เบียดเบียน | ก. ทำให้เดือดร้อน เช่น เบียดเบียนสัตว์ โรคภัยเบียดเบียน เบียดเบียนเพื่อนให้สิ้นเปลือง. |
ข่มเหงคะเนงร้าย | ก. รังแกเบียดเบียน. |
ทศพิธราชธรรม | น. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน–การให้ ๒. ศีล–การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ๓. บริจาค–ความเสียสละ ๔. อาชชวะ–ความซื่อตรง ๕. มัททวะ–ความอ่อนโยน ๖. ตบะ–การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ–ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา–ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ–ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ–ความไม่คลาดจากธรรม. |
ทู ๑ | ว. สอง เช่น ลูกเสือสนองคำโคทู ว่าถ้าแม่กู กระทำวิบัติเบียดเบียน (เสือโค). |
บีฑา | (-ทา) ก. เบียดเบียน, บีบคั้น, รบกวน, เจ็บปวด. |
เบียน | ก. รบกวน, ทำให้เดือดร้อน, มักใช้เข้าคู่กับคำ เบียด เป็น เบียดเบียน |
ประทุษ | ก. ทำร้าย, ทำชั่ว, ทำเลวทราม, ทำผิด, เบียดเบียน. |
พาธ, พาธา | น. ความเบียดเบียน, ความทุกข์. |
มิคสัญญี | น. ชื่อยุคหนึ่งที่มีแต่รบราฆ่าฟันเบียดเบียนกัน. |
ยายี | ก. เบียดเบียน, รบกวน. |
ย่ำยี | ก. เบียดเบียน เช่น ย่ำยีศาสนา, บีบคั้น, ข่มเหง, เช่น ย่ำยีจิตใจ, บดขยี้ เช่น ยกกองทัพไปย่ำยีประเทศอื่น. |
รันทำ | ก. ยํ่ายี, เบียดเบียน. |
ราชธรรม | น. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง เรียกว่า ทศพิธราชธรรม มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน–การให้ ๒. ศีล–การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ๓. บริจาค–ความเสียสละ ๔. อาชชวะ–ความซื่อตรง ๕. มัททวะ–ความอ่อนโยน ๖. ตบะ–การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ–ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา–ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ–ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ–ความไม่คลาดจากธรรม. |
วิหิงสะ, วิหิงสา, วิเหสา | น. ความเบียดเบียน |
เศรษฐกิจพอเพียง | น. ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเป็นแนวทางการดำรงชีวิตและปฏิบัติตนของประชาชนตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ไม่ประมาท ไม่โลภ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัว ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตให้รอดพ้นจากวิกฤติ มีความมั่นคงและยั่งยืนท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ. |
หิงสา | น. ความเบียดเบียน, การทำร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หึงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หิงสาพยาบาท หรือ หึงสาพยาบาท. |
หึงส-, หึงสา | (หึงสะ-) น. ความเบียดเบียน, การทำร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หิงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หึงสาพยาบาท หรือ หิงสาพยาบาท. |
อวิหิงสา | น. ความไม่เบียดเบียน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม). |
อหิงสา, อหึงสา | (อะ-) น. ความไม่เบียดเบียน, การเว้นจากการทำร้าย. |
อังฆาต | (-คาด) ก. กระทบ, เบียดเบียน. |