กช, กช- | (กด, กดชะ-) น. ดอกบัว เช่น ดุจบัวอันบานชู กชกรรณิกามาศ (สมุทรโฆษ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคำ กร เป็น กรกช เช่น กรกชชุลีคัล (อิเหนาคำฉันท์). |
กนก | (กะหฺนก) น. ทองคำ เช่น มาลากนก = มาลัยทอง, โดยมากใช้ประกอบเป็นส่วนหน้าของสมาส เช่น กนกนัครา (สมุทรโฆษ). |
กรด ๓ | (กฺรด) น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C. B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่นํ้าท่วม เช่น ตามฝั่งนํ้าลำคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดำ เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก |
กรอง ๓ | (กฺรอง) น. กำไล, โดยมากใช้ประกอบกับคำอื่น ๆ เช่น กรองเชิง = กำไลเท้า กรองได = กำไลมือ กรองศอ = เครื่องประดับคอ, นวมคอ, เช่น กรองศอซ้อนสลับทับอังศา (อิเหนา). [ ข. กง (กอง) ว่า กำไล, วงกลม ]. |
กระดาษ | น. วัตถุเป็นแผ่นบาง ๆ โดยมากทำจากใยเปลือกไม้ ฟาง หญ้า หรือ เศษผ้า เป็นต้น ใช้เขียนหรือพิมพ์หนังสือหรือห่อของและอื่น ๆ. |
กระดุ้งกระดิ้ง | ว. อาการที่ทำท่าทางสะบัดสะบิ้งดีดดิ้น (โดยมากใช้แก่ผู้หญิง). |
กระบวนจีน | น. วิธีการที่นำแบบอย่างศิลปะของจีนมาดัดแปลงหรือประกอบในงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และมัณฑนศิลป์ของไทย, เรียกลวดลายผ้าแพร โดยมากเป็นรูปประแจ กะแปะ มังกร ว่า ลายกระบวนจีน. |
กระบาก | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Anisoptera วงศ์ Dipterocarpaceae ขึ้นในป่าดิบทั่วไป ลำต้นตรง สูง ๓๐-๔๐ เมตร เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับนํ้าหนัก โดยมากใช้เป็นไม้แบบหล่อคอนกรีต. |
กระปุก | น. ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาหรือแก้วเป็นต้น รูปป้อม ๆ เตี้ย ๆ ขนาดเล็ก โดยมากปากแคบ ก้นสอบ, ลักษณนามเรียกทะลายของผลระกำหรือผลจาก เช่น ผลระกำกระปุกหนึ่ง ผลจาก ๒ กระปุก. |
กระมึน | ว. ทะมึน, มีลักษณะดำมืดสูงใหญ่น่าเกรงขาม, เช่น กายาศีรษะพลัดพราย หัวขาดเด็ดตาย จรลู่กระมึนเหมือนเขา (เสือโค, บางฉบับเป็น ตระหมื้น), ตระมึน หรือ ตระมื่น ก็ใช้, โดยมากใช้ว่า ทะมื่น. |
กระลิง | ก. จับ, ถือ, โดยมากใช้เป็น กระลึง. |
กลอนตลาด | น. คำกลอนสามัญ โดยมากเป็นกลอน ๘ เช่น กลอนนิราศ นิทานคำกลอน. |
กลัมพร | (กะลำพอน) น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น มาทำกลัมพรภัย (เสือโค), อันจ่อมกลัมพรภัย (สมุทรโฆษ), ในบทกลอนโดยมากใช้แผลงเป็น กะลำพร กระลำพร หรือ กระลำ ก็มี. |
กลี่ | (กฺลี่) น. ภาชนะขนาดเล็กสำหรับใส่หมากบุหรี่ โดยมากมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีฝาสวมเข้ากับลิ้นข้างใน. |
กษมา ๑ | (กะสะ-) ก. กล่าวคำขอโทษ, โดยมากใช้ว่า ษมา. |
ก้อน | น. คำบอกลักษณะของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น ไม่กำหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ข้าวเกาะกันเป็นก้อน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ก้อนข้าว |
ก้อน | สิ่งที่แยกหรือแตกออกจากสิ่งใหญ่ ไม่กำหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนดิน |
กะบอนกะบึง | ก. มีท่าทีโกรธอย่างแสนงอน เช่น คอยสะบัดปัดกรกะบอนกะบึง (อิเหนา), โดยมากใช้ กะบึงกะบอน. |
กานต์ | ว. เป็นที่รัก, โดยมากใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น จันทรกานต์ เป็นที่รักของพระจันทร์ ได้แก่แก้วผลึกที่ถูกแสงจันทร์แล้วมีเหงื่อ, คู่กับ สูรยกานต์ เป็นที่รักของพระอาทิตย์ ได้แก่แก้วที่รวมแสงอาทิตย์ให้เกิดไฟได้. |
กำหนด | บทบริหารบัญญัติคล้ายพระราช-กฤษฎีกา โดยมากเป็นบัญญัติที่เกี่ยวกับบุคคลหรือข้าราชการบางจำพวก เช่น พระราชกำหนดเครื่องแบบแต่งกายข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน. |
เกร่อ | (เกฺร่อ) ว. ลักษณะบางอย่างที่เกี่ยวกับเรื่องกินเรื่องใช้เป็นต้นที่คนโดยมากมักทำกัน เช่น กินกันเกร่อ เที่ยวกันเกร่อ ใช้กันเกร่อ. |
เกสร | (-สอน) น. ส่วนในของดอกไม้โดยมากเป็นเส้น ๆ เช่น เกสรบัว, เรณูหรือผงเหลืองที่มีอยู่ในดอกไม้ ติดอยู่กับก้านเกสรก็มี ติดกับเมล็ดเกาะอยู่กับดอกก็มี, ส่วนสืบพันธุ์ของดอกไม้ |
เกียง | ก. เกี่ยง, รังเกียจ, ไม่ลงรอย, เกี่ยงแย่ง, เกี่ยงแย้ง, เช่น คนใดอันรังร้าย จิตรพิศเกียงกล (จารึกวัดโพธิ์), โดยมากใช้เป็น เกี่ยง. |
โกญจ-นาท | น. การบันลือเสียงเหมือนนกกระเรียน, ความกึกก้อง, (โดยมากใช้แก่เสียงช้าง). |
ขนาด ๒ | (ขะหฺนาด) น. เครื่องสาดนํ้ารดต้นไม้ โดยมากสานด้วยไม้ไผ่ รูปแบน ๆ มีด้ามสำหรับถือ. |
ขย- | (ขะยะ-) น. ความสิ้นไป, ความเสื่อมไป, โดยมากใช้ในสมาส เช่น ขยธรรม อาสวักขยญาณ, ถ้าใช้โดด ๆ หรือเป็นคำท้ายสมาส เป็น ขัย เช่น อายุขัย. |
ขวด | น. ภาชนะกลวงใน โดยมากทำด้วยแก้ว รูปสูง มักมีคอหรือปากแคบ สำหรับบรรจุของเหลวเป็นต้น, ลักษณนามว่า ใบ. |
ข้อเหวี่ยง | น. ส่วนที่ต่อเพลา โดยมากมีลักษณะงอ สำหรับรับกำลังดันหรือกำลังฉุดให้เพลาหมุนรอบ ๆ, ภาษาปากว่า ข้อเสือ. |
ข่อน | ว. ปั่นป่วน, ไม่สบายใจ, โดยมากใช้เป็นคำคู่ เช่น อกใจมันให้ข่อน ๆ จะนั่งนอนก็ไม่หลับสนิท (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). |
คฤหาสน์ | (คะรึหาด) น. เรือน, โดยมากหมายถึงเรือนขนาดใหญ่และสง่าผ่าเผย. |
คลินิก | น. สถานรักษาพยาบาล โดยมากเป็นของเอกชน มักไม่รับผู้ป่วยให้พักรักษาตัวประจำ |
เครื่องเทศ | น. ของหอมฉุนและเผ็ดร้อนที่ได้มาจากพืช โดยมากมาจากต่างประเทศสำหรับใช้ทำยาไทยและปรุงอาหาร เช่น ลูกผักชี ยี่หร่า. |
เคี้ยว ๒ | ว. คด เช่น นํ้าเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม (โลกนิติ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคำ คด เป็น คดเคี้ยว. |
เคื้อ ๑ | ว. งาม, โดยมากเป็น อะเคื้อ. |
แคร่ ๑ | (แคฺร่) น. ที่สำหรับนั่งหรือนอนโดยมากมีรูปสี่เหลี่ยม มักทำด้วยฟากหรือไม้ไผ่ซี่ ๆ ถักติดกันเป็นต้น ไม่มีขา ยกไปได้, บางชนิดทำเสาเป็นเครื่องรองรับก็มี เรียกรวม ๆ ทั้งหมดว่า แคร่, บางชนิดใช้วางบนคานหาม สำหรับหามไป, ใช้แก่เจ้านาย เรียกว่า แคร่คานหาม, เรียกสั้น ๆ ว่า แคร่ ก็มี, บางชนิดใช้วางบนเรือ เรียกว่า แคร่เรือ |
โคจร, โคจร- | (-จอน, -จะระ-) ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก, เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน, คำนี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์, เมื่อว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. |
เงี่ยน | ก. อยากจัด, กระหายจัด, มีความรู้สึกอยากหรือกระหายเป็นกำลัง, (โดยมากใช้เฉพาะของเสพติดและกามคุณ). |
จอมไตร | น. ผู้เป็นใหญ่ในโลกสาม, โดยมากหมายถึงพระพุทธเจ้า หรือ พระอิศวร (ตัดมาจาก จอมไตรโลก หรือ จอมไตรภพ). |
จะปิ้งเรือ | น. แผ่นโลหะโดยมากทำเป็นรูปดอกจัน สำหรับตรึงที่โคนห่วงร้อยโซ่ผูกเรือ. |
จาง | ว. น้อยไป, ลดไป, ไม่เข้ม, (โดยมากใช้แก่สี รส กลิ่น). |
จ้ำม่ำ | ว. คำประกอบลักษณะอ้วน ให้รู้ว่าอ้วนน่ารัก (โดยมากใช้เฉพาะเด็ก). |
เจี๊ยว ๑ | ก. ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยวจ๊าว ก็ว่า |
เจี๊ยว ๑ | ว. อาการที่ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยวจ๊าว ก็ว่า. |
เจี๊ยวจ๊าว | ก. ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยว ก็ว่า. |
เจี๊ยวจ๊าว | ว. อาการที่ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยว ก็ว่า. |
ฉ่าง | ก. เสี่ยงทายว่าใครจะเป็นผู้ขึ้นต้น, ลองดูว่าท่าไหนจะดี, (โดยมากใช้สำหรับเล่นลูกเต๋าหรือไพ่). |
ฉำฉา ๑ | น. ชื่อเรียกไม้เนื้ออ่อน โดยมากเป็นพวกไม้สนที่ใช้ทำหีบบรรจุของมาจากต่างประเทศ. |
เฉลี่ยง | (ฉะเหฺลี่ยง) น. ยาน, คานหาม, โดยมากใช้ว่า เสลี่ยง. |
ชะวัง | น. ชื่อหวายชนิดหนึ่งผิวงาม โดยมากใช้ทำไม้ถือ. |
ซิ, ซิ่, ซี | คำประกอบท้ายประโยคเพื่อเสริมข้อความให้เด่น ให้ชัด เป็นต้น, โดยมากใช้กับกริยาเป็นเชิงบังคับ เชิงชวน หรือรับคำเป็นต้น เช่น ไปซิ มาซิ ไปซิ่ มาซิ่ ไปซี มาซี, สิ ก็ว่า. |
Click | คลิก, การใช้นิ้วกดลงไปปุ่มของเมาส์ แล้วดีดนิ้วออกทันที โดยมากจะหมายถึงการใช้นิ้วกดไปที่ปุ่มซ้ายของเมาส์ แต่ถ้ากดที่ปุ่มขวาของเมาส์ จะเรียกว่า คลิกขวา [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
แว่นฟ้า | สิ่งที่ประดับด้วยกระจก เช่น พานแว่นฟ้า คือ พานที่ประดับด้วยกระจก โดยมากเป็นพาน ๒ ชั้น ซ้อนกัน [ศัพท์พระราชพิธี] |
Special monitoring | การเฝ้าสังเกตพิเศษ, การตรวจติดตามที่กำหนดขึ้นสำหรับสถานการณ์จำเพาะ ของสถานปฏิบัติการ เพื่อให้ได้ข้อมูลเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่ามีการควบคุมที่ดี โดยมากจะใช้ในขั้นตอนดำเนินการของสถานปฏิบัติการใหม่ ใช้ในกรณีที่มีการดัดแปลงที่สำคัญของสถานปฏิบัติการและวิธีปฏิบัติ หรือใช้กับปฏิบัติการภายใต้ภาวะผิดปกติ เช่น การเกิดอุบัติเหตุ การเฝ้าสังเกตพิเศษนี้ อาจเป็นการเฝ้าสังเกตรายบุคคล หรือ การเฝ้าสังเกตสถานปฏิบัติการเฉพาะแห่ง, Example: [นิวเคลียร์] |
Click | คลิก, การใช้นิ้วกดลงไปปุ่มของเมาส์ แล้วดีดนิ้วออกทันที โดยมากจะหมายถึงการใช้นิ้วกดไปที่ปุ่มซ้ายของเมาส์ แต่ถ้ากดที่ปุ่มขวาของเมาส์ จะเรียกว่า คลิกขวา [คอมพิวเตอร์] |
Classes of Consuls | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ กงสุลอาชีพ (Consules de Carriere) กับกงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consuls) กงสุลอาชีพเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง และจะประจำทำงานเต็มเวลาในที่ทำการทางกงสุล ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์นั้นไม่มีฐานะเป็นกงสุลอาชีพ โดยมากเป็นนักธุรกิจในต่างประเทศ ซึ่งจะประจำทำงานเพียงส่วนหนึ่งของวัน (ไม่ใช่เต็มวัน) ในสถานที่ทำการทางกงสุลของตน และอาจจะเป็นคนชาติของรัฐที่เขาเป็นตัวแทนอยู่ หรือไม่เป็นคนชาติของรัฐนั้นก็ได้ ความแตกต่างอื่นๆ ระหว่างกงสุลอาชีพกับกงสุลกิตติมศักดิ์ มีดังนี้1. กงสุลอาชีพจะได้รับเงินเดือนประจำ แต่กงสุลกิตติมศักดิ์ไม่มีเงินเดือน2. กงสุลอาชีพมีตำแหน่งหน้าที่ถาวร ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์มีตำแหน่งว่าจ้างเพียงชั่วคราว 3. ส่วนมากกงสุลอาชีพจะต้องเป็นผู้ได้รับการฝึกอบรมหรือมีประสบการณ์มาก่อน ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์ไม่ต้องเป็นเช่นนั้น4. กงสุลอาชีพมีสิทธิได้รับความคุ้มกัน (immunities) และการยกเว้นต่าง ๆ มากกว่ากงสุลกิตติมศักดิ์สำหรับบุคคลที่เป็นหัวหน้าในที่ทำการทางกงสุลนั้น มีตำแหน่งตามลำดับชั้น คือ1) กงสุลใหญ่ (Consuls-general)2) กงสุล (Consuls)3) รองกงสุล (Vice-consuls) [การทูต] |
convention | อนุสัญญา โดยมากแล้ว อนุสัญญามักเป็นหนังสือสัญญาทำกันระหว่างหลายประเทศที่มาประชุมกัน และจัดวางบทบัญญัติเป็นกฎเกณฑ์ของกฎหมายขึ้น [การทูต] |
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corps | หัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต] |
protocol | 1. พิธีการทูต 2. พิธีสาร " 1. พิธีการทูต หมายถึง หลักปฏิบัติ หรือมารยาททางการทูต (etiquette) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในนานาประเทศจนกลายเป็นรูปแบบที่ใช้กันในงานพิธีการ หรือรัฐพิธีต่าง ๆ รวมถึงเรื่องเอกสิทธิ์ ความคุ้มกัน ลำดับอาวุโส ฯลฯ ทั้งนี้ บุคคลซึ่งเป็นหัวหน้ารับผิดชอบด้านพิธีการทูต เรียกว่า Chief of Protocol สำหรับประเทศไทย คือ อธิบดีกรมพิธีการทูต ส่วนเจ้าหน้าที่พิธีการทูต เรียกว่า protocol official 2. พิธีสาร เป็นความตกลงระหว่างประเทศอย่างหนึ่ง โดยมากเป็นพิธีสารต่อท้ายสนธิสัญญาหรืออนุสัญญา หรือพิธีสารแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาหรืออนุสัญญานั้น " [การทูต] |
Recall of Diplomats | การเรียกตัวนักการทูตกลับประเทศของตน คือ ผู้แทนทางการทูตอาจถูกรัฐบาลของตนริเริ่มเรียกตัวกลับประเทศได้ด้วยเหตุผล ต่าง ๆ เช่น ผู้แทนทางการทูตนั้นขอลาออก หรือลาออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ หรือถูกโยกย้ายไปประจำอีกแห่งหนึ่ง หรือเกิดความไม่พอใจอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ถ้าหากรัฐบาลปรารถนาจะเรียกหัว หน้าคณะผู้แทนทางการทูตกลับโดยถาวรเนื่องจากไม่พอใจในตัวเขา โดยมากเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกัน คือ รัฐบาลจะเปิดโอกาสให้หัวหน้าคณะทูตผู้นั้นทำหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งเสีย มากกว่าที่จะใช้วิธีสั่งปลด อันเป็นการกระทำที่รุนแรงกว่ามากนอกจากนี้ หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตหรือเอกอัครราชทูตอาจถูกรัฐบาลเรียกตัวกลับตามคำ ขอร้องของรัฐบาลประเทศผู้รับ เนื่องจากกระทำตนไม่เป็นที่พึงปราถนาของประเทศผู้รับ (Persona non grata) ก็ได้ ตามปกติ คำขอร้องจากรัฐผู้รับขอให้เรียกตัวกลับนั้น มักได้รับการตอบสนองโดยดีในทันทีจากรัฐผู้ส่ง แต่ถ้าหากรัฐผู้ส่งปฏิเสธคำขอร้องดังกล่าวนั้น รัฐผู้รับอาจขับให้ออก (Dismiss) จากประเทศก็ได้ [การทูต] |
Elongation | ความสามารถของวัสดุที่ยืดออกได้โดยไม่เกิดการแตกหักเสียหาย โดยมากมักจะวัดค่า “ultimate elongation – การยืดสูงสุด” หรือ “elongation at break – การยืด ณ จุดขาด” ซึ่งจะแสดงค่าเป็นร้อยละของความยาวเดิม [เทคโนโลยียาง] |
einst | ครั้งหนึ่งในอดีต หรือ เมื่อก่อนนี้ (โดยมากใช้ในภาษาเขียน) เช่น Stavenger ist, wo wir einst waren. สตาเวนเจอร์คือเมืองหนึ่งที่เราเคยไป, Syn. früher |
meist | โดยมาก, ส่วนใหญ่ |
sowohl | รวมทั้ง โดยมากใช้กับ als auch เช่น sowohl Zeit als auch Geld ทั้งเวลาและเงิน |
seltsam | (adj) แปลก (โดยมากในแง่ลบ), See also: seltsamerweise adv. |
schwänzeln | (vi) |schwänzelte, hat geschwänzelt| สั่นหาง โดยมากใช้กับสุนัข เช่น Der Hund schwänzelt. |
spüren | (vi, vt) |spürte, hat gespürt| รู้สึกถึง, รับความรู้สึก, รับรู้ เช่น Du sollst spüren, daß sie immer für dich da ist. นายควรรับรู้ไว้ว่าเธออยู่ตรงนี้เสมอสำหรับนาย (สังเกตความแตกต่างระหว่าง spüren และ fühlen โดยมาก fühlen ใช้บ่งความรู้สึกทางร่างกาย เช่น Ich fühle mich schlecht.ซึ่งจะไม่พูดว่า Ich spüre schlecht. ), See also: Related: fühlen |
Studiengebühr | (n) |die, pl. Studiengebühren| เงินบำรุงการศึกษา (ไม่ใช่ค่าหน่วยกิจ เพราะโดยมากแล้ว ในเยอรมนีจะละเว้นค่าหน่วยกิจเนื่องจากรัฐเป็นผู้ช่วยเหลือในส่วนนี้ หรือ เป็นการศึกษาแบบให้เปล่าจากรัฐ จนถึงระดับดิโพลม) |
Auf Wiedersehen! | (phrase) ลาก่อน, แล้วพบกันใหม่ (โดยมาก ใช้กล่าวลากับคนที่ไม่ค่อยได้เจอกันบ่อยหรือตามร้านค้า), Syn. Tschüß! |
sich erholen | (vt) |erholte sich, hat sich erholt| พักฟื้น, พักผ่อน(ช่วงเวลาพักยาวนานกว่า sich ausruhen และโดยมากหมายถึงพักหลังจากป่วยไข้หรือการทำงานหนัก) เช่น Sie sollen sich im Urlaub ganz von der Arbeit erholen. คุณควรพักฟื้นจากการทำงานในช่วงพักร้อนซะ, See also: Related: sich ausruhen |
Balkon | (n) |der, pl. Balkone/Balkons| เฉลียงหรือระเบียงบ้านที่อยู่นอกตัวบ้านและมีรั้วรอบขอบชิด โดยมากอยู่ชั้นบนของตัวอาคาร เช่น Gehen wir uns auf den Balkon setzen? เราไปนั่งบนระเบียงกันไหม, See also: Related: Terrasse |