โคก ๑ | น. ที่ดินที่นูนสูงขึ้นคล้ายเนิน แต่เตี้ยกว่า. |
โคก ๑ | ว. ที่นูนสูงขึ้น. |
โคก ๒ | น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Anodontostoma และ Nematalosa วงศ์ Clupeidae หัวเล็ก ปากเล็ก ลำตัวสั้น แบนข้าง ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลำตัวสีเงิน ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามชายฝั่งที่มีพื้นท้องทะเลเป็นโคลน, ตะเพียนนํ้าเค็ม ก็เรียก. |
โคกกระสุน | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Tribulus terrestris L. ในวงศ์ Zygophyllaceae ผลเป็นหนาม ใช้ทำยาได้. |
โคกกระออม | น. ชื่อไม้เถาชนิด Cardiospermum halicacabum L. ในวงศ์ Sapindaceae ขึ้นทั่วไปตามที่รกร้าง ลำต้นเรียวเป็นร่อง ใบสีเขียวอ่อน มีมือเกาะ ดอกเล็ก สีขาว ผลกลม มีกลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยมพองลมหุ้มอยู่ รากและใบใช้ทำยาได้, กระออม ก็เรียก. |
โคกม้า ๑ | น. นักหมอม้า, ผู้เชี่ยวชาญเรื่องม้า. |
โคกม้า ๒ | น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น โคกม้าม่ายนางนวล กระสาสรวลกระสันต์ (ลอ). |
โมกโคก | ว. มีสัณฐานใหญ่และนูน (มักใช้แก่หน้าผาก). |
กรมนา | น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษานาหลวง เก็บหางข้าวขึ้นฉางหลวง ทำนุบำรุงอาชีพเกษตรกรรมและเก็บค่าภาษีอากรเกี่ยวกับการนั้น รวมทั้งบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีพิพาทเกี่ยวกับที่นาและโคกระบือเป็นต้น |
กระทรวง ๒ | ส่วนราชการที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน เช่น ถ้าเป็นกระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไปแพ่งกระเสมพิจารณา, ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า (สามดวง). |
กระบือ | น. ควาย (มักใช้เป็นทางการ) เช่น รูปพรรณโคกระบือ. |
กระวิน ๒ | ว. สีนํ้าตาล เช่น โคกระวิน. |
กระออม ๑ | ดู โคกกระออม. |
เกย ๒ | นอกชานหรือพื้นซึ่งสูงขึ้นที่เรียกว่า เนินปราสาท หรือ โคกปราสาท เพราะการก่อสร้างนิยมสร้างบนพื้นที่ถมสูง มีสภาพเป็นนอกชาน เรียกว่า เกย เกยชาลา หรือ ไพที ก็มี. |
โขด | น. ดินหรือหินที่สูงขึ้นเป็นโคกเป็นเนิน, ดิน หิน หรือทรายที่เป็นจอมสูงขึ้นพ้นนํ้าบ้าง อยู่ใต้นํ้าบ้าง. |
คำพ้องความ | น. คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า. |
ดอน | น. พื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง ตรงข้ามกับที่ลุ่ม, ที่เขิน, เนิน, โคก, โขด |
ตะเพียนน้ำเค็ม | ดู โคก ๒. |
เนิน | น. โคกขนาดใหญ่ที่ค่อยลาดสูงขึ้นจากระดับพื้น เช่น เนินดิน เนินเขา |
มูน ๑ | น. เนิน, โคก, จอม, เช่น มูนดิน. |
มูนดิน | ก. พูนให้เป็นเนินเป็นโคก เช่น มูนดินขึ้นกันน้ำท่วม. |
ริวกิว | น. ชื่อปลาทะเลหรือน้ำกร่อย ชนิด Arius thalassinus (Rüppell) ในวงศ์ Ariidae ลำตัวกลม ยาว ท้องแบน ปลายจะงอยปากมนในปลาขนาดเล็ก และแหลมป้านในปลาขนาดโต ด้านบนของหัวและลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนปนแดง หรือฟ้าอมเทา ตัวผู้มีพฤติกรรมฟักไข่และดูแลตัวอ่อนโดยอมไว้ในช่องปาก พบห่างฝั่งมากกว่าปลากดชนิดอื่น ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘๕ เมตร, กดทะเล กดโคกกะโส เลียวเซียว ลู่ทู่ กด หรือ อุก ก็เรียก.(ดู กด และ อุก). |
ไวพจน์ | น. คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน โคกับวัว บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง, คำพ้องความ ก็ว่า, (ป. เววจน) |
สัมผัสใน | น. สัมผัสที่อยู่ภายในวรรคเพื่อเพิ่มเสียงไพเราะ มีได้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร เช่น ถึงโคกฆ้องหนองสะพานบ้านกะเหรี่ยง เห็นโรงเรียงไร่ฝ้ายทั้งซ้ายขวา (ขุนช้างขุนแผน), ในโคลงหมายรวมถึงสัมผัสสระและสัมผัสอักษรที่อยู่ระหว่างวรรคในบาทเดียวกันด้วย คือ คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำแรกของวรรคหลัง เช่น อ้าศรีเสาวภาคย์เพี้ยง เพ็ญแข (ตะเลงพ่าย). |
arcograph | (อาร์ค'โคกราฟ) n. เครื่องมือวาดรูปโค้ง, วงเวียน, Syn. cyclograph |
hump | (ฮัมพฺ) n. ปุ่ม, โคก, หนอก, เนินกลม. -Phr. (the Hump ภูเขาหิมาลัย) vt. ทำให้เป็นปุ่มขึ้น, พยายามมาก, ผสมพันธ์กับ, แยกขึ้นหลังหรือไหล่. vi. เป็นปุ่มขึ้น, เร่งรีบ, Syn. protuberance, knob |
knoll | (โนล) { knolled, knolling, knolls } n. เนินเขากลมเล็ก ๆ , ปุ่มเล็ก ๆ , โคก, เนิน, ดอย, การตีระฆัง vt. เคาะระฆัง. vi. (ระฆัง) เปล่งเสียง, See also: knolly adj., Syn. hillock |
prominence | (พรอม'มะเนินซฺ) n. การนูนออก, การโผล่ออก, โหนก, ปุ่ม, เนิน, โคก., Syn. prominency |