เลี้ยงลูกเจ้าเฝ้าคลัง | ก. ทำสิ่งที่มีแต่เสมอตัวกับขาดทุน, ทำดีก็เสมอตัว ทำไม่ดีก็ต้องได้รับโทษ. |
เลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้ | ก. บำรุงเลี้ยงดูลูกศัตรูหรือลูกคนพาลจะได้รับความเดือดร้อนในภายหลัง. |
กระจง | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Tragulidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่เล็กที่สุด กระเพาะมี ๓ ส่วน รูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวบนที่แหลมคมงอกออกมาซึ่งมีผู้นิยมใช้เป็นเครื่องราง มี ๒ ชนิด คือ กระจงควาย [ Tragulus napu (Cuvier) ] สูงประมาณ ๓๕ เซนติเมตร และกระจงเล็ก [ T. javanicus (Osbeck) ] สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร, พายัพเรียก ไก้. |
กระชัง ๒ | น. เครื่องสำหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นกง ๔ อัน แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะเป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบเพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกรํ่า เมื่อจับปลาหรือกุ้งได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่ากระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สำหรับจับปลาขนาดใหญ่มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยนํ้าไว้. |
กระต่าย ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Leporidae หูและขนยาว ในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวที่อาศัยอยู่ในป่า คือ กระต่ายป่า ชนิด Lepus peguensis Blyth ขนสีนํ้าตาล ใต้หางสีขาว อาศัยอยู่ในโพรงดินเหมือนกระต่ายต่างประเทศ ที่นำมาเลี้ยงตามบ้านซึ่งมีหลายชนิดและหลายสี เช่น ชนิด Oryctolagus cuniculus (Linn). |
กระแต ๓ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Tupaiidae รูปร่างคล้ายกระรอกแต่เล็กกว่า ปากแหลม ไม่มีฟันแทะ กินทั้งสัตว์และผลไม้ มีหลายสกุลและหลายชนิดที่พบทั่วไปได้แก่ ชนิด Tupaia glis (Diard) พวกที่พบน้อยกว่าได้แก่ กระแตเล็ก ( T. minor Günther) กระแตหางหนู [ Dendrogale murina (Schlegel & Müller) ] กระแตหางขนนก ( Ptilocercus lowi Gray) |
กระถิก, กระถึก | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Sciuridae เป็นกระรอกขนาดเล็ก ขนสีนํ้าตาล มีแถบสีน้ำตาลเข้ม ๓ แถบพาดตามยาวลำตัว สลับกับแถบสีน้ำตาลจาง ๆ ๔ แถบ ตั้งแต่สันหลังลงไปถึงข้างลำตัว อาศัยอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ กินแมลงและผลไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ กระถิกขนปลายหูยาว [ Tamiops rodolphe i (Milne-Edwards) ] และกระถิกขนปลายหูสั้น [ T. mxcclellandi (Horsfield) ], กระเล็น ก็เรียก. |
กระรอก | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Sciuridae มีฟันแทะ ส่วนใหญ่ตาโตและใบหูใหญ่ หางยาวเป็นพวง กินผลไม้ มีหลายสกุลและหลายชนิด เช่น กระรอกหลากสี [ Callosciurus finlaysoni (Horsfield) ] พญากระรอกดำ [ Ratufa bicolor (Sparrman) ] . |
กวาง ๑ | (กฺวาง) น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Cervidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องกีบคู่ มีหลายชนิด รูปร่างลำตัวเพรียว คอยาว ขายาว หางสั้น ตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้ ผลัดเขาปีละครั้ง ชนิดที่พบทั้งตัวผู้และตัวเมียมีเขา ได้แก่ กวางเรนเดียร์ [ Rangifer tarandus (Linn.) ] ชนิดที่ตัวเมียไม่มีเขา ได้แก่ กวางป่าหรือกวางม้า ( Cervus unicolor Kerr) ส่วนพวกที่ตัวผู้และตัวเมียไม่มีเขา ได้แก่ กวางชะมด (Moschus spp.) และกวางวอเตอร์เดียร์ ( Hydropotes inermis Swinhoe). |
กวางผา | (กฺวาง-) น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral (Hardwicke) ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า เขาตัวผู้ยาวกว่าตัวเมีย ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. |
กุย ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Saiga tatarica (Linn.) ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง หัวใหญ่ ตัวอ้วน มีเขาเฉพาะตัวผู้ รูปร่างคล้ายพิณฝรั่ง สีขาวนวลโปร่งแสง มีวงเป็นข้อนูนต่อเนื่องกันจากโคนถึงปลาย จมูกลักษณะคล้ายกระเปาะ พองมีสันตามยาว หางสั้นมาก มีถิ่นกำเนิดในแถบไซบีเรียตอนใต้ มองโกเลียตะวันตก และจีนตะวันตกเฉียงเหนือ ไม่พบในประเทศไทย เขามีราคาแพง ใช้ทำยาได้. |
แกะ ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Ovis วงศ์ Bovidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องรูปร่างคล้ายแพะ แต่ไม่มีเครา มีเขา ๑ คู่ ไม่ผลัดเขา มีขนาดใหญ่โค้งงอ ปลายบิดไปข้างหน้า โคนเขาถึงประมาณกลางเขามีวงนูนลักษณะคล้ายพาลี ขนบนลำตัวยาวและอ่อนนุ่ม ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม ชนิดที่นำเลี้ยง ได้แก่ ชนิดย่อย Ovis amon aries Linn. |
คร่ำ ๑ | (คฺรํ่า) ว. เรียกของเหลวในถุงเยื่อหุ้มลูกในมดลูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทำหน้าที่ลดผลการกระทบกระแทก และช่วยหล่อลื่นในตอนคลอดเป็นต้น ว่า นํ้าครํ่า เรียกถุงเยื่อหุ้มที่บรรจุน้ำคร่ำ ว่า ถุงน้ำคร่ำ. |
ควาย | (คฺวาย) น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Bubalus bubalis Linn. ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดใหญ่กีบคู่ ลำตัวสีดำหรือเทา เขาโค้งยาว ไม่ผลัดเขา ที่ใต้คางและหน้าอกมีขนขาวเป็นรูปง่าม ครึ่งล่างของขาทั้งสี่มีขนสีขาวหรือขาวอมเทา |
ค่าง | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Cercopithecidae ลักษณะคล้ายลิง ขนสีเทาหรือดำ ลำตัว แขน ขา และหางยาวกว่าลิงทั่ว ๆ ไป กินใบไม้และบางครั้งผลไม้ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ ค่างดำ [ Presbytis melalophos (Raffles) ] ค่างแว่นถิ่นใต้ [ P. obscura (Reid) ] ค่างหงอกหรือค่างเทา [ P. cristata (Raffles) ] และค่างแว่นถิ่นเหนือ ( P. phayrei Blyth). |
ค้างคาว ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดและหลายวงศ์ ลำตัวมีขนปุย ปีกเป็นแผ่นหนังขนาดใหญ่ เวลาเกาะจะห้อยหัวลง หากินในเวลากลางคืน เช่น ค้างคาวแม่ไก่ป่าฝนหรือค้างคาวแม่ไก่ใหญ่ [ Pteropus vampyrus (Linn.) ] ในวงศ์ Pteropodidae, ค้างคาวลูกหนูบ้าน [ Pipistrellus javanicus (Gray) ] ในวงศ์ Vespertilionidae. |
เงือก ๓ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Bucerotidae ปากใหญ่ บนส่วนท้ายของขากรรไกรบนมีโหนกแข็ง ส่วนใหญ่ภายในโหนกแข็งกลวง ยกเว้นบางชนิดมีโหนกแข็งตัน เช่น นกชนหิน ส่วนใหญ่ลำตัวสีดำ นอกฤดูผสมพันธุ์อยู่รวมกันเป็นฝูง ขณะบินมีเสียงดัง ระยะเริ่มตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหาร ดิน และมูลปิดปากโพรงด้านใน ตัวผู้ใช้วัสดุเดียวกันปิดปากโพรงทางด้านนอก เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหาอาหารมาป้อนให้ขณะที่ตัวเมียฟักไข่และเลี้ยงลูกได้ ร้องเสียงดังมาก กินผลไม้และสัตว์ขนาดเล็ก เช่น เงือกกรามช้าง [ Rhyticeros undulatus (Shaw) ] เงือกหัวแรด ( Buceros rhinoceros Linn.) เงือกสีน้ำตาล [ Ptilolaemus tickelli (Blyth) ] เงือกดำ [ Anthracoceros malayanus (Raffles) ]. |
จิงโจ้ ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Macropodidae ขาคู่หน้าสั้น คู่หลังยาวและแข็งแรง ใช้กระโดดได้ไกล ๆ หางยาวและแข็งแรงใช้เป็นอวัยวะช่วยในการทรงตัว ตัวเมียออกลูกเป็นตัว ไม่มีรก มีถุงที่หน้าท้องสำหรับใส่ลูก มีหลายชนิด เช่น ชนิด Macropus rufus (Desmarest) มีถิ่นกำเนิดในทวีปออสเตรเลีย. |
ชะนี ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hylobatidae แขนยาวมาก ไม่มีหาง ขนยาวนุ่ม เดินตัวตั้งตรงได้ ห้อยโหนอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ ร้องเสียงดัง แสดงถึงอาณาเขตของแต่ละคู่ แต่ละชนิดมีเสียงร้องไม่เหมือนกัน กินผลไม้และใบไม้ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ชะนีมือขาว [ Hylobates lar (Linn.) ] ขนลำตัวสีดำหรือนํ้าตาล ชะนีหัวมงกุฎหรือชะนีมงกุฎ ( H. pileatusGray) ขนตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีเทา และชะนีมือดำหรือชะนีคิ้วขาว ( H. agilisF. Cuvier) ขนลำตัวสีดำ นํ้าตาล หรือเทา. |
ชะมด ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae หน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาว มีลายเป็นปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้อวัยวะเพศ มักหากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด [ Viverricula malaccensis (Gmelin) ] เป็นชนิดที่ใช้นํ้ามันจากต่อมกลิ่นทำเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง ( Viverra zibetha Linn.), ชะมดแผงสันหางดำ ( V. megaspila Blyth), อีสานเรียก เห็นอ้ม. |
ช้าง ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุด ในวงศ์ Elephantidae ผิวหนังหนา สีดำหรือดำอมเทา รับสัมผัสได้ไว ขนสีดำ จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง ปลายงวงมีจะงอยสำหรับจับสิ่งของ ขมับทั้ง ๒ ข้างมีรูเปิดของต่อมน้ำมัน จะมีน้ำมันไหลออกมาเมื่อถึงวัย ขาใหญ่เป็นลำ กินพืช มี ๒ ชนิด คือ ช้างเอเชียและช้างแอฟริกา. |
ตัวตืด | น. ชื่อพยาธิหลายชนิดหลายวงศ์ ในชั้น Cestoda ตัวแบนเป็นปล้องเรียงต่อกันเป็นแถบยาว หัวมีอวัยวะใช้เกาะยึด ถัดมาลำตัวเป็นปล้อง จำนวนปล้องแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ ๒-๓ ปล้อง จนถึง ๑, ๐๐๐ ปล้อง ปล้องท้ายสุดเกิดก่อน ปล้องถัดจากคอเกิดหลังสุด มักอาศัยดูดอาหารในลำไส้ของมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทำให้เป็นโรคโลหิตจาง ถ้ามีจำนวนมากจะไปกั้นทางเดินอาหาร ทำให้ปวดท้องอย่างรุนแรง ชนิดที่อยู่ในคน เช่น ชนิด Taenia solium Linn. ซึ่งตัวอ่อน เรียก เม็ดสาคู อยู่ในเนื้อหมู ชนิด T. saginata Goeze ซึ่งตัวอ่อนอยู่ในเนื้อวัว, ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Taeniidae และเป็นพยาธิในลำไส้เล็กของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด. |
ตุ่น ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Talpa micrura Hodgson ในวงศ์ Talpidae รูปร่างคล้ายหนูตะเภา ลำตัวอ้วนป้อม หัวเล็ก ตาเล็กมาก จมูกแหลม ขนอ่อนนุ่ม เล็บตีนหน้ายาวใหญ่เห็นได้ชัด ขุดรูเป็นที่อยู่อาศัย กินพืช, ติ่ง ก็เรียก. |
นม ๑ | น้ำนม เช่น เลี้ยงลูกด้วยนม |
นาก ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Mustelidae ขนลำตัวสีนํ้าตาลอมเทา มี ๒ ชั้น ชั้นในละเอียด ชั้นนอกหยาบ หัวกว้างและแบน ระหว่างนิ้วมีแผ่นพังผืดคล้ายตีนเป็ด หางแบน ขาหลังใหญ่และแข็งแรงกว่าขาหน้า ใช้ว่ายนํ้าร่วมกับหาง ไล่จับปลาและสัตว์นํ้าเล็ก ๆ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด ที่มีจำนวนมากและรู้จักกันทั่วไป คือ นากใหญ่ขนเรียบ (Lutra perspicillata Geoffroy) และนากเล็กเล็บสั้น [ Aonyx cinerea (Illiger) ]. |
น้ำคร่ำ | น. ของเหลวในถุงเยื่อหุ้มลูกในมดลูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทำหน้าที่ลดผลการกระทบกระแทก และช่วยหล่อลื่นในตอนคลอดเป็นต้น, เรียกถุงเยื่อหุ้มที่บรรจุน้ำคร่ำว่า ถุงน้ำคร่ำ. |
น้ำนม | น. ของเหลวสีขาวออกมาจากนมคนและสัตว์ สำหรับเลี้ยงลูก |
น้ำเลี้ยง | น. ของเหลวที่หล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น นํ้าเลี้ยงลูกตา นํ้าเลี้ยงลำต้น. |
บ่าง | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Cynocephalus variegatus (Audebert) ในวงศ์ Cynocephalidae รูปร่างคล้ายกระรอก แต่มีหนังเป็นพังผืด ๒ ข้างของลำตัวตั้งแต่คอไปถึงปลายนิ้วตีนและปลายหางสำหรับใช้กางออกคล้ายปีก ถลาร่อนจากที่สูงมายังที่ตํ่าได้ค่อนข้างไกล ขนนุ่มสีนํ้าตาลคลํ้าหรือนํ้าตาลจางเป็นหย่อม ๆ ทั่วไป เล็บโค้งแหลมใช้ปีนป่ายต้นไม้ หากินในเวลากลางคืน กลางวันมักหลบอยู่ตามโพรงไม้หรือเกาะห้อยอยู่ตามพุ่มทึบ, พุงจง หรือ พะจง ก็เรียก. |
พะยูน | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Dugong dugon (Müller) ในวงศ์ Dugongidae ลำตัวอ้วนกลม เรียวยาวไปทางหาง มีขนเฉพาะที่บริเวณใกล้ปาก รยางค์คู่หน้าเป็นแผ่นคล้ายใบพายไม่เห็นเป็นนิ้ว รยางค์คู่หลังไม่โผล่ให้เห็น หางเป็นแฉกแผ่กว้างแบนลง ตัวอาจยาวได้ถึง ๓ เมตร สีเทาดำแกมฟ้า อาศัยอยู่ในทะเลชายฝั่ง กินพืชนํ้าพวกหญ้าทะเล เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง, เงือก วัวทะเล หมูนํ้า หรือ ดูกอง ก็เรียก. |
พังพอน | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในสกุล Herpestes วงศ์ Viverridae ขนลำตัวหนาสีนํ้าตาลหรือเทา หัวแหลม หางยาวเป็นพวง เคลื่อนไหวเร็วมาก กินสัตว์ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ พังพอนธรรมดา [ H. javanicus (Geoffroy) ] ตัวเล็ก สีนํ้าตาล และพังพอนกินปูหรือพังพอนยักษ์ [ H. urva (Hodgson) ] ตัวใหญ่สีเทา มีแต้มขาวที่ด้านข้างลำคอ. |
แพะ ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในสกุล Capraวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องกีบคู่ขนาดกลาง ขนลำตัวหยาบสีดำ ขาว หรือนํ้าตาล มีเขา ๑ คู่ ตัวผู้มีเครา หางสั้น มีความอดทน แข็งแรง และทนทานต่อโรคได้ดีกว่าสัตว์กีบคู่อื่น ๆ สามารถปีนป่ายที่สูงโดยเฉพาะโขดหินหรือภูเขาได้ดี ที่นิยมนำมาเลี้ยง เช่น ชนิด Capra aegagrus hircus Linn. |
ม้า ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Equus caballus (Linn.) ในวงศ์ Equidae มีกีบเดี่ยว รูปร่างสูงใหญ่ ขายาว หางเป็นพู่ มีขนแผงคอยาววิ่งได้เร็ว ใช้เป็นพาหนะขับขี่และเทียมรถ |
ม้าลาย | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Equus วงศ์ Equidae รูปร่างคล้ายม้าแต่มีลายสีดำและสีขาวพาดขวางลำตัวตัดกันเห็นได้ชัดเจน จมูกดำ ขนแผงคอสั้น ใบหูและตาโต กีบเท้าเป็นกีบเดี่ยวกลมเล็ก ขนหางยาวเป็นพวงเฉพาะตอนครึ่งปลายของหาง ส่วนโคนหางมีขนสั้น อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงตามทุ่งหญ้า ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา มีหลายชนิด เช่น ชนิด E. grevyi (Oustalet) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ชนิด E. burchelli (Gray) เป็นชนิดที่นิยมนำมาเลี้ยงตามสวนสัตว์ทั่ว ๆ ไป. |
เม่น | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hystricidae มีฟันแทะขนาดใหญ่ ลำตัวมีขนแหลมแข็ง ขนครึ่งท้ายลำตัวยาวกว่าด้านหน้า ขาสั้น ขาหน้ามีเล็บแข็งแรงใช้ขุดดิน กินพืช ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ เม่นใหญ่แผงคอยาว (Hystrix brachyuraLinn.) เม่นใหญ่แผงคอสั้น [ H. hodgsoni (Gray) ] และเม่นหางพวง [ Atherurus macrourus (Linn.) ]. |
แม่ตะงาว | น. ชื่องูขนาดกลางชนิด Boiga multomaculata (Boie) ในวงศ์ Colubridae ยาวประมาณ ๑.๘ เมตร หัวโต ตาโต ตัวยาวเรียวสีนํ้าตาลอ่อน มีลายแต้มสีนํ้าตาลเข้มเป็นจุดใหญ่ ๆ ตลอดตัวคล้ายงูแมวเซา ออกหากินในเวลากลางคืน มักพบอยู่บนต้นไม้ กินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็ก ไข่นก และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก มีพิษอ่อน. |
แมว ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Felis catus Linn. ในวงศ์ Felidae หัวกลมและสั้น มีเขี้ยว ๒ คู่ ขนยาวนุ่ม ตีนหน้ามี ๕ นิ้ว ตีนหลังมี ๔ นิ้ว ซ่อนเล็บได้ หางยาว สั้น หรือขอด มีหลายสี เช่น ดำ ขาว นํ้าตาล หรืออาจมีลายต่าง ๆ ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้ตามบ้าน แมวไทยที่สวยงามและมีชื่อเสียงมากเช่น แมวสีสวาด แมววิเชียรมาศ |
แมวดาว | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Felis bengalensis Kerr ในวงศ์ Felidae ขนาดโตกว่าแมวบ้านเล็กน้อย ขนสั้นสีเหลือง มีจุดดำทั่วตัว ใต้ท้องสีขาว. |
แมวป่า | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Felis chaus Guldenstaedt ในวงศ์ Felidae ขนาดใหญ่กว่าแมวบ้าน สีนํ้าตาลอมเทาหรือนํ้าตาลอมเหลือง หูตั้งชัน มีพู่ขนสีดำที่ปลายหู, เสือกระต่าย หรือ เสือบอง ก็เรียก. |
แมวน้ำ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Phocidae ไม่มีใบหู และในวงศ์ Otaliidae มีใบหู ทั้ง ๒ วงศ์ รูปร่างอ้วนใหญ่ มีหนวดคล้ายแมว ขาคล้ายพาย คู่หน้าสั้น คู่หลังลู่ไปตามลำตัว ใช้ว่ายน้ำและคืบคลานหรือกลิ้งตัวไปตามพื้นได้ดี หางเป็นติ่ง อาศัยอยู่ตามชายฝั่งในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว กินปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ชนิดที่แพร่หลาย คือ ชนิด Phoca vitulina (Linn.). |
ยีราฟ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชนิด Giraffa camelopardalis (Linn.) ในวงศ์ Giraffidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องกีบคู่ คอยาวมาก มีเขา ๑ คู่ ซึ่งมีหนังและขนคลุม ลำตัวลายมีสีต่าง ๆ กัน โดยมากเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองหรือน้ำตาลเข้มลักษณะเป็นดอกหรือเป็นตาราง ปลายหางเป็นพู่ อยู่รวมกันเป็นฝูง มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา. |
รัง ๒ | น. สิ่งซึ่งสัตว์พวกนก หนู และแมลงเป็นต้นทำขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยกำบังและฟักไข่เลี้ยงลูก, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รังโจร รังรัก. |
แรด ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Rhinocerotidae เป็นสัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่แต่ละขา มี ๓ นิ้ว ขาสั้น ตาเล็กสายตาไม่ดี หูตั้ง ประสาทรับฟังเสียงและดมกลิ่นดีมาก หนังหนา มีทั้งชนิดนอเดียวและ ๒ นอ กินพืช มักนอนในปลัก ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด ชนิดที่มีนอเดียว เรียกว่า แรดนอเดียวหรือแรดชวา (Rhinoceros sondaicus Desmarest) และชนิดที่มี ๒ นอ เรียกว่า กระซู่ [ Dicerorhinus sumatrensis (Fischer) ]. |
ลา ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Equidae รูปร่างคล้ายม้าแต่ตัวเล็กกว่า หูยาว ปลายหางเป็นพู่ ขนแผงคอสั้นตั้งตรง ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาลำตัวสีเทา เช่น ชนิด Equus asinus (Linn.) และทวีปเอเชียลำตัวสีเหลืองเข้มจนถึงสีน้ำตาลอมแดง เช่น ชนิด E. hemionus (Pallas) ที่นิยมนำมาเลี้ยง เช่น ชนิดย่อย E.a. asinus (Linn.) |
ลิง ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายสกุลในอันดับ Primates ลักษณะคล้ายคน แขนขายาว ตีนหน้าและตีนหลังใช้จับเกาะได้ มีทั้งชนิดที่มีหาง เช่น ลิงวอก [ Macaca mulatta (Zimmermann) ] และชนิดที่ไม่มีหาง เช่น กอริลลา (Gorilla gorilla Savage & Wyman). |
ลิงลม | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Nycticebus coucang (Boddaert) ในวงศ์ Lorisidae ขนนุ่มหนาสีเทามีลายสีน้ำตาล ตากลมโต ขาหน้าและขาหลังสั้นแต่แข็งแรง เล็บแบน แต่นิ้วชี้ของขาหลังมีเล็บยาวโค้งแหลมเห็นได้ชัด นิ้วชี้ของขาหน้าสั้นกว่านิ้วอื่น ๆ ดูคล้ายติ่ง หางสั้นมาก เคลื่อนไหวเชื่องช้าและนอนในเวลากลางวัน แต่ว่องไวเมื่อออกหากินในเวลากลางคืน จับเหยื่อได้ไวมาก กินแมลง สัตว์เล็ก ๆ และผลไม้, นางอาย หรือ ลิงจุ่น ก็เรียก. |
ลิ่น | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Manidae ตัวยาว เกล็ดใหญ่หนาแข็งซ้อนเหลื่อมกัน หน้าแหลม เล็บหนายาวโค้งปลายแหลมใช้ขุดดินและปีนต้นไม้ หางยาวม้วนงอได้ เมื่อตกใจหรือป้องกันศัตรูจะม้วนตัวกลม ลิ้นยาวเป็นเส้นมีน้ำลายเหนียวใช้จับมดและปลวก แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มี ๒ ชนิด คือ ชนิด Manis javanica Desmarest และชนิด M. pentadactyla Linn. ชนิดหลังตัวเล็กกว่าเล็กน้อยและมีโอกาสพบได้น้อยกว่าชนิดแรก, นิ่ม ก็เรียก. |
เลี้ยง | ก. ดูแล, เอาใจใส่, บำรุง, เช่น เลี้ยงกล้วยไม้, ปรนปรือด้วยอาหารการกินเป็นต้น เช่น เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงลูก, เลี้ยงดู ก็ว่า |
เลียงผา ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Capricornis sumatraensis (Bechstein) ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง รูปร่างคล้ายแพะ ขนสีดำ บางตัวมีสีขาวแซม มีต่อมนํ้ามันตรงส่วนหน้าของตาทั้ง ๒ ข้าง มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย ขายาวและแข็งแรง อาศัยอยู่ตามภูเขาหรือหน้าผาสูง ๆ เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย, กูรำ โครำ เยือง หรือ เยียงผา ก็เรียก. |
โลมา ๒ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับ Cetacea อันดับย่อย Odontoceti มีหลายชนิด หลายวงศ์ ลำตัวใหญ่ บางชนิดปลายจะงอยปากยื่นแหลม บางชนิดหัวกลมมน มีฟัน หางแบนเพื่อช่วยในการพุ้ยน้ำ มักมีครีบหลัง ๑ ครีบ หายใจด้วยปอด อาศัยอยู่ในทะเล เช่น โลมาขาวเทา [ Sotalia plumbea (Cuvier) ] ในวงศ์ Stenidae โลมาหัวขวด (Delphinus delphis Linn.) โลมาอิระวดี [ Orcaella brevirostris (Gray) ] อาศัยอยู่ได้ในน้ำจืด เช่น ทะเลสาบในจังหวัดพัทลุง และแม่น้ำโขง ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Delphinidae โลมาหัวบาตร [ Neophocaena phocaenoides (Cuvier) ] ในวงศ์ Phocaenidae, ปลาโลมา ก็เรียก. |
Breast feeding | การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมารดา [TU Subject Heading] |
Mammals | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม [TU Subject Heading] |
Marine mammals | สัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม [TU Subject Heading] |
Aqueous | น้ำเลี้ยงลูกตา [การแพทย์] |
Breast Feeding | เลี้ยงลูกด้วยนมมารดา;น้ำนมมารดา, การเลี้ยงลูก;การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่;การให้นมมารดา;ให้นมมารดา;ให้นมบุตร;การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ [การแพทย์] |
graafian follicle | กราเฟียนฟอลลิเคิล, กลุ่มเซลล์ภายในรังไข่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมซึ่งเป็นที่อยู่ของไข่ หลังจากปล่อยไข่ออกไปแล้วกราเฟียนฟอลลิเคิลกลายเป็นคอร์ปัสลูเทียม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
corpus luteum | คอร์ปัสลูเทียม, กลุ่มเนื้อเยื่อภายในรังไข่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากกราเฟียนฟอลลิเคิลที่ปล่อยไข่ออกไปจากรังไข่แล้ว ถ้าไข่ได้รับการผสม คอร์ปัสลูเทียมก็จะผลิตฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนเพื่อควบคุมการตั้งครรภ์ จนหมดหน้าที่ก็จะสลายไป ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสมคอร์ปั [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cerebrum | เซรีบรัม, ส่วนหนึ่งของสมองส่วนหน้าของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม โดยเฉพาะคน สมองส่วนนี้จะมีรอยหยักเป็นร่องมาก เซรีบรัมมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ความรู้สึก การดมกลิ่น และความจำ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
egg cell | เซลล์ไข่, เซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของสิ่งมีชีวิต มีขนาดต่าง ๆ กัน เช่น เซลล์ไข่ของนกและสัตว์เลื้อยคลานมีขนาดใหญ่ เนื่องจากมีไข่แดง ส่วนเซลล์ไข่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและพืชมีขนาดเล็กมาก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
pineal gland | ต่อมไพเนียล, ต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง อยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างซีรีบรัมพูซ้ายและพูขวา ในสัตว์ชั้นต่ำทำหน้าที่รับแสง ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเมลาโทนิน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
yolk sac | ถุงไข่แดง, ถุงเก็บอาหารสะสมในเอ็มบริโอของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สำหรับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ถุงไข่แดงจะไม่เจริญมากนักและไม่ได้สะสมอาหาร เพราะเอ็มบริโอได้รับอาหารจากแม่โดยตรง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
scrotum | ถุงอัณฑะ, ผิวหนังที่มีลักษณะเป็นถุงห่อหุ้มอัณฑะเอาไว้ พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิด ทำหน้าที่ช่วยพยุงอัณฑะเอาไว้นอกช่องท้องเพื่อให้อุณหภูมิภายในอัณฑะต่ำกว่าอุณหภูมิภายในร่างกาย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fetus | ฟีตัส, เอ็มบริโอของคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ระยะที่อวัยวะต่าง ๆ ครบถ้วนแล้ว แต่ยังอยู่ในท้องแม่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
uterus | มดลูก, อวัยวะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเพศเมีย เป็นที่ฝังตัวของเอ็มบริโอ เพื่อเจริญเติบโตต่อไป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
placenta | รก, บริเวณที่เนื้อเยื่อชั้นนอกของเอ็มบริโอของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเจริญมาพบกับผนังมดลูกของแม่ เป็นที่แลกเปลี่ยนอาหารแก๊ส และของเสียระหว่างเอ็มบริโอและแม่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
menstrual cycle | รอบระดู, รอบประจำเดือน, ระยะเวลาครบรอบแต่ละครั้งที่ผนังชั้นในของมดลูกหลุดออก แล้วถูกขับออกมาทางช่องคลอดในกรณีที่ไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ในสัตว์ต่างชนิดกันจะมีรอบประจำเดือนไม่เท่ากัน คนมีรอบประจำเดือน 28 วัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
tricuspid valve | ลิ้นไตรคัสปิด, ลิ้นที่อยู่ระหว่างห้องบนของหัวใจด้านขวาและห้องล่างของหัวใจด้านขวาของหัวใจสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
bicuspid valve | ลิ้นไบคัสปิด, ลิ้นที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนด้านซ้ายและหัวใจห้องล่างด้านซ้ายในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
mammal | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม, สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ตัวเมียมีต่อมน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูกอ่อน เช่น ช้าง คน ปลาวาฬ ปลาโลมา ค้างคาว เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
umbilical cord | สายสะดือ, โครงสร้างที่ติดต่อระหว่างเอ็มบริโอกับรกซึ่งมีลักษณะเป็นสายหุ้มรอบเส้นเลือดใหญ่ มีเฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
oxytocin | ออกซิโทซิน, ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง ทำหน้าที่กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะภายในหลายชนิด เช่น ช่วยในการเคลื่อนที่ของอสุจิจากในช่องคลอด ช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัวขณะคลอด และช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อรอบ ๆ ต่อมน้ำนมให้ขับน้ำนมออกมาเลี้ยงลูก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
secondary oocyte | โอโอไซต์ระยะที่สอง, เซลล์เปลี่ยนแปลงมาจากโอโอไซต์ระยะแรก และจะเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นเซลล์ไข่ แต่ในสัตว์บางชนิด เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม โอโอไซต์ระยะที่สองคือ เซลล์ไข่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
allantois | แอลแลนทอยส์, ถุงที่เจริญออกมาจากตัวเอ็มบริโอของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังชั้นสูง ที่ถุงนี้มีหลอดเลือดมาเลี้ยงมากมาย ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สและเก็บสะสมของเสียจากเอ็มบริโอ สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ถุงนี้จะไม่เจริญมากนัก เพราะเอ็มบริโอเจริญในมดลูกจึงมีรกทำหน้าที่แลกเปล [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
casein | เคซีน, โปรตีนสำคัญชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เป็นโปรตีนประเภทฟอสโฟโปรตีน เคซีนมีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย 0.7% [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
homeothermic animal [ homoiothermic animal ] | สัตว์เลือดอุ่น, สัตว์ที่สามารถรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในระดับคงที่แม้ว่าอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมภายนอกจะเปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hair [ fur ] | ขน, ขนสัตว์, ขนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีลักษณะเป็นเส้น เช่น เส้นผม หนวด ขนแกะ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
lactogenic hormone (LTH) [ prolactin ] | แลกโทเจนิกฮอร์โมน (แอลทีเอช), ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่กระตุ้นต่อมน้ำนมให้สร้างน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูกอ่อน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
mammary gland | ต่อมน้ำนม, ต่อมสำหรับผลิตน้ำนมในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Mammalian Tissues | เนื้อเยื่อของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม [การแพทย์] |
Mammals | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม [การแพทย์] |
Mammologists | นักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม [การแพทย์] |
aardvark | (n) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่หากินเวลากลางคืน กินมดและปลวกเป็นอาหาร มีลิ้นยาวมาก อุ้งเท้าแข็งแรงและหูยาว |
aardwolf | (n) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในแอฟริกาคล้ายหมาป่า กินแมลงเป็นอาหาร |
ape | (n) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตระกูลมนุษย์และลิง (คำไม่เป็นทางการ) |
cetacean | (adj) ที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำที่เลี้ยงลูกด้วยนม (เช่น ปลาวาฬ), Syn. blower, cetacean mammal |
doe | (n) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเมีย (ประเภทกวาง, ละมั่ง, แพะ, กระต่าย, และอื่นๆ), Syn. stag, hart, buck |
dug | (n) เต้านมหรือหัวนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเมีย, Syn. udder, mammary gland |
echidna | (n) ตัวตุ่น, See also: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมของออสเตรเลีย กินแมลง มีจมูกยาว มีขนหยาบและหนามยาว, Syn. spiny anteater |
edentate | (n) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ไม่มีฟัน, See also: สัตว์จำพวก Edentata มีฟันเล็กน้อยหรือไม่มีฟันเช่น ตัวกินมด |
Eocene | (adj) เกี่ยวกับยุคแรกเริ่มที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมถือกำเนิดขึ้นมา |
Eocene | (n) ยุคแรกเริ่มที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมถือกำเนิดขึ้นประมาณ 56.5 ถึง 35.4 ล้านปีมาแล้ว |
ermine | (n) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง |
estrus | (n) ช่วงที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพศเมียมีความต้องการทางเพศ (ซึ่งอยู่ในช่วงที่สัตว์หาคู่ผสมพันธุ์), Syn. oestrus |
Jurassic | (adj) เกี่ยวกับยุคเมโสโซอิคที่มีไดโนเสาร์ นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเมื่อ 190-140 ล้านปีก่อน, See also: จูราสสิก |
kangaroo | (n) จิงโจ้, See also: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีกระเป๋าหน้าท้อง |
kinkajou | (n) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง, See also: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีถิ่นอาศัยในทวีปอเมริกากลางและใต้, Syn. honey bear |
mammal | (n) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, Syn. beast, creature, vertebrate |
mammalian | (adj) ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม |
mammology | (n) การศึกษาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (ทางสัตววิทยา) |
marsupial | (n) สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องเลี้ยงลูกจำพวก Marsupialia, Syn. kangaroo, wallaby |
mastodon | (n) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตระกูล Mastodontidae สูญพันธุ์แล้ว |
mastodonic | (adj) เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตระกูล Mastodontidae สูญพันธุ์แล้ว |
okapi | (n) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม |
pod | (n) ฝูงนก, See also: ฝูงสัตว์น้ำ ที่เลี้ยงลูกด้วยนม |
polecat | (n) สัตว์คล้ายแมวเลี้ยงลูกด้วยนมจำพวก Mustaia puturius |
primate | (n) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, Syn. anthropoid, man |
proboscidian | (n) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวก Proboscidea เช่น ช้าง |
sable | (n) สัตวสี่เท้าเลี้ยงลูกด้วยนมคล้ายแมวจำพวก Martes zibellina, Syn. marten |
sable | (n) หนังขนสัตว์สี่เท้าเลี้ยงลูกด้วยนมจำพวก Martes zibellina |
sloth | (n) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตระกูล Bradypus Choloepus |
squib | (vt) เลี้ยงลูกฟุตบอลไปมา |
udder | (n) เต้านม (ของสัตว์เลี้ยง), See also: เต้านมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, Syn. mammary of cow, sheep, or goat |
whelp | (n) ลูกสัตว์ (โดยเฉพาะสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมและกินเนื้อ), Syn. puppy, young animal, youngster, pup |
whelp | (vi) ออกลูก (ใช้กับสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมและกินเนื้อ) |
whelp | (vt) ออกลูก (ใช้กับสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมและกินเนื้อ) |
wolverine | (n) สัตว์กินเนื้อตระกูล weasel, See also: เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแถบอเมริกาเหนือ ชื่อละตินคือ Gulo gulo, Syn. glutton |
aardvark | (อาร์ด' วาร์ค) n. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่หากินมดและปลวกเป็นอาหาร มีลิ้นยาวมาก อุ้งเท้าที่แข็งแรง และหูที่ยาว (a mammal) |
aardwolf | (อาร์ด' วูลฟ) n. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งในอาฟริกาคล้ายหมา แต่กินแมลงเป็นอาหาร (hyenalike African mammal) |
amphistome | พยาธิใบไม้ชนิดหนึ่งที่พบในสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมที่กินพืช |
animal | (แอน' นิเมิล) n. สัตว์, คนที่คล้ายสัตว์, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, คนที่โหดร้ายคล้ายสัตว์. -adj. เกี่ยวกับสัตว์. -animalic, animalian adj., Syn. creature, beast, Ant. human |
anteater | (แอนทฺ' อีเทอะ) n. ตัวกินมดซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม |
aurtralopithecine | (ออสเทรโลพิ'ธิไซน์) n. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพวกมนุษย์ จำพวก Australopithecus ที่สูญพันธุ์ไป (a primate) |
calf | (คาล์ฟ) n. ลูกวัวลูกควาย, ลูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม -pl. calves |
carnivore | (คาร์'นะวอร์) n. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กินเนื้อเป็นอาหาร, พืชกินแมลง, See also: carnivoral adj. |
chiropter | (ไครอพ'เทอะ) n. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ค้างคาว (bats) -chiropteran n., adj. |
coyote | (ไค'โอท) n. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมคล้ายหมาป่า พบในทวีปอเมริกาเหนือ., Syn. prairie wolf |
dug | (ดัก) v. กริยาช่อง 2 และช่อง 3 ของ dig n. นมหรือหัวนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเมีย, Syn. mamma, nipple |
homo | (โฮ'โม) n. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภท Primates ซึ่งได้แก่ มนุษย์ ลิง ชะน'และ lemur |
kinkajou | (คิง'คะจู) n. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชอบขึ้นต้นไม้หางของมันใช้จับกิ่งไม้ได้เหมือนลิง |
mammal | (แมม'เมิล) n. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม |
mammalian | (มะเม'เลียน, มะแมล'เยิน) n., adj. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, See also: mammality n. |
mammalogy | (มะแมล'โลจี) n. วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม |
mastodon | (แมส'ทะดอน) n. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่คล้ายช้าง สูญพันธ์แล้ว |
maw | (มอ) n. ปาก คอ คอหอยหรือหลอดอาหารของสัตว์ (โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กินเนื้อเป็นอาหาร) , กระเพาะใต้ลำคอไก่หรือเป็ด, กระเพาะ |
okapi | (โคคา'พี) n. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมคล้ายยีราฟแต่คอสั้นกว่า |
pangolin | (แพง'โกลิน) n. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีเกล็ดกว้างใหญ่ ซ้อนกัน มันกินมดที่มีลำตัวเป็นเกล็ดใหญ่., Syn. scaly aneater |
primate | (ไพร'เมท) n. อาร์บิชอพ, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทหนึ่งได้แก่คนลิงและlemur., See also: primatal adj. primatial, primatical adj. |
skunk | (สคังคฺ) n. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กสีดำ หนังขนมีกลิ่นเหม็นและมีแถบสีขาวรูปตัว"V", บุคคลที่น่ารังเกียจอย่างมาก.vt. ทำให้พ่ายแพ้สิ้นเชิง, Syn. rotter, scoudrel |
x chromosome | โครโมโซมเพศที่มียีน (genes) กำหนดลักษระเฉพาะของเพศในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มักปรากฎเป็นคู่ในเพศหญิง และเป็นเดี่ยวในเพศชาย |
y chromosome | โครโมโซมเพศที่มียีน (genes) ที่เป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะของเพศชาย (ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่) ปรากฎโดดเดี่ยวและพบในผู้ชายเท่านั้น |