121 Results for *แม่เหล็กไฟฟ้า*
หรือค้นหา: แม่เหล็กไฟฟ้า, -แม่เหล็กไฟฟ้า-

NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
แม่เหล็กไฟฟ้า(n) electro-magnet
สนามแม่เหล็กไฟฟ้า(n) electromagnet field
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(n) electromagnetic wave, Example: เจ้าหน้าที่ได้รีบรุดมาทำการตรวจสอบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากจอภาพ, Thai Definition: คลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มของสนามแม่เหล็ก และไฟฟ้าที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน
เหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า(n) electromagnetic induction, Thai Definition: ปรากฏการณ์ซึ่งมีกระแสไฟฟ้าขึ้นเนื่องจากอำนาจแม่เหล็ก

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าน. คลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มของสนามแม่เหล็กและไฟฟ้าที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ได้แก่ คลื่นวิทยุ อินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้ อัลตราไวโอเลต เอกซเรย์ รังสีแกมมา และ รังสีคอสมิก.
เหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าน. ปรากฏการณ์ซึ่งมีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นเนื่องจากอำนาจแม่เหล็ก, เรียกกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเนื่องจากอำนาจแม่เหล็ก ว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ, เรียกเครื่องมือสำเร็จที่ใช้สำหรับเปลี่ยนศักย์ไฟฟ้าให้มีค่าสูงขึ้นมาก ๆ โดยอาศัยอำนาจแม่เหล็ก ว่า ขดลวดเหนี่ยวนำ.
กัมมันตภาพรังสี(กำมันตะ-) น. การเสื่อมสลายโดยตัวเองของนิวเคลียสของอะตอมที่ไม่เสถียร เป็นผลให้ได้อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา รังสีแกมมา ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงคลื่นสั้นมากและมีพลังงานสูง ทั้งหมดนี้พุ่งออกมาด้วยความเร็วสูงมาก ในบางกรณีอาจมีพลังงานความร้อนและพลังงานแสงเกิดตามมาด้วย เช่น การเสื่อมสลายของนิวเคลียสของธาตุเรเดียมไปเป็นธาตุเรดอน.
การแผ่รังสีน. การส่งถ่ายพลังงานความร้อนในลักษณะเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วของแสง เมื่อเทหวัตถุใดดูดกลืนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นไว้ได้ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าก็จะแปรสภาพเป็นพลังงานความร้อน เป็นผลให้เทหวัตถุนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าเดิม.
แกมมาน. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโฟตอน (photon) ที่มีพลังงานสูงมาก มีช่วงคลื่นสั้นมาก มักเรียกกันว่า รังสีแกมมา เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๓๐๐, ๐๐๐ กิโลเมตร/วินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุได้สูง สามารถเจาะทะลุแผ่นตะกั่วหนาหลายเซนติเมตรได้ เกิดจากการเสื่อมสลายของสารกัมมันตรังสี เช่น ธาตุเรเดียม ธาตุโคบอลต์-๖๐ หรือเกิดจากการที่อนุภาคบีตาพุ่งชนอะตอมของธาตุ ใช้ประโยชน์ในการแพทย์รักษาโรคมะเร็งและในการเกษตร.
คลื่นความถี่น. คลื่นวิทยุหรือคลื่นแฮรตเซียนซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ต่ำกว่าสามล้านเมกะเฮิรตซ์ลงมาที่ถูกแพร่กระจายในที่ว่างโดยปราศจากสื่อนำที่ประดิษฐ์ขึ้น.
คลื่นปานกลางน. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ปานกลาง ตั้งแต่ ๓๐๐ กิโลเฮิรตซ์ ถึง ๓ เมกะเฮิรตซ์ (หรือ ๓, ๐๐๐ กิโลเฮิรตซ์).
คลื่นยาวน. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ตํ่า ตั้งแต่ ๓๐ กิโลเฮิรตซ์ ถึง ๓๐๐ กิโลเฮิรตซ์.
คลื่นวิทยุน. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ส่งผ่านบรรยากาศด้วยความถี่วิทยุ.
คลื่นสั้นน. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูง ตั้งแต่ ๓ เมกะเฮิรตซ์ ถึง ๓๐ เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารระยะไกล.
คลื่นแฮรตเซียนน. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ระหว่างสิบกิโลไซเกิล ต่อวินาที และสามล้านเมกะไซเกิลต่อวินาที.
ความถี่วิทยุน. ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ในการส่งวิทยุและโทรทัศน์ ขนาดตํ่าสุดตั้งแต่ ๑๐ ถึง ๓๐ กิโลเฮิรตซ์ ขนาดสูงสุดตั้งแต่ ๓๐, ๐๐๐ ถึง ๓๐๐, ๐๐๐ เมกะเฮิรตซ์.
ไซเกิลน. ชุดของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภาวะหนึ่งจนกระทั่งกลับคืนมาสู่ภาวะแท้จริงเดิมอีก เช่น การเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนที่ของไฟฟ้ากระแสสลับเริ่มจากภาวะที่ไม่มีกระแสจนกระทั่งกระแสทวีค่าสูงสุดในทิศทางหนึ่ง แล้วลดลงจนไม่มีกระแส จากนี้กระแสทวีค่าขึ้นอีก จนสูงสุดในทิศทางตรงข้าม แล้วจึงกลับลดลงจนสู่ภาวะไม่มีกระแสอีก ดังนี้เรียกว่า กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ครบ ๑ ไซเกิล จึงใช้จำนวนไซเกิลต่อวินาทีเป็นหน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับและความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, ปัจจุบันใช้ เฮิรตซ์ แทน ไซเกิล.
ตัวกลางน. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน.
โทรคมนาคม(-คะมะ-, -คมมะ-) น. การส่ง การกระจาย หรือการรับภาพ เครื่องหมาย สัญญาณ ข้อเขียน เสียง หรือการทำให้เข้าใจด้วยวิธีใด ๆ โดยอาศัยระบบสาย วิทยุสื่อสาร หรือระบบแม่เหล็กไฟฟ้าอื่น ๆ.
โทรทัศน์น. กระบวนการถ่ายทอดเสียงและภาพได้พร้อมกันจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยวิธีเปลี่ยนคลื่นเสียงและภาพให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกสู่อากาศ, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่ดังกล่าว ว่า เครื่องส่งโทรทัศน์ และเรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ได้รับจากเครื่องส่งโทรทัศน์ให้กลับเป็นคลื่นเสียงและภาพตามเดิม ว่า เครื่องรับโทรทัศน์.
โทรเลขน. ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าส่งรหัสสัญญาณจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยอาศัยสายตัวนำที่โยงติดต่อถึงกัน และอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสำคัญ. (อ. telegraph).
โทรศัพท์น. ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าเป็นเครื่องมือสื่อสารให้ติดต่อพูดถึงกันได้ในระยะไกลโดยใช้สายตัวนำโยงติดต่อถึงกัน และอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสำคัญ. (อ. telephone), คำว่าโทรศัพท์ที่อยู่หน้าหมายเลขโทรศัพท์มักเขียนย่อว่า โทร. ออกเสียงว่า [ โท ].
บัตรอิเล็กทรอนิกส์น. บัตรที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้โดยบันทึกข้อมูลหรือรหัสไว้ในบัตรด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน ซึ่งรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสงหรือวิธีการทางแม่เหล็ก เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรสมาร์ทการ์ด.
ไมโครโฟน(-โคฺร-) น. เครื่องที่ใช้สำหรับขยายเสียงให้ดังขึ้น, เครื่องที่ใช้สำหรับเปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นในการส่งวิทยุ โทรศัพท์, มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า ไมค์.
ไมโครเวฟ(-โคฺร-) น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวช่วงคลื่นสั้นมาก, เรียกเตาอบที่ใช้ไมโครเวฟทำให้ร้อน ว่า เตาไมโครเวฟ.
รังสีความร้อนน. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วงคลื่นประมาณระหว่าง ๗.๘ x ๑๐–๗ เมตร กับ ๑ มิลลิเมตร, อินฟราเรด ก็เรียก.
รังสีคอสมิกน. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงยิ่ง มีช่วงคลื่นสั้นยิ่งกว่ารังสีแกมมามาก องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นโปรตอนประมาณร้อยละ ๙๐ และพบอิเล็กตรอน อนุภาคแอลฟาด้วย เกิดมาจากอวกาศนอกโลกพุ่งมาสู่โลก ยังไม่ทราบแหล่งกำเนิดแน่นอน.
รังสีเหนือม่วงน. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วงคลื่นประมาณระหว่าง ๔ x ๑๐–๗ เมตร กับ ๕ x ๑๐–๙ เมตร แสงแดดมีรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งจะมีปฏิกิริยาต่อสาร ๗–ดีไฮโดรคอเลสเทอรอล (7–dehydrocholesterol) ในผิวหนังมนุษย์ ให้กลายเป็นวิตามินดี, อัลตราไวโอเลต ก็เรียก.
รังสีเอกซ์น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วงคลื่นอยู่ประมาณระหว่าง ๕ x ๑๐–๙ เมตร ถึง ๖ x ๑๐–๑๒ เมตร ใช้ประโยชน์ในทางแพทย์ ทางวิศวกรรม เป็นต้น, รังสีเรินต์เกน หรือ เอกซเรย์ ก็เรียก
วิทยุ(วิดทะยุ) น. กระแสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดที่เคลื่อนไปตามอากาศโดยไม่ต้องใช้สาย และอาจเปลี่ยนเป็นเสียงหรือรูปได้, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกสู่อากาศ ว่า เครื่องส่งวิทยุ, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่รับได้จากเครื่องส่งวิทยุให้กลับเป็นคลื่นเสียงตามเดิม ว่า เครื่องรับวิทยุ.
สเปกตรัมน. ผลที่ได้จากการที่การแผ่รังสีของแม่เหล็กไฟฟ้าถูกแยกออกเป็นองค์ประกอบต่าง ๆ ตามขนาดของช่วงคลื่นหรือความถี่ขององค์ประกอบนั้น ๆ.
สายอากาศน. สายลวดที่ขึงไว้เพื่อส่งหรือรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า.
อัลตราไวโอเลตน. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วงคลื่นประมาณระหว่าง ๔ x ๑๐-๗เมตร กับ ๕ x ๑๐-๙ เมตร แสงแดดมีรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งจะมีปฏิกิริยาต่อสาร ๗-ดีไฮโดรคอเลสเทอรอล (7-dehydrocholesterol) ในผิวหนังมนุษย์ ให้กลายเป็นวิตามินดี, รังสีเหนือม่วง ก็เรียก.
อินฟราเรด(-ฟฺรา-) น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วงคลื่นประมาณระหว่าง ๗.๘ x ๑๐-๗ เมตร กับ ๑ มิลลิเมตร, รังสีความร้อน ก็เรียก.
เอกซเรย์น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วงคลื่นอยู่ระหว่างประมาณ ๕ x ๑๐-๙ เมตร ถึง ๖ x ๑๐-๑๒ เมตร ใช้ประโยชน์ในทางแพทย์ ทางวิศวกรรม เป็นต้น, รังสีเรินต์เกน หรือ รังสีเอกซ์ ก็เรียก

ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
electromagnetic prospectingการสำรวจด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
electromagnetic waveคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖]
EMI (electromagnetic interference)อีเอ็มไอ (การรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า) [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
electromagnetic interference (EMI)การรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า (อีเอ็มไอ) [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Electromagnetic interferenceการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
Bremsstrahlungเบรมส์ชตราลุง, รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกมา เมื่ออนุภาคที่มีประจุถูกเร่งให้เร็วขึ้น หรือถูกหน่วงให้ช้าลง รังสีเอกซ์จากเครื่องเอกซเรย์ทั่วไปก็เป็นรังสีชนิดนี้ [นิวเคลียร์]
Electromagnetic radiationรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า, คลื่นไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กที่ประสาน และมีอันตรกิริยาต่อกัน เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุ รังสีแกมมา และรังสีเอกซ์ รังสีเหล่านี้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วแสง และสามารถผ่านสุญญากาศได้ [นิวเคลียร์]
Electromagnetic wavesคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
X-raysรังสีเอกซ์, รังสีในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูงไม่ได้มีต้นกำเนิดจากนิวเคลียสของอะตอม แต่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ หรือเกิดจากการระดมยิงเป้าโลหะหนักบางชนิด เช่น ทังสเตน ด้วยอิเล็กตรอนความเร็วสูง ซึ่งอิเล็กตรอนจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างทันทีทันใดและปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา บางคน เรียกรังสีเอกซ์ว่า รังสีเรินต์เก็น ตามชื่อของ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เก็น นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ค้นพบรังสีนี้เมื่อ ปี พ.ศ. 2438 [นิวเคลียร์]
Thermal radiationรังสีเทอร์มัล, รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกจากลูกไฟจากการระเบิดทางนิวเคลียร์ ซึ่งมีอุณหภูมิสูงมาก รังสีเทอร์มัลอยู่ในรูปของรังสีอัลตราไวโอเลต รังสีอินฟราเรด และแสงสว่าง คิดเป็นร้อยละ 35 ของพลังงานทั้งหมดจากการระเบิด [นิวเคลียร์]
Roentgen raysรังสีเรินต์เก็น, รังสีในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูงไม่ได้มีต้นกำเนิดจากนิวเคลียสของอะตอม แต่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ หรือเกิดจากการระดมยิงเป้าโลหะหนักบางชนิด เช่น ทังสเตน ด้วยอิเล็กตรอนความเร็วสูง ซึ่งอิเล็กตรอนจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างทันทีทันใดและปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา บางคน เรียกรังสีเอกซ์ว่า รังสีเรินต์เก็น ตามชื่อของ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เก็น นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ค้นพบรังสีนี้เมื่อ ปี พ.ศ. 2438 [นิวเคลียร์]
Radiative captureการจับยึดแบบปล่อยรังสี, กระบวนการจับยึดทางนิวเคลียร์โดยนิวเคลียสแล้วแผ่เฉพาะรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาทันที เช่น เมื่อนิวเคลียสจับยึดนิวตรอนแล้วปล่อยรังสีแกมมาออกมา [นิวเคลียร์]
Radiation, nuclearรังสีนิวเคลียร์, การแผ่รังสีของนิวเคลียส, รังสีในรูปของอนุภาคหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แผ่ออกมาจากนิวเคลียสของนิวไคลด์กัมมันตรังสี เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา และรังสีแกมมา <br>(ดู radiation ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์]
radiationรังสี, การแผ่รังสี, พลังงานที่แผ่จากต้นกำเนิดรังสีผ่านอากาศหรือสสาร ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น ความร้อน แสงสว่าง คลื่นวิทยุ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา หรือเป็นกระแสของอนุภาคที่เคลื่อนที่เร็ว เช่น รังสีคอสมิก รังสีแอลฟา รังสีบีตา อนุภาคนิวตรอน อนุภาคโปรตอน [นิวเคลียร์]
Photonโฟตอน, กลุ่มหนึ่งๆ ของพลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีโมเมนตัมซึ่งเป็นลักษณะของอนุภาค แต่ไม่มีมวลหรือประจุไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น รังสีแกมมา และรังสีเอกซ์ [นิวเคลียร์]
Nuclear radiationรังสีนิวเคลียร์, การแผ่รังสีของนิวเคลียส, รังสีในรูปของอนุภาคหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แผ่ออกมาจากนิวเคลียสของนิวไคลด์กัมมันตรังสี เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา และรังสีแกมมา <br>(ดู radiation ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์]
Electromagnetic theoryทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
Linacเครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น, ไลแน็ก, มาจากคำ่ว่า Linear accelerator อนุภาคที่มีลักษณะเป็นท่อตรงยาว อนุภาคที่มีประจุซึ่งวิ่งภายในท่อจะถูกเพิ่มพลังงานด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้ากระแสสลับที่มีอยู่ตลอดความยาวท่อ <br>(ดู cyclotron และ accelerator ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์]
Linear acceleratorเครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น, ไลแน็ก, เครื่องเร่งอนุภาคที่มีลักษณะเป็นท่อตรงยาว อนุภาคที่มีประจุซึ่งวิ่งภายในท่อจะถูกเพิ่มพลังงานด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้ากระแสสลับที่มีอยู่ตลอดความยาวท่อ <br>(ดู cyclotron และ accelerator ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์]
Isotope separationการแยกไอโซโทป, กระบวนการแยกไอโซโทปออกจากกัน โดยอาศัยความแตกต่างของมวลไอโซโทป ด้วยวิธีการแยกด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีการแพร่แก๊ส การแยกไอโซโทปเป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการการเสริมสมรรถนะไอโซโทป, Example: [นิวเคลียร์]
Electromagnetic compatibilityการเข้ากันได้ของแม่เหล็กไฟฟ้า [TU Subject Heading]
Electromagnetic fieldsสนามแม่เหล็กไฟฟ้า [TU Subject Heading]
Electromagnetic measurementsการวัดทางแม่เหล็กไฟฟ้า [TU Subject Heading]
Electromagnetic theoryทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า [TU Subject Heading]
Electromagnetic wavesคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า [TU Subject Heading]
Electromagnetismวิทยาแม่เหล็กไฟฟ้า [TU Subject Heading]
Electromagnetsแม่เหล็กไฟฟ้า [TU Subject Heading]
Magnetic Separatorการแยกขยะด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า [สิ่งแวดล้อม]
ionisingradiationรังสีชนิดก่อไอออน, คือ พลังงานในรูปแม่เหล็กไฟฟ้า หรืออนุภาครังสีใดๆ ที่สามารถก่อให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้ ทั้งโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในตัวกลางที่ผ่านไป เช่น รังสีแอลฟา รังสีบีตา รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ อนุภาคนิวตรอน อิเล็กตรอนที่มีความเร็วสูง โปรตรอนที่มีความเร็วสูง รังสีชนิดนี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต [พลังงาน]
Diathermy, Short-Waveความร้อนแม่เหล็กไฟฟ้าคลื่นสั้น [การแพทย์]
Electromagnetic Energyพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า, พลังงานที่เกิดจากแม่เหล็กไฟฟ้า [การแพทย์]
Electromagnetic Fieldsสนามแม่เหล็กไฟฟ้า [การแพทย์]
Electromagnetic Wavesคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า [การแพทย์]
Energy, Radiantพลังงานการแผ่รังสี, รังสีแม่เหล็กไฟฟ้ามีพลังงาน [การแพทย์]
Fferic recorderสเฟอริค เรคคอร์ดเดอร์ หรือเครื่องบันทึกพลังแม่เหล็กไฟฟ้าในบรรยากาศ [อุตุนิยมวิทยา]
eddy currentกระแสวน, กระแสไฟฟ้าที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้นในตัวนำซึ่งอยู่ในสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลง  กระแสวนจะเกิดขึ้นในแกนเหล็กของหม้อแปลงหรือในเครื่องกลไฟฟ้าอื่น ๆ เป็นเหตุให้เกิดความร้อน ซึ่งเป็นการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
radiationการแผ่รังสี, พลังงานการแผ่รังสี,   1. พลังงานที่เคลื่อนที่ในรูปของคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโฟตอน 2. ลำอนุภาคโดยเฉพาะอนุภาคแอลฟาหรือบีตาจากสารกัมมันตรังสี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
heat radiationการแผ่รังสีความร้อน, การถ่ายโอนความร้อนจากวัตถุในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  การแผ่รังสีความร้อนนี้ไม่ต้องอาศัยวัตถุ และสามารถผ่านไปในอวกาศ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
electromagnetic inductionการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า, การทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าในตัวนำเมื่อตัวนำเคลื่อนที่ตัดสนามแม่เหล็ก หรือเมื่อสนามแม่เหล็กเกิดการเปลี่ยนแปลง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
induction coilขดลวดเหนี่ยวนำ, อุปกรณ์ที่ใช้เพิ่มความต่างศักย์ไฟฟ้าให้สูงขึ้นโดยอาศัยการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าของขดลวดไฟฟ้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
carrier waveคลื่นพาหะ, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูง ใช้เป็นพาหะนำสัญญาณเสียงและภาพในการส่งวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
electromagnetic waveคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, คลื่นซึ่งเกิดจากการสั่นของประจุไฟฟ้าหรือเกิดจากประจุไฟฟ้าที่มีความเร่ง คลื่นนี้ประกอบด้วยสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าที่เปลี่ยนค่าตลอดเวลาและตั้งฉากซึ่งกันและกัน แผ่กระจายออกจากแหล่งกำเนิดคลื่นด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วแสง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
threshold frequencyความถี่ขีดเริ่ม, ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีค่าพลังงานพอดี ทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกมาจากผิวโลหะได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
dynamoไดนาโม, เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งอาศัยหลักการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า โดยการทำให้ขดลวดเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็ก เป็นการเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
photonโฟตอน, อนุภาคไม่มีมวลซึ่งประกอบด้วยควอนตัมของแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือโฟตอน เป็นพลังงานหน่วยหนึ่งซึ่งมีค่าเท่ากับ hf โดย h เป็นค่าคงตัวของพลังค์ และ f เป็น ความถี่ของแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกมาหรือถูกดูดกลืน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
electromagnetแม่เหล็กไฟฟ้า, แม่เหล็กที่เกิดขึ้นจากการพันขดลวดไฟฟ้ารอบแกนเหล็กอ่อน เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก ซึ่งสามารถเหนี่ยวนำแกนเหล็กอ่อนภายในขดลวดให้เป็นแม่เหล็กได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
microwaveไมโครเวฟ, สื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระยะไกล โดยการส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวตามความโค้งของผิ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
gamma ray [ γ-ray ]รังสีแกมมา, รังสีชนิดหนึ่งที่แผ่ออกมาจากธาตุกัมมันตรังสี เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความยาวคลื่นสั้นมาก มีอำนาจในการผ่านทะลุสูงกว่ารังสีแอลฟาและรังสีบีตา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
X-raysรังสีเอกซ์, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นระหว่างรังสีอัลตราไวโอเลตและรังสีแกมมา รังสีเอกซ์เกิดขึ้นจากการยิงอิเล็กตรอน พลังงานจลน์สูงเข้าชนอะตอมของเป้าโลหะ แล้วอิเล็กตรอนจะมีความเร็วลดลงและคายพลังงานในรูปรังสีเอกซ์ การเกิดรังสีเอกซ์อีกวิธีหนึ่ง คือ อิเล็กตรอนพลั [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
radarเรดาร์, ย่อมาจาก radio detection and ranging 1. อุปกรณ์ตรวจสอบหาตำแหน่งวัตถุระยะไกล  2. วิธีการตรวจสอบหาตำแหน่งและทิศการเคลื่อนที่ของวัตถุ (เรือ เครื่องบิน)  โดยใช้วิธีการสะท้อนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (ไมโครเวฟ) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
electromagnetic lensเลนส์แม่เหล็กไฟฟ้า, สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้สำหรับโฟกัสลำของอิเล็กตรอน บางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า เลนส์แม่เหล็ก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
radio [ wireless ]วิทยุ, ระบบสื่อสารที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการรับและส่งโดยไม่ต้องใช้สายต่อถึงกัน  ความถี่ของคลื่นวิทยุอยู่ในช่วงระหว่าง 3 กิโลเฮิรตซ์ ถึง 300, 000 เมกะเฮิรตซ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
spectrumสเปกตรัม, แถบรังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นต่าง ๆ กัน สเปกตรัมที่มองเห็นได้คือแสง เมื่อแสงขาวผ่านปริซึมจะเกิดการหักเหเป็นแสงสีต่าง ๆ ซึ่งเรียกสเปกตรัม ตั้งแต่ความยาวคลื่นน้อยไปหามากตามลำดับดังนี้  สีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
electromagnetic spectrumสเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, แถบแสดงความถี่หรือความยาวคลื่นของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแต่ละช่วงมีชื่อต่าง ๆ  เช่น คลื่นวิทยุ รังสีอินฟราเรด แสง รังสีอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]

Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า[khleūn maēlek faifā] (n, exp) EN: electromagnetic radiation ; electromagnetic wave  FR: onde électromagnétique [ f ] ; rayonnement électromagnétique [ m ]
แม่เหล็กไฟฟ้า[maēlek faifā] (n, exp) EN: electro-magnet  FR: électroaimant [ m ]
แรงแม่เหล็กไฟฟ้า[raēng maē lek fai fā] (n, exp) EN: electromagnetic force  FR: force électromagnétique [ f ]

NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
electrodynamics(n) การศึกษาว่าปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้าและพลังแม่เหล็กไฟฟ้า (ทางฟิสิกส์), See also: อิเล็กโทรไดนามิกส์, พลศาสตร์ไฟฟ้า
electromagnet(n) แม่เหล็กไฟฟ้า, Syn. magnet
electromagnetic(adj) เกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้า
electromagnetic wave(n) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
inductance(n) ตัวเหนี่ยวนำ (กระแสไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กไฟฟ้า), Syn. capacitance
maser(n) เครื่องขยายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยเฉพาะ microwave
microwave(n) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูงมาก, See also: ไมโครเวฟ
shortwave(n) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ 30-60เมตร
solenoid(n) ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า
spectrogram(n) แถบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจาการหักเหของแสง
x ray(n) รังสีเอ็กซ์, See also: รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งซึ่งมีความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 0.01 - 10 นาโนเมตร
x-ray(n) รังสีเอ็กซ์, See also: รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งซึ่งมีความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 0.01 - 10 นาโนเมตร

Hope Dictionary
abvolt(แอบโวลท') n. หน่วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งเป็นเซนติเมตร-กรัม-วินาที มีค่าเท่ากับ 10-9 โวลท์
atom smasherเครื่องมือไฟฟ้าสถิตหรือแม่เหล็กไฟฟ้าที่ผลิตอนุภาคที่มีพลังงานสูงแล้วยิงเข้าที่เป้าหนึ่ง (accelerator)
ccd memoryหน่วยความจำแบบซีซีดีย่อมาจาก charge coupled device memory (หน่วยความจำแบบอุปกรณ์ถ่ายเทประจุ) หมาย ถึงหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ที่ทำจากซิลิคอนชิป (silicon chip) ซึ่งสามารถเปลี่ยนสนามแม่เหล็กไฟฟ้าไปเป็นประจุไฟฟ้า และสามารถบันทึกข้อมูลลงในจานแม่เหล็ก (disk) ได้ เหมาะสำหรับงานที่เรียกใช้ข้อมูลในหน่วยความจำตามลำดับ (sequential) หน่วยความจำชนิดนี้ทำงานช้ากว่าแรม (RAM) แต่เร็วกว่าแบบแม่เหล็ก
e.m.u.abbr. electromagnetic unit (&) หน่วยแม่เหล็กไฟฟ้า
electromagnetn. เครื่องมือแม่เหล็กไฟฟ้า
electromagneticadj. เกี่ยวกับภาวะแม่เหล็กไฟฟ้า
inductance(อินดัค'เทินซฺ) n. การเหนี่ยวนำ (กระแสไฟฟ้า, สนามแม่เหล็กไฟฟ้า) , ตัวเหนี่ยวนำ, ขดลวดเหนี่ยวนำ
induction(อินดัค'เชิน) n. การเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าสลับที่มีโวลท์, การหาความจริงด้วยการสังเกตข้อเท็จจริง, การพิสูจน์, การเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
magnetoelectricity(แมกนิโทอีเลคทริส'ซิที) n. แม่เหล็กไฟฟ้า
magnetrom(แมก'นิทรอน) n. หลอดสูญญากาศไฟฟ้าที่ให้กำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สั้นมาก ๆ
microwave(ไม'โครเวฟ) n. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงมากที่สุด
radiation(เรดิเอ'เชิน) n. การแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, พลังงานรังสี, สิ่งที่ถูกปล่อยออกจากจุดศูนย์กลาง, กัมมันตภาพรังสี.
x ray(เอคซฺ'เร) n. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งคล้ายแสง แต่มีความยาวคลื่นสั้นกว่า, ภาพเอกซฺเรย์ vt. ตรวจสอบหรือถ่ายด้วยเอกซฺเรย์
x-ray(เอคซฺ'เร) n. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งคล้ายแสง แต่มีความยาวคลื่นสั้นกว่า, ภาพเอกซฺเรย์ vt. ตรวจสอบหรือถ่ายด้วยเอกซฺเรย์

Nontri Dictionary
electromagnet(n) แม่เหล็กไฟฟ้า

Longdo Approved JP-TH
電磁波[でんじは, denjiha] (n) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
メーザー[でんじは, me^za^] (n) เครื่องขยายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยเฉพาะ microwave

Time: 0.8861 secondsLongdo Dict -- https://dict.longdo.com/