เจดีย์ | (n) pagoda, See also: stupa, chedi, Example: นักโบราณคดีขุดพบพระเครื่องเป็นจำนวนมากที่เจดีย์เก่าในจังหวัดอยุธยา, Count Unit: องค์, Thai Definition: สิ่งซึ่งก่อเป็นรูปคล้ายลอมฟาง มียอดแหลม บรรจุสิ่งที่นับถือมีพระธาตุเป็นต้น, สิ่งหรือบุคคลที่เคารพนับถือ |
เจดีย์ 2 | (n) Pyramidella punctata, Thai Definition: ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวในวงศ์ Turritellidae เปลือกเวียนเป็นเกลียวสูงหลายชั้น ยอดแหลมคล้ายเจดีย์ |
ธรรมเจดีย์ | (n) doctrinal shrine, See also: dharma stupa, stupa of sacred writings of a religion, Count Unit: องค์, Thai Definition: เจดีย์ที่บรรจุพระธรรม |
ธาตุเจดีย์ | (n) pagoda for remains, See also: stupa containing relies, receptacle for relics, Syn. ธาตุสถูป, ธาตุสตูป, Count Unit: องค์, Thai Definition: เจดีย์บรรจุพระธาตุ, Notes: (บาลี, สันสกฤต) |
พุทธเจดีย์ | (n) pagoda, Example: ที่นี่มีการจำลองพุทธเจดีย์ไว้ให้ผู้คนได้กราบไหว้บูชา, Thai Definition: เจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า มี 4 ชนิด คือ ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ ธรรมเจดีย์ และอุเทสิกเจดีย์ |
สถูปเจดีย์ | (n) pagoda, Syn. สถูป, เจดีย์, Count Unit: องค์ |
เจดีย-, เจดีย์ ๑ | (-ดียะ-) น. สิ่งซึ่งก่อเป็นรูปคล้ายลอมฟาง มียอดแหลม บรรจุสิ่งที่นับถือมีพระธาตุเป็นต้น, สิ่งหรือบุคคลที่เคารพนับถือ. |
เจดีย์ทิศ | น. เจดีย์บริวารตั้งอยู่บนฐานไพทีหรือลานประทักษิณล้อมเจดีย์ประธาน มี ๔ องค์ เหมือนดังประจำทิศต่าง ๆ ตามคตินิยมทางจักรวาล. |
เจดีย์ ๒ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิด ในวงศ์ Turritellidae เปลือกม้วนเป็นวงซ้อนกันเป็นเกลียวสูงหลายชั้น ยอดแหลมคล้ายเจดีย์ มักเป็นสีน้ำตาล เช่น ชนิด Turritella terebra (Linn.). |
ธรรมเจดีย์ | น. คัมภีร์ที่จารึกพระธรรม เช่น พระไตรปิฎก, เจดีย์ที่บรรจุพระธรรมที่มักจารลงบนใบลาน. |
ธาตุเจดีย์ | (ทาตุ-, ทาด-) น. เจดีย์บรรจุพระธาตุ. |
บริโภคเจดีย์ | (บอริโพกคะ-) น. เจดีย์ที่บรรจุเครื่องบริขารของพระพุทธเจ้า. |
พุทธเจดีย์ | น. เจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า มี ๔ ชนิด คือ ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ ธรรมเจดีย์ และอุเทสิกเจดีย์. |
อุเทสิกเจดีย์ | น. เจดีย์ที่สร้างอุทิศพระพุทธเจ้า ได้แก่ พระพุทธรูป. |
กรุ ๑ | (กฺรุ) น. ห้องที่ทำไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งมีค่าอื่น ๆ, โดยปริยายหมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการในสังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำ โดยมิได้มีตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. |
กำแพงแก้ว | น. กำแพงเตี้ย ๆ ที่ทำล้อมโบสถ์ วิหาร หรือเจดีย์ เป็นต้น เพื่อให้ดูงาม. |
กู่ ๑ | อนุสาวรีย์, กุฏิ, เจดีย์. |
เกียรติมุข | (เกียดมุก) น. อมนุษย์บริวารพระศิวะ ทำเป็นรูปหน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์ ตากลมถลน ไม่มีคาง ปากแสยะ ไม่มีขากรรไกรล่าง ไม่มีร่างกาย ไม่มีแขนขา เชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้ารักษาธรณีประตู เป็นเครื่องป้องกันบ้านเรือน ขับไล่เสนียดจัญไร และคอยคุ้มครอง นับถือพระศิวะ มักทำเป็นลวดลายแกะสลักหรือปูนปั้น เช่นที่ทับหลังปราสาทหินบางแห่ง ตามซุ้มปรางค์หรือเจดีย์ และที่ฐานพระพุทธรูป, กาฬมุข หรือ หน้ากาฬ ก็เรียก. |
ขนทรายเข้าวัด | ก. ทำบุญกุศลโดยวิธีนำหรือขนทรายไปก่อพระเจดีย์ทรายเป็นต้นที่วัด, (สำ) หาประโยชน์ให้ส่วนรวม. |
ข้าวประดับดิน | น. อาหารที่เอาไปวางไว้ตามต้นโพและพระเจดีย์เป็นต้นในเวลาเช้ามืดวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๙. |
ข้าวสาก | น. ของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เอาไปบูชาตามต้นโพและพระเจดีย์เวลาเช้ามืดในเดือน ๑๐. |
คอระฆัง | น. ส่วนพระเจดีย์ตรงคอด ต่อองค์พระเจดีย์ (ที่เรียกระฆัง) กับบัลลังก์. |
จุฑามณี | ชื่อพระธาตุเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ดาวดึงส์ เรียกว่า จุฑามณีเจดีย์, จุฬามณี ก็ว่า. |
จุฬามณี | ชื่อพระธาตุเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ดาวดึงส์ เรียกว่า จุฬามณีเจดีย์, จุฑามณี ก็ว่า. |
เจติย- | (-ติยะ-) น. เจดีย์. |
ชั่วนกเขาเหิน | น. ระยะความสูงที่นกเขาบินขึ้นไปถึงได้ เช่น พระปฐมเจดีย์สูงชั่วนกเขาเหิน. |
ซุ้มคูหา | น. ซุ้มรอบพระปรางค์และพระเจดีย์สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป. |
ด้วน | ว. เรียกสิ่งที่มีรูปยาว ๆ ที่ตอนปลายขาดหายไป เช่น แขนด้วน ขาด้วน เจดีย์ยอดด้วน, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลองด้วน แม่นํ้าด้วน. |
ด่าน | ทางผ่าน เช่น ด่านช้าง, ทางผ่านพรมแดนระหว่างประเทศ เช่น ด่านเจดีย์สามองค์ ด่านสิงขร. |
ตำนาน | น. เรื่องแสดงความเป็นมาแต่ปางหลังของสถานที่ บุคคล หรือพิธีกรรม เป็นต้น, เรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบ ๆ มา, เช่น ตำนานพุทธเจดีย์, ตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว |
ถะ | น. พระเจดีย์แบบจีน. |
ทรงลังกา | ว. เรียกเจดีย์รูปทรงกรวยกลม มีฐานล่างเป็นฐานเขียงหรือฐานบัวเชิงบาตร กับมีฐานบัวลูกแก้ว องค์ครรภธาตุมีรูปทรงคล้ายระฆังควํ่า ตอนบนเป็นที่ตั้งของรัตนบัลลังก์ มียอดประดับด้วยปล้องไฉนและปลี. |
ทองจังโก | น. ทองเหลืองที่ตีแผ่เป็นแผ่นบาง ลงรักแล้วปิดทองคำเปลว นิยมใช้หุ้มองค์พระเจดีย์ ป้องกันการผุกร่อน, ทองสักโก ก็ว่า. |
ธรรมจักร | เครื่องหมายทางพระพุทธศาสนา เป็นรูปวงล้อมี ๘ ซี่บ้าง ๑๒ ซี่บ้าง จัดเป็นอุเทสิกเจดีย์. |
ธรรม ๓ | น. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นเทพ ตํ่ากว่าชั้นหิรัญบัฏ เรียกว่า ชั้นธรรม เช่น พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมเจดีย์. |
ธาตุ ๒ | เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว. |
ธาตุสถูป | (ทาดสะถูบ) น. ธาตุเจดีย์. |
นั่งร้าน | น. โครงร่างที่ทำด้วยไม้หรือโลหะ สำหรับนั่งหรือปีนป่ายในการก่อสร้างสิ่งสูง ๆ เช่นพระเจดีย์หรือตึก, ร่างร้าน ก็เรียก. |
บราลี | (บะรา-) น. ยอดเล็ก ๆ มีสัณฐานดุจยอดพระเจดีย์ทราย ใช้เสียบเรียงรายไปตามสันหลังคา หรือเสียบบนสันหลังคาบันแถลงบนหลังคาเครื่องยอด. |
บัลลังก์ | ส่วนของสถูปเจดีย์แบบลังกา มีรูปเป็นแท่นอยู่เหนือองค์ระฆัง. |
บัวกลุ่ม | น. ลายปูนปั้นหรือลายแกะไม้ที่ทำเป็นรูปดอกบัวที่เริ่มแย้มร้อยกันเป็นเถา อยู่ระหว่างบัลลังก์กับปลียอดของเจดีย์บางแบบหรือปลายเครื่องบนของปราสาท. |
บัวถลา | น. บัวควํ่าที่ลาดเอียงมากกว่าปรกติ เป็นส่วนประกอบของฐานสถูปและเจดีย์บางแบบ. |
ปรางค์ | (ปฺราง) น. สิ่งก่อสร้างมียอดสูงขึ้นไปมีรูปทรงคล้ายฝักข้าวโพดและมีฝักเพกาปักอยู่ข้างบน, ถ้าเป็นเจดีย์มียอดเช่นนั้น เรียกว่า เจดีย์ยอดปรางค์. |
ปล้องไฉน | น. ส่วนหนึ่งของพระเจดีย์ต่อบัวกลุ่มขึ้นไป. |
ปลี | ยอดเจดีย์หรือยอดมณฑปเหนือปล้องไฉนหรือบัวกลุ่มขึ้นไป. |
ปูชนียสถาน | (ปูชะนียะสะถาน) น. สถานที่เนื่องด้วยศาสนา ซึ่งเป็นที่ควรแก่การเคารพบูชา เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระปฐมเจดีย์. |
ฝาละมี | เรียกส่วนพระเจดีย์ที่เป็นฐานรองรับปล้องไฉนของเจดีย์ทรงกลมหรือทรงลังกา คล้ายฝาละมี ว่า บัวฝาละมี. |
พุทธาวาส | น. ส่วนหนึ่งของวัดประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ซึ่งใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรม โดยมีกำแพงกันไว้ต่างหากจากส่วนที่พระภิกษุสามเณรอยู่อาศัย ซึ่งเรียกว่า สังฆาวาส, วัดที่สร้างขึ้นเป็นที่ประกอบสังฆกรรมโดยเฉพาะ โดยไม่มีสังฆาวาส เช่น วัดพระศรีรัตน-ศาสดาราม (วัดพระแก้ว). |
ไพที | ฐานบัวควํ่าบัวหงายที่พระเจดีย์. |
มหาธาตุ | เรียกพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรมธาตุ ว่า มหาธาตุ เช่น เอาทั้งพืชพระศรีมหาโพธิอันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้นและผจญพลขุนมาราธิราช ได้ปราบแก่สัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธมาปลูกเบื้องหลังพระมหาธาตุนี้ (ศิลาจารึกนครชุม), เรียกวัดที่มีพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรมธาตุ ว่า วัดมหาธาตุบ้าง วัดพระศรีมหาธาตุบ้าง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุบ้าง. |
เม็ดน้ำค้าง | น. ส่วนที่มีลักษณะกลม ๆ คล้ายเม็ดน้ำค้างอยู่ตรงปลายยอดเจดีย์ ยอดปราสาท เป็นต้น, หยาดน้ำค้าง ก็เรียก. |
ไม้สูง | น. งานช่างไม้ที่ต้องใช้ศิลปะชั้นสูง ทำสิ่งเกี่ยวกับเครื่องยอดเครื่องสูง เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดบุษบก, เรียกช่างที่ทำงานในลักษณะเช่นนี้ ว่า ช่างไม้สูง, เรียกการละเล่นที่ผู้เล่นจะต้องต่อขาให้สูงขึ้นด้วยไม้คู่หนึ่ง ส่วนมากเป็นไม้กระบอก มีลูกทอยสำหรับเหยียบ ว่า เล่นเดินไม้สูง, เรียกการละเล่นไต่ลวดตีลังกา ว่า เล่นไม้สูง |
ยอด | น. ส่วนสูงสุด, ส่วนเหนือสุด, เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดเขา, ส่วนปลายสุดของพรรณไม้หรือที่แตกใหม่ เช่น ยอดผัก ยอดตำลึง ยอดกระถิน |
ยั่งยืน | ก. ยืนยง, อยู่นาน, เช่น ขอให้มีความสุขยั่งยืน, คงทน เช่น สังขารไม่จีรังยั่งยืน เจดีย์นี้มีอายุยั่งยืนมาได้ ๗๐๐ ปีแล้ว. |
ร่างร้าน | น. โครงร่างที่ทำด้วยไม้หรือโลหะ สำหรับนั่งหรือปีนป่ายในการก่อสร้างสิ่งสูง ๆ เช่นพระเจดีย์หรือตึก, นั่งร้าน ก็ว่า. |
ราย | ว. ที่แยกเป็นลำดับหรือเป็นระยะต่อเนื่องกัน เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสารรายเดือน ค่าอาหารคิดเป็นรายหัว ถามเป็นรายบุคคล, ที่เรียงกันเป็นแถวเป็นระยะ ๆ เช่น ศาลาราย เจดีย์ราย. |
broach | (โบรชฺ) { broached, broaching, broaches } n. เครื่องคว้านรู, เหล็กเสียบ, โบสถ์หรือเจดีย์ยอดเหลี่ยม vt. เจาะรู, คว้านรู, ทำให้ผิวน้ำแตกกระจาย, See also: broacher n. -Conf. brooch |
pagoda | (พะโก'ดะ) n. เจดีย์, ปรางค์, สถูป |
pinnacle | (พิน'นะเคิล) n. ยอด, จุดสุดยอด, ขีดสุด, ยอดเจดีย์, ภูเขา ตึก หอและอื่น ๆ |
shrine | (ชไรนฺ) n. แท่นบูชา, หิ้งบูชา, ศาลเจ้า, อาราม, สถานที่บูชา, สถูป, เจดีย์ปูชนียสถาน. vt. ทำให้เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์, วางไว้ในที่ศักดิ์สิทธิ์, Syn. altar |
spire | (สไพ'เออะ) n. ยอดแหลมของตึก, สิ่งที่คล้ายยอดแหลมของตึก, ทรงเจดีย์, ทรงกรวย, หน่อ, หน่อไม้. vi. แตกหน่อ, Syn. belfry |
steeple | (สที'เพิล) n. ยอดสูง, หลังคาแหลม, ยอดเจดีย์, หอคอยยอดเจดีย์, See also: steepled adj., Syn. spire |
tower | (เทา'เออะ) n. หอสูง, หอคอย, เจดีย์ vi. อยู่สูง, ยืนตระหง่าน, สูงขึ้นมาก, บินสูง, ตั้งตระหง่าน., See also: towery adj., Syn. belfry, spire, minaret, citadel, fort |