เสียงขู่ | (n) threat, See also: hiss, threatening sound/voice/tone, Example: งูมักจะส่งเสียงขู่ เมื่อมีคนเข้าไปใกล้ |
คำราม | ก. ทำเสียงขู่ เช่น เสือคำราม. |
ง่ำ, ง่ำ ๆ | ว. เสียงขู่ของหมาที่กำลังกินข้าว. |
แง่ง ๒, แง่ง ๆ | ว. เสียงขู่ของหมาเมื่อจะกัดกันในเวลาแย่งอาหารกันเป็นต้น. |
ปี่แก้ว | น. ชื่องูขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในสกุล Oligodon วงศ์ Colubridae หัวหลิมเล็ก คอโต หางสั้น แต่ละชนิดมีสีสันและลวดลายต่างกัน อาศัยอยู่ตามซอกหินซอกดิน หากินตามพื้นดิน กินไข่นก ไข่สัตว์เลื้อยคลาน แมลง หนู สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ไม่ขึ้นต้นไม้ ทำเสียงขู่ได้ มีหลายชนิด เช่น ปี่แก้วใหญ่ [ O. joynsoni (Smith) ] ปี่แก้วลายกระหรืองอดด่าง [ O. cinereus (Günther) ] ไม่มีพิษ. |
แมวเซา ๒ | น. ชื่องูพิษขนาดกลางชนิด Daboia russellii (Shaw) ในวงศ์ Viperidae หัวเป็นรูปสามเหลี่ยม ตัวอ้วนสั้นสีนํ้าตาลอมเทา มีลายแต้มสีนํ้าตาลเข้มขอบดำ เขี้ยวพิษยาว เมื่อถูกรบกวนมักทำเสียงขู่ฟู่ยาวคล้ายเสียงยางรถรั่ว อาศัยอยู่บนบก ออกหากินเวลากลางคืน กินกบ เขียด หนู นก และงูบางชนิด มีพิษรุนแรง. |
เห่า ๒ | น. ชื่องูพิษรุนแรงขนาดกลาง ในสกุล Naja วงศ์ Elapidae ขนาดยาวประมาณ ๑.๓-๒ เมตร พบหลายสีต่างกันไปในแต่ละตัว เช่น ดำ นํ้าตาล เขียวอมเทา เหลืองหม่น บางตัวมีลายสีขาวและบางตัวไม่มีลาย สามารถยกตัวท่อนหัวตั้งขึ้นและแผ่บริเวณคอกว้างออกได้ เรียกว่า แผ่แม่เบี้ย ขณะแผ่แม่เบี้ยจะเห็นลายดอกจันบริเวณกลางหัวด้านหลัง ทำเสียงขู่พ่นลมออกทางจมูกดังฟู่ ๆ อาศัยอยู่ตามที่ลุ่ม กินหนู กบ เขียด ลูกไก่ ในประเทศที่พบแล้ว มี ๓ ชนิด คือ เห่าไทย (N. kaouthiaLesson) ส่วนตัวที่มีสีคลํ้า เรียก เห่าหม้อ, เห่าด่างพ่นพิษ (N. siamensis Laurenti) และเห่าทองพ่นพิษ (N. sumatrana Müller) ซึ่งสามารถพ่นฉีดพิษออกจากเขี้ยวพิษได้. |
แหม่ | (แหฺม่) ว. เสียงขู่เด็กเล็ก ๆ ให้กลัว. |
hiss at | (phrv) ทำเสียงขู่ |
snarl | (n) เสียงขู่คำราม, See also: เสียงคำราม, เสียงเห่า, Syn. growl, gnarl |
thunder | (ธัน'เดอะ) n. ฟ้าร้อง, เสียงฟ้าร้อง, เสียงดังสนั่น, เสียงขู่คำราม, การขู่คำราม, vi., vt. (ทำให้เกิด) ส่งเสียงดังสนั่น, ส่งเสียงดังกังวานขู่คำราม, เคลื่อนที่ด้วยเสียงดังสนั่น -Phr. (steal someone's thunder ชิงพูดถึงก่อน, ขโมยใช้สิ่งที่คนอื่นพบก่อน) |