Coral Hibiscus ; Fringed Hibiscus ; Japanese Lantern ; Spider Gumamela |