เอกชน | (n) person, See also: individual, Example: คดีแพ่งเป็นเรื่องระหว่างเอกชนต่อเอกชน, Thai Definition: บุคคลคนหนึ่งๆ |
เอกชน | (adj) private, Ant. รัฐบาล, Example: บัณฑิตที่จบใหม่ส่วนใหญ่จะเลือกทำงานในบริษัทเอกชนเกือบทั้งสิ้น, Thai Definition: ส่วนบุคคล |
ภาคเอกชน | (n) private sector, Ant. ภาครัฐบาล, Example: ปัจจุบันรัฐกำลังประสบปัญหาข้าราชการระดับมันสมองหนีออกจากระบบราชการไปทำงานภาคเอกชน, Thai Definition: หน่วยงานส่วนบุคคล |
นักสืบเอกชน | (n) private detective |
องค์กรเอกชน | (n) private organization, See also: private institution, Syn. หน่วยงานเอกชน, Ant. องค์กรของรัฐ, Example: องค์กรเอกชนมักให้ค่าตอบแทนพนักงานในอัตราที่สูง, Count Unit: องค์กร |
องค์การเอกชน | (n) private organization, Example: องค์การเอกชนต่างๆ ต้องปรับปรุงสินค้าและบริการของตนให้เป็นที่พอใจของลูกค้า |
โรงเรียนเอกชน | (n) private school, Example: ในปีการศึกษาใหม่นี้มีโรงเรียนเอกชนหลายโรงที่ปิดตัวลงไป |
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน | (n) Office of Private Education Commission, Syn. สช., Example: จังหวัดสิงห์บุรีมีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนอยู่ 17 โรงเรียนด้วยกัน |
กฎหมายเอกชน | น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างเอกชนหรือระหว่างเอกชนกับรัฐ ในฐานะที่รัฐดำเนินการอย่างเอกชนเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคลตามกฎหมาย สิทธิและหน้าที่ของเอกชน รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์. |
สถาบันอุดมศึกษาเอกชน | น. สถานศึกษาของเอกชนที่ให้การศึกษาระดับปริญญาแก่บุคคลตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไป. |
เอกชน | (เอกกะ-) น. บุคคลคนหนึ่ง ๆ. |
เอกชน | (เอกกะ-) ว. ส่วนบุคคล, ไม่ใช่ของรัฐ, เช่น โรงพยาบาลเอกชน. |
กฎหมายปกครอง | น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชนที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบในทางปกครองของรัฐ และการดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ รวมทั้งวางหลักความเกี่ยวพันในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชน. |
กฎหมายมหาชน | น. กฎหมายที่วางระเบียบโครงสร้างและการปกครองของรัฐหรือการบริหารราชการแผ่นดิน รวมตลอดทั้งความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับเอกชน เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง. |
การคลัง | น. การจัดการเงิน, การคลังแผ่นดิน หรือ การคลังสาธารณะ คือ การจัดการเงินของประเทศ, การคลังเอกชน คือ การจัดการเงินของบุคคล เช่น บริษัท |
การจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ | น. การดำเนินการพัฒนาที่ดินหลายแปลงโดยการวางผังจัดรูปที่ดินใหม่ ปรับปรุงหรือจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และการร่วมรับภาระและกระจายผลตอบแทนอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ โดยความร่วมมือระหว่างเอกชนกับเอกชนหรือเอกชนกับรัฐ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่เหมาะสมยิ่งขึ้นในด้านต่าง ๆ. |
คดีปกครอง | น. คดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนหรือระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากกระทำหรือการละเว้นการกระทำในทางปกครองของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ. |
คลินิก | น. สถานรักษาพยาบาล โดยมากเป็นของเอกชน มักไม่รับผู้ป่วยให้พักรักษาตัวประจำ |
โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานข้อเสนอและแนวทางให้หน่วยงานเอกชนรับไปดำเนินงานและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการพัฒนาหมู่บ้านสหกรณ์เนินดินแดง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. |
จดหมายเหตุ | น. หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน. |
บ้านจัดสรร | น. กลุ่มบ้านซึ่งรัฐหรือเอกชนเป็นผู้ลงทุนสร้างให้ก่อน โดยยอมให้ผู้ซื้อผ่อนชำระก็ได้. |
แผงคอ | น. แผงทำด้วยสักหลาดหรือกำมะหยี่ สำหรับติดคอเสื้อราชปะแตนซึ่งเป็นเครื่องแบบเอกชนที่ขอเข้าเฝ้า หรือเครื่องแบบนิสิตชายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือเครื่องแบบนักเรียนโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยเป็นต้น |
ฟาสซิสต์ | น. ลัทธิการเมืองที่ผู้นำรวบอำนาจทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไว้หมด และมีนโยบายชาตินิยมอย่างรุนแรง แต่เคารพในกรรมสิทธิ์ของเอกชน, ผู้ที่นิยมลัทธินั้น. |
ภาค, ภาค- | (พาก, พากคะ-) น. ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษาภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้านการปกครอง การศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค. |
ภาษีบำรุงท้องที่ | น. ภาษีที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บจากผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือผู้ครอบครองที่ดินที่ไม่ใช่ของเอกชน โดยคำนวณตามจำนวนเนื้อที่ดินที่มีหรือครอบครองตามราคาปานกลางที่ทางราชการประกาศกำหนด. |
รถร่วม | น. รถโดยสารเอกชนที่เข้ามาร่วมกับบริษัทหรือองค์การที่ได้รับสัมปทานในการเดินรถ เช่น รถร่วม บขส. |
รถส่วนบุคคล | น. รถยนต์นั่งที่เอกชนเป็นเจ้าของ. |
ราชวรมหาวิหาร | (ราดชะวอระมะหาวิหาน) น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดสูงสุด ว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เช่น วัดพระเชตุพน วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดสูงสุด ว่า ชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร มี ๒ วัด คือ วัดสระเกศ และวัดชนะสงคราม. |
ราชวรวิหาร | (ราดชะวอระวิหาน) น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชประดิษฐ์, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเทพศิรินทร์ วัดราชสิทธาราม, เรียกพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสูงสุด ว่า ชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดปทุมวนาราม วัดรัชฎาธิษฐาน. |
วรมหาวิหาร | (วอระ-) น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดตํ่าสุด ว่า ชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร เช่น วัดพระศรีมหาธาตุ วัดพระธาตุพนม, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรวิหาร ว่า ชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร เช่น วัดจักรวรรดิ วัดระฆัง. |
เวนคืน | ก. โอนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นของเอกชนมาเป็นของรัฐ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย. |
เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ | ก. บังคับเอาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นของเอกชนคืนมาเป็นของรัฐโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยรัฐต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรม. |
เศรษฐศาสตร์ | (เสดถะสาด) น. วิชาว่าด้วยการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน มี ๒ สาขา คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหาเศรษฐกิจส่วนเอกชน หรือ ปัญหาการหาตลาดเป็นต้น และ เศรษฐศาสตร์มหัพภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหาเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม เช่น ปัญหาเรื่องรายได้ของประชาชาติ การออมทรัพย์ของประชากร ปัญหาการลงทุน. |
สัมปทาน | (สำปะทาน) น. การอนุญาตที่รัฐให้แก่เอกชนเพื่อจัดทำบริการสาธารณะหรือจัดทำประโยชน์หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ภายในระยะเวลาและตามเงื่อนไขที่รัฐกำหนด เช่น สัมปทานการเดินรถประจำทาง สัมปทานทำไม้ในป่าสัมปทาน. |
เสรีนิยม | น. ลัทธิเศรษฐกิจสังคมที่ต้องการให้รัฐเข้าไปยุ่งเกี่ยวควบคุมการดำเนินการทางเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตของเอกชนน้อยที่สุด |
องค์การ | น. ศูนย์รวมกลุ่มบุคคลหรือกิจการที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยงานเดียวกัน เพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายหรือในตราสารจัดตั้งซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การของรัฐบาล หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทจำกัด สมาคม หรือหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ. |
อุดหนุน | ก. ช่วยเหลือสนับสนุน เช่น บริษัทเอกชนอุดหนุนการจัดงานวันเด็ก, ช่วยเหลือให้อยู่ได้ เช่น ร้านนี้มีลูกค้ามาอุดหนุนเป็นประจำ. |
private law | กฎหมายเอกชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
private law | กฎหมายเอกชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
private company | บริษัทเอกชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
private company | บริษัทเอกชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
private education | การศึกษาเอกชน [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
private enterprise | วิสาหกิจเอกชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
private enterprise | วิสาหกิจเอกชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
private sector | ภาคเอกชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
private service | การงานส่วนบุคคล, บริการเอกชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
private worker | คนทำงานเอกชน [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
privatization | การโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
privatization | การแปรรูป [ จากรัฐวิสาหกิจเป็นเอกชน ], การเพิ่มบทบาทของเอกชน [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
private | ส่วนบุคคล, เอกชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
private | ส่วนบุคคล, เอกชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
law, private | กฎหมายเอกชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
law, private | กฎหมายเอกชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
sector, private | ภาคเอกชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
jus civile (L.) | ๑. กฎหมายเอกชน๒. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล [ ดู private international law ]๓. กฎหมายที่ใช้บังคับพลเมืองชาวโรมัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
billeting | การส่งทหารเข้าพักในบ้านเอกชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
company, private | บริษัทเอกชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
deprivation of property | การบังคับเอาทรัพย์ของเอกชนโดยไม่เป็นธรรม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
enterprise, private | วิสาหกิจเอกชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
enterprise, private | วิสาหกิจเอกชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Concession | สิทธิในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง, สิทธิในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ที่รัฐอนุญาตให้เอกชนมาดำเนินการได้ภายใต้สัญญาสัมปทาน [ปิโตรเลี่ยม] |
Denationalization | การโอนกลับเป็นของเอกชน [เศรษฐศาสตร์] |
Private ownership | หน่วยงานธุรกิจของเอกชน [เศรษฐศาสตร์] |
Nationalization | การแปรรูปกิจการเอกชนไปเป็นของรัฐ [ธุรกิจ] |
Charities | สังคมสงเคราะห์โดยเอกชน [TU Subject Heading] |
Corporate bonds | พันธบัตรเอกชน [TU Subject Heading] |
Government aid to private schools | ความช่วยเหลือของรัฐแก่สถานศึกษาเอกชน [TU Subject Heading] |
Hospitals, Proprietary | โรงพยาบาลเอกชน [TU Subject Heading] |
Islamic private schools | สถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลาม [TU Subject Heading] |
Corporate debt | หนี้ภาคเอกชน [เศรษฐศาสตร์] |
Non-governmental organizations | องค์กรพัฒนาเอกชน [TU Subject Heading] |
Private companies | บริษัทเอกชน [TU Subject Heading] |
Private libraries | ห้องสมุดระดับอุดมศึกษาเอกชน [TU Subject Heading] |
Private prosecutors | โจทก์เอกชนในคดีอาญา [TU Subject Heading] |
Private school libraries | ห้องสมุดโรงเรียนเอกชน [TU Subject Heading] |
Private schools | สถานศึกษาเอกชน [TU Subject Heading] |
Private security services | บริการรักษาความปลอดภัยของเอกชน [TU Subject Heading] |
Private universities and colleges | มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยเอกชน [TU Subject Heading] |
Public-private sector cooperation | ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน [TU Subject Heading] |
Crowding Out | การแย่งเงินกู้จากเอกชน, Example: กระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อการเพิ่มขึ้นในการ กู้ยืม ของรัฐบาลจากประชาชนมีผลทำให้เอกชนในประเทศต้องลดการกู้ยืม และการใช้จ่ายลง จำนวนของการแย่งเงินกู้ยืมจากเอกชน จะมีมากน้อยแค่ไหน ขึ้นกับว่าการเพิ่มขึ้นในการกู้ยืมเงินของรัฐส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของ อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดเพียงใด หากส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดสูงขึ้นมาก การใช้จ่ายในโครงการต่างๆ ของภาคเอกชนก็จะลดลงมาก หากการเพิ่มขึ้นในการกู้ยืมเงินของรัฐไม่ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของอัตรา ดอกเบี้ย ก็จะไม่มีผลกระทบต่อการใช้จ่ายของภาคเอกชน [สิ่งแวดล้อม] |
Private Haulers | ผู้ขนขยะเอกชน [สิ่งแวดล้อม] |
Asia-Europe Business Forum | สภาธุรกิจเอเชีย-ยุโรป เป็นกลไกหนึ่งภายใต้ความร่วมมืออาเซม(ASEM) ประกอบด้วยผู้แทนจากภาคเอกชนของประเทศสมาชิกอาเซม เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2540 [การทูต] |
ASEAN Chambers of Commerce and Industry | สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอาเซียน เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างหอการค้าและอุตสาหกรรมของประเทศสมาชิกอาเซียน มีการประชุมประจำปี ๆ ละ 1-2 ครั้ง ในช่วงประมาณเดือนเมษายนและตุลาคมของทุกปี โดยหารือเรื่องความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างภาคเอกชนในอาเซียนและความร่วมมือ กับภาคเอกชนนอกภูมิภาค [การทูต] |
Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] |
Council for Security and Cooperation in the Asia-Pacific | ชมรมด้านความมั่นคงและความร่วมมือในเอเชียแปซิฟิก เป็นสถาบันเอกชนก่อตั้งขึ้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2536 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมีสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ (Institute of Security and International Studies : ISIS) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันก่อตั้งร่วมกับสถาบันอื่น ๆ จากประเทศอาเซียนและประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก CSCAP เป็นกลไกที่ไม่ใช่เป็นทางการ เพื่อให้นักวิชาการ เจ้าหน้าที่รัฐบาลในฐานะส่วนตัวและบุคคลอื่นได้อภิปรายปัญหาทางการเมืองและ ความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก [การทูต] |
Forum for Comprehensive Development of Indochina | เวทีเพื่อการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แบบในอินโดจีน เป็นความริเริ่มโดยกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นที่จะให้มีเวทีปรึกษาหารือ เพื่อช่วยพัฒนาประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม กลไกประกอบด้วยคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะที่ปรึกษาภาคเอกชนโดยเน้นบทบาทในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาภาค เอกชนตลอดจนการสร้างความเชื่อมโยงกับกรอบความร่วมมือ (GMS) [การทูต] |
Friends of Young Ambassador of Virtue | เพื่อนยุวทูตความดี " หมายถึง สถานทูตและสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ สถานทูตต่าง ประเทศในประเทศไทย องค์กรหรือภาคเอกชนทั้งของไทยและของต่างประเทศ ที่ตอบรับเป็นผู้สนับสนุนและสนใจที่จะทำกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนในโครงการยุว ทูตความดี " [การทูต] |
Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต] |
International Finance Corporation | บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ มีความเกี่ยวเนื่องกับธนาคารโลก แม้ว่าจะมีสถานะเป็นองค์กรแยก ต่างหาก IFC มีหน้าที่สนับสนุนภาคเอกชนในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ [การทูต] |
Immunity from Jurisdiction of Diplomatic Agents | ความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 31 ว่า?1. ให้ตัวแทนทางการทูตได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางอาญาของรัฐผู้รับ ตัวแทนทางการทูตยังจะได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่ง และทางการปกครองของรัฐผู้รับด้วย เว้นแต่ในกรณีของก) การดำเนินคดีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับนอกจากตัวแทนทางการทูตครอบครองไว้ในนามของ รัฐผู้ส่งเพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนข) การดำเนินคดีเกี่ยวกับการสืบมรดกซึ่งเกี่ยวพันถึงตัวแทนทางการทูตในฐานะผู้ จัดการมรดกโดยพินัยกรรม ผู้จัดการมรดกโดยศาลตั้งทายาท หรือผู้รับมรดกในฐานะเอกชน และมิใช่ในนามของรัฐผู้ส่งค) การดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจกรรมใดในทางวิชาชีพ หรือพาณิชย์ ซึ่งตัวแทนทางการทูตได้กระทำในรัฐผู้รับ นอกเหนือจากการหน้าที่ทางการของตน 2. ตัวแทนทางการทูตไม่จำเป็นต้องให้การในฐานะพยาน 3. มาตรการบังคับคดี ไม่อาจดำเนินได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนทางการทูต เว้นแต่ในกรณีซึ่งอยู่ภายใต้อนุวรรค (ก) (ข) และ (ค) ของวรรค 1 ของข้อนี้ และโดยมีเงื่อนไขว่ามาตรการที่เกี่ยวข้องอาจดำเนินไปได้โดยปราศจากการละเมิด ความละเมิดมิได้ในตัวบุคคลของตัวผู้แทนทางการทูต หรือที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต 4. ความคุ้มกันของตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ ไม่ยกเว้นตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้ส่ง?เกี่ยวกับความคุ้มกันตัว แทนทางการทูตจากขอบเขตของอำนาจศาลทางแพ่ง อาจกล่าวได้อย่างกว้างๆ ว่า ตัวแทนทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทน ทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทนทางการ ทูตจะถูกฟ้องมิได้ และถูกจับกุมมิได้เกี่ยวกับหนี้สิน รวมทั้งทรัพย์สินของเขา เช่น เครื่องเรือน รถยนต์ ม้า และสิ่งอื่นๆ ทำนองนั้นก็จะถูกยืดเพื่อใช้หนี้มิได้ ตัวแทนทางการทูตจะถูกกีดกันมิให้ออกไปจากรัฐผู้รับในฐานะที่ยังมิได้ชดใช้ หนี้สินของเขานั้นก็มิได้เช่นกัน อนึ่ง นักกฎมายบางกลุ่มเห็นว่า ตัวแทนทางการทูตจะถูกหมายศาลเรียกตัว (Subpoenaed) ไม่ได้ หรือแม้แต่ถูกขอร้องให้ไปปรากฎตัวเป็นพยานในศาลแพ่งหรือศาลอาญาก็ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ถ้าหากตัวแทนทางการทูตสมัครใจที่จะไปปรากฏตัวเป็นพยานในศาล ก็ย่อมจะทำได้ แต่จะต้องขออนุมัติจากรัฐบาลในประเทศของเขาก่อน [การทูต] |
International Finance Corporation | คือบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1956 และเริ่มมีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษที่มีสัมพันธ์กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957 แม้บรรษัทจะดำเนินงานใกล้ชิดกับธนาคารโลก แต่ก็มีฐานะเป็นสิ่งที่มีตัวตนทางกฎหมายแยกต่างหาก และมีกองทุนที่แตกต่างจากกองทุนของธนาคารโลกด้วยวัตถุประสงค์ของบรรษัทคือ ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนให้การผลิตของวิสาหกิจของเอกชนในประเทศสมาชิกเจริญเติบโตยิ่ง ขึ้น การที่จะกระทำตามวัตถุประสงค์นี้ได้ บรรษัทจะนำเงินไปลงทุนในวิสาหกิจด้านการผลิตฝ่ายเอกชน โดยดำเนินงานร่วมกับเอกชนผู้ลงทุน ทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) คล้ายกับเป็นแหล่งรวมโอกาสต่าง ๆ ของการลงทุนฝ่ายเอกชนทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ รวมทั้งฝ่ายจัดการที่มีประสบการณ์ชำนาญ นอกจากนั้น ยังช่วยกระตุ้นการลงทุนด้านการผลิตของเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศด้วย บรรษัทยังได้รับอนุญาตให้ทำการกู้ยืมเงินโดยใช้วิธีขายพันธบัตรของตนเอง รวมทั้งตั๋วสัญญาการใช้เงินบรรษัทการเงินระหว่างประเทศดำเนินงานโดยองค์กร ต่าง ๆ ของตน คืออำนาจทั้งหมดของบรรษัทจะขึ้นอยู่กับคณะผู้ว่าการ (Board of Govemors) ประกอบด้วยผู้ว่าการและผู้ว่าการสำรอง (Altemates) จากธนาคารโลกซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศต่าง ๆ อันเป็นสมาชิกของบรรษัทด้วย คณะผู้ว่าการจะคอยควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของบรรษัทให้ถูกต้อง ตัวประธานธนาคารโลก จะทำหน้าที่เป็นประธานคณะผู้ว่าการของบรรษัทโดยตำแหน่งด้วย บรรษัทมีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซี [การทูต] |
Madagascar Action Plan | แผนปฏิบัติการมาดากัสการ์ เป็นแผนพัฒนาประเทศมาดากัสการ์ที่เป็นรูปธรรมฉบับแรก นับตั้งแต่มาดากัสการ์ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2503 รัฐบาลมาดากัสการ์ ได้รับงบประมาณที่ใช้ดำเนินการ (ประมาณ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) มาจากแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ เป้าหมายหลักของ MAP ได้แก่ การพัฒนาระบบคมนาคม การพัฒนาชนบท การปรับปรุงระบบสาธารณสุข และการส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจ [การทูต] |
Muslim World League (Rabita) | สันนิบาตมุสลิมโลก " ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2505 เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนอิสลามที่มีวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือและเผยแพร่ศาสนา อิสลาม และปกป้อง สิทธิประโยชน์ของชาวมุสลิมทั่วโลก " [การทูต] |
Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Fund | กองทุนให้ความช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน " ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนให้ความช่วย เหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน พ.ศ. 2539 โดยให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงาน รับผิดชอบ มีวัตถุประสงค์ให้เงินกู้ผ่อนปรนแก่รัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินของรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม เพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาประเทศ โดยเงินกู้ที่ รัฐบาลไทยปล่อยให้กู้นี้ จะต้องเป็นเงินสกุลบาท และส่วนหนึ่งของ เงินกู้จะต้องนำไปซื้อสินค้าและบริการจากภาคเอกชนไทย " [การทูต] |
Public Diplomacy | การทูตสาธารณะ หมายถึง การดำเนินการทางการทูตแบบหนึ่งเพื่อโน้มน้าวชักจูงให้สาธารณชนและกลุ่มเป้า หมายและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ในต่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจของรัฐให้มีความชื่นชมและเข้าใจ ถึงแนวทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศของประเทศใคประเทศหนึ่ง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระดับประชาชนให้มีความใกล้ชิดแน่นแฟ้น และประสบผลสำเร็จอน่างแนบเนียน โดยจะมี ความแตกต่างจากการดำเนินการทางการทูตแบบดั้งเดิม ที่เน้นการสื่อสารระหว่างรัฐต่อรัฐ(Government to Government)แต่การทูตสาธารณะจะเน้นวิธีการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชน( Government to People) ภาคเอกชน ประชาสังคม หรือสื่อมวลชนในต่างประเทศหรือระหว่าประชาชนด้วยกันเอง อนึ่ง การทูตวัฒนธรรม (Cultural Diplomacy) ที่ใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อเชื่อมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนนั้น ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งของการดำเนินการทางการทูตสู่สาธารณชนนี้ [การทูต] |
Subcommittee on Neighbouring Countries Economic Development Cooperation | คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับ ประเทศเพื่อนบ้าน มติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2546 ให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (อพบ.) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้มีคำสั่งที่ 4 / 2547 เมื่อ 6 พฤษภาคม 2547 จัดตั้ง อพบ. แล้ว โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐและเอกชนเป็นอนุกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับกรมเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศ กระทรวงการต่างประเทศเป็นอนุกรรมการและฝ่ายเลขานุการ อพบ. มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเสนอแนะนโยบาย แผนงานและโครงการตามแผนงานการจัดระบบเศรษฐกิจตามแนวชายแดนและการพัฒนาความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงาน ACMECS ด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของ ACMECS มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำหน้าที่เป็นหน่วย งานหลักในการประสานกับหน่วยงานภายในของไทยให้ดำเนินงานเป็นไปตามแผนปฏิบัติ การ และกระทรวงการต่างประเทศทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการประสานกับประเทศ สมาชิก ACMECS [การทูต] |
Thailand ? Cambodia Joint Development Study for Economic Cooperation Plan | โครงการจัดทำแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและแผน ปฏิบัติการระหว่างไทย-กัมพูชา มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา ตลอดจนสาขาทางเศรษฐกิจที่ควรมีความร่วมมือต่อกันเพื่อกระตุ้นให้เกิดความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-กัมพูชาในระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว รวม 5 สาขา ได้แก่ โครงสร้างทางกายภาพ (ถนนและไฟฟ้า) อุตสาหกรรมการเกษตรและประมง อุตสาหกรรมเบา การพัฒนาการท่องเที่ยว และการเชื่อมโยงทางการค้า โดยจะส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทและลงทุนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจดัง กล่าว ทั้งนี้ โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ จะใช้ระยะเวลาดำเนินการ 15 ปี เริ่ม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป [การทูต] |
บริษัทเอกชน | [børisat ēkkachon] (n, exp) EN: private company |
บริษัทเอกชนจำกัด | [børisat ēkkachon jamkat] (n, exp) EN: Private Corporation ; Company Limited |
เอกชน | [ēkkachon] (n) EN: individual ; private citizen ; person FR: individu [ m ] ; privé [ m ] ; particulier [ m ] |
เอกชน | [ēkkachon] (adj) EN: individual ; private FR: individuel ; privé |
การกระจายกิจการของรัฐไปสู่ภาคเอกชน | [kān krajāi kitjakān khøng rat pai sū phāk ēkkachon] (xp) EN: privatization |
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน | [kān uppaphōkbøriphōk phāk ēkkachon] (n, exp) EN: private consumption |
กฎหมายเอกชน | [kotmāi ekkachon] (n, exp) EN: private law ; juris privati |
มหาวิทยาลัยเอกชน | [mahāwitthayālai ekkachon] (n, exp) EN: private university FR: université privée [ f ] |
นักสืบเอกชน | [nakseūp ēkkachon] (n, exp) EN: private detective ; private investigator FR: détective privé [ m ] |
องค์กรเอกชน | [ongkøn ēkkachon] (n, exp) EN: private organization FR: organisation privée [ f ] |
องค์กรพัฒนาเอกชน = อพช. (abv) | [ongkøn phatthanā ēkkachon] (n, exp) EN: Non Government Organization ; NGO (abbr.) FR: organisation non gouvernementale [ f ] ; ONG [ f ] (abrév.) |
ภาคเอกชน | [phāk ēkkachon] (n, exp) EN: private sector FR: secteur privé [ m ] |
โรงเรียนเอกชน | [rōngrīen ekkachon] (n, exp) EN: private school FR: école privée [ f ] |
โรงเรียนประถมศึกษาเอกชน | [rōngrīen prathomseuksā ekkachon] (n, exp) EN: private primary school FR: école primaire privée [ f ] ; école privée d'enseignement primaire [ f ] |
อุปสงค์ภาคเอกชน | [uppasong phāk ēkkachon] (n, exp) EN: personal demand |
วิสาหกิจเอกชน | [wisākahit ēkkachon] (n, exp) EN: private enterprise FR: entreprise privée [ f ] |
american national standar | สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา <คำแปล>ใช้ตัวย่อว่า ANSI (อ่านว่า แอนซี) เป็นชื่อของสถาบันเอกชนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ทำหน้าที่กำหนดและควบคุมมาตรฐานของอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ โดยไม่หวังผลกำไรใด ๆ ทั้งสิ้น |
ansi | (แอนซี) ย่อมาจาก American National Standards Institute ซึ่งราชบัณฑิตสถานบัญญัติว่า "สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา" เป็นสถาบันเอกชน ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ทำหน้าที่กำหนดและควบคุมมาตรฐานของอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ โดยไม่หวังผลกำไรใด ๆ ทั้งสิ้นดู ANSI C, ANSI character set, ANSI graphics |
commandeer | (คอมมันเดียร์') { commandeered, commandeering, commandeers } vt. เกณฑ์พลเรือนเข้าทำการรบหรือทำงานให้กับหน่วยทหาร, ยึดทรัพย์สินเอกชนเพื่อประโยชน์ทางทหารหรือเพื่อสาธารณประโยชน์, Syn. draft, conscript, impress |
marque | (มาร์ค) n. ใบอนุญาตจากรัฐให้เอกชนยึดเรือสินค้าของชาติอื่นได้ (letter of marque) , การยึดที่เป็นการโต้ตอบ |
private | (ไพร'วิท) adj. สันโดษ, ส่วนตัว, ไม่ปล่อยให้คนอื่นรู้, เป็นความลับ, เฉพาะตัว, บุคคล, รโหฐาน, โดยเอกชน, เกี่ยวกับพลทหาร. n. พลทหาร, อวัยวะสืบพันธุ์. -Phr. (in private ส่วนตัวเป็นความลับ), See also: privateness n., Syn. personal |
private corporation | n. บริษัทเอกชน |
private individual | n. เอกชน |
public law | กฎหมายมหาชน, กฎหมายที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน |
vandal | (แวน'เดิล) n. สมาชิกเผ่าเยอรมันในสมัยศตวรรษที่ 5 ที่ถูกชาว Gaul และสเปนรุกราน adj. เกี่ยวกับชนเผ่าเยอรมันดังกล่าว, ชอบทำลาย, ทรัพย์สินของคนอื่น, ป่าเถื่อน., See also: Vandalic adj. vandal n. ผู้ทำลายทรัพย์สินของรัฐหรือของเอกชน |
vandalism | (แวน'เดิลลิสซึม) n. การทำลายทรัพย์สินของรัฐหรือของเอกชน, การทำลายวัฒนธรรมหรือศิลปวรรณคดีของชาติอื่น, พฤติกรรมและลักษณะนิสัยของชนเผ่าVandal., See also: vandalistic adj. vandalish adj. |