แตกต่าง | ก. ไม่เหมือนกัน, ผิดกัน. |
กกุธภัณฑ์ | (กะกุดทะ-) น. สัญลักษณ์สำคัญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกรชัยพฤกษ์ ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่าเบญจราชกกุธภัณฑ์ ทั้งนี้ บางสมัยใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์แตกต่างกัน เช่น ใช้ฉัตรแทนพระมหาพิชัยมงกุฎ.(ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า
ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี). |
กระบอก ๒ | น. ชื่อปลานํ้ากร่อยและปลาทะเลหลายชนิด ในสกุล Liza, Valamugil, Oedalechilus และ Mugil วงศ์ Mugilidae ลำตัวค่อนข้างกลม ปากเล็ก มีครีบหลัง ๒ ตอน เกล็ดใหญ่สีเงิน มีหลายชนิด ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น กระบอกท่อนไต้ [ L. vaigiensi (Qnoy & Gaimard) ] กระบอกดำ [ L. parsia (Hamilton-Buchanan) ] กระบอกขาว [ V. seheli (Forsskål) ], กระเมาะ หรือ ละเมาะ ก็เรียก สำหรับปลาขนาดเล็ก, ปักษ์ใต้เรียก หมก หรือ มก. |
กระสือ ๒ | น. ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสงได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. |
กลองชาตรี | น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง มี ๒ หน้า รูปร่างลักษณะคล้ายกลองทัดแต่เล็กกว่ามาก ตีด้วยไม้ ๒ อัน เช่นเดียวกับกลองทัด แต่วิธีการตี ลักษณะของไม้ตี และเสียงจะแตกต่างจากกลองทัด ใช้ร่วมในวงปี่พาทย์ในการแสดงละครชาตรีที่เรียกว่า ปี่พาทย์ชาตรี ใช้ในการบรรเลงเพลงชุดออกภาษาหรือสิบสองภาษา และใช้ประกอบการบรรเลงในเพลงทำนองตะลุง กลองชาตรีมักใช้บรรเลงคู่กับโทน เรียกว่า โทนชาตรี มีชื่อเรียกตามเสียงอีกอย่างหนึ่งว่า กลองตุ๊ก. |
กะรัง ๒ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางและขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Epinephelus, Cephalopholis และ Plectopomus วงศ์ Serranidae หัวโต รูปร่างป้อม เรียวยาวไปทางหาง แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัวและครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคลํ้าทึบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด พบอาศัยอยู่ตามบริเวณหมู่ปะการัง โขดหินใกล้ฝั่งหรือเกาะ. |
กิ้งก่า | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Agamidae มีขนาดลำตัวต่าง ๆ กัน สันกลางของคอถึงลำตัวมีหนามแหลมจำนวนและขนาดต่างกัน เพศผู้มีสีเข้มและปรับสีได้ดีแตกต่างจากเพศเมีย ตัวและขามีเกล็ด ขาและนิ้วเล็กเรียว เล็บแหลมคม หางยาว ส่วนใหญ่อาศัยบนต้นไม้ เช่น กิ้งก่าบ้านหัวนํ้าเงิน ( Calotes mystaceus Dumeril & Bibron) กิ้งก่าเขา [ Acanthosaura armata (Hardwicke & Gray) ], อีสานเรียก ปอม กะปอม กะทั่ง หรือ กะท้าง. |
กินูน | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scarabaeidae ลำตัวมีขนาดและสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดินกินรากพืช ตัวเต็มวัยอาศัยอยู่บนต้นไม้กินใบไม้ มักบินเข้าหาแสงไฟ ชาวบ้านในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมนำมารับประทาน ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Anomala antiqueGyllenhal ลำตัวสีดำเหลือบน้ำเงิน ยาว ๑๘-๒๐ มิลลิเมตร ชนิด Sophrops foveatus Moser ลำตัวสีน้ำตาลแดง ยาวประมาณ ๑๕ มิลลิเมตร, แมลงนูน ก็เรียก. |
โกศ ๑ | (โกด) น. สิ่งที่ทำขึ้นสำหรับประกอบนอกพระลองหรือลองที่ใส่พระบรมศพ พระศพ หรือศพ รูปทรงกระบอก ก้นสอบ ปากผาย มีฐาน และมีฝาครอบเป็นเครื่องยอด มีลักษณะแตกต่างกันไปตามอิสริยยศ, ที่ใส่พระบรมอัฐิ พระอัฐิ หรืออัฐิ มีขนาดต่าง ๆ ฝาครอบมียอด, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระโกศ |
ใกล้เคียง | ไม่แตกต่างกันมากนัก, พอ ๆ กัน เช่น รอ กับ คอย มีความหมายใกล้เคียงกัน หนังสือสองเล่มนี้มีขนาดใกล้เคียงกัน. |
ไก่บ้าน | น. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus (Linn.) ในวงศ์ Phasianidae เป็นไก่ที่มีสายพันธุ์มาจากไก่ป่า แตกต่างจากไก่ป่าที่ขนลำตัวมีสีต่าง ๆ กัน เช่น สีดำ ขาว น้ำตาลอมแดง มีแข้งสีแตกต่างกัน เช่น สีเหลือง ขาว โดยที่ไก่ป่ามีสีเทาเข้ม เนื่องจากการคัดและผสมพันธุ์ทำให้มีสายพันธุ์แตกต่างกันมาก เลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหาร. |
ขมิ้น ๒ | (ขะมิ่น) น. ชื่อนกขนาดกลางในวงศ์ Oriolidae ตัวขนาดไล่เลี่ยกับนกเอี้ยง มีหลายสี เช่น เหลือง แดง ขาว ตัวผู้และตัวเมียมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียสีหม่นไม่สวยงาม ทำรังเป็นรูปถ้วยตามง่ามไม้สูง ๆ กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ขมิ้นท้ายทอยดำหรือขมิ้นเหลืองอ่อน ( Oriolus chinensis Linn .) ขมิ้นแดง [ O. traillii (Vigors) ] ขมิ้นขาว ( O. mellianusStresemann) . |
ความคลาด | ความแตกต่างระหว่างตำแหน่งของดาวฤกษ์ หรือเทห์ฟากฟ้าที่สังเกตเห็นกับตำแหน่งจริงของมันในขณะนั้น. |
เครื่องหมายการค้า | น. เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น. |
จาบปีกอ่อน | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Emberizidae เป็นนกที่อพยพมาประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว ปากสั้นหนาแข็งแรง ลำตัวอ้วนป้อม หางยาวปานกลาง ปลายหางเว้าตื้น ทั้งสองเพศมีสีแตกต่างกัน ตัวผู้สีสดกว่าตัวเมีย กินเมล็ดผลไม้และแมลง เช่น จาบปีกอ่อนสีตาล ( Emberiza rutilaPallas) จาบปีกอ่อนอกเหลือง ( E. aureola Pallas) จาบปีกอ่อนหงอน [ Melophus lathami (Gray) ]. |
ฉบับ | (ฉะ-) น. หนังสือเรื่องเดียวกันซึ่งมีข้อความหรือสำนวนแตกต่างกันเป็นต้น เช่น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ต้นเดิมของหนังสือที่พิมพ์หรือเขียน เรียกว่า ต้นฉบับ |
ช่องว่าง | ความไม่เข้าใจกันของคนที่มีความคิด ฐานะ หรืออื่น ๆ ที่แตกต่างกัน เช่น ช่องว่างระหว่างคนมั่งมีกับคนยากจน ช่องว่างระหว่างวัย. |
ชะมด ๒ | น. ชื่อกวางในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae เป็นกวางขนาดเล็ก ลำตัวป้อม หัวเล็ก ไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้งออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย ( Moschus moschiferus Linn.) กวางชะมดเขาสูง [ M. chrysogaster (Hodgson) ] กวางชะมดดำ ( M. Fuscus Li) และกวางชะมดป่า ( M. berezovskii Flerov) ไม่พบในประเทศไทยแต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. |
ดักแด้ ๑ | น. ชื่อตัวอ่อนระยะสุดท้ายของแมลงหลายชนิด มีรูปร่างเปลี่ยนไปจากตัวหนอน บางชนิดสร้างปลอกหุ้มตัวรูปร่างแตกต่างกัน เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปกระสวย ทำด้วยเส้นใย เศษใบไม้ หรือดิน เพื่อเจริญไปเป็นตัวเต็มวัย ระยะนี้อยู่กับที่ไม่กินอาหาร, แดกแด้ หรือ แด็กแด้ ก็เรียก. |
เดินดง | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด วงศ์ย่อย Turdinae ในวงศ์ Turdidae ปากค่อนข้างยาว ตรงหรือโค้งเล็กน้อย สีสันลำตัวแตกต่างกัน ขาค่อนข้างยาว หากินบนพื้นดินตามป่าหรือบนไม้พุ่ม กินแมลง ตัวหนอน และผลไม้สุก เช่น เดินดงหัวสีส้ม [ Zoothera citrina (Latham) ] เดินดงสีคล้ำ ( Turdus obscurus Gmelin). |
ตะกรับ ๓ | (-กฺรับ) น. ชื่อปลาทะเลหรือนํ้ากร่อยชนิด Scatophagus argus (Linn.) ในวงศ์ Scatophagidae ลำตัวสั้น แบนข้าง หัวทู่ ปากเล็ก หางมน เกล็ดเล็กสากมือ สีพื้นลำตัวมีแตกต่างกันมาก อาจเป็นสีเขียว เทา หรือนํ้าตาล ครึ่งบนของลำตัวสีเข้มกว่าและมีแถบสีเทาเข้มหรือดำพาดขวางหลายแนว และแตกเป็นจุดที่ด้านล่างหรือเป็นแต้มเป็นจุดทั่วตัว ครีบต่าง ๆ มีสีเหลืองอ่อนอมเทา, กระทะ หรือ เสือดาว ก็เรียก. |
ตะพาก | น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดกลาง รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีหลายชนิด ในสกุล Hypsibarbusวงศ์ Cyprinidae ลำตัวเรียวยาวแบนข้าง แต่ละชนิดมีสีแตกต่างกัน บางชนิดสีเหลืองทอง บางชนิดสีเงินอมเขียว มีหนวด ๔ เส้น เกล็ดด้านข้างและด้านบนหลังมีฐานเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม ครีบอกและครีบท้องมักมีสีเหลืองปลายครีบสีส้ม ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร เช่น ชนิด H. malcolmi (H.M. Smith) ลำตัวสีเหลืองทอง, ชนิด H. wetmorei (H.M. Smith) ลำตัวสีเงินอมเขียว, ชนิด H. pierrei (Sauvage) ลำตัวสีเทาเงิน, กระพาก ก็เรียก. |
ตัวตืด | น. ชื่อพยาธิหลายชนิดหลายวงศ์ ในชั้น Cestoda ตัวแบนเป็นปล้องเรียงต่อกันเป็นแถบยาว หัวมีอวัยวะใช้เกาะยึด ถัดมาลำตัวเป็นปล้อง จำนวนปล้องแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ ๒-๓ ปล้อง จนถึง ๑, ๐๐๐ ปล้อง ปล้องท้ายสุดเกิดก่อน ปล้องถัดจากคอเกิดหลังสุด มักอาศัยดูดอาหารในลำไส้ของมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทำให้เป็นโรคโลหิตจาง ถ้ามีจำนวนมากจะไปกั้นทางเดินอาหาร ทำให้ปวดท้องอย่างรุนแรง ชนิดที่อยู่ในคน เช่น ชนิด Taenia solium Linn. ซึ่งตัวอ่อน เรียก เม็ดสาคู อยู่ในเนื้อหมู ชนิด T. saginata Goeze ซึ่งตัวอ่อนอยู่ในเนื้อวัว, ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Taeniidae และเป็นพยาธิในลำไส้เล็กของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด. |
ทราย ๒ | (ซาย) น. ชื่อหอยกาบคู่หลายชนิด มีรูปเปลือกแตกต่างกันไป ที่เป็นหอยน้ำจืด เช่น ชนิด Corbicula javanica (Mousson) ในวงศ์ Corbiculidae ที่เป็นหอยทะเล เช่น ชนิด Asaphis violascens (Forsska&npsp;ํl) ในวงศ์ Psammobiidae. |
ทองแป | น. เหรียญทองมีลักษณะกลมแบนที่ออกมาใช้เป็นเงินตราในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทำด้วยทองคำ มี ๓ ขนาด ราคาแตกต่างกัน คือ ทองทศ ทองทิศ ทองพัดดึงส์. |
ที่ราบ | น. ภูมิประเทศที่เป็นที่ราบซึ่งอาจจะราบเรียบหรือมีลักษณะเป็นลูกคลื่น โดยปรกติความสูงตํ่าของพื้นที่ในบริเวณนั้นจะแตกต่างกันไม่เกิน ๑๕๐ เมตร. |
ทูกัง | น. ชื่อปลากดทะเลชนิด Arius leiotetocephalus Bleeker ในวงศ์ Ariidae ไม่มีเกล็ด มีหนวด ส่วนหน้าของครีบหลังและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง จัดอยู่ในพวกปลากดขนาดใหญ่ แต่แตกต่างจากปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน โดยมีกระดูกบริเวณท้ายทอยเป็นแผ่นกลมรีใหญ่กว่าชนิดอื่น ๆ อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือนํ้ากร่อยโดยเฉพาะบริเวณปากแม่นํ้า, ทุกัง ก็เรียก. |
นมสาว ๒ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิด ในวงศ์ Trochidae เปลือกเป็นรูปกรวยคว่ำ ฐานกว้าง ปลายยอดแหลม ผิวขรุขระ สีและลายแตกต่างกันตามแต่ละชนิด มีขนาดเล็กกว่าหอยนมนาง เมื่อขัดผิวเปลือกออกจะเห็นเป็นมุก ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ. |
น้ำดอกไม้ ๔ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ทุกชนิดในสกุล Sphyraena วงศ์ Sphyraenidae ลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวแหลม คางล่างยื่น ปากกว้าง มีฟันคมแข็งแรง ตาโต เกล็ดเล็กบาง ขอบเรียบ มีครีบหลัง ๒ ตอน พื้นลำตัวมีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด แต่มักเป็นสีฟ้าอมเทา เช่น ชนิด S. forsteri Cuvier หรือนํ้าตาลอมเหลือง เช่น ชนิด S. obtusata Cuvier & Valenciennes บ้างมีบั้งทอดขวางลำตัวเป็นระยะ ๆ เช่น ชนิด S. jello Cuvier & Valenciennes บ้างก็มีจุดหรือแต้มดำ เช่น ชนิด S. barracuda (Walbaum) ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๓๐-๑๕๐ เซนติเมตร, สาก ก็เรียก. |
เนื้ออ่อน | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางหลายชนิดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด มีฟันเล็กแต่แหลมคม ลำตัวแบนข้างมากบ้างน้อยบ้าง เช่น ชนิด Phalacronotus apogon (Bleeker), P. bleekeri (Günther), Kryptopterus cryptopterus (Bleeker), K. limpok (Bleeker), Ompok bimaculatus (Bloch), O. hypophthalmus (Bleeker), Ceratoglanis scleronemus (Bleeker), ข้างท้องมักเป็นสีเงิน ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๒๐-๗๗ เซนติเมตร อาจมีหรือไม่มีครีบหลังก็ได้ บางชนิดลำตัวด้านหลังสีเทาอมเขียวหรือสีนํ้าตาล, มีชื่อไทยที่เรียกแตกต่างกันหรือซํ้าซ้อนกันระหว่างชนิด ได้แก่ ชะโอน โอน แดง นาง เกด ปีกไก่ นํ้าเงิน หน้าสั้น สยุมพร หรือ เซือม. |
ไน ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางชนิด Cyprinus carpio Linn. ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวรี แบนข้าง คล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังใหญ่และยาวกว่า ปากเล็ก ไม่มีฟัน มีหนวด ๒ คู่ เกล็ดใหญ่ขอบเรียบ บางสายพันธุ์อาจเป็นเพียงหย่อมเกล็ดหรือเกล็ดเล็กละเอียด มีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น สีเขียวอมเทา เงิน ทอง ส้ม เหลือง ดำคลํ้า หรือเป็นแต้มเป็นด่างดวงของสีเหล่านี้ วางไข่ติดไว้กับพรรณไม้นํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, หลีโก หรือ หลีฮื้อ ก็เรียก. |
บ้า ๆ | ว. แผลง ๆ, แตกต่างไปจากปรกติ, เช่น ทำบ้า ๆ เล่นบ้า ๆ. |
บู่ | น. ชื่อปลาขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Eleotridae และ Gobiidae มีทั้งในทะเล นํ้ากร่อยและนํ้าจืด มีรูปร่าง ลักษณะ สีสัน ถิ่นอาศัย พฤติกรรมและขนาดแตกต่างกัน เช่น บู่จากหรือบู่ทราย [ Oxyeleotris marmorata (Bleeker) ] ในวงศ์ Eleotridae ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือมีขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร, บู่ทอง บู่หิน บู่ทราย หรือบู่ลูกทราย [ Glossogobius spp.(Valenciennes) ] บู่รำไพ (Vaimosa rambaiaeH.M. Smith) และ บู่ทะเลหรือบู่ขาว [ Acentrogobius caninus (Cuvier & Valenciennes) ] ในวงศ์ Gobiidae. |
ปลา ๑ | (ปฺลา) น. ชื่อสัตว์น้ำเลือดเย็นมีกระดูกสันหลัง ร่างกายแบ่งเป็นส่วนหัว ลำตัว และหาง หายใจด้วยเหงือกยกเว้นปลาปอด มีครีบใช้ช่วยในการเคลื่อนไหวและทรงตัว บางชนิดมีเกล็ด บางชนิดไม่มี รูปร่างลักษณะ ขนาด และพฤติกรรมแตกต่างกันมากมาย กินทั้งพืชและสัตว์ พบในแหล่งนํ้าทั่วไป. |
ปอ ๓ | น. ชื่อแมลงอันดับย่อย Anisoptera ในอันดับ Odonata หัวและอกสั้นป้อม ส่วนท้องแคบยาว หนวดสั้นเล็กมองคล้ายขน ตาโตใหญ่ ๒ ข้างอยู่ชิดกัน ปีก ๒ คู่บางใส เส้นลายปีกเป็นร่างแห โคนปีกคู่หลังแผ่กว้าง ปีกคู่หลังใหญ่กว่าปีกคู่หน้า มีสีแตกต่างกันตามชนิด เมื่อเกาะปีกกางขนานกับพื้น ตัวอ่อนอยู่ในน้ำ กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ชนิด Crocothemis servilia (Drury) ในวงศ์ Libellulidae, แมลงปอ ก็เรียก. |
ปักษเภท | น. ความแตกต่างระหว่าง ๒ ฝ่ายที่โต้เถียงกัน. |
ปาทังกา | น. ชื่อตั๊กแตนชนิด Patanga succincta (Linn.) ในวงศ์ Acrididae ลำตัวยาว ๖-๗ เซนติเมตร กว้าง ๗-๘ มิลลิเมตร สีแตกต่างกันไปเป็นสีนํ้าตาล นํ้าตาลแก่ มีแถบสีครีมพาดจากหัวไปทางด้านหลังปล้องอกจนถึงปีก ขอบตาด้านหน้าและด้านหลังมีแถบสีครีมพาดยาวลงมา ปีกมีจุดและรอยด่างกระจายทั่วไป อาจพบอยู่เดี่ยว ๆ หรือเป็นฝูง กัดกินพืชต่าง ๆ. |
เปล้า ๒ | (เปฺล้า) น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Columbidae ลำตัวสีเขียว แต่ละชนิดมีสีแตกต่างกันที่หน้าอกและช่วงไหล่ ซึ่งอาจมีสีม่วง นํ้าตาล เขียว ชมพู หรือเหลือง ทำรังเป็นรูปถ้วยง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ ตามกิ่งก้านของต้นไม้ หากินเป็นฝูง กินผลไม้ เช่น เปล้าขาเหลือง [ Treron phoenicoptera (Latham) ] เปล้าคอสีม่วง [ T. vernans (Linn.) ], เขาเปล้า ก็เรียก, พายัพเรียก เป้า. |
เปีย ๒ | น. ชื่อนกยางขนาดเล็กชนิด Egretta garzetta (Linn.) ในวงศ์ Ardeidae แตกต่างจากนกยางชนิดอื่นคือ ปากและแข้งสีดำ ตีนสีเหลือง. |
แปลก, แปลก ๆ | (แปฺลก) ว. แตกต่างไปจากที่เคยคิด เคยรู้ เคยเห็น เป็นต้น เช่น แปลกตา แปลกใจ |
ผงซักฟอก | น. สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นผง มีหลายชนิด มีองค์ประกอบที่สำคัญแตกต่างกัน เช่น ประกอบด้วยโซเดียมลอริลซัลเฟต (sodium lauryl sulphate) หรือโซเดียมอัลคิลอะริลซัลโฟเนต (sodium alkyl aryl sulphonate) เป็นต้น ใช้ประโยชน์ในการซักฟอกได้ดีกว่าสบู่ ทั้งใช้ซักฟอกในนํ้าอ่อน นํ้ากระด้าง หรือนํ้าเค็มได้ดี. |
ผมนาง | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Alectis ciliaris (Bloch), A. indicus (Rüppell), Carangoides armatus (Rüppell) และ C. hedlandensis (Whitley) ในวงศ์ Carangidae รูปร่างแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ลำตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก คอดหางเล็ก เกล็ดละเอียด เว้นแต่ที่ส่วนปลายของเส้นข้างตัว โดยเฉพาะบริเวณคอดหางเกล็ดจะขยายใหญ่เป็นสันแข็ง มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน โผล่อยู่หน้าครีบก้น และพับลงในร่องได้ ที่สำคัญคือ ต่างก็มีส่วนหน้าของทั้งครีบหลังตอนที่ ๒ และครีบก้นที่เป็นเส้นยาวมาก ลำตัวสีเงิน เฉพาะใกล้สันหลังเป็นสีฟ้าอมเทา ในระยะที่เป็นปลาขนาดเล็กจะมีลายพาดขวางเป็นบั้งสีเทาอยู่หลายแถบ เส้นครีบที่เป็นลายยาวมีสีคลํ้าหรือดำ จึงได้ชื่อว่า ผมนาง เฉพาะปลาขนาดเล็กของชนิด A. indicus (Rüppell) ยังมีครีบท้องยาวมากและมีขนาดยาวได้ถึง ๑๕๐ เซนติเมตร, โฉมงาม ก็เรียก. |
ผิดแผก | ก. แตกต่าง. |
ผิดพ่อผิดแม่ | ว. แตกต่างไปจากพ่อแม่. |
ผีเสื้อ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในวงศ์ Chaetodontidae ยกเว้นปลาโนรี ( Heniochusspp.) ลำตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก ปากเล็ก บางชนิดปากยื่นยาวเป็นท่ออยู่ปลายสุดของหัว มีเกล็ดหนามคลุมถึงบนครีบหลัง ครีบก้น และครีบหาง สีสวยสด แตกต่างกันตามชนิด มักเป็นบั้ง แถบ หรือจุดคละกันหลายสี อาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง กินสัตว์น้ำขนาดเล็กหรือสาหร่าย ขนาดยาวตั้งแต่ ๑๐-๓๐ เซนติเมตร มีการนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม. |
แผก | ว. แตกต่าง. |
แผลง | (แผฺลง) ว. ที่แตกต่างไปจากปรกติ เช่น เล่นแผลง คำแผลง. |
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ | น. รูปแบบของกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของฝ่ายนิติบัญญัติในเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เช่น เรื่องเกี่ยวกับการเลือกตั้ง พรรคการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญกำหนดหลักเกณฑ์ในการเสนอ การพิจารณาและการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญไว้เป็นพิเศษแตกต่างจากพระราชบัญญัติ. |
พานพระศรี | น. พานใส่หมากพลูเครื่องเสวยของพระมหากษัตริย์, พานใส่หมากพลูเครื่องเสวยซึ่งเป็นเครื่องราชูปโภค ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ หรือเป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศเจ้านายฝ่ายหน้าฝ่ายในชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า จนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า มีลักษณะแตกต่างกันไปตามชั้นยศ สำหรับเจ้านายนั้นจะเรียกว่า พานหมากเสวย ก็มี ซึ่งสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เรียก. |
พานหมากเสวย | น. พานใส่หมากพลูเครื่องเสวยของเจ้านาย, พานใส่หมากพลูเครื่องเสวยซึ่งเป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศของเจ้านายฝ่ายหน้าฝ่ายในชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า จนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า มีลักษณะแตกต่างกันไปตามชั้นยศ จะเรียกว่า พานพระศรี ก็มี ซึ่งสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เรียก. |
Tropical cyclone | พายุหมุนเขตร้อน พายุไซโคลน เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น วิลลี-วิลลี บาเกียว เรียกแตกต่างกันตามถิ่นที่เกิดพายุ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Price discrimination | การตั้งราคาแตกต่างกัน [เศรษฐศาสตร์] |
Chimera | ไคมีรา, สิ่งมีชีวิตที่มีเนื้อเยื่อบางส่วนประกอบด้วยเซลล์ที่มีความแตกต่างทางพันธุกรรมมากกว่าหนึ่งชนิด เช่น ต้นไม้ที่มีใบด่าง [นิวเคลียร์] |
Sievert | ซีเวิร์ต, หน่วยวัดปริมาณรังสีสมมูล เป็นผลคูณระหว่างปริมาณรังสีดูดกลืนที่มีหน่วยเป็นเกรย์ กับค่าปรับเทียบที่แตกต่างกันตามชนิดและพลังงานของรังสี (อาร์อีบี) หน่วยซีเวิร์ตนี้ใช้แทนหน่วยเรม โดย 1 ซีเวิร์ต เท่ากับ 100 เรม (ดู rem ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Roentgen equivalent man | หน่วยเดิมที่ใช้วัดปริมาณรังสีสมมูล, เป็นผลคูณระหว่างปริมาณรังสีดูดกลืนที่มีหน่วยเป็นแร็ด กับค่าปรับเทียบที่แตกต่างกันตามชนิดและพลังงานของรังสี (อาร์บีอี) สำหรับรังสีเอกซ์หรือแกมมา ค่าปรับเทียบมีค่าใกล้เคียงกับ 1 (ในทางปฏิบัติใช้ค่า 1) นั่นคือ เมื่อรังสีก่อไอออนชนิดใดก็ตามที่ก่อให้เกิดผลทางชีวภาพต่อเซลล์ที่มีชีวิตเทียบเท่ากับการรับรังสีเอกซ์หรือแกมมา 1 แร็ด เรียกว่าได้รับปริมาณรังสีสมมูล 1 เรม ปัจจุบันหน่วยเรมนี้ใช้หน่วยซีเวิร์ตแทน โดย 1 ซีเวิร์ตเท่ากับ 100 เรม (ดู equivalent dose, H$_T$ และ sievert, Sv ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Radiation worker | ผู้ปฏิบัติงานรังสี, ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในบริเวณรังสีชนิดก่อไอออน เช่น ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีอาจรวมถึงผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านเทคนิค แต่มีความจำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณรังสีหรือรังสีดังกล่าวเป็นประจำ ทำให้มีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าประชาชนทั่วไป เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานขับรถขนส่งสารกัมมันตรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสีจะกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติงานทางรังสีตามกฎระเบียบ หรือแล้วแต่กรณี</br> <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีโอกาสได้รับรังสีจากการปฏิบัติงานเป็นปริมาณแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี หรือผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี จะมีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ</br> [นิวเคลียร์] |
Positron Emission Tomography | เพ็ต, เทคนิคการถ่ายภาพการทำงานของอวัยวะด้วยวิธีกราดวิเคราะห์โพซิตรอนที่ปล่อยออกมาหลังจากฉีดเภสัชภัณฑ์รังสีที่มีครึ่งชีวิตสั้นมากซึ่งผลิตจากไซโคลทรอนเข้าไปในกระแสเลือด เช่น การตรวจการทำงานของสมอง จะใช้กลูโคสซึ่งฝังตรึงด้วยสารกัมมันตรังสี ฟลูออร์-18 เพื่อแสดงการทำงานของสมองส่วนต่างๆ เป็นภาพสามมิติที่มีสีสันแตกต่างกัน ข้อดีของเทคนิคนี้ คือ สามารถแสดงผลได้รวดเร็วในเวลาน้อยกว่า 1 นาที นอกจากนี้ยังสามารถใช้วินิจฉัยด้านอื่นๆ ได้ด้วย เช่น โรคหัวใจร่วมหลอดเลือด เนื้องอก และด้านลิ่มเลือดหรือโรคลมต่างๆ [นิวเคลียร์] |
Nuclear reactions | ปฏิกิริยานิวเคลียร์, ปฏิกิริยาที่เกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของอะตอม เช่น ฟิชชัน ฟิวชัน การจับยึดนิวตรอน หรือ การสลายกัมมันตรังสี ซึ่งแตกต่างกับปฏิกิริยาเคมี ที่จำกัดอยู่เพียงการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของอิเล็กตรอนที่อยู่รอบๆ นิวเคลียส [นิวเคลียร์] |
Nuclear device | นิวเคลียร์ดีไวซ์, วัตถุระเบิดนิวเคลียร์ใช้ในทางสันติ การทดสอบ หรือ การทดลอง คำนี้ใช้เพื่อให้แตกต่างจากอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งมีการบรรจุพร้อมสำหรับการขนส่งหรือใช้ในการทหาร <br>(ดู nuclear weapon ประกอบ)</br>, Example: [นิวเคลียร์] |
Differential association theory | ทฤษฎีการสังสรรค์จำแนกแตกต่าง [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Differential reinforcement theory | ทฤษฎีการเสริมแรงที่แตกต่าง [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Mass spectrometer | สเปกโทรมิเตอร์มวล, อุปกรณ์สำหรับตรวจหาและวิเคราะห์ไอโซโทป ที่สามารถแยกนิวเคลียสที่มีอัตราส่วนประจุต่อมวลที่แตกต่างกันออกจากกันได้ โดยการผ่านนิวเคลียสเหล่านั้นไปในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก คำนี้มีความหมายเหมือน mass spectrograph, Example: [นิวเคลียร์] |
Mass spectrograph | สเปกโทรกราฟมวล, อุปกรณ์สำหรับตรวจหาและวิเคราะห์ไอโซโทป ที่สามารถแยกนิวเคลียสที่มีอัตราส่วนประจุต่อมวลที่แตกต่างกันออกจากกันได้ โดยการผ่านนิวเคลียสเหล่านั้นไปในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก คำนี้มีความหมายเหมือน mass spectrograph [นิวเคลียร์] |
Isotope separation | การแยกไอโซโทป, กระบวนการแยกไอโซโทปออกจากกัน โดยอาศัยความแตกต่างของมวลไอโซโทป ด้วยวิธีการแยกด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีการแพร่แก๊ส การแยกไอโซโทปเป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการการเสริมสมรรถนะไอโซโทป, Example: [นิวเคลียร์] |
Digital Divide | ความเหลื่อมล้ำ (ช่องว่าง) ในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้, ความเหลื่อมล้ำระหว่างประชากรกลุ่มต่างๆ ภายในประเทศ ที่มีโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้แตกต่างกัน เช่น ระหว่างประชากรในเมือง ใหญ่กับประชากรในชนบท ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีเพศ อายุ ต่างกัน ระหว่างผู้ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน ระหว่างผู้ที่มีเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่ต่างกัน รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ของผู้พิการ ที่อาจน้อยกว่าบุคคลทั่วไปอีกด้วย หรืออาจะไปเปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำระหว่างคนในประเทศต่างๆ เพราะประเทศที่มั่งคั่ง จะมีความพร้อมมากกว่าประเทศยากจน [Assistive Technology] |
Difference (Psychology) | ความแตกต่างระหว่างบุคคล (จิตวิทยา) [TU Subject Heading] |
Individual differences in children | ความแตกต่างระหว่างปัจเจกบุคคลในเด็ก [TU Subject Heading] |
Sex differences | ความแตกต่างทางเพศ [TU Subject Heading] |
Sex differences (Psychology) | ความแตกต่างทางเพศ (จิตวิทยา) [TU Subject Heading] |
Sex differences (Psychology) in literature | ความแตกต่างทางเพศ (จิตวิทยา) ในวรรณกรรม [TU Subject Heading] |
Sex differences in literature | ความแตกต่างทางเพศในวรรณกรรม [TU Subject Heading] |
Price Discrimination | การตั้งราคาสินค้าให้แตกต่างกัน, Example: ในการค้าระหว่างประเทศบางครั้งจะมีการตั้งราคา สินค้า ชนิดเดียวกันในระคาแตกต่างกันในระหว่างราคาที่ขาย ภายในประเทศกับราคาขายในตลาดต่างประเทศ การตั้งราคาขายเช่นนี้จะกระทำในการค้าระหว่างประเทศ ได้ง่ายกว่าการค้าภายในประเทศ ซึ่งมักมีระเบียบข้อบังคับต่างๆ ควบคุมไว้มาก อย่างไรก็ตามประเทศคู่ค้ามักใช้ภาษีป้องกันการทุ่มตลาดเรียกเก็บกักสินค้า จากต่างประเทศ ที่มีการตั้งราคาขายต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น (ดู Dumping) [สิ่งแวดล้อม] |
Asia Cooperation Dialogue | ความร่วมมือเอเชีย เวทีความร่วมมือในระดับทวีปเอเชีย โดยเป็นความคิดริเริ่มของไทยในการสร้างกรอบความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกอนุ ภูมิภาคของเอเชีย มีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมโยงจุดแข็งและต่อยอดความร่วมมือต่าง ๆ ของประเทศเอเชีย โดยอาศัยความแตกต่างหลากหลายและทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเอเชียมีอยู่มา ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมุ่งสร้างความร่วมมือในวงกว้างทั้งทวีปเอเชีย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคเอเชียแข็งแกร่งและเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งสำหรับภูมิภาค อื่น ๆ เอซีดีได้มีการประชุมครั้งแรกเมื่อ 18-19 มิถุนายน 2545 โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีจาก 18 ประเทศเข้าร่วม ที่ประชุมได้แบ่งกรอบความร่วมมือเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติการหารือ (dialogue dimension) และมิติโครงการความร่วมมือ (project dimension) เช่น การท่องเที่ยว ความมั่นคงทางพลังงาน และการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Market) [การทูต] |
Arrival Ceremony | พิธีการต้อนรับ ซึ่งมีลำดับขั้นตอน (procedure) แตกต่างกันไปตามระดับของผู้มาเยือนและประเภทของการเยือน [การทูต] |
APEC Study Centers | ศูนย์ศึกษาเอเปค มีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาเอเปคในแต่ละประเทศสมาชิก 15 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคด้วยการ ศึกษา การพัฒนาฝีมือแรงงาน และอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรม ตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างสมาชิกเอเปคในภูมิภาค ทั้งนี้ ศูนย์ศึกษาเอเปคได้มีบทบาทสำคัญในกิจกรรมต่าง ๆ ของประเทศสมาชิก เช่น กิจกรรมการประเมินผลการดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการของเอเปค เป็นต้น [การทูต] |
Classes of Consuls | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ กงสุลอาชีพ (Consules de Carriere) กับกงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consuls) กงสุลอาชีพเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง และจะประจำทำงานเต็มเวลาในที่ทำการทางกงสุล ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์นั้นไม่มีฐานะเป็นกงสุลอาชีพ โดยมากเป็นนักธุรกิจในต่างประเทศ ซึ่งจะประจำทำงานเพียงส่วนหนึ่งของวัน (ไม่ใช่เต็มวัน) ในสถานที่ทำการทางกงสุลของตน และอาจจะเป็นคนชาติของรัฐที่เขาเป็นตัวแทนอยู่ หรือไม่เป็นคนชาติของรัฐนั้นก็ได้ ความแตกต่างอื่นๆ ระหว่างกงสุลอาชีพกับกงสุลกิตติมศักดิ์ มีดังนี้1. กงสุลอาชีพจะได้รับเงินเดือนประจำ แต่กงสุลกิตติมศักดิ์ไม่มีเงินเดือน2. กงสุลอาชีพมีตำแหน่งหน้าที่ถาวร ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์มีตำแหน่งว่าจ้างเพียงชั่วคราว 3. ส่วนมากกงสุลอาชีพจะต้องเป็นผู้ได้รับการฝึกอบรมหรือมีประสบการณ์มาก่อน ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์ไม่ต้องเป็นเช่นนั้น4. กงสุลอาชีพมีสิทธิได้รับความคุ้มกัน (immunities) และการยกเว้นต่าง ๆ มากกว่ากงสุลกิตติมศักดิ์สำหรับบุคคลที่เป็นหัวหน้าในที่ทำการทางกงสุลนั้น มีตำแหน่งตามลำดับชั้น คือ1) กงสุลใหญ่ (Consuls-general)2) กงสุล (Consuls)3) รองกงสุล (Vice-consuls) [การทูต] |
Conference Diplomacy | กระบวนการเจรจาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลในรูปของการ ประชุม แทนที่จะกระทำโดยวิถีทางการทูตตามปกติ คือ โดยทางเอกอัครราชทูต หรือผู้แทนทางการทูตถาวร การประชุมแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่า การประชุมโต๊ะกลม เพื่อทำหน้าที่ระงับปัญหาระหว่างประเทศนั้น เริ่มนิยมกระทำกันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 การประชุมระหว่างประเทศนี้จะประกอบด้วยคณะผู้แทน ซึ่งมีหัวหน้าคณะที่ได้รับมอบอำนาจเต็ม และรัฐบาลของประเทศที่ร่วมประชุมเป็นผู้ส่งไป ในเรื่องนี้มีความเห็นแตกต่างกันอยู่บ้าง บ้างเห็นว่า ควรเป็นการประชุมทางการทูตตามประเพณีที่กระทำกันโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยอาชีพ ซึ่งเป็นไปตามวิถีทางการทูตตามปกติมากกว่า [การทูต] |
Convention | ในภาษาไทยแปลว่า อนุสัญญา แต่คำนี้ใช้แทนคำว่า สนธิสัญญา (Treaty) บ่อย ๆ ผู้เขียนหลายท่านเห็นว่า ทั้งสองคำนี้ไม่ค่อยจะมีความหมายแตกต่างกันมากนัก แม้ว่าคำ Convention มักจะใช้กันเป็นประจำ โดยหมายถึงความตกลงที่กระทำกันในการประชุมระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่กระทำกัน ณ กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ถึง 14 เมษายน ค.ศ. 1961 (The Vienna Convention on Diplomatic Relations) [การทูต] |
Departure Ceremony | พิธีการส่ง ซึ่งมีลำดับขั้นตอน (procedure) แตกต่างกันออกไปตามระดับของผู้มาเยือนและประเภทของการเยือน [การทูต] |
Excellency | เป็นคำแสดงตำแหน่งที่ใช้เรียกตัวเอกอัครราชทูต ทั้งโดยวาจาและโดยลายลักษณ์อักษร เป็นคำที่เริ่มใช้กันตั้งแต่สมัยทำสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) เมื่อ ค.ศ. 1648 และได้นำมาใช้ทั่วทวีปยุโรปหลังจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนา (ค.ศ. 1815) แต่ถ้าบังเอิญเอกอัครราชทูตของประเทศหนึ่งใดเป็นบุคคลเชื้อพระวงศ์ แทนที่จะเรียกเอกอัครราชทูตผู้นั้นด้วยคำว่า Excellency ก็ให้เรียกด้วยคำว่า ?Royal Highness? แทนแต่เดิมคำ ?Excellency? ซึ่งเป็นคำเติมหน้าชื่อแสดงตำแหน่งนี้ใช้เรียกเฉพาะตัวเอกอัครราชทูตเท่า นั้น แต่ในทางปฏิบัติ ทุกวันนี้ได้นิยมใช้เรียกตัวอัครราชทูต (Ministers) เช่นกัน ส่วนภริยาของเอกอัครราชทูตนั้นก็ได้รับการยกย่องโดยใช้คำ Excellency ด้วย แต่สำหรับเอกอัครราชทูตที่เป็นสตรี สามีของเธอจะไม่ได้รับเรียกเช่นนั้น นอกจากนั้น คำแสดงตำแหน่งนี้ยังใช้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีหลายประเทศได้นำไปใช้เรียกประมุขของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีด้วย แต่การปฏิบัติดังนี้ย่อมแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ส่วนเลขาธิการสหประชาชาตินั้น ใช้เรียกกันเป็นทางการว่า Excellency และสำหรับกรณีที่ไม่เป็นทางการก็เรียกว่า Mr. Secretary-General [การทูต] |
Extradition | การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การที่ชาติหนึ่งยอมส่งคนในชาติของตนให้แก่อีกชาติหนึ่ง คือคนในชาติที่ถูกกล่าวหา หรือต้องโทษฐานกระทำความผิดภายนอกเขตแดนของตน และเป็นความผิดที่กระทำขึ้นในเขตอำนาจของอีกชาติหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถที่จะตัดสินคดี รวมทั้งลงโทษบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นข้ออ้างว่า ในกรณีที่ชนชาติหนึ่งซึ่งถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมแล้วหลบหนีไปยังต่าง ประเทศนั้น รัฐของผู้ที่ประกอบอาชญากรรมมีสิทธิที่จะขอให้ต่างประเทศนั้นส่งตัวผู้กระทำ ผิดกลับคืนมา เพื่อส่งตัวขึ้นศาลเพื่อพิจารณาลงโทษได้ แต่หลายคนยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในข้อนี้ มีไม่น้อยที่สนับสนุนหลักการที่ว่า กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองหน้าที่ที่จะต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดน กล่าวคือ นอกจากสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อกันแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองสิทธิที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน อย่างไรก็ดี ตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน ผู้ร้ายที่หนีความยุติธรรมจะถูกส่งไปให้อีกประเทศหนึ่งตามสนธิสัญญานั้น จักกระทำโดยวิถีทางการทูต ส่วนผู้หลบหนีเจ้าหน้าที่เพราะเหตุผลทางการเมือง จะส่งข้ามแดนอย่างผู้ร้ายไม่ได้ และเมื่อหลบหนีไปยังอีกประเทศหนึ่งได้สำเร็จ ประเทศนั้นๆ มักจะให้อาศัยพักพิงในประเทศของตนเป็นในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง [การทูต] |
ethnic conflict | ความขัดแย้งที่เกิดจากความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ [การทูต] |
Good Offices และ Mediation | วิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยฉันมิตร คำว่า Good Offices หมายถึง การช่วยเป็นสื่อกลาง ส่วน Mediation หมายถึง การไกล่เกลี่ยศัพท์ทั้งสองนี้หมายถึงวิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ โดยฉันมิตร กล่าวคือ ในกรณีข้อพิพาทซึ่งการเจรจากันทางการทูตไม่สามารถตกลงกันได้ง่าย ๆ ดังนั้น รัฐที่สามอาจยื่นมือเข้าช่วยเป็นสื่อกลาง หน้าที่ในการนี้มิใช่ออกความเห็นหรือวินิจฉัยชี้ขาดว่าใครถูกใครผิดในกรณี ข้อพิพาท หากเป็นแต่เพียงแสวงหาลู่ทางที่จะระงับข้อพิพาทจะต้องมีให้น้อยที่สุดเท่า ที่จะทำได้ และถือว่าเป็นกาดรกระทำฉันมิตร (Friendly act) คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธข้อเสนอได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดทางการ เมือง หรือคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจขอร้องให้ช่วยเป็นสื่อกลาง หรือให้ช่วยไกล่เกลี่ย ตามธรรมดาการช่วยเป็นสื่อกลางนั้นเป็นเพียงการเข้าช่วยงานพื้นฐาน หรือให้มีการเริ่มต้นการเจรจาเท่านั้น ส่วนงานเจรจาที่จะกระทำโดยตรงกว่าจะมีลักษณะเป็นการไกล่เกลี่ย แต่ในทางปฏิบัติไม่ค่อยมีการคำนึงกันนักถึงความแตกต่างจริงๆ ระหว่างวิธีทั้งสอง คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธไม่ยอมรับการไกล่เกลี่ยไม่ว่าเวลาใดก็ได้ จะเห็นได้ว่า การช่วยเป็นสื่อกลางกับการไกล่เกลี่ยนั้นแตกต่างกัน คือ ในกรณีการช่วยเป็นสื่อกลาง ฝ่ายที่สามจะกระทำแต่เพียงช่วยให้มีการหันหน้าเข้าเจรจากันระหว่างคู่พิพาท ส่วนในกรณีการไกล่เกลี่ย ฝ่ายที่สามพยายามจัดให้มีการเจรจากันจริง ๆ ตามมูลฐานข้อเสนอของตน ฝ่ายที่เสนอช่วยเป็นสื่อกลางหรือช่วยไกล่เกลี่ยนั้น อาจจะมาจากประเทศที่สาม หรือจากองค์การระหว่างประเทศ หรือจากบุคคลธรรมดาคนหนึ่งก็ได้ [การทูต] |
Head of Diplomatic Mission | บุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐผู้ส่งให้ทำหน้าที่ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ในกรณีของสถานเอกอัครราชทูตผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ทางการทูต เรียกว่า เอกอัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม (Ambassador Extraordinary and plenipotentiary) หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะได้แก่ อัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม หรือเรียกว่าอุปทูต (Chargé d?Affaires entitre) คองเกรสแห่งเวียนนาและที่ประชุมแห่งเอกซ์ ลา ชา แปล (Congress of Aix-la-Chapelle) ได้จำแนกหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตไว้ดังต่อไปนี้ คือ1. เอกอัครราชทูต (Ambassadors) หรือเอกอัครสมณทูต (Papal Nucios)2. อัครราชทูต (Envoys Extraordinary and Ministers Plenipotentiary)3. อัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนัก (Mission Resident)4. อุปทูต (Chargé d?Affaires)แต่อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในมาตร 14 ว่า?1. หัวหน้าคณะผู้แทนแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือก. ชั้นเอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐ และหัวหน้าคณะผู้แทนอื่นที่มีชั้นเท่ากันข. ชั้นรัฐทูต อัครราชทูต และอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐค. ชั้นอุปทูตซึ่งแต่งตั้งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 2. ข้อยกเว้นที่เกี่ยวกับลำดับอาวุโสและมารยาท ต้องไม่ให้มีความแตกต่างกันระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทน ในมาตรา 15 ก็ได้ระบุว่า ชั้นที่กำหนดให้แก่หัวหน้าคณะผู้แทนนั้น ต้องทำความตกลงกันระหว่างรัฐ? [การทูต] |
Heads of State | ผู้แทนที่สำคัญที่สุดของรัฐ หรือประมุขของรัฐ ในบางกรณีอาจทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐ ในการเจริญความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ โดยมีอำนาจเต็มที่จะประกอบการใด ๆ ได้ ประมุขของรัฐนั้นอาจได้แก่ พระจักรพรรดิ (Emperor) พระเจ้าแผ่นดิน (King) พระราชินี (Queen) และประธานาธิบดี (President)ประมุขของรัฐย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเคารพ และการยอมรับนับถือจากประเทศอื่นๆ ในสังคมนานาประเทศ ในแง่พิธีการทูต ผู้ที่เป็นกษัตริย์อาจได้รับเกียรติแตกต่างกับผู้ที่เป็นประธานาธิบดี แต่ความแตกต่างเช่นนี้หามีความสำคัญในแง่กฎหมายอย่างใดไม่ เมื่อประมุขของรัฐเดินทางไปเยือนต่างประเทศ ตัวประมุขพร้อมด้วยบุคคลในครอบครัวและบริวารทั้งหลาย ตลอดจนถึงทรัพย์สินของประมุขจะไดรับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งในทางแพ่งและอาญาคำว่าประมุขของรัฐอาจหมายถึงหัวหน้าของรัฐบาลก็ได้ เช่น ในกรณีสหรัฐอเมริกา แต่ในบางประเทศ เช่น อังกฤษ ประมุขของรัฐมิได้เป็นหัวหน้าของรัฐบาล ผู้ที่เป็นหัวหน้าของรัฐบาลได้แก่ นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) ในประเทศที่มีการปกครองในรูปสาธารณรัฐ (Republic) ถือว่าอำนาจอธิปไตยตกอยู่กับประชาชน แม้แต่ตัวประธานาธิบดีของประเทศก็ไม่มีอำนาจอธิปไตย หากแต่เป็นประชาชนพลเมืองคนหนึ่ง ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้เข้าไปบริหารประเทศตามกำหนดระยะเวลาหนึ่งภายใต้ รัฐธรรมนูญ และตัวประธานาธิบดี เช่น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ก็อาจถูกฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งโดยรัฐสภา หรือสภานิติบัญญัติได้ เรียกว่า Impeachment [การทูต] |
Honorary Consul | กงสุลกิตติมศักดิ์ " ได้แก่ บุคคลในท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งและมอบหมายให้ดูแล ส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศและคนชาติในพื้นที่ในเขตอาณา และดำเนินการตรวจลงตราหนังสือเดินทางแก่บุคคลที่จะเดินทางเข้าประเทศที่ กงสุลกิตติมศักดิ์เป็นผู้แทน การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ และต้องยื่นสัญญาบัตร และได้รับอนุมัติบัตรเช่นเดียวกับผู้แทนฝ่ายกงสุลอาชีพ (career consular officer) ทั้งนี้ กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์จะได้รับมอบหมายให้ดูแลเขตอาณาที่ครอบคลุมพื้นที่ กว้างกว่าและสำคัญกว่า ในส่วนของไทย กงสุลกิตติมศักดิ์แตกต่างจากกงสุลอาชีพใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) กงสุลกิตติมศักดิ์ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม หรือเป็นผู้นำที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับไทย (2) กงสุลกิตติมศักดิ์ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสำนักงาน ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์หรือสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ทั้งหมด (3) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุลน้อยกว่ากงสุลอาชีพ ในการปฏิบัติงานของกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยจะมีคู่มือกงสุลกิตติมศักดิ์ เป็นระเบียบกฎเกณฑ์และข้อมูลสำหรับการปฏิบัติงาน " [การทูต] |
International Conferences | คือการประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้ง สุดท้าย [การทูต] |
International Finance Corporation | คือบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1956 และเริ่มมีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษที่มีสัมพันธ์กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957 แม้บรรษัทจะดำเนินงานใกล้ชิดกับธนาคารโลก แต่ก็มีฐานะเป็นสิ่งที่มีตัวตนทางกฎหมายแยกต่างหาก และมีกองทุนที่แตกต่างจากกองทุนของธนาคารโลกด้วยวัตถุประสงค์ของบรรษัทคือ ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนให้การผลิตของวิสาหกิจของเอกชนในประเทศสมาชิกเจริญเติบโตยิ่ง ขึ้น การที่จะกระทำตามวัตถุประสงค์นี้ได้ บรรษัทจะนำเงินไปลงทุนในวิสาหกิจด้านการผลิตฝ่ายเอกชน โดยดำเนินงานร่วมกับเอกชนผู้ลงทุน ทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) คล้ายกับเป็นแหล่งรวมโอกาสต่าง ๆ ของการลงทุนฝ่ายเอกชนทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ รวมทั้งฝ่ายจัดการที่มีประสบการณ์ชำนาญ นอกจากนั้น ยังช่วยกระตุ้นการลงทุนด้านการผลิตของเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศด้วย บรรษัทยังได้รับอนุญาตให้ทำการกู้ยืมเงินโดยใช้วิธีขายพันธบัตรของตนเอง รวมทั้งตั๋วสัญญาการใช้เงินบรรษัทการเงินระหว่างประเทศดำเนินงานโดยองค์กร ต่าง ๆ ของตน คืออำนาจทั้งหมดของบรรษัทจะขึ้นอยู่กับคณะผู้ว่าการ (Board of Govemors) ประกอบด้วยผู้ว่าการและผู้ว่าการสำรอง (Altemates) จากธนาคารโลกซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศต่าง ๆ อันเป็นสมาชิกของบรรษัทด้วย คณะผู้ว่าการจะคอยควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของบรรษัทให้ถูกต้อง ตัวประธานธนาคารโลก จะทำหน้าที่เป็นประธานคณะผู้ว่าการของบรรษัทโดยตำแหน่งด้วย บรรษัทมีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซี [การทูต] |
Intellectual Property | ทรัพย์สินทางปัญญา " หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ซึ่งผู้เป็นเจ้าของสามารถถือครอง และ/หรือเก็บเกี่ยวสิทธิประโยชน์ได้ นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ - Patent สิทธิบัตร หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างใหม่ ยังไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อน และเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และการประดิษฐ์นั้นสามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ - Copy Rights ลิขสิทธิ์ หมายถึง งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรี งานภาพยนต์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ - Neighboring Rights สิทธิข้างเคียง เป็นความคุ้มครองที่แตกแขนงมาจากลิขสิทธิ์ เนื่องจากงานที่สร้างขึ้นไม่สามารถถูกจัดเข้าเป็นงานลิขสิทธิ์ได้โดยตรง เพราะผลงานที่เกิดขึ้นนั้นได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเป็นสื่อกลาง และก่อให้เกิดผลงานโดยใช้ เครื่องมือในทางวิชาชีพสร้างงานขึ้นมา ดังนั้น บุคคลผู้ที่เข้ามาเป็น สื่อกลางเพื่อผลิตงานให้แก่ผู้สร้างงานจึงควรมีสิทธิในผลงานนั้นเหมือนกับ เจ้าของงานลิขสิทธิ์ด้วย - Trade Marks เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือตราที่ใช้กับสินค้าเพื่อให้ประชาชนทั่วไปแยกแยะได้ว่าสินค้านั้นเป็นของ ผู้ใด ใครเป็นเจ้าของ และมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกว่า ยี่ห้อ สำหรับเครื่องหมายการค้านั้น จะเป็นภาพ เป็นคำ หรือเป็นตัวอักษรก็ได้ Service Marks เครื่องหมายบริการ เป็นเรื่องที่เกิดใหม่เนื่องจากสินค้าบริการได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น การให้บริการด้านการเงิน การโทรคมนาคม จึงทำให้ผู้ให้บริการต้องการที่จะใช้เครื่องหมาย เพื่อชี้ให้เห็นถึงการบริการของตน เช่นเดียวกับการใช้เครื่องหมายการค้า " [การทูต] |
Ministry of Foreign Affairs | กระทรวงการต่างประเทศ ในแต่ละประเทศอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป อาทิ Department of State ของสหรัฐอเมริกา (Secretary of State รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ) Department of Foreign Affairs and Trade (DFAT) ของออสเตรเลีย Ministry of Foreign Affairs and Trade (MFAT) ของนิวซีแลนด์ เป็นต้น [การทูต] |
Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] |
New Diplomacy | การทูตแบบใหม่ ภายหลังสงครามโลกครั้งแรก หรือตั้งแต่ ค.ศ. 1918 เป็นต้นมา ได้เกิดการทูตแบบใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจาการทูตแบบเก่า อันได้ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี นักวิชาการบางท่านมีความเอนเอียงที่จะตำหนิว่า การที่เกิดสงครามโลกขึ้นนั้น เป็นเพราะการทูตประสบความล้มเหลวมากกว่าอย่างไรก็ดี บางท่านเห็นว่าแม้ส่วนประกอบของการทูตจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา แต่เนื้อหาหรือสาระสำคัญของการทูตยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เป็นการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่างการทูตแบบเก่ากับการทูตแบบใหม่อาจกล่าวได้ ว่า มีปัจจัยสำคัญ ๆ อยู่สามประการ ที่มีอิทธิพลหรือบังเกิดผลโดยเฉพาะต่อวิธีการหรือทฤษฎีของการเจรจาระหว่าง ประเทศ กล่าวคือ ข้อแรก ชุมชนนานาชาติทั้งหลายเกิดการตื่นตัวมากขึ้น ข้อที่สอง ได้มีการเล็งเห็นความสำคัญของมติสาธารณะ ( Public Opinion) มากขึ้น และประการสุดท้าย เป็นเพราะการสื่อสารคมนาคมได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วอดีตนักการทูตผู้มี ชื่อเสียงคนหนึ่งของอินเดีย ได้แสดงความไม่พอใจและรังเกียจความหยาบอย่างปราศจากหน่วยก้านของการดำเนิน การทูตแบบใหม่ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อเข้าใส่กัน การใช้ถ้อยคำในเชิงผรุสวาทต่อกัน การเรียกร้องกันอย่างดื้อ ๆ ขาดความละมุนละไมและประณีต อาทิเช่น การเรียกร้องข้ามหัวรัฐบาลไปยังประชาชนโดยตรงในค่ายของฝ่ายตรงกันข้ามการ กระทำต่าง ๆ ที่จะให้รัฐบาลต้องเสียชื่อหรือขาดความน่าเชื่อถือ ตลอดจนการใส่ร้ายป้ายสีกันด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา ห้ามไม่ให้ประชาชนติดต่อกันทางสังคม และอื่น ๆ เป็นต้น [การทูต] |
Notes in Diplomatic Correspondence | หมายถึง หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต (Head of mission) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่หัวหน้าคณะผู้ แทนทางการทูตนั้นประจำอยู่ หรือกับหัวหน้าผู้แทนทางการทูตอีกแห่งหนึ่ง หนังสือทางการทูตนี้ อาจใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 3 ก็ได้ หนังสือทางการทูตที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 มักจะเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังสืออีก ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Note Verbale หรือต้องการจะแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วย หนังสือนี้จะส่งจากหัวหน้า หรือผู้รักษาการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือไปถึงหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ ไม่เหมือนกับ Note Verbale กล่าวคือ หนังสือทางการทูตนี้จะต้องระบุสถานที่ตั้ง รวมทั้งลงชื่อของผู้ส่งด้วยตามปกติ ประโยคขึ้นต้นด้วยประโยคแรกในหนังสือจะใช้ข้อความว่า ?have the honour? นอกจากจะมีถึงอุปทูตซึ่งมีฐานะตำแหน่งต่ำกว่าอัครราชทูต ถ้อยคำลงท้ายของหนังสือทางการทูตจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น?Accept, Excellency (หรือ Sir), ในกรณีที่ผู้รับมีตำแหน่งเป็นอุปทูต (Charge d? Affaires) the assurances (หรือ renewed assurances ) of my highest (หรือ high ในกรณีที่เป็นอุปทูต ) consideration?หรือ ?I avail myself of this opportunity to express to your Excellency, the assurances ( หรือ renewed assurances) of my highest consideration ?ถ้อยคำที่ว่า ?renewed assurances ? นั้น จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งหนังสือกับผู้รับหนังสือ ได้มีหนังสือติดต่อทางทูตกันมาก่อนแล้ว ส่วนถ้อยคำว่า ?high consideration ? โดยปกติจะใช้ในหนังสือที่มีไปยังอุปทูต ถ้อยคำ ?highest consideration ? จะใช้เมื่อมีไปถึงเอกอัครราชทูต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ท้องถิ่นด้วย บางแห่งอาจนิยมใช้แตกต่างออกไป และก็จะเคารพปฏิบัติตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมารยาทส่วนหนังสือที่เรียกว่า Note Verbale หรือ Third person note เป็นหนังสือทางการทูตที่ใช้บ่อยที่สุด หนังสือนี้จะขึ้นต้นด้วยประโยคดังต่อไปนี้?The Ambassador (หรือ The Embassy ) of Thailand presents his (หรือ its ) compliments to the Minster (หรือ Ministry ) of Foreign affairs and has the honour??หนังสือบุรุษที่สาม หรืออาจเรียกว่าหนังสือกลางนี้ ไม่ต้องบอกตำบลสถานที่ ( Address) และไม่ต้องลงชื่อ แต่บางทีในตอนลงท้ายของหนังสือกลางมักใช้คำว่า?The Ambassador avails himself of this opportunity to express to his Excellency the renewed assurances of his highest consideration?มีหนังสือทางการทูตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Collective note เป็นหนังสือที่หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลหลายประเทศรวมกันมีไปถึง รัฐบาลแห่งเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลเหล่านั้นพร้อมใจกันที่จะร้องเรียน หรือต่อว่าร่วมกัน หัวหน้าคณะทูตทั้งหมดอาจร่วมกันลงนามในหนังสือนั้น หรือ อาจจะแยกกันส่งหนังสือซึ่งมีถ้อยคำอย่างเดียวกันไปถึงก็ได้ [การทูต] |
Political Offenses | ความผิดทางการเมือง หลักการข้อหนึ่งของการส่งตัวผู้กระทำความผิดไปให้อีก ประเทศหนึ่ง หรือที่เรียกว่าการส่งผู้ร้ายข้ามแดน คือ ผู้ที่กระทำผิดทางการเมืองจะถูกส่งข้ามแดนไปให้อีกประเทศหนึ่งไม่ได้เป็นอัน ขาด แต่อย่างไรก็ดี มีปัญหาในปฏิบัติคือว่า จะแยกความแตกต่างกันอย่างไรระหว่างความผิดทางการเมือง กับที่มิใช่ด้วยเหตุผลทางการเมือง นักวิชาการบางท่านนิยามความหมายของคำว่าความผิดทางการเมืองไว้ว่า คือ ความผิดฐานกบฏ (Treason) ซึ่งในกฎหมายของหลายประเทศหมายถึงการประทุษร้าย หรือพยายามประทุษร้ายต่อประมุขของประเทศ หรือช่วยฝ่ายศัตรูทำสงครามกับประเทศของตน ความผิดฐานปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบภายในประเทศ (Sedition) หรือการประกอบจารกรรม (Espionage) อันเป็นการคุกคามต่อความั่นคงหรือต่อระบบการปกครองของประเทศผู้ร้องขอ (หมายถึงประเทศที่ร้องขอให้ส่งตัวผู้กระทำผิดไปให้ในลักษณะผู้ร้ายข้ามแดน) ไม่ว่าจะกระทำโดยคนเดียวหรือหลายคนก็ตาม [การทูต] |
presentation of the letter of credence | การยื่นสาส์นตราตั้ง เป็นการกำหนดให้เอกอัครราชทูตยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขของประเทศที่เข้าไป พำนักอยู่ ซึ่งรูปแบบพิธีการก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ [การทูต] |
Public Diplomacy | การทูตสาธารณะ หมายถึง การดำเนินการทางการทูตแบบหนึ่งเพื่อโน้มน้าวชักจูงให้สาธารณชนและกลุ่มเป้า หมายและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ในต่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจของรัฐให้มีความชื่นชมและเข้าใจ ถึงแนวทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศของประเทศใคประเทศหนึ่ง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระดับประชาชนให้มีความใกล้ชิดแน่นแฟ้น และประสบผลสำเร็จอน่างแนบเนียน โดยจะมี ความแตกต่างจากการดำเนินการทางการทูตแบบดั้งเดิม ที่เน้นการสื่อสารระหว่างรัฐต่อรัฐ(Government to Government)แต่การทูตสาธารณะจะเน้นวิธีการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชน( Government to People) ภาคเอกชน ประชาสังคม หรือสื่อมวลชนในต่างประเทศหรือระหว่าประชาชนด้วยกันเอง อนึ่ง การทูตวัฒนธรรม (Cultural Diplomacy) ที่ใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อเชื่อมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนนั้น ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งของการดำเนินการทางการทูตสู่สาธารณชนนี้ [การทูต] |
Stalemate | ภาวะจนมุม เป็นคำที่ยืมมาจากเกมหมากรุกและใช้ในความหมายที่ว่า ตกอยู่ในสภาพชะงักงันหรือทางตัน คำนี้จะใช้กันแพร่หลายในด้านการทูต และในด้านการเจรจาระหว่างประเทศ คือ ทั้งสองฝ่ายต่างยึดมั่นในหลักการของแต่ละฝ่าย ซึ่งแตกต่างกันได้ก็ด้วยอาศัยมือที่สาม หรือประเทศที่สามเข้ามาแทรกแซงแก้ไขให้ [การทูต] |
Special and Differential Treatment (S and D) | การประติบัติแบบพิเศษและแตกต่าง " ในความตกลงต่าง ๆ ของ WTO จะมีข้อบทเกี่ยวกับการให้การปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่างแก่สมาชิกที่เป็น ประเทศกำลังพัฒนา ข้อบท ดังกล่าวอาจแบ่งกว้าง ๆ ได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (1) ข้อบทที่กำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องดำเนินมาตรการเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ทางการค้าแก่ประเทศเหล่านี้ (2) ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติตามพันธะกรณีในความตกลงต่าง ๆ อาทิ ระยะเวลาปรับตัวที่นานกว่าหรือระดับการเปิดตลาดที่น้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว (3) การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะแก่ประเทศเหล่านี้ " [การทูต] |
The Foreign Office | ในสมัยก่อน เมื่อสังคมนานาชาติมีสมาชิกประเทศอยู่เพียงไม่กี่แห่ง และการเจริญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน ดังนั้น ประมุขของรัฐหรือหัวหน้าของรัฐบาลจะเป็นผู้บริหารกิจการต่างประเทศด้วยตนเอง แต่มาในปัจจุบันเป็นไปไม่ได้ที่จะกระทำเช่นนี้ ดังนั้นทุกวันนี้ รัฐบาลของประเทศเกือบจะทุกแห่งจะมีสำนักงานในระดับกระทรวงแยกออกต่างหาก เพื่อดำเนินกิจการต่างประเทศโดยเฉพาะสำนักงานนี้จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันใน แต่ละประเทศ เช่นเรียกว่า The Ministry of (หรือ for) Foreign Affairs, The Ministry of External Affairs, The Department of State หรือ The Department of Foreign Affairs หรือ Gaimusho เป็นต้น ส่วนหัวหน้าสำนักงานหรือเจ้ากระทรวงนั้น จะเป็นบุคคลในคณะรัฐมนตรี และเรียกชื่อตำแหน่งต่างๆ กัน เช่น The Secretary of Foreign Affairs, The Minister of External Affairs, The Secretary of State หรือ Foreign Minister หรือ Foreign Secretary ตัวรัฐมนตรีนี้จะมีผู้ช่วย ซึ่งบางตำแหน่งเรียกว่า ปลัดกระทรวง (Under-Secretaries), ผู้ช่วยปลัดกระทรวง (Assistant Under-Secretaries) พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการที่ได้ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วงาน ของกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปมักจะแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกเรียกว่าฝ่ายธุรการ (Home Service) ทำหน้าที่บริหารกิจการต่าง ๆ ภายในประเทศ ซึ่งเกี่ยวกันกับกิจการต่างประเทศ รวมทั้งการติดต่อเกี่ยวข้องกับคณะทูตานุทูต และฝ่ายที่สองเรียกว่า Foreign Service เป็นฝ่ายดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในต่างแดน อันมีสถานทูต สถานกงสุล และสำนักงานอื่น ๆ เป็นตัวแทน ประกอบด้วยข้าราชการฝ่ายการทูตและฝ่ายวิชาการ ซึ่งประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลและสำนักงานระหว่างประเทศอื่น ๆ แต่ประเทศไทยเรายังมิได้แบ่งออกเป็นสองฝ่ายดังกล่าวตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศเป็นตัวกลาง ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างประเทศ ส่วนหัวหน้าคณะทูตภายในนครหลวงของแต่ละประเทศจะทำการติดต่อใด ๆ ทั้งหมดกับกระทวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับงานภายในกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นกรม กอง โดยถือตามเขตภูมิศาสตร์ต่าง ๆ เช่น กรมหรือกองการเอเชีย กรมการแอฟริกา กรมการอเมริกัน กรมการยุโรป และอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีกรมกองอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่ด้านธุรการ และด้านการสื่อสารติดต่อ การประชุม การประสานงานความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การคลัง การบริการในต่างประเทศ การสารนิเทศ การกฎหมาย การห้องสมุด การหนังสือเดินทาง การบุคลากร การพิธีการทูต การวิจัย การสนธิสัญญา การตรวจลงตรา (Visa) และการสหประชาชาติในปัจจุบันในหลาย ๆ ประเทศ ผู้ที่สมัครขอรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศจะต้องมีคุณวุฒิตามที่กระทรวง กำหนด เช่น จะต้องผ่านการสอบไล่ ทั้งในภาคปากเปล่า และข้อเขียน ตลอดจนจะต้องปรากฏตัวต่อหน้าคณะกรรมการสอบไล่ (Board) ซึ่งจะเป็นฝ่ายให้คะแนนบุคลิกและคุณภาพส่วนตัว แล้วนำคะแนนไปบวกกับคะแนนสอบข้อเขียน ในบางแห่งต้องการให้ผู้สมัครสอบเข้ารับการฝึกอบรม และให้อยู่ในระหว่างการทดลองดูความประพฤติ (Probationary period) อีกด้วย [การทูต] |
Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] |
alike | (adj) เหมือนกัน, See also: คล้ายคลึงกัน, ไม่แตกต่างกัน, ลักษณะเดียวกัน, อาการเดียวกัน, Syn. similar, like, same |
another | (pron) สิ่งอื่น, See also: อีกอันที่แตกต่างกัน, Syn. someone else, an additional one |
bohemian | (n) ผู้ดำรงชีวิตแตกต่างจากคนอื่น (แบบไม่ทำตามกฎทางสังคม) |
be out of it | (idm) ไม่เข้าพวก (คำไม่เป็นทางการ), See also: รู้สึกเป็นส่วนเกิน, แตกต่างจากกลุ่ม, Syn. feel out of, leave out |
be out of step | (idm) แตกต่างจาก, Ant. be in, keep in |
change | (vt) ทำให้แตกต่าง, Syn. vary, alter, modify |
chasm | (n) ช่องว่าง, See also: ช่วงที่ขาดตอน, ความแตกต่างทางความคิดหรือความรู้สึก, Syn. gap |
close | (adj) ที่คล้ายกัน, See also: ที่แตกต่างกันน้อยมาก, Syn. similar, resembling |
contradiction | (n) ความแตกต่าง, Syn. difference |
contradistinction | (n) ความแตกต่างกัน, Syn. difference |
contrast | (n) ความแตกต่าง, See also: ความตรงกันข้าม, Syn. divergence, distinction, incompatibility |
contrast | (n) ความแตกต่างระหว่างความสว่างและความมืด |
contrast | (vi) แตกต่างกัน, Syn. contradict, conflict |
contrast | (vt) เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง, Syn. counterpoint |
contrast | (n) สิ่งที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง, See also: ข้อแตกต่าง, ข้อเปรียบเทียบ |
coexist with | (phrv) อยู่ร่วมกันอย่างสงบ (โดยเฉพาะกับผู้มีความคิดแตกต่างกันทางการเมือง) |
contrast with | (phrv) แสดงความแตกต่างกับ, See also: เปรียบเทียบกับ |
cut fine | (phrv) มองเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เหมือนกันมาก |
depart from | (phrv) ละทิ้ง, See also: ทิ้ง, ทำในสิ่งที่แตกต่างออกไป |
differ about | (phrv) แตกต่างกันในเรื่อง, Syn. differ on |
differ from | (phrv) แตกต่างจาก |
differ in | (phrv) แตกต่างกันในเรื่องหรือด้าน |
differ on | (phrv) แตกต่างกันในเรื่อง, Syn. differ about |
differentiate from | (phrv) แสดงความแตกต่างระหว่าง, Syn. tell from |
disagree with | (phrv) ไม่เข้ากับ, See also: แตกต่างจาก |
discern between | (phrv) มองเห็น, See also: เข้าใจ, สังเกตเห็น ความแตกต่าง, ความเหมือน, ความเชื่อมโยง |
discern between | (phrv) แยกแยะความแตกต่าง (ด้วยตาหรือใจ) |
discern from | (phrv) แยกแยะจาก, See also: เห็นความแตกต่างระหว่าง, Syn. differentiate from, discriminate from, distinguish from |
discriminate between | (phrv) บอกความแตกต่างระหว่าง, See also: แยกแยะระหว่าง |
discriminate from | (phrv) แยกแยะความแตกต่างจาก, See also: แบ่งแยกจาก, Syn. differentiate from, discern from, distinguish from |
distinguish between | (phrv) แยกแยะระหว่าง, See also: เห็นความแตกต่างระหว่าง, Syn. differentiate between, discern between, discriminate between, tell between |
draw a line between something and something else | (idm) แยกความแตกต่างระหว่างสองสิ่ง |
feel out of | (phrv) รู้สึกแปลกแยก, See also: รู้สึกแตกต่างจาก, Syn. be out of, leave out, miss out |
degree | (n) ความเข้มข้น, See also: ความแตกต่าง, Syn. gradation, shade, variation |
demonstrative | (n) คำบ่งชี้, See also: คำสรรพนามที่ระบุว่าคน สัตว์ สิ่งของนั้นๆ แตกต่างจากสิ่งอื่น, Syn. determiner |
departure | (n) การแตกต่างจากปกติ หรือที่คาดไว้, See also: การเบี่ยงเบน, Syn. deviation |
deviant | (adj) แตกต่างจากปกติ, See also: แตกต่างจากสิ่งที่คนอื่นยอมรับ, Syn. abnormal, unusual, peculiar, Ant. normal, average |
deviate | (vt) ทำให้เบี่ยงเบน, See also: ทำให้แตกต่างจากปกติ, ทำให้หันเห, Syn. differ, depart, Ant. agree |
deviate | (vi) เบี่ยงเบน, See also: หันเห, บ่ายเบน, แตกต่างจากปกติ, Syn. diverge, digress, Ant. agree |
deviation | (n) การเบี่ยงเบน, See also: การหันเห, การแตกต่างไปจากปกติ, Syn. difference, change, Ant. similarity, likeness |
deviation | (n) ความไม่เห็นพ้อง, See also: ความคิดแตกต่าง, การเข้ากันไม่ได้, Syn. disagreement, Ant. accord, correspondence |
differ | (vi) แตกต่าง, See also: แปลกไป, ผิดแผกแตกต่าง, ต่างไป, Syn. vary, diverge |
difference | (n) ความแตกต่าง, See also: ข้อแตกต่าง, ความต่าง, Syn. adaptability, deviation, dissimilarity, Ant. resemblance, similarity, likeness |
difference | (vt) ทำให้แตกต่าง, See also: แยกความแตกต่าง |
different | (adj) ต่างกัน, See also: ผิดแปลก, แตกต่างกัน, Syn. distinct, separate, dissimilar, Ant. alike, like, similar |
differential | (adj) เกี่ยวกับความแตกต่างของการเคลื่อนไหว (เครื่องกล) |
differential | (adj) ซึ่งมีความแตกต่างกัน, See also: ก่อให้เกิด |
differentiate | (vt) ทำให้เปลี่ยนแปลง, See also: ทำให้แตกต่าง, ทำให้เห็นความแตกต่าง, Syn. discriminate, distinquish |
differentiate | (vi) บอกความแตกต่าง, See also: แยกความแตกต่าง, Syn. discriminate, distinquish |
differently | (adv) อย่างแตกต่าง, See also: อย่างผิดแปลก, Syn. variously, diversely, Ant. evenly, invariably |
+ | เครื่องหมาย cross hairs เป็นรูปลักษณ์ของตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) แบบหนึ่ง ที่แตกต่างกันออกไปในบางโปรแกรม เช่น ในโปรแกรมการวาดภาพในระบบวินโดว์ส มักมีลักษณะเป็นเส้นตัดกัน (+) แทนที่จะเห็นเป็นลูกศรตามปกติ |
^ | <คำแปล> hat หมายถึง สัญลักษณ์ที่มีลักษณะคล้ายหมวก (^) ในภาษาไทยเราก็เรียกเครื่องหมายนี้ว่า "หมวก" ใช้แทน แป้นควบคุม (Control Key) เช่น กดแป้นควบคุมและแป้น K จะใช้ย่อ ๆ ว่า กด ^K ในภาษาเบสิกใช้หมายถึงการยกกำลัง เช่น 5^3 มีความหมายว่า 5 ยกกำลัง 3 ดู caret ประกอบ^ (สัญลักษณ์) <เครื่องหมาย>caretหมายถึง สัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อกดแป้น Shift+6 (^) สัญลักษณ์นี้ใช้ในการเขียนโปรแกรมของบางภาษา โดยจะแทนคำสั่งเฉพาะบางคำสั่ง มีความหมายแตกต่างกันไป เช่น ^ ในภาษาปาสกาล (Pascal) ใช้แทนตัวชี้ (pointer) , ^ ใน ภาษาซี (C) ใช้แทนตัวดำเนินการ exclusive OR, ^ ใน ภาษาเบสิก (BASIC) ใช้แทนการยกกำลัง เป็นต้น |
adapter | (อะแดพ' เทอะ) n. บุคคลหรือสิ่งที่ปรับตัว, เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เชื่อมส่วนที่มีขนาด่หรือแบบแตกต่างกันให้เข้ากันได้, อุปกรณ์. ตัวปรับต่อตัวปรับแผงวงจร (card) ที่มีสายไฟเชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้ใช้ด้วยกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ถ้าผิดขนาด ผิดรุ่นกัน จะต้องมี "ตัวปรับต่อ" เพื่อให้ใช้ด้วยกันได้ บางทีอาจเสียบไว้ในช่องเสียบ (expansion slot) เลยก็ได้ |
alien | (แอล' เยิน, เอ' เลียน) n., adj. คนต่างด้าว, ความแตกต่างกับตน, คนแปลกหน้า, ต่างด้าว, ต่างประเทศ, แตกต่างกับตัวเอง, Syn. outlander |
alienage | (เอ' เลียนเนจ, แอล' เยินเนจ) n. ภาวะที่เป็นคำต่างด้าว, ภาวะที่แตกต่างกับตน, ความแปลกหน้า (state of being an alien) |
analog | (แอน' นะลอก) n. = analogue อะนาล็อก เชิงอุปมานหมายถึง วิธีการเก็บข้อมูลที่ได้จากการวัดในลักษณะต่อเนื่อง เช่น วัดความเร็วของรถยนต์จากการหมุนของวงล้อ ตรงข้ามกับ ดิจิตอล (digital) ซึ่งหมายถึง การเก็บข้อมูลที่เป็นตัวเลข นาฬิกามีใช้ทั้งสองแบบ ซึ่งจะบอกความแตกต่างระหว่างอะนาล็อกและดิจิตอลได้ชัดเจน กล่าวคือ แบบหนึ่งจะแสดงเวลาเป็นตัวเลข ส่วนอีกแบบหนึ่งใช้เข็มสั้นและเข็มยาวเป็นตัวบอกเวลา เรียกว่าแบบอะนาล็อก คอมพิวเตอร์นั้นมีสองชนิด คือชนิดอะนาล็อกและชนิดดิจิตอล แต่คอมพิวเตอร์ที่เรารู้จักกันนั้นจะเก็บเฉพาะข้อมูลที่เป็นดิจิตอล "เสียง" เป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นอะนาล็อก เมื่อจะนำเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์ จะต้องถูกนำไปเปลี่ยนเป็นดิจิตอลก่อน โดยให้ผ่านอุปกรณ์ชนิดหนึ่งเรียกว่า "โมเด็ม" ดู digital เปรียบเทียบ |
attribute | (อะทริบ'บิวทฺ) vt. ให้เหตุผลว่า, ถือเอา, อ้างเหตุผล. -n. คุณลักษณะ. -attributer, attributor n. -attribution n., Syn. assign, consider, quality ลักษณะประจำหมายถึง คุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ มีการเน้นความแตกต่างจากของอื่นในประเภทเดียวกัน เช่น ถ้าเป็นแฟ้มข้อมูลในระบบดอส จะมีลักษณะประจำต่างกันเป็น 4 อย่าง คือ แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดเก็บเป็นระเบียบ archive แฟ้มที่อ่านได้อย่างเดียว แก้ไขไม่ได้ read only แฟ้มที่ไม่แสดงตัว hidden และแฟ้มระบบ system หรือถ้าต้องการหาคำใดคำหนึ่ง เช่น ในโปรแกรมประมวลผลคำ นอกจากจะบอกคอมพิวเตอร์ว่าสะกดอย่างไรแล้ว อาจบอกเพิ่มเติมว่า ...เป็นคำที่ใช้แบบอักษร Times New Roman ขนาด 14 จุด ข้อความที่บ่งบอกคุณสมบัติเพิ่มเติมไปนี้ก็เรียกว่า " attribute " ทั้งสิ้น |
backslash | \ (อักขระ) <เครื่องหมาย>หมายถึงสัญลักษณ์ \ เครื่องหมายนี้ดูเผิน ๆ คล้ายกับ / (slash) แต่กลับทิศทางกัน บางคนคิดว่าเหมือนกัน แต่ความหมายจะแตกต่างกันมาก ในระบบดอส สัญลักษณ์นี้ใช้แยกระหว่างชื่อสารบบ (directory) กับชื่อแฟ้มข้อมูล (file) เช่น DIR C:\Taksina\June.xlsคำสั่งข้างบนนี้เป็นคำสั่งให้แสดงแฟ้มข้อมูลชื่อ June.xls ซึ่งอยู่ภายใต้สารบบชื่อ Taksina และเก็บอยู่ในหน่วยบันทึก C: |
bit | (บิท) 1. n. ดอกสว่าน, สิ่งค้ำ, ของเล็ก ๆ น้อย ๆ , ครู่เดียว, การกระทำ, บทบาทเล็กน้อย, เหรียญเล็ก ๆ , หน่วย, กริยาช่อง 2 และ 3 ของ bite, บิต, 2. ในระบบเลขฐาน 2 หมายถึงตัวเลข 0 และ 1, หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด โดยที่หนึ่งบิตจะต้องเพียงพอต่อการบอกความแตกต่างระหว่างข้อมูลประเภท "ใช้" ในปัจจุบันมักใช้บิตเป็นหน่วยวัดตัวประมวลผล (microprocessor) ของไมโครคอมพิวเตอร์ ว่าเป็นขนาด 8 บิต 16 บิต หรือ 32 บิต ถ้าจัดบิตเป็นชุดที่เรียกว่าไบต์ (byte) ซึ่งปกติจะมี 8 บิต จะใช้เป็นรหัสเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร ฯ ดู byte ประกอบ |
buffer | (บัฟ'เฟอะ) { buffered, buffering, buffers } n. ตัวกันชน, สารที่สามารถทำให้ทั้งกรดและด่างเป็นกลาง, เครื่องขัดเงา, คนงานขัดเงา vt. ใส่ตัวทำให้กรดหรือด่างเป็นกลาง, ผ่อนคลาย, ปกป้อง, กันชน, Syn. cushion ที่พัก ข้อมูล กันชนบัฟเฟอร์ในกรณีที่อัตราความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์บางอย่างมีความเร็วไม่เท่ากัน เป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์และหน่วยประมวลผลซึ่งทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันมาก คอมพิวเตอร์ประมวลผลเสร็จแล้วจึงต้องส่งผลมารออยู่ที่บัฟเฟอร์ก่อน เพราะเครื่องพิมพ์จะใช้เวลามากกว่าในการพิมพ์ พิมพ์ตามไม่ทัน เราจะพบบ่อย ๆ ว่า แม้ว่าจะสั่งให้หยุดพิมพ์ แต่เครื่องพิมพ์จะไม่หยุดทันที ทั้งนี้เป็นเพราะมีข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ส่งไปรออยู่ที่บัฟเฟอร์แล้ว เครื่องพิมพ์จะต้องพิมพ์จนหมดข้อมูลในบัฟเฟอร์นี้ จึงจะหยุด คอมพิวเตอร์นั้นจะมีที่พักข้อมูลทั้งเมื่อรับข้อมูลเข้าและเมื่อส่งข้อมูลออก อันที่จริง บัฟเฟอร์ก็เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจำนั่นเอง |
caret | ^ (สัญลักษณ์) <เครื่องหมาย>หมายถึง สัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อกดแป้น Shift+6 (^) สัญลักษณ์นี้ใช้ในการเขียนโปรแกรมของบางภาษา โดยจะแทนคำสั่งเฉพาะบางคำสั่ง มีความหมายแตกต่างกันไป เช่น ^ ในภาษาปาสกาล (Pascal) ใช้แทนตัวชี้ (pointer) , ^ ใน ภาษาซี (C) ใช้แทนตัวดำเนินการ exclusive OR, ^ ใน ภาษาเบสิก (BASIC) ใช้แทนการยกกำลัง เป็นต้น |
case sensitivity | การบังคับใช้ตัวเล็ก/ตัวใหญ่หมายถึง ความแตกต่างระหว่างการใช้ตัวใหญ่และตัวเล็กของตัวอักษรในภาษาอังกฤษ โปรแกรมบางโปรแกรมหรือระบบบางระบบจะบังคับว่า ต้องใช้ตัวใหญ่ทั้งหมด หรือตัวเล็กทั้งหมด มิฉะนั้นเครื่องจะไม่เข้าใจ เช่น ชื่อโปรแกรมภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) หรือ ระบบยูนิกซ์ (UNIX) จะบังคับให้ใช้ตัวใหญ่เท่านั้น ส่วนระบบดอสและวินโดว์ไม่บังคับ กล่าวคือ ใช้ตัวเล็กก็ได้ตัวใหญ่ก็ได้ |
characteristic | (แคริคเทอริส'ทิค) adj. เป็นลักษณะเฉพาะ -n. ลักษณะเฉพาะ การรู้จำอักขระหมายถึง เทคโนโลยีในการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์รับรู้ความแตกต่างของรูปลักษณะตัวอักษร ต่าง ๆ ที่มนุษย์เขียนหรือพิมพ์ขึ้น โดยใช้แสงหรือสนามแม่เหล็ก แล้วถอดรหัสเป็นภาษาเครื่อง (machine language) เพื่อนำไปประมวลผลต่อไปได้ดู pattern recognition ประกอบ |
chasm | (แคซ'ซึม) n. เหว, หุบเหว, ชั้นที่ขาด, ส่วนแตก, ส่วนแยก, ความแตกต่างกันมาก, การขาดตอน, See also: chasmal, chasmic, chasmy adj., Syn. rift |
chi-square | (ไค'สแควร์) n. คำที่เท่ากับผลบวกทั้งหมดของตัวแปรของผลหารของ (ความแตกต่างระหว่างค่าเห็นได้กับค่าคาดหมาย) |
computer vendor group | กลุ่มผู้ขายเครื่องคอมพิวเตอร์หมายถึงกลุ่มบุคคลที่ทำงานด้านการขายเครื่องคอมพิวเตอร์ มักใช้ในกรณีที่ต้องการแยกให้เห็นความแตกต่างกับกลุ่มผู้ใช้ (user group) ทั้งสองกลุ่มมักจะรวมตัว กันเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะและความเห็นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในมุมและทัศนะที่แตกต่างกันดู computer user group เปรียบเทียบ |
contradistinction | n. ความแตกต่างโดยสิ้นเชิง, See also: contradistinctive adj. ดูcontradistinction |
contrast | (n. คอน'แทรสทฺ, คันแทรสทฺ') { contrasted, contrasting, contrasts } n. ความผิดแผกกัน, ความตรงกันข้าม, สิ่งหรือบุคคลที่ผิดแผกกันอย่างชัดเจน, ความแตกต่างระหว่างบริเวณดำและขาวในภาพถ่าย. -v. เปรียบเทียบความคิดแผกกัน., See also: contrastable adj. ดูcontrast |
corporal | (คอร์'เพอเริล) adj. เกี่ยวกับร่างกายมนุษย์, เกี่ยวกับเนื้อหนังมังสา, โดยส่วนตัว, เกี่ยวกับร่าง (แตกต่างจากศรีษะและแขนขา) , เกี่ยวกับวัตถุ n. สิบโท, จ่าอากาศโท, See also: corporalcy n. ดูcorporal corporalship n. ดูcorporal |
cross hairs | n. เส้นไขว้กล้องสำหรับหมายวัตถุที่ส่องดู, เส้นกากบาทในกล้องปืนเล็งเป้า + <เครื่องหมาย>เป็นรูปลักษณ์ของตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) แบบหนึ่ง ที่แตกต่างกันออกไปในบางโปรแกรม เช่น ในโปรแกรมการวาดภาพในระบบวินโดว์ มักมีลักษณะเป็นเส้นตัดกัน (+) แทนที่จะเห็นเป็นลูกศรตามปกติ |
diacritical | adj. ซึ่งทำให้แตกต่างกัน, เป็นการแบ่งแยกชนิด, เป็นเครื่องหมายการออกเสียง |
differ | (ดิฟ'เฟอะ) { differed, differing, differs } vi. แตกต่างจาก, ผิดกัน., Syn. contrast |
difference | (ดิฟ'เฟอเรินซฺ) n. ความแตกต่าง, ข้อแตกต่าง, จำนวนแตกต่างกัน. vt. ทำให้แตกต่าง, แบ่งแยกข้อแตกต่าง, Syn. distinction |
different | (ดิฟ'เฟอเรินทฺ) adj. แตกต่างกัน, ผิดกัน, ไม่เหมือนกัน, หลากหลาย, ผิดปกติ', Syn. dissimilar |
differentia | n. ลักษณะที่แตกต่างกัน, ความแตกต่าง -pl. differentiae |
differentiable | (ดิฟฟะเรน'ชะเบิล) adj. ซึ่งแยกแยะออกจากกันได้, ซึ่งทำให้แตกต่างกันได้, ซึ่งแบ่งแยกประเภทหรือชนิดได้ |
differential | (ดิฟฟะเรน'เชิน) adj., n. เกี่ยวกับความแตกต่างกัน, เกี่ยวกับหรือประกอบด้วยอนุพันธ์ (derivative-วิชาคณิตศาสตร์) |
differential calculus | n. สาขาคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับความแตกต่างและอนุพันธ์ |
differentiate | (ดิฟฟะเรน'ชิเอท) v. ทำให้แตกต่างกัน, เปลี่ยน, แยกจำแนก, แยก, แบ่งแยก., See also: differentiation n. ดูdifferentiate differentiator n. ดูdifferentiate, Syn. distinguish |
disparity | (ดิสแพ'ริที) n. ความไม่เหมือนกัน, ความแตกต่างกัน, Syn. gap, difference |
dissemblance | (ดิเซม'เบลินซฺ) n. ความไม่เหมือนกัน, ความแตกต่างกัน, การอำพรางความกลบเกลื่อน, Syn. unlikeness |
dissent | (ดิเซนทฺ') vi. ไม่เห็นด้วยอย่างแรง, ไม่ลงรอยกัน, ทะเลาะ, ขัดแย้ง, คัดค้าน n. ความแตกต่างของความคิด, การแยกจากโบสถ์, ความแตกแยก., Syn. differ, disagree, except, disagreement, Ant. assent |
dissidence | (ดิส'ซิเดินซฺ) n. ความไม่เห็นด้วย, ความไม่ลงรอยกัน, ความไม่เห็นพ้อง, ข้อเสนอที่แตกต่างหรือขัดแย้ง, Syn. dissent |
dissimilar | (ดิซิม'มะลาร์) adj. ไม่เหมือนกัน, แตกต่างกัน, Syn. different, unlike, distinct |
dissimilate | (ดิซิม'มะเลท) vt. ทำให้ไม่เหมือนกัน, ทำให้แตกต่างกัน., See also: dissimilative adj. ดูdissimilate dissimilatory adj. ดูdissimilate |
distinct | (ดิสทิงทฺ') adj. ชัดเจน, แจ่มแจ้ง, แน่นอน, จำเพาะ, เจาะจง, หายาก, น่าสังเกต, แตกต่าง., See also: distinctness n. ดูdistinct, Syn. clear |
distinction | (ดิสทิงคฺ'เชิน) n. ความแตกต่าง, การแยกแยะ, ลักษณะที่เด่น, ความมีชื่อเสียง, เกียรติยศ -S.characteristic, difference, eminence |
distinguish | (ดิสทิง'กวิช) vt. ทำให้แตกต่าง, จำแนก, รู้ถึงข้อแตกต่าง, วินิจฉัย, ทำให้เด่น, กระทำตัวดีเป็นพิเศษ vi. แสดงความแตกต่าง, จำแนก, See also: distinguishable adj. ดูdistinguish distinguisher n. ดูdistinguish distinguishingly n., adv. ดูdistinguish dis |
diverge | (ไดเวิร์จ') vi. แยกออก, บานออก, แตกแยก, แผ่ออก, แตกต่างกัน, แยกทาง, Syn. deviate, differ, Ant. converge |
divergence | (ไดเวอ'เจินซฺ) n. ความแตกต่าง, การแยกออก, การเบนออก, การห่างประเด็น, ความหลากหลาย, ความผันแปร, Syn. digression |
divergent | (ไดเวอ'เจินทฺ) adj. แตกต่างกัน, ผันแปร, ซึ่งเบนออก, ซึ่งห่างประเด็น, หลากหลาย |
diverse | (ไดเวิร์ซฺ') adj. หลายอย่าง, หลากหลาย, แตกต่างกัน. |
diversify | (ไดเวอ'ซิไฟ) vt. ทำให้เป็นหลายชนิด, ทำให้แตกต่างกัน. vi. ลงทุนในรูปต่าง ๆ , ผลิตออกมาในรูปต่าง ๆ, See also: diversifiable adj. ดูdiversify diversifiability n. ดูdiversify diversifier n. ดูdiversify |
diversion | (ไดเวอ'เชิน) n. การทำให้แตกต่าง, การผันแปร, การเบี่ยงเบน, ความเพลิดเพลิน, นันทนาการ, การพักผ่อนหย่อนใจ., See also: diversional adj. ดูdiversion diversionary adj. ดูdiversion, Syn. differentiation, entertainment |
diversity | (ไดเวอ'ซิที) n. ความแตกต่าง, ความไม่เห็นกัน, ความหลากหลาย, การมีหลายชนิดหลายแบบ, ภาวะต่าง ๆ , นานา, Syn. distinctiveness, difference, Ant. uniformity |
dividual | (ดิวิจ'ดวล) adj. ซึ่งแบ่งแยกออกได้, แบ่งแยก, แตกต่าง, เด่นชัด, เกี่ยวกับการปันส่วน |
earmark | n. ตำหนิหรือรอยแผลที่ทำขึ้นบนใบหูสัตว์, ตำหนิที่ทำขึ้นเพื่อแยกแยะความแตกต่าง vt. ทำตำหนิขึ้น, Syn. characteristic |
escape character | อักขระหลีกตัวอักขระบนแป้นพิมพ์ที่เมื่อกดแล้ว ทำให้ตัวอักขระอื่น ๆ ที่ตามมา ต้องแปลความต่างไป จากตัวอักขระที่ใช้มาก่อนหน้านี้ ตัวอย่าง เช่น จะใช้อักขระหลีก เพื่อกำหนดความหมายว่า ตัวอักขระที่จะใช้ต่อไปนั้น จะต้องใช้รหัสแปลความแตกต่างไปจากรหัสแปลความที่เคยใช้ก่อนหน้านี้ หรืออาจจะถือว่า อักขระเหล่านั้นไม่ใช่ข้อมูลอีกต่อไป แต่เป็นอักขระเพื่อการควบคุมเท่านั้น เป็นต้น |
fixed disk | จานบันทึกอยู่กับที่เป็นชื่อที่ใช้เรียกฮาร์ดดิสก์ (hard disk) อีกชื่อหนึ่ง เพราะโดยปกติ เราไม่อาจจะถอดจานบันทึกแข็งนี้ ออกจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ และเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่าง จานบันทึกแบบธรรมดา (floppy disk) ที่สามารถถอดหรือดึงออกได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ฮาร์ดดิสก์ที่ดึงเข้าออก ได้ก็มี ใช้อยู่ บ้าง แม้ว่าจะไม่เป็นที่นิยมนัก ฮาร์ดดิสก์ชนิดนั้น เรียกว่า removable hard disk ดู removable hard disk ประกอบ |
floppy disk | จานบันทึกอ่อนหมายถึง จานแบน ๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กไว้บนผิวหน้า ใช้สำหรับบันทึกข้อมูล ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ใน ปัจจุบันนี้ มีอยู่สองขนาด คือขนาด 5.25 นิ้ว ซึ่งจะมีปลอก กระดาษหุ้ม กับขนาด 3.5 นิ้วซึ่งจะอยู่ในปลอกพลาสติก ทำให้แข็งและทนกว่า มีความจุในการบันทึกต่าง ๆ กัน ชนิดที่มีความหนาแน่นสองเท่า (double density) จะจุ 360 - 720 K (ประมาณ 360, 000 - 720, 000 ตัว อักขระ) ชนิดความหนาแน่นสูง (high density) จะจุ 1.2 - 1.44 เมกะไบต์ (ประมาณ 1.2 ล้าน - 1.4 ล้านตัวอักขระ) บางทีเรียก diskette เพื่อให้แตกต่างกับจานบันทึกที่ใช้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า disk มีความหมายเหมือน diskette |
contrast | (n) การเปรียบเทียบ, การเทียบเคียง, ความแตกต่าง, ความตรงข้าม |
contrast | (vi) ตัดกัน, ผิดแผกกัน, แตกต่าง, ตรงกันข้าม |
differ | (vi) แตกต่างกัน, ไม่เหมือนกัน, ผิดกัน |
difference | (n) ความแตกต่าง, ความไม่เหมือนกัน |
different | (adj) ซึ่งแตกต่าง, หลากหลาย, ผิดกัน, ไม่เหมือนกัน |
differential | (adj) ซึ่งแตกต่างกัน, ซึ่งแสดงความต่างกัน, ซึ่งเลือกที่รักมักที่ชัง |
differential | (n) สิ่งที่แสดงความแตกต่าง |
differentiate | (vi) แตกต่างกันไป, แบ่งแยก, แยก, จำแนก |
differentiation | (n) การทำให้แตกต่างกัน, การแบ่งแยก, การแยก, การเปลี่ยนแปลง |
discriminate | (vi) แยกแยะได้, เห็นความแตกต่าง, รู้จักเลือก, พินิจพิเคราะห์ |
discrimination | (n) การทำให้แตกต่าง, การแบ่งแยก, การแยกแยะ |
dissimilar | (adj) ไม่เหมือนกัน, แตกต่างกัน, ผิดแผกกัน |
distinct | (adj) แจ่มแจ้ง, ชัดเจน, แน่แท้, แน่นอน, เจาะจง, แตกต่าง |
distinction | (n) ความดีเยี่ยม, ลักษณะพิเศษ, ความเด่น, การแบ่งแยก, ความแตกต่าง, |
distinguish | (vt) ทำให้เห็นความแตกต่าง, ทำให้เด่น, แบ่งแยก, จำแนก, ทำให้ผิดแผก |
distinguishable | (adj) ซึ่งเห็นความแตกต่างได้, ซึ่งสังเกตได้, ซึ่งแบ่งแยกได้, ซึ่งจำแนกได้ |
diverge | (vi) ถ่างออก, บานออก, ลู่ออก, แยกออก, แตกต่าง, แตกแยก, ผิดแผก |
divergence | (n) การแยกออก, ความผิดแผก, การลู่ออก, ความหลากหลาย, ความแตกต่าง |
divergent | (adj) ซึ่งผายออก, ซึ่งบานออก, ซึ่งลู่ออก, ผิดแผก, แตกต่าง |
diverse | (adj) ต่างๆนานา, หลากหลาย, แตกต่างกัน, มากมาย |
diversify | (vt) ทำหลายๆอย่าง, ทำให้แตกต่างกัน, ทำให้หลากหลาย |
diversity | (n) ความแตกต่าง, ความหลากหลาย |
gap | (n) ช่องว่าง, ช่องโหว่, ความแตกต่าง |
individuality | (n) บุคลิกลักษณะ, ความแตกต่างกัน, เอกัตภาพ |
novel | (adj) ใหม่, แปลก, แตกต่าง |
unlike | (adj, pre) แตกต่าง, ไม่เหมือนกัน, ผิดกันกับ |
variance | (n) ความแตกต่าง, การเปลี่ยนแปลง, ความแปรปรวน, การผันแปร |
variant | (adj) แตกต่าง, เปลี่ยนแปลง, แปรปรวน, ผันแปร |
variant | (n) ตัวแปร, สิ่งที่แตกต่างกัน |
variation | (n) ความแตกต่าง, การเปลี่ยนแปลง, ความแปรปรวน, การผันแปร |
varied | (adj) หลายอย่าง, แตกต่างกัน, ผันแปร, ต่างๆนานา |
variegated | (adj) แตกต่างกัน, หลายหลาก, หลายสี |
variety | (n) ความหลากหลาย, ความแตกต่างกัน |
vary | (vi) แปรปรวน, ผันผวน, ผันแปร, แตกต่าง, เปลี่ยนแปลง |