กระดุบ ๆ | ว. อาการที่ชีพจรเป็นต้นเต้นเป็นระยะ ๆ เช่น หัวใจเต้นกระดุบ ๆ, ดุบ ๆ หรือ ตุบ ๆ ก็ว่า |
โกลน | ไม้ท่อนกลม ๆ ที่วางเป็นระยะ ๆ เพื่อลากของที่หนักมาบนนั้น. |
แค้ | น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในสกุล Bagarius วงศ์ Sisoridae หัวแบนแผ่ หนวดแบน ตาเล็ก ลำตัวยาวเรียวลู่จนแคบมากที่คอดหาง ครีบหางเป็นแฉกยาว ผิวหนังเป็นตุ่มแข็ง มีแต้มขนาดใหญ่สีนํ้าตาลเข้มอยู่บนหลังเป็นระยะ ๆ ครีบต่าง ๆ สีนํ้าตาล พบอาศัยตามพื้นท้องแม่นํ้าสายใหญ่ ๆ มี ๓ ชนิด ในประเทศไทยที่พบทั่วไปได้แก่ ชนิด B. bagarius (Hamilton-Buchanan) ซึ่งยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร และ B. yarrelli Sykes ยาวได้ถึง ๒ เมตร, คัง หรือ ตุ๊กแก ก็เรียก. |
จะจะ | ห่างเป็นระยะ ๆ เช่น ดำนาจะจะ. |
แจ้ว, แจ้ว ๆ | ว. มีเสียงแจ่มใส เช่น ไก่ขันแจ้ว, มีเสียงดังติดต่อกันไปเป็นระยะ ๆ เช่น พูดแจ้ว ๆ. |
แฉ่ | ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงฝนตกพรำ ๆ เป็นระยะ ๆ หรือเสียงที่เอาโลหะเผาไฟร้อนจุ่มลงในนํ้า. |
ดุบ ๆ | ว. อาการที่ชีพจรเป็นต้นเต้นเป็นระยะ ๆ เช่น หัวใจเต้นดุบ ๆ ชีพจรเต้นดุบ ๆ, กระดุบ ๆ หรือ ตุบ ๆ ก็ว่า. |
ตาแมว | แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้กลางถนนเป็นระยะ ๆ. |
ตุบ ๆ | ว. อาการที่ชีพจรเป็นต้นเต้นเป็นระยะ ๆ. |
ทอย ๒ | น. เรียกไม้แหลมสำหรับตอกต้นไม้เป็นระยะ ๆ เพื่อเหยียบขึ้นไป ว่า ลูกทอย, เรียกกิริยาที่ตอกลูกทอยอย่างนั้น ว่า ตอกทอย. |
น้ำดอกไม้ ๔ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ทุกชนิดในสกุล Sphyraena วงศ์ Sphyraenidae ลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวแหลม คางล่างยื่น ปากกว้าง มีฟันคมแข็งแรง ตาโต เกล็ดเล็กบาง ขอบเรียบ มีครีบหลัง ๒ ตอน พื้นลำตัวมีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด แต่มักเป็นสีฟ้าอมเทา เช่น ชนิด S. forsteri Cuvier หรือนํ้าตาลอมเหลือง เช่น ชนิด S. obtusata Cuvier & Valenciennes บ้างมีบั้งทอดขวางลำตัวเป็นระยะ ๆ เช่น ชนิด S. jello Cuvier & Valenciennes บ้างก็มีจุดหรือแต้มดำ เช่น ชนิด S. barracuda (Walbaum) ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๓๐-๑๕๐ เซนติเมตร, สาก ก็เรียก. |
ปรอย ๆ ๒ | (ปฺรอย) ว. ที่ตกเป็นระยะ ๆ ไม่หนาเม็ด (ใช้แก่ฝนตก) เช่น ฝนตกปรอย ๆ. |
ประจำยาม | น. ชื่อลายอย่างหนึ่ง มีรูปเป็นดอกไม้ ๔ กลีบ วางเป็นระยะ ๆ คั่นลายอื่น. |
ประปราย | (-ปฺราย) ว. มีกระจายอยู่ห่าง ๆ เช่น ผมหงอกประปราย ผลไม้ติดประปราย, มีห่าง ๆ เป็นระยะ ๆ, เรี่ยราย, เล็กน้อย, เช่น ยิงกันประปราย. |
เป็นพัก ๆ | ว. เป็นระยะ ๆ เช่น ทำงานเป็นพัก ๆ หยุดเป็นพัก ๆ. |
ไม้กระถาง | น. ดอกไม้เพลิงชนิดหนึ่ง ใส่ในกระถาง ลำต้นเป็นต้นไม้แห้งผูกดอกไม้เพลิงชนิดต่าง ๆ เช่น จู้จี้ นกบิน ฝอยทอง ล่ามชนวนให้ต่อกัน เวลาจุดจะแตกเป็นระยะ ๆ |
รถวิทยุ | น. รถยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือทหารที่ติดตั้งวิทยุ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการสื่อสารหรือรายงานให้ศูนย์บัญชาการทราบเป็นระยะ ๆ. |
รอนแรม | ก. เดินทางค้างคืนเป็นระยะ ๆ. |
ระนาบเอียง | น. สิ่งที่มีพื้นแบนเรียบเอียงทำมุมแหลมกับพื้นระดับ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องกลอย่างง่ายสำหรับเลื่อนเทหวัตถุหนักไปสู่ระดับที่ต้องการโดยที่สามารถพักเทหวัตถุนั้นได้เป็นระยะ ๆ. |
ระยะ ๆ | ว. เป็นช่วง ๆ, เป็นตอน ๆ, เช่น เดินทางหยุดพักเป็นระยะ ๆ ปักเสาโทรเลขเป็นระยะ ๆ. |
ราชวัติ | น. รั้วที่ทำเป็นแผงโปร่ง ปักรายเป็นระยะ ๆ ต่อเนื่องกันหรือปักประจำมุมเพื่อแสดงอาณาเขตของมณฑลพิธี มีฉัตรปักหัวท้ายแผง. |
ราย | ว. ที่แยกเป็นลำดับหรือเป็นระยะต่อเนื่องกัน เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสารรายเดือน ค่าอาหารคิดเป็นรายหัว ถามเป็นรายบุคคล, ที่เรียงกันเป็นแถวเป็นระยะ ๆ เช่น ศาลาราย เจดีย์ราย. |
รายทาง | ว. เรียงรายไปตามทางเป็นระยะ ๆ เช่น ตำรวจยืนรักษาการณ์รายทาง มีประชาชนมาคอยต้อนรับนายกรัฐมนตรีตามรายทาง. |
รุ่น | น. วัยของคนที่ถืออายุเป็นเครื่องกำหนด เช่น รุ่นเด็ก รุ่นหนุ่ม รุ่นสาว รุ่นน้อง, สมัยของคนที่ใช้หลักใดหลักหนึ่งเป็นต้นว่า ปีการศึกษา น้ำหนัก เป็นเครื่องกำหนด เช่น นิสิตรุ่นแรก บัณฑิตรุ่นที่ ๒ นักมวยรุ่นฟลายเวท, คราวหรือสมัยแห่งสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดหรือผลิตขึ้นเป็นระยะ ๆ เช่น มะม่วงออกผลรุ่นแรก รถยนต์คันนี้เป็นรุ่นล่าสุด |
เรียงราย | ก. เรียงติดต่อกันไปเป็นระยะ ๆ เช่น ต้นมะขามเรียงรายรอบสนามหลวง นักเรียนเข้าแถวเรียงรายไปตามถนน. |
ลวดหนาม | น. ลวดที่ขมวดเป็นปมเป็นระยะ ๆ แต่ละปมมีปลายแหลมคม ใช้ทำรั้วหรือเครื่องกีดขวางเป็นต้น. |
ลิ้นกระบือ ๑ | น. ไม้แผ่นบาง ๆ สำหรับสอดเพลาะกระดานเป็นระยะ ๆ ให้สนิทแข็งแรง. |
ลูกโกลน | (-โกฺลน) น. สิ่งที่ใช้ต่างลูกกลิ้งวางเป็นระยะ ๆ ไป เพื่อรองรับสิ่งที่หนักหรือใหญ่โตให้เคลื่อนย้ายชะลอไปได้สะดวก. |
วิ่งกระโดดข้ามรั้ว, วิ่งข้ามรั้ว | น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขันต้องวิ่งเร็วแล้วกระโดดข้ามรั้วที่วางไว้เป็นระยะ ๆ ตามเส้นทางที่กำหนดไว้ ใครถึงหลักชัยก่อนถือว่าชนะ. |
วิ่งเก็บของ | ก. วิ่งเก็บสิ่งของเช่นส้ม มะนาว ที่วางเป็นระยะ ๆ แล้วไปใส่ภาชนะที่วางไว้ที่ตั้งต้น ใครเก็บหมดก่อนเป็นผู้ชนะ. |
เว้นวรรค | ก. เว้นช่วงของคำ ข้อความ หรือประโยคเป็นระยะ ๆ. |
สะอื้น | ก. ถอนใจสะท้อนเป็นระยะ ๆ เพราะร้องไห้มากเนื่องจากเสียใจระทมใจเป็นต้น, ถอนใจสะท้อนเป็นระยะ ๆ. |
สักที่นอน | ก. เย็บกรึงที่นอนเป็นระยะ ๆ เพื่อให้นุ่นเป็นต้นอยู่คงที่ไม่เลื่อนไปเลื่อนมา. |
หมอ ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Anabas testudineus (Bloch) ในวงศ์ Anabantidae ลำตัวป้อม แนวสันหลังโค้งพอ ๆ กับแนวสันท้อง แบนข้าง ท้องกลม คอดหางกว้าง ตาอยู่ค่อนไปทางปลายหัว ปากกว้างเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กแต่แข็งแรง ขอบกระดูกแผ่นปิดเหงือกหยักเป็นหนามแข็ง ใช้แถกเพื่อช่วยยึดยันให้เคลื่อนไปบนบกได้ดี ขอบครีบต่าง ๆ กลม ลำตัวและครีบมีสีดำคลํ้า ส่วนปลาขนาดเล็กมีสีจางกว่าและมีลายบั้งพาดลำตัวเป็นระยะ ๆ อาศัยอยู่ในแหล่งนํ้าแทบทุกประเภท พบขึ้นมาบนบกในฤดูฝนเสมอ ซึ่งเป็นธรรมชาติการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยแบบหนึ่ง และยังแสดงให้เห็นความสามารถในการหายใจในที่ดอนได้อีกด้วย ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, หมอไทย หรือ สะเด็ด ก็เรียก, อีสานเรียก เข็ง. |
dynamic ram | แรมแบบพลวัตย่อมาจาก Dynamic Random Access Memory ใช้ตัวย่อว่า DRAM (อ่านว่าดีแรม) โดยปกตินั้น คอมพิวเตอร์จะใช้ชิป 2 แบบ คือ แบบดีแรม (DRAM) และ แบบ เอสแรม (SRAM) ชิปแบบ ดีแรม นี้จะมีราคาถูกกว่า เพราะว่าชิปแบบนี้นั้น คอมพิวเตอร์จะต้องนำเอาข้อมูลกลับไปไว้ ณ ที่เดิมเป็นระยะ ๆ มิฉะนั้น มันจะลืมได้ ดู RAM ประกอบ |
fanfold paper | หมายถึง กระดาษที่พับไว้อย่างปราณีต เพื่อประโยชน์ใน การใช้ อย่างต่อเนื่อง ในบางครั้ง จะเรียกว่า กระดาษต่อเนื่อง (continuous paper) กระดาษชนิดนี้จะมีรูเจาะไว้ทั้งสองข้าง เพื่อให้ได้เกาะเกี่ยวกับฟันเฟือง ของเครื่องพิมพ์เป็นระยะ ๆ ทำให้การเคลื่อนตัวได้ฉาก และเป็นจังหวะอย่างดี (ไม่บิดเบี้ยว) |
newsman | (นิวซ'แมน, -เมิน) n. ผู้สื่อข่าว, ผู้ขายหนังสือและสิ่งตีพิมพ์ที่ออกเป็นระยะ ๆ pl. newsmen |
preventive maintenance | การบำรุงรักษาเชิงป้องกันหมายถึง แผนงานการบริการการบำรุงรักษา ซึ่งมุ่งเป้าไปถึงการป้องกันไม่ให้เครื่องเสีย การบำรุงรักษานั้น รวมตั้งแต่ การทำความสะอาดเครื่องเป็นระยะ ๆ การตรวจสอบ หรือคอยดูแลเปลี่ยนอุปกรณ์ หรือวงจรที่จะครบอายุการใช้งานทุกระยะด้วย |
seperator bar | เส้นคั่นแต่ละเมนูที่เห็นบนจอภาพในระบบวินโดว์ มักจะมีเส้นแบ่งหมวดหมู่ของรายการคำสั่งคั่นให้เป็นระยะ ๆ เพื่อให้มองหาได้ง่าย เช่น เมนู File ของโปรแกรม Microsoft Word จะแบ่งรายการคำสั่งเป็น New, Open, Close, Save, Save as, Version ส่วนหนึ่ง Page Setup, Print Preview, Print, ส่วนหนึ่ง บางทีก็มี Exit อยู่อีกส่วนหนึ่ง (แต่ละโปรแกรม อาจมีรายการคำสั่งแตกต่างกันไปบ้าง) แต่จะมีเส้นคั่น ให้เห็นชัดเสมอ |
tab | n. ส่วนที่โผล่ออก, ชาย, แถบ, สายประดับ, เศษผ้า, เศษกระดาษ, ปุ่ม, ป้าย, แผ่นโลหะเล็ก ๆ , หัวหุ้มโลหะที่ปลายเชือกผูกรองเท้า, เครื่องหมายติดปกเสื้อของนายทหาร vt. ทำให้มีtab (ดู) -Phr. (keep tab (s) on คอยดูแล) , จุดตั้งระยะหมายถึง ตำแหน่งที่อยู่ห่างกันเป็นระยะ ๆ ซึ่งจะต้องมีการกำหนดไว้ด้วยโปรแกรม ปกติมักจะกำหนดไว้ให้ห่างกันประมาณ .5 นิ้ว แต่เราสามารถกำหนดใหม่ได้ ใช้มากในโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ (word processing) หมายถึง ถ้ากดแป้นตั้งระยะ (แป้น Tab) ครั้งหนึ่ง ตัวชี้ตำแหน่งก็จะเลื่อนไประยะหนึ่ง การกำหนดจุดตั้งระยะนั้น อาจกำหนดเลยไปถึงการสั่งชิดซ้าย ชิดขวา ตรงกลาง หรือเป็นตัวเลข ก็ได้, Syn. flap, strip, tag |