เจ่อ | ก. อาการที่ปากบวมยื่นออกมาหรือมีลักษณะเช่นนั้น. |
เจ๋อ, เจ๋อเจ๊อะ | ก. เสนอหน้าเข้าไปในสถานที่ไม่สมควรเมื่อเขาไม่ต้องการหรือมิได้เรียกหา. |
ประจิ้มประเจ๋อ | ว. พูดจาและแสดงกิริยาเสนอหน้าอย่างเด็ก. |
ประเจิดประเจ้อ | ว. อาการกระทำที่ถือกันว่าน่าละอายหรือไม่บังควรให้คนอื่นเห็น. |
ปั้นจิ้มปั้นเจ๋อ | ว. แสดงอาการกินหมากจัดเอาอย่างเขา |
ปั้นจิ้มปั้นเจ๋อ | เจ้าหน้าเจ้าตา, ดัดจริตเสนอหน้าหรือแสดงตัวผิดกาลเทศะ. |
ปั้นเจ๋อ | ว. เจ้าหน้าเจ้าตา. |
เพ้อเจ้อ | ว. พล่าม, อาการที่พูดมากในเรื่องที่เหลวไหลไร้สาระ, อาการที่พูดพล่ามจนเสียประโยชน์, อาการที่พูดไม่รู้จักจบ. |
เพ้อเจ้อกฐินบก | ว. ชักช้า, เรื่องมาก, ยืดเยื้อ, เยิ่นเย้อกฐินบก ก็ว่า. |
บ้าน้ำลาย | ว. ชอบพูดพล่าม, ชอบพูดเพ้อเจ้อ. |
พล่าม | (พฺล่าม) ว. เพ้อเจ้อ, อาการที่พูดมากจนเสียประโยชน์, อาการที่พูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ ไม่รู้จักจบจนน่ารำคาญ. |
เยิ่นเย้อกฐินบก | ว. ชักช้า, เรื่องมาก, ยืดเยื้อ, เพ้อเจ้อกฐินบก ก็ว่า. |
วจีทุจริต | (วะจีทุดจะหฺริด) น. ความประพฤติชั่วทางวาจา มี ๔ อย่าง ได้แก่ การพูดเท็จ ๑ การพูดคำหยาบ ๑ การพูดส่อเสียด ๑ การพูดเพ้อเจ้อ ๑. |
วจีสุจริต | (วะจีสุดจะหฺริด) น. ความประพฤติชอบทางวาจา มี ๔ อย่าง ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ๑ การไม่พูดคำหยาบ ๑ การไม่พูดส่อเสียด ๑ การไม่พูดเพ้อเจ้อ ๑. |
สะเออะ ๑ | ก. เสนอหน้าเข้าไปในสถานที่ที่ไม่สมควรเช่นในที่รโหฐานเมื่อไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง, เจ๋อ, เช่น สะเออะไปนั่งเก้าอี้ประธาน, เสนอหน้าพูดเป็นต้นโดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น นายยังไม่ทันถาม ก็สะเออะรายงาน. |
สัมผัปลาป, สัมผัปลาปะ | (สำผับปะลาบ, -ปะลาปะ) น. คำพูดเพ้อเจ้อ. |
สาธารณ-, สาธารณะ | (สาทาระนะ) ว. เพื่อประชาชนทั่วไป เช่น สวนสาธารณะ โทรศัพท์สาธารณะ บ่อน้ำสาธารณะ, ทั่วไป เช่น ถนนนี้ไม่ใช่ถนนสาธารณะ อย่าแต่งตัวประเจิดประเจ้อในที่สาธารณะ. |
เหลิงเจิ้ง | (เหฺลิง-) ว. พล่าม, เพ้อเจ้อ, อาการที่พูดมากไม่มีสาระ. |