260 ผลลัพธ์ สำหรับ *ใช้กับ*
หรือค้นหา: ใช้กับ, -ใช้กับ-

Longdo TH - TH
5 บาท(n) ครึ่งชั่วโมง (ใช้กับเวลา)
ออเจ้า(pron) คุณ หรือ เธอ ใช้กับผู้ที่อาวุโสน้อยกว่า

Longdo Unapproved TH - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
featuringผู้ร่วมกิจกรรมรับเชิญ มักใช้กับการแสดงดนตรีหรือภาพยนต์ เช่น การแสดงดนตรีวงนี้มี "นักร้องรับเชิญ" ที่มีชื่อเสียง

Longdo Unapproved TH-NE-N - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ฮุม(vt) รวมตัวกันมากดราคาเพื่อซื้อสินค้าให้ได้แบบราคาถูก ใช้กับพวกพ่อค้า

NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ใช้กับ(v) apply to, Example: กระดาษ 90 แกรมแถมมาให้ใช้กับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ในการพิมพ์ภาพสี

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กระฉอกว. แหว่ง, เว้า, (ใช้กับลักษณะของผม), ฉอก ก็เรียก.
กระดิกหูเข้าใจดี, รู้เรื่องดี, ใช้กับการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ภาษาอังกฤษฉันกระดิกหูเสียที่ไหนถึงจะให้ไปทำงานบ้านฝรั่ง.
กระบอก ๑ลักษณนามบอกสัณฐาน สำหรับใช้กับของกลมยาวแต่กลวง เช่น ข้าวหลาม ๓ กระบอก
กลดกำมะลอน. กลดชนิดหนึ่ง ทำด้วยผ้าขาวหรือแพรขาวเขียนลายทอง สำหรับใช้กับเจ้านายหรือพระพุทธรูป.
กำมะลอเรียกกลดที่ทำด้วยผ้าขาวหรือแพรขาวเขียนลายทอง สำหรับใช้กับเจ้านายหรือพระพุทธรูป ว่า กลดกำมะลอ, เรียกลายที่เขียนที่เครื่องกำมะลอเป็นลายสี ลายทอง หรือลายทองแทรกสี หรือเขียนบนผ้าขาวหรือแพรขาว ว่า ลายกำมะลอ
กึ๋นสติปัญญาที่แหลมคม, นิยมใช้กับคำว่า มี หรือ ไม่มี เช่น หัวหน้าคนนี้มีกึ๋น เด็กคนนี้ไม่มีกึ๋นเอาเลย.
ขนม(ขะหฺนม) น. ของกินที่ไม่ใช่กับข้าว มักปรุงด้วยแป้งหรือข้าวกับกะทิหรือนํ้าตาล, ของหวาน, ทางเหนือเรียกว่า ข้าวหนม.
ควาญ(คฺวาน) น. ผู้เลี้ยงและขี่ขับช้าง, คนบังคับช้าง, ใช้กับสัตว์อื่นก็มี เช่น ควาญแรด (สมุทรโฆษ), ควาญแกะ ควาญม้า (ปรัดเล).
งอมว. สุกจัดจนเกือบเน่าหรือเละ เช่น กล้วยงอม มะม่วงงอม, โดยอนุโลมใช้กับคนที่แก่มากจนทำอะไรไม่ไหว เช่น ปีนี้คุณยายดูงอมมาก, โดยปริยายหมายความว่า แย่ เช่น ถูกใช้ให้ทำงานเสียงอม, บอบชํ้า เช่น ถูกตีเสียงอม, ได้รับทุกข์ทรมานมาก เช่น เป็นไข้เสียงอม.
เจือก. เอาส่วนน้อยประสมลงไปในส่วนมากให้ระคนปนกัน ตามปรกติใช้กับของเหลว เช่น เอานํ้าเย็นเจือนํ้าร้อน
ฉอกว. แหว่ง, เว้า, (ใช้กับลักษณะของผม) ในคำว่า ผมฉอก, กระฉอก ก็ใช้.
ซิ, ซิ่, ซีคำประกอบท้ายประโยคเพื่อเสริมข้อความให้เด่น ให้ชัด เป็นต้น, โดยมากใช้กับกริยาเป็นเชิงบังคับ เชิงชวน หรือรับคำเป็นต้น เช่น ไปซิ มาซิ ไปซิ่ มาซิ่ ไปซี มาซี, สิ ก็ว่า.
โซลาน. นํ้ามันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลชนิดหมุนเร็ว โดยใช้ความร้อนซึ่งเกิดจากกำลังอัดของลูกสูบจุดระเบิด, ทางการเรียกว่า นํ้ามันดีเซลหมุนเร็ว.
ดีฉานส. ดิฉัน, ดีฉัน, เป็นคำที่เจ้านายผู้ชายมักใช้กับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ตะกรับ ๑(-กฺรับ) น. ดินเผาหรือเหล็กเป็นแผ่นเจาะเป็นรู ๆ สำหรับรองถ่านเพื่อให้ลมเดินผ่านได้และขี้เถ้าตกลงข้างล่าง ใช้กับเตาที่ใช้ถ่านหรือฟืนเช่นเตาอั้งโล่, รังผึ้ง ก็ว่า
ตะเบ๊ะก. ทำความเคารพอย่างคนในเครื่องแบบ คือ ทำวันทยหัตถ์. [ เทียบ ม. angkat tabek ว่า วันทยหัตถ์ (angkat ว่า ยกขึ้น tabek เป็นคำทักทายที่ผู้น้อยใช้กับผู้ใหญ่) ]
ใต้เท้ากรุณาส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้กับขุนนางที่มีศักดิ์สูงเช่นเจ้าพระยา, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
ใต้เท้ากรุณาเจ้าส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้กับขุนนางชั้นสมเด็จเจ้าพระยา, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
ทั่วไป, ทั่ว ๆ ไปว. ธรรมดา ๆ เช่น โดยเหตุผลทั่ว ๆ ไป, ไม่จำกัด เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นกฎหมายทั่วไป ใช้กับทุกคน, ส่วนใหญ่, ส่วนมาก, เช่น คนทั่ว ๆ ไป.
ทางเก็บน. วิธีบรรเลงดนตรีแบบหนึ่ง โดยดำเนินทำนองเป็นพยางค์เสียงช่วงสั้นต่อเนื่องกันไป ส่วนใหญ่นิยมใช้กับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี เช่น ระนาดเอก ขิม.
เธอส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย มักใช้ในระหว่างเพื่อนผู้หญิงด้วยกัน หรือใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่า เช่นครูพูดกับศิษย์ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่าด้วยความยกย่องหรือเอ็นดูเป็นต้น เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คำเติมท้ายคำนำพระนามเจ้านายที่แสดงความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์ มาจากคำว่า ธ ซึ่งหมายถึงพระมหากษัตริย์ เช่น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอ.
น้ำมันขี้โล้น. น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งซึ่งใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลชนิดหมุนช้า, ทางการเรียกว่า น้ำมันดีเซลหมุนช้า.
บัณรสี(บันนะระสี) ว. ที่ ๑๕, ใช้กับคำว่า ดิถี เช่น บัณรสีดิถี = วัน ๑๕ คํ่า.
บาร์เรลน. หน่วยวัดความจุของของเหลว ซึ่งเมื่อใช้กับการวัดปริมาตรนํ้ามันปิโตรเลียม ๑ บาร์เรล = ๓๖ แกลลอนในประเทศอังกฤษ ส่วนในสหรัฐอเมริกา ๑ บาร์เรล = ๔๒ แกลลอน.
ปื้นน. ลักษณนามใช้กับเลื่อย เช่น เลื่อยปื้นหนึ่ง เลื่อย ๒ ปื้น.
โปรแกรมคอมพิวเตอร์น. คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือเพื่อให้ได้รับผลอย่างหนึ่งอย่างใด.
พลาง(พฺลาง) ว. ในระยะเวลาเดียวกัน (มักใช้กับกริยาที่ควบคู่กัน) เช่น เขาเดินพลางกินพลาง กองทัพสู้พลางถอยพลาง, ชั่วระหว่างเวลา (ที่ยังไม่พร้อมหรือยังไม่ถึงกำหนดเป็นต้น) เช่น กินไปพลางก่อน ทำไปพลางก่อน อยู่ไปพลางก่อน.
มีหน้าว. ไม่รู้สึกอาย (ใช้ในความแดกดัน รังเกียจ หรือดูหมิ่น), มักใช้กับคำ ยัง เช่น โกรธกันแล้วยังมีหน้ามาพูด เก่าไม่ใช้ ยังมีหน้ามายืมใหม่อีก.
รังผึ้งดินเผาหรือเหล็กเป็นแผ่นเจาะเป็นรู ๆ สำหรับรองถ่านเพื่อให้ลมเดินผ่านได้และขี้เถ้าตกลงข้างล่าง โดยมากใช้กับเตาอั้งโล่หรือเตาหม้อนํ้าเรือกลไฟเป็นต้น, ตะกรับ ก็ว่า.
รำมะนาน. กลองขึงหนังหน้าเดียว หน้ากลองที่ขึ้นหนังบานผายออก หุ่นกลองสั้น รูปกลมแป้น มี ๒ ชนิด ชนิดที่ใช้กับวงมโหรีมีขนาดเล็ก ตรึงหมุดโดยรอบ ส่วนชนิดที่ใช้กับวงลำตัดมีขนาดใหญ่กว่า ขึ้นหนังหน้ากลองโดยใช้เส้นหวายผ่าซีกโยงระหว่างขอบหน้ากับวงเหล็ก.
แล็กเกอร์น. น้ำมันชักเงาประเภทหนึ่งที่ใช้ทาหรือพ่นเคลือบผิววัตถุให้เป็นเงามันและสวยงาม ประกอบด้วยตัวทำละลายที่ระเหยแห้งได้ง่าย เช่น เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) บิวทิลแอซีเทต (butyl acetate) และตัวถูกละลาย เช่น ไนโตรเซลลูโลส (nitrocellulose) ไวนิลเรซิน (vinyl resin) เมื่อนำไปทาหรือพ่นผิววัตถุ ตัวทำละลายจะระเหยแห้งไปอย่างรวดเร็ว ทิ้งตัวถูกละลายให้เป็นของแข็งเคลือบผิววัตถุเป็นเงามัน มีหลายชนิด เช่น ชนิดใช้กับพื้นไม้ ชนิดใช้กับพื้นโลหะ ชนิดใช้พ่นเคลือบเส้นผมให้ทรงรูป ชนิดใช้ทาเคลือบเล็บ.
วุฒิบัตรน. เอกสารแสดงวุฒิทางการศึกษา, มักใช้กับการศึกษาอบรมระยะเวลาสั้น ๆ.
สมสู่ก. ร่วมประเวณี (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เขาไปสมสู่กันเอง สมสู่อยู่กินกันฉันผัวเมีย, บางทีก็ใช้กับสัตว์บางชนิด เช่น เดือน ๑๒ เป็นฤดูที่สุนัขสมสู่กัน.
สิคำประกอบท้ายประโยคเพื่อเสริมข้อความให้เด่น ให้ชัด เป็นต้น, โดยมากใช้กับกริยาเป็นเชิงบังคับ เชิงชวน หรือรับคำ เป็นต้น เช่น ไปสิ มาสิ, ซิ ซิ่ หรือ ซี ก็ว่า.
สิ้นเชิงก. สิ้นท่า, หมดท่า, หมดชั้นเชิง, เช่น อันธพาลเมื่อเจอนักสู้เข้าก็สิ้นเชิงนักเลง, โดยปริยายมักใช้กับคำ โดย หรือ อย่าง เป็น โดยสิ้นเชิง อย่างสิ้นเชิง หมายความว่า ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุกประการ, เช่น ข่าวลือนี้ไม่มีมูลความจริงโดยสิ้นเชิง โครงการนี้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง.
เสมอ ๓(สะเหฺมอ) น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้ประกอบการเดินของตัวละครในระยะใกล้ ๆ มีหลายทำนองขึ้นอยู่กับตัวแสดง เช่น เสมอมาร เสมอเถร เสมอผี เสมอตีนนกหรือบาทสกุณี (ใช้กับมนุษย์).
หน้าทับภาษาน. ชื่อหน้าทับที่ใช้กับเพลงภาษาต่าง ๆ เช่น หน้าทับเขมร หน้าทับแขก หน้าทับจีน.
หน้าทับสามัญน. ชื่อหน้าทับที่ใช้กับเพลงต่าง ๆ ได้แก่ หน้าทับสองไม้และหน้าทับปรบไก่.
หักใจก. ตัดใจไม่คิดในเหตุที่เกิดขึ้น, มักใช้กับเหตุการณ์ที่ทำให้เสียใจหรือสูญเสียเป็นต้น.
ห่า ๒โดยปริยายใช้กับสิ่งที่มาหรือตกลงมาเป็นจำนวนมาก เช่น ฝนตกลงมาห่าใหญ่, บางทีก็ใช้ว่า ห่าฝน เช่น ฝูงเครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มข้าศึกเป็นห่าฝน.
ให้แรงก. ทำให้มีกำลังเพิ่มขึ้นเป็นต้น มักใช้กับสิ่งนอกเหนือธรรมชาติตามความเชื่อ เช่น ผีให้แรง เทวดาให้แรง.
อาศิรพจน์, อาศิรพาท, อาศิรวจนะ, อาศิรวาท, อาเศียรพจน์, อาเศียรพาท, อาเศียรวจนะ, อาเศียรวาทน. คำอวยพร (เป็นคำที่ผู้น้อยใช้กับผู้ใหญ่).
อิเล็กทรอนิกส์(-ทฺรอ-) น. วิทยาศาสตร์กายภาพแขนงหนึ่งที่นำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาวงจรไฟฟ้าที่ใช้สารกึ่งตัวนำและอุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งควบคุมการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนได้.
เอออ. คำที่เปล่งออกมาเพื่อบอกรับหรืออนุญาต, มักเป็นคำที่ผู้ใหญ่ใช้กับผู้น้อย หรือระหว่างเพื่อนที่สนิทสนมกัน, คำที่เปล่งออกมาแสดงว่านึกเรื่องที่จะถามหรือจะพูดขึ้นได้.

ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
spotจุด, จุดเปื้อน [ ใช้กับรหัสแท่ง ] [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔]
skin; cutis๑. หนัง๒. ผิวหนัง (ใช้กับ skin disease) [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
oil๑. น้ำมันหล่อลื่น [ มีความหมายเหมือนกับ lube oil; lubricating oil ]๒. น้ำมันเครื่อง๓. น้ำมันเชื้อเพลิง [ ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล ] [พลังงาน ๒๖ ม.ค. ๒๕๔๕]
alternate keyกุญแจสำรอง [ ใช้กับแฟ้ม ] [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔]
multisessionการบันทึกต่อได้หลายครั้ง [ ใช้กับซีดีอาร์ ] [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
cutis; skin๑. หนัง๒. ผิวหนัง (ใช้กับ skin disease) [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
detector๑. ตัวตรวจหา๒. ตัวเปลี่ยน [ ใช้กับเส้นใยนำแสง ] [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
dystopia; dystopyการอยู่ผิดที่ (ใช้กับอวัยวะ) [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
dystopy; dystopiaการอยู่ผิดที่ (ใช้กับอวัยวะ) [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
gradient๑. ความชัน [ มีความหมายเหมือนกับ slope ]๒. เกรเดียนต์ [ ใช้กับตัวดำเนินการ ] [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
expectation valueค่าคาดหมาย [ ใช้กับทฤษฎีควอนตัม ] [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
emitter๑. อิมิตเตอร์๒. ตัวจ่ายแสง [ ใช้กับเส้นใยนำแสง ] [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
ectopiaการอยู่นอกที่ (ใช้กับอวัยวะ) [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
voidด่าง, จุดด่าง [ ใช้กับรหัสแท่ง ] [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔]
voidด่าง, จุดด่าง [ ใช้กับรหัสแท่ง ] [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
key๑. แป้น๒. กุญแจ [ ใช้กับแฟ้ม ]๓. ป้อน(ข้อมูล) [ มีความหมายเหมือนกับ key in ]๔. หลัก [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔]
key๑. แป้น๒. กุญแจ [ ใช้กับแฟ้ม ]๓. ป้อน(ข้อมูล) [ มีความหมายเหมือนกับ key in ]๔. หลัก [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
นพปฎลมหาเศวตฉัตรฉัตร ๙ ชั้น เป็นฉัตรชั้นสูงสุดสำหรับพระมหากษัตริย์ ทำด้วยผ้าขาวขลิบทอง ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว [ศัพท์พระราชพิธี]
พระมหาเศวตฉัตรฉัตร ๙ ชั้น เป็นฉัตรชั้นสูงสุดสำหรับพระมหากษัตริย์ ทำด้วยผ้าขาวขลิบทอง ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว [ศัพท์พระราชพิธี]
อนิจกรรมความตาย, ใช้กับผู้ตายที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้น ประถมาภรณ์มงกุฎไทยขึ้นไป หรือ ทุติยจุลจอมเกล้า หรือทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ว่า ถึงแก่อนิจกรรม [ศัพท์พระราชพิธี]
American Standard Code for Information Interchangeรหัสตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ที่กำหนดมาตรฐานโดยสำนักงานมาตรฐานของสหรัฐเมริกาสำหรับใช้กับคอมพิวเตอร์ต่างๆ, Example: รหัสแอสกีพื้นฐานใช้เพียง 7 บิต 8 บิต เพื่อใช้แทนสัญลักษณ์ภาพกราฟิกต่างๆ ส่วนทางประเทศไทยก็ได้อาศัยส่วนขยายนี้กำหนดเป็นรหัสภาษาไทยไว้ใช้งานด้วย เรียกว่าเป็นรหัส สมอ. [คอมพิวเตอร์]
Single Photon Emission Computed Tomographyสเป็กต์, เทคนิคการถ่ายภาพด้วยวิธีกราดวิเคราะห์ โดยการตรวจวัดรังสีแกมมาที่ปล่อยออกมาหลังจากฉีดเภสัชภัณฑ์รังสีเข้าไปในกระแสเลือด ใช้มากในการศึกษาสารส่งผ่านประสาท (neurotransmitter) แต่ก็สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยระบบอวัยวะใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับเภสัชภัณฑ์รังสีที่ใช้ซึ่งมีครึ่งชีวิตยาวกว่าที่ใช้กับเพ็ต จึงไม่จำเป็นต้องมีไซโคลทรอนอยู่ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม สเป็กต์มีความละเอียดในการวิเคราะห์ต่ำกว่าเพ็ตมาก, Example: [นิวเคลียร์]
Single Photon ECTสเป็กต์, เทคนิคการถ่ายภาพด้วยวิธีกราดวิเคราะห์ โดยการตรวจวัดรังสีแกมมาที่ปล่อยออกมาหลังจากฉีดเภสัชภัณฑ์รังสีเข้าไปในกระแสเลือด ใช้มากในการศึกษาสารส่งผ่านประสาท (neurotransmitter) แต่ก็สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยระบบอวัยวะใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับเภสัชภัณฑ์รังสีที่ใช้ซึ่งมีครึ่งชีวิตยาวกว่าที่ใช้กับเพ็ต จึงไม่จำเป็นต้องมีไซโคลทรอนอยู่ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม สเป็กต์มีความละเอียดในการวิเคราะห์ต่ำกว่าเพ็ตมาก [นิวเคลียร์]
Special monitoringการเฝ้าสังเกตพิเศษ, การตรวจติดตามที่กำหนดขึ้นสำหรับสถานการณ์จำเพาะ ของสถานปฏิบัติการ เพื่อให้ได้ข้อมูลเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่ามีการควบคุมที่ดี โดยมากจะใช้ในขั้นตอนดำเนินการของสถานปฏิบัติการใหม่ ใช้ในกรณีที่มีการดัดแปลงที่สำคัญของสถานปฏิบัติการและวิธีปฏิบัติ หรือใช้กับปฏิบัติการภายใต้ภาวะผิดปกติ เช่น การเกิดอุบัติเหตุ การเฝ้าสังเกตพิเศษนี้ อาจเป็นการเฝ้าสังเกตรายบุคคล หรือ การเฝ้าสังเกตสถานปฏิบัติการเฉพาะแห่ง, Example: [นิวเคลียร์]
hypercardโปรแกรมแบบหนึ่งที่ใช้กับเครื่องแมคอินทอช [คอมพิวเตอร์]
อิเล็กทรอนิกส์วิทยาศาสตร์กายภาพแขนงหนึ่งที่นำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาวงจรไฟฟ้าที่ใช้สารกึ่งตัวนำและอุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งควบคุมการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนได้, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ อิเล็กทรอนิคส์ [คำที่มักเขียนผิด]
Neurosurigical proceduresศัลยกรรมประสาท, ศัลยกรรมประสาท ใช้กับงานที่กล่างถึงวิธีหรือขั้นตอนของการดำเนินการผ่าตัดระบบประสาท หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบ เป็นหัวเรื่องทางการแพทย์ที่ใช้ได้กับหัวเรื่องย่อยเฉพาะด้านในกลุ่ม E4 ยกเว้นบางคำที่ระบุคำสั่งห้ามใช้ [TU Subject Heading]
Convention on the Rights of the Childอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ได้รับการรับรองจากสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2532 โดยอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2533 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อคุ้มครองสิทธิของเด็ก (บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี) เพื่อให้ได้รับการศึกษา การดูแล ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือกระทำทารุณกรรม ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่เป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้ว 191 ประเทศ คงเหลือโซมาเลียและสหรัฐอเมริกาที่ยังมิได้ให้สัตยาบัน ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กด้วยการภาคยานุวัติ อนุสัญญาฯ มีผลปังคับใช้กับประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2535 ขณะนี้ไทยยังคงมีข้อสงวน 2 ข้อ คือ ข้อ 7 เรื่องสัญชาติ และ ข้อ 22 เรื่องการให้สถานะเป็นผู้ลี้ภัย [การทูต]
Diplomatist หรือ Diplomatใช้กับราชการทุกคนที่ประจำทำงานในด้านทางการทูต ไม่ว่าจะประจำอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศ หรือในราชการต่างประเทศ คือ ในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือในสำนักงานทางทูตอื่นๆในทรรศนะของ เซอร์แฮโรลด์ นิโคลสัน นักการทูตยอดเยี่ยมคนหนึ่งของอังกฤษ ได้ระบุไว้ว่า นักการทูตหรือ Diplomat จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ ยึดถือความเป็นจริง มีความแม่นยำ สงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น อารมณ์ดี มีความสงบเสงี่ยมและมีความจงรักภักดี ทั้งยังจะต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญา มีความรู้ มองเห็นการณ์ไกล มีความสุขุมรอบคอบ ใจดีกับแขกและผู้แปลกหน้า มีเสน่ห์ มีความอุตสาหะวิริยะ มีความกล้า และมีปฏิภาณในทำนองเดียวกัน Francoise de Callieres (1645-1717) นักการทูตชั้นเยี่ยมของฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป็นเอกอัครราชทูตประจำโปแลนด์ ซาวอย ฮอลแลนด์ บาวาเรีย และลอเรน ได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งชื่อว่า De la miniere avec les souverains เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการเจรจาทางการทูต ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังเป็นที่รับรองกันทั่วไปว่าเป็นหนังสือที่ดีเยี่ยมเล่ม หนึ่ง หรือเป็นจินตกวีนิพนธ์เรื่องการดำเนินการทูตกับเจ้าผู้ครองนคร (Princes) สมัยนั้นCallieres ได้วางมาตรฐานของนักการทูตไว้สูงมากเพราะเขาเห็นว่า ไม่มีงานราชการใด ๆ ที่จะยากยิ่งไปกว่าการเจรจา ในการเจรจานั้น ผู้เจรจาจะต้องสามารถมองเห็นเหตุการณ์ทะลุปรุโปร่ง หรือมีสติปัญญาเฉียบแหลม มีความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง มีความละมุนละไม มีความรอบรู้และความเข้าใจอย่างกว้างขวาง ตลอดจนข้อสำคัญที่สุด ต้องเป็นผู้มีความสุขุมคัมภีรภาพ สามารถมองเห็นการณ์ไกลชนิดเจาะลึกทีเดียว นอกจากนี้ จะต้องเป็นผู้มีอารมณ์ขันอย่างสม่ำเสมอ ไม่โกรธง่าย มีจิตใจสงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น พร้อมเสมอที่จะรับฟังทุกคนที่เขาพบด้วยความตั้งอกตั้งใจ พูดจาอย่างเปิดเผย และมีอารมณ์ร่าเริงไม่หน้าเง้าหน้างอ มีอัธยาศัยไมตรี รวมทั้งมีกิริยาท่าทางเป็นที่ต้องตาต้องใจกับทุกคน ในฐานะนักเจรจา (Negotiator) นักการทูตจะต้องมีคุณลักษณะและคุณสมบัติตามที่กล่าวมานี้เป็นอย่างน้อย เนื่องจากมีการเจรจาเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของนักการทูตนั่นเอง [การทูต]
Excellencyเป็นคำแสดงตำแหน่งที่ใช้เรียกตัวเอกอัครราชทูต ทั้งโดยวาจาและโดยลายลักษณ์อักษร เป็นคำที่เริ่มใช้กันตั้งแต่สมัยทำสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) เมื่อ ค.ศ. 1648 และได้นำมาใช้ทั่วทวีปยุโรปหลังจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนา (ค.ศ. 1815) แต่ถ้าบังเอิญเอกอัครราชทูตของประเทศหนึ่งใดเป็นบุคคลเชื้อพระวงศ์ แทนที่จะเรียกเอกอัครราชทูตผู้นั้นด้วยคำว่า Excellency ก็ให้เรียกด้วยคำว่า ?Royal Highness? แทนแต่เดิมคำ ?Excellency? ซึ่งเป็นคำเติมหน้าชื่อแสดงตำแหน่งนี้ใช้เรียกเฉพาะตัวเอกอัครราชทูตเท่า นั้น แต่ในทางปฏิบัติ ทุกวันนี้ได้นิยมใช้เรียกตัวอัครราชทูต (Ministers) เช่นกัน ส่วนภริยาของเอกอัครราชทูตนั้นก็ได้รับการยกย่องโดยใช้คำ Excellency ด้วย แต่สำหรับเอกอัครราชทูตที่เป็นสตรี สามีของเธอจะไม่ได้รับเรียกเช่นนั้น นอกจากนั้น คำแสดงตำแหน่งนี้ยังใช้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีหลายประเทศได้นำไปใช้เรียกประมุขของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีด้วย แต่การปฏิบัติดังนี้ย่อมแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ส่วนเลขาธิการสหประชาชาตินั้น ใช้เรียกกันเป็นทางการว่า Excellency และสำหรับกรณีที่ไม่เป็นทางการก็เรียกว่า Mr. Secretary-General [การทูต]
International Covenant on Civil and Political Rightsกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน 1 ใน 2 ฉบับ ซึ่งแปรข้อบทในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 มีผลใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2519 ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540 [การทูต]
International Covenant on Economic, Social and Cultural Rightsกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม " เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน 1 ใน 2 ฉบับ ซึ่งแปรข้อบทในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 มีผลใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2519 ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2542 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 " [การทูต]
International Civil Aviation Organizationเรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต]
Intellectual Propertyทรัพย์สินทางปัญญา " หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ซึ่งผู้เป็นเจ้าของสามารถถือครอง และ/หรือเก็บเกี่ยวสิทธิประโยชน์ได้ นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ - Patent สิทธิบัตร หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างใหม่ ยังไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อน และเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และการประดิษฐ์นั้นสามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้ - Copy Rights ลิขสิทธิ์ หมายถึง งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรี งานภาพยนต์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ - Neighboring Rights สิทธิข้างเคียง เป็นความคุ้มครองที่แตกแขนงมาจากลิขสิทธิ์ เนื่องจากงานที่สร้างขึ้นไม่สามารถถูกจัดเข้าเป็นงานลิขสิทธิ์ได้โดยตรง เพราะผลงานที่เกิดขึ้นนั้นได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเป็นสื่อกลาง และก่อให้เกิดผลงานโดยใช้ เครื่องมือในทางวิชาชีพสร้างงานขึ้นมา ดังนั้น บุคคลผู้ที่เข้ามาเป็น สื่อกลางเพื่อผลิตงานให้แก่ผู้สร้างงานจึงควรมีสิทธิในผลงานนั้นเหมือนกับ เจ้าของงานลิขสิทธิ์ด้วย - Trade Marks เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือตราที่ใช้กับสินค้าเพื่อให้ประชาชนทั่วไปแยกแยะได้ว่าสินค้านั้นเป็นของ ผู้ใด ใครเป็นเจ้าของ และมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกว่า ยี่ห้อ สำหรับเครื่องหมายการค้านั้น จะเป็นภาพ เป็นคำ หรือเป็นตัวอักษรก็ได้ Service Marks เครื่องหมายบริการ เป็นเรื่องที่เกิดใหม่เนื่องจากสินค้าบริการได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น การให้บริการด้านการเงิน การโทรคมนาคม จึงทำให้ผู้ให้บริการต้องการที่จะใช้เครื่องหมาย เพื่อชี้ให้เห็นถึงการบริการของตน เช่นเดียวกับการใช้เครื่องหมายการค้า " [การทูต]
Persona non grataเป็นศัพท์ที่ใช้กับนักการทูตหรือผู้แทนทางการทูต ที่ประจำอยู่ในประเทศซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นไม่ปรารถนาให้อยู่ต่อไปอีกแล้ว หลังจากที่ได้ไปประจำทำงานในตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้น หรือก่อนหน้าที่นักการทูตผู้นั้นจะเดินทางไปถึงดินแดนของประเทศผู้รับ (Receiving State) นักการทูตที่ถูกประกาศเป็น persona non grata หรือ บุคคลที่ไม่พึงปรารถนานั้น เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ กล่าวคำดูหมิ่นรัฐบาลของประเทศที่ตนไปประจำอยู่ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองนั้น แทรกแซงในการเมืองภายในของเขา เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของเขา ใช้ถ้อยคำก้าวร้าวต่อประเทศนั้น วิพากษ์ประมุขแห่งประเทศของเขากระทำการอันเป็นที่เสียหายต่อประโยชน์หรือต่อ ความมั่นคงของประเทศ และกระทำการอื่น ๆ ในทำนองนั้นตามปกติรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพที่เป็นฝ่ายเสียหายจะขอร้องให้ รัฐบาลผู้ส่ง (Sending government) เรียกตัวนักการทูตผู้กระทำผิดกลับประเทศ ซึ่งตามปกติรัฐบาลผู้ส่งมักจะปฏิบัติตาม รัฐบาลของประเทศผู้เสียหายจะแจ้งให้นักการทูตผู้นั้นทราบว่า รัฐบาลจะไม่ทำการติดต่อเกี่ยวข้องเป็นทางการกับเขาอีกต่อไป หรืออาจจะบอกให้นักการทูตผู้นั้นออกไปจากประเทศโดยไม่เกรงใจแต่อย่างใดก็ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 9 ดังต่อไปนี้ ?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ และโดยมิต้องชี้แจงถึงการวินิจฉัยของตนว่า หัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่พึงโปรด หรือว่าบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีใดเช่นว่านี้ ให้รัฐผู้ส่งเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นกับคณะผู้แทนเสียก็ได้ตามที่เหมาะสมบุคคลอาจจะ ถูกประกาศให้เป็นผู้ไม่พึงโปรด หรือไม่พึงยอกรับได้ก่อนที่จะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธ หรือไม่นำพาภายในระยะเวลาอันสมควร ที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันของคนภายใต้วรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับสามารถปฏิเสธที่จะยอมรับนับถือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นว่าเป็นบุคคล ในคณะผู้แทนก็ได้? [การทูต]
Positron Emission Tomographyเป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะในร่างกายที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยการตรวจวัดสารกัมมันตรังสีบางชนิด ซึ่งให้แก่ร่างกายในรูปของสารเภสัชรังสี เพื่อใช้ในการตรวจวัดเชิงปริมาณของขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ไอโซโทปรังสีที่ใช้จะเป็นชนิดที่ปลดปล่อยโพซิตรอนออกมา เช่น ออกซิเจน-15 ไนโตรเจน-13 และคาร์บอน-11 โพซิตรอนที่ปล่อยออกมานี้จะเข้าทำปฏิกิริยาประลัย (annihilation) เกือบจะทันทีทันใดกับอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสในอะตอมของสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารเภสัชรังสีนั้น และมีรังสีแกมมาพลังงาน 511 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ปลดปล่อยออกมาพร้อมกันในสองทิศทางตรงกันข้าม สามารถตรวจวัดได้ด้วยหัววัดรังสีที่อยู่ตรงข้ามกัน จากหัววัดหลายๆ หัวที่ล้อมรอบคนไข้ ทำให้ทราบตำแหน่งที่ผิดปกติในร่างกายได้ โดยการแปลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากส่วนใหญ่ของไอโซโทปรังสีที่ใช้กับเทคนิคนี้ เป็นไอโซโทปของธาตุที่เป็นส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุ จึงทำให้ PET มีประโยชน์ในการศึกษากระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่ผิดปกติด้วย ในทางปฏิบัติ PET จำเป็นต้องใช้ไอโซโทปรังสีที่ผลิตขึ้นจากการระดมยิงที่เป้า ด้วยโปรตรอนพลังงานสูงภายในเครื่องไซโคลตรอน การศึกษาโดยใช้ PET จะมุ่งเน้นไปยังระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ด้วยการวัดตัวแปรเสริมอื่นๆ ประกอบ เช่น การไหลเวียนของเลือด กระบวนการสร้างและสลายน้ำตาลกลูโคส และการเผาผลาญออกซิเจน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหาสมุฏฐานของโรคลมบ้าหมู หรือหาขนาดที่แน่นอนของบริเวณที่พิการในสมองได้ ในการศึกษาที่เกี่ยวกับหัวใจและหน้าที่ของหัวใจ การตรวจโดยใช้ PET จะเป็นวิธีที่เฉพาะเจาะจง และให้ผลดีกว่าการตรวจสอบโดยวิธีอื่นๆ [พลังงาน]
Direct Injectionเครื่องยนต์ Direct Injection, เครื่องยนต์ Direct Injection (DI) เครื่องยนต์เชื้อเพลิงฉีดเข้าห้องเผาไหม้โดยตรง บริเวณระหว่างฝาสูบกับหัวลูกสูบ หัวฉีดที่ใช้กับเครื่องยนต์ประเภทนี้มักเป็นแบบ Multi-hole, Example: ปัจจุบันมีการพัฒนาจนสามารถควบคุมมลพิษไอเสียได้ไม่ด้อยกว่าระบบเครื่องยนต์ Indirect Injection (IDI) [ปิโตรเลี่ยม]
Masticationขั้นตอนการบดให้ยางนิ่ม มักใช้กับยางธรรมชาติเนื่องจากยางธรรมชาติมีน้ำหนักโมเลกุลสูงมาก (ความหนืดสูงมาก) การบดยางให้นิ่มเป็นการทำให้โมเลกุลฉีกขาด น้ำหนักโมเลกุลของยางลดลง (ใช้แรงเฉือน และออกซิเจนในอากาศ) สามารถทำได้โดยการบดยางล้วนๆ หรืออาจเพิ่มประสิทธิภาพในการบดยางได้โดยการเติมเพปไทเซอร์ลงไปเล็กน้อยและ การใช้อุณหภูมิสูง ผลที่ได้ทำให้ยางนิ่มลง เมื่อผสมสารเคมีลงไปจะทำให้สารเคมีนั้นให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกับยางได้ง่าย ขึ้น ส่วนยางสังเคราะห์ที่มีการควบคุมน้ำหนักโมเลกุลตั้งแต่ขั้นตอนการสังเคราะห์ ทำให้ความหนืดเริ่มต้นไม่สูงมาก จึงไม่จำเป็นต้องนำมาบดให้นิ่มก่อน [เทคโนโลยียาง]
Alignment, Dynamicการจัดแนวโดยการทดลองใช้กับผู้ป่วย [การแพทย์]
Binauralชนิดที่ใช้กับหูสองข้าง [การแพทย์]
Angstrom unitหน่วยอังสตรอม, หน่วยความ ยาวใช้กับความยาวคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ใช้สัญลักษณ์ Å   1 Å = 10-10m [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
infrared (IR)อินฟราเรด, สื่อกลางที่ใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวส่ง และตัวรับสัญญาณ เช่น การส่งสัญญาณจากรีโมตคอนโทรลไปยังเครื่องรับโทรทัศน์หรือวิทยุ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์โดยผ่านพอร์ตไออาร์ดีเอ ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
rocketจรวด, อุปกรณ์ที่ใช้กับยานอวกาศเพื่อเพิ่มพลังผลักดัน  อุปกรณ์นี้เคลื่อนที่ได้โดยอาศัยหลักการขับเคลื่อนด้วยแรงซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
Integrated Drive Electronic( IDE)ไอดีอี, ขั้วต่อที่ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ ที่อยู่ภายในเคสผ่านทางสายเคเบิล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีไดร์ฟ แต่มีข้อจำกัดอยู่ที่ไม่สามารถใช้กับฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุสูงได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
programmerนักเขียนโปรแกรม, ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านต่างๆ เช่นโปรแกรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า โปรแกรมที่ใช้กับงานด้านบัญชี หรือโปรแกรมที่ใช้กับระบบงานขนาดใหญ่ขององค์กร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
system softwareซอฟแวร์ระบบ, ชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ และยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
stylusสไตลัส, ปากกาป้อนข้อมูลทางหน้าจอ มักใช้กับระบบ pen-based [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
unshielded twisted pair (UTP)สายยูทีพี, สายคู่บิดเกลียวแบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวนใช้ในระบบโทรศัพท์ ต่อมาได้มีการปรับปรุงคุณสมบัติให้ดีขึ้น จนสามารถใช้กับสัญญาณความถี่สูงได้ ทำให้ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงขึ้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
stratified samplingการเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้น, การเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นเหมาะที่จะใช้กับการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มที่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ได้หลายขั้น โดยกำหนดให้เลือกตัวอย่างมาจากแต่ละขั้น ข้อดีของการเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นก็คือ ไม่จำเป็นต้องมีกรอบตัวอย่างที่สมบูรณ์ในทุก ๆ ขั้น ให้มีกรอบตัวอย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
multi-stage samplingการเลือกตัวอย่างแบบกำหนดโควตา, การเลือกตัวอย่างแบบกำหนดโควตาเหมาะที่จะใช้กับการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มที่ไม่มีกรอบตัวอย่าง หรือมีกรอบตัวอย่างที่ไม่สมบูรณ์ โดยการกำหนดคุณสมบัติของตัวอย่างตามลักษณะของตัวอย่างที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ทำการสำรวจ เช่น คุณสมบัติขอ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
systematic samplingการสุ่มอย่างเป็นระบบ, การสุ่มอย่างเป็นระบบนิยมใช้กับกรอบตัวอย่างที่มีหน่วยตัวอย่างเรียงกันหรือจัดให้เรียงกันได้ เช่น รายชื่อพนักงานบริษัทที่เรียงตามลำดับการเข้าทำงานก่อนหลัง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
Instruments, Ink Writingเครื่องมือที่ใช้กับหมึกบันทึก [การแพทย์]
Embedde system softwareซอฟท์แวร์ที่ใช้กับ Embedde systems หรือระบบสมองกลฝังตัว, Example: ซอฟท์แวร์ที่ใช้กับ Embedde systems เพื่อควบคุมการทำงานของอุแกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ให้ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งที่มีความจำเพาะ โดยมีไมโครโพรเซสเซอร์หรือไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นหัวใจหลักในการประมวลผลการทำงาน มักพบอยู่ในส่วนควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าประจำบ้าน เครื่องจักรกลต่างๆ เครื่องมือวัดทางการแพทย์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น Embedde system software เป็นส่วนหนึ่งของระบบสมองกลฝังตัวเป็นซอฟท์แวร์ซึ่งนำไปฝังตัวไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นไปตามต้องการ [เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ]
Media, Suspendingอาหารที่ใช้กับสะปอร์ [การแพทย์]
Monauralเครื่องช่วยการได้ยินชนิดที่ใช้กับหูข้างเดียว [การแพทย์]

Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
ใช้กับ[chai kap] (v) EN: apply to

Longdo Approved EN-TH
MMC[M-M-C] (abbrev, uniq) ย่อมาจาก Multimedia Card อุปกรณ์เก็บข้อมูลประเภท flash memory ชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้าย SD (Secure Digital) แต่บางกว่าเล็กน้อย นิยมใช้กับ PDA กล้อง Digital MP3 Player, See also: flash memory, SD, CF, SM, MS, Digital Film
memory stick(n) อุปกรณ์เก็บข้อมูลประเภท flash memory ชนิดหนึ่ง ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท SONY และใช้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆของ SONY มีขนาดเล็กประมาณเท่าแผ่นหมากฝรั่ง magic gate memory stick คือ memory stick ที่มีหมายเลขรหัสประจำในแต่ละแผ่น เพื่อให้สามารถควบคุมการทำสำเนาข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์ (เช่น ข้อมูลเพลง หรือภาพ) ได้ คือ ข้อมูลที่บันทึกจะนำมาใช้ได้เมื่ออ่านจากแผ่นที่มีหมายเลขที่กำหนดเท่านั้น และจะใช้ไม่ได้เมื่อทำสำเนาข้อมูลนั้นไปยังแผ่นหรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่น, See also: flash memory
SD(abbrev, uniq) ย่อมาจาก Secure Digital อุปกรณ์เก็บข้อมูลประเภท flash memory ชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้าย MMC (Multimedia Card) แต่หนากว่าเล็กน้อย นิยมใช้กับ PDA กล้อง Digital MP3 Player, See also: flash memory, MMC, CF, SM, MS, digital film
mousepad(n) แผ่นรองเมาส์ (ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์), Syn. mouse pad
brindle(adj) เป็นลายเสือ(สีขนของสุนัขหรือแมว), มีริ้วลายสีเทา หรือน้ำตาล หรือมีสีมีเป็นลายๆ หรือเป็นหย่อมๆ มักใช้กับลวดลายของขนสัตว์จำพวกแมว
green flag(n, slang) มักใช้กับความสัมพันธ์ที่เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ทำให้คนที่อยู่ในความสัมพันธ์เสียสุขภาพจิต หรือเป็นความสัมพันธ์ที่ดี ปลอดภัย หรื ใช้ ในการอธิบายบุคคลว่าบุคคลนั้นเป็นคนที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ปลอดภัยได้

NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
am(aux) รูปของ Verb to be ที่ใช้กับบุรุษที่ 2 เอกพจน์
apothecaries' weight(n) ระบบของน้ำหนักที่ใช้กับการปรุงยา
apply(vi) นำมาใช้กับ
apply to(phrv) ทำให้เกี่ยวข้องกับ, See also: ทำให้มีผลต่อ, นำไปใช้กับ, Syn. refer to
at it again(idm) ทำอีกครั้ง (มักใช้กับ verb to be)
behind(adv) ช้า (ใช้กับนาฬิกา)
bijou(adj) เล็กแต่ตกแต่งดีจนดึงดูดใจ (ใช้กับสถานที่ก่อสร้าง)
brunet(adj) ที่มีผมสีน้ำตาลเข้ม (มักใช้กับเพศชาย), Syn. brunette
brunet(n) คนที่มีผมสีน้ำตาลเข้ม (มักใช้กับเพศชาย)
brunette(adj) ที่มีผมสีน้ำตาลเข้ม (มักใช้กับเพศหญิง), Syn. brunet
brunette(n) คนที่มีผมสีน้ำตาลเข้ม (มักใช้กับเพศหญิง)
buck(n) สัตว์ตัวผู้, See also: ใช้กับสัตว์บางชนิด เช่น กวาง, กระต่าย, แกะ, แพะ เป็นต้น
buck(vi) กระโดดขึ้นไปในอากาศทั้งสี่ขาและมีลักษณะหลังโค้งงอ (ใช้กับม้า), Syn. leap
buck(vt) เหวี่ยงผู้ขี่ให้ตกโดยการกระโดดขึ้นสี่ขาและโก่งหลังจนโค้ง (ใช้กับม้า)
bar out(phrv) ปิดไว้ (ไม่ให้เข้า) มักใช้กับตึกหรืออาคาร, See also: กั้นไว้
beyond words(idm) เกินกว่าจะกล่าว (มักใช้กับ grateful และ thankful)
calve(vt) ออกลูก (ใช้กับวัว), See also: ให้กำเนิดลูกวัว
calve(vi) ออกลูก (ใช้กับวัว), See also: ให้กำเนิดลูกวัว
cancellate(adj) บาง (ใช้กับเนื้อกระดูก), Syn. cancellous
couchant(adj) ที่หมอบอยู่ (ใช้กับสัตว์), Syn. lying down
crouch(vt) หมอบ (ใช้กับสัตว์ที่อยู่ในท่าเตรียมวิ่งหรือกระโดดไปข้างหน้า)
dovetail into(phrv) ประกบเข้าด้วยกัน (ปกติใช้กับการประกบไม้)
for short(idm) อย่างย่อ (ปกติใช้กับชื่อ), See also: อย่างสั้นๆ
darling(n) คำเรียกขานแสดงการทักทาย (ใช้กับคนคุ้นเคย) เพื่อขึ้นต้นย่อหน้าในจดหมาย, See also: ที่รัก, ยอดรัก, สุดที่รัก, Syn. honey, sweetheart, dear
debonair(adj) มีเสน่ห์ (มักใช้กับผู้ชาย), See also: มีมารยาท, สง่า, Syn. elegant
earmark(n) ตำหนิบนใบหู (ใช้กับสัตว์)
earmark(vt) ทำตำหนิบนใบหู (ใช้กับสัตว์)
farthest(adj) ไกลมากที่สุด (ใช้กับเวลา พื้นที่และระยะทาง), See also: ห่างมากที่สุด, Syn. farthermost, furthest
farthest(adv) ไกลมากที่สุด (ใช้กับเวลา พื้นที่และระยะทาง), See also: ห่างมากที่สุด, Syn. furthest
fixed(adj) ที่ไม่เปลี่ยน (ใช้กับสีหน้า)
go at(phrv) ขายในราคา (มักใช้กับการขายด้วยราคาที่น่าตกใจ), Syn. go for
hew out(phrv) ฟัน (มักใช้กับขวาน), See also: ตัด, สับ, Syn. carve out, hack out
in heat(idm) ช่วงติดสัด (ใช้กับสัตว์)
out of sight(idm) มองไม่เห็น (มักใช้กับ get, keep, stay)
take a spill(idm) ล้ม (มักใช้กับ have และคำคุณศัพท์ bad, nasty, quite)
take the floor(idm) ยืนขึ้นและกล่าวกับผู้ชม (มักใช้กับ have)
is(aux) เป็น / อยู่ / คือ (กริยาช่วยที่ใช้กับประธานเอกพจน์)
issuant(adj) ี่ที่ลำตัวตั้งตรงและมีเพียงส่วนหน้าโผล่ออกมา (ใช้กับสัตว์)
lace in(phrv) รัดเอวให้เล็ก (คำเก่า โดยเฉพาะใช้กับผู้หญิง)
lap up(phrv) ใช้ลิ้นเลีย (ของเหลวหรือเครื่องดื่ม) (ปกติใช้กับสัตว์)
jib(vi) หยุดชะงัก (ใช้กับสัตว์), See also: หยุดนิ่ง, Syn. balk, stop, recoil
K(abbr) หนึ่งพัน, See also: มักใช้กับจำนวนเงิน
lip(vi) เป่า (ใช้กับเครื่องดนตรี)
magnetic disk(n) จานแม่เหล็ก (สำหรับใช้กับคอมพิวเตอร์), See also: แผ่นแม่เหล็ก, Syn. computer disk
mama(n) แม่ (ปกติใช้กับเด็กๆ) (คำไม่เป็นทางการ), See also: คุณแม่, มารดา
mamma(n) แม่ (ปกติใช้กับเด็กๆ) (คำไม่เป็นทางการ), See also: คุณแม่, มารดา
Monsignor(n) คำเรียกที่ใช้กับพระ, See also: พระคุณเจ้า
neat(adj) แบบเพียวๆ (ใช้กับการดื่มเหล้า), See also: แบบไม่ผสมน้ำ, Syn. unmixed, Ant. diluted, mixed
nocturne(n) เพลงโรแมนติกที่แต่งเพื่อใช้กับเปียโน
off-road(adj) ซึ่งไม่ใช้กับถนนสาธารณะ, See also: ซึ่งใช้กับพื้นดินขรุขระ

Hope Dictionary
analog computer(แอน' นะลอกคอมพิวเตอร์) n. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่คำนวณด้วยสิ่งที่แทนตัวเลขได้ และมีการแสดงผลลัพธ์โดยทางภาพที่ปรากฏบนจอภาพ หน้าปัด หรืออ่านค่าได้จากเครื่องวัด ค่าต่าง ๆ ที่นำมาใช้กับการคำนวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ เป็นค่าที่ต่อเนื่อง เช่น อุณหภูมิ ความดัน อย่างไรก็ตาม การใช้คอมพิวเตอร์ชนิดนี้ จำเป็นต้องใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ช่วย เพื่อจะนำมาเปรียบเทียบแทนค่าได้ ตัวอย่างที่เห็นง่าย ๆ ได้แก่ สไลด์รูล (slide rule) เทอร์โมแสตท (thermostat) เครื่องวัดความเร็วรถยนต์ เป็นต้น ความละเอียดถูกต้องในการคำนวณด้วยอะนาล็อกคอมพิวเตอร์มีน้อยกว่าดิจิตอลคอมพิวเตอร์มากดู digital computer เปรียบเทียบ
appleshare(แอปเปิลแชร์) หมายถึง โปรแกรมระบบปฏิบัติการที่จะใช้ในข่ายงาน (network) ที่บริษัทแอปเปิลสร้างขึ้นสำหรับใช้กับคอมพิวเตอร์แมคอินทอช (ดู networks ประกอบ)
are(อา) ใช้กับ you และเป็นพหูพจน์แทน be, หน่วยผิวหน้าที่เท่ากับ 100 ตารางเมตรหรือ 119.6 ตารางหลาหรือ 1/100 hectare
art 1(อาร์ทฺ) v. กริยาปัจจุบันของ be บุรุษที่ 2 ใช้กับ thou
asciiคำย่อ American Standard code For Information Interchange, รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศนี้ เป็นรหัสมาตรฐานที่ใช้กับคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่ใช้เลขฐานสอง รหัสแอสกี, รหัสมาตรฐาน ใช้แทนอักขระด้วย 7 บิต (ถ้ารวม parity check ด้วยจะเป็น 8 บิต)
assembly languageภาษาแอสเซมบลีหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งซึ่งจะตรงเข้าไปจัดการกับตัวไมโครโพรเซสเซอร์ หรือ "ตัวประมวลผล" ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และจะทำการประมวลผลโดยตรงได้เลย โดยปกติ ภาษานี้จะเรียนยากและต้องเขียนยาวกว่าภาษา C หรือภาษา BASIC แต่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ (result) เร็วกว่า และใช้เนื้อที่เก็บน้อยกว่าโปรแกรมภาษาอื่นมาก นิยมใช้ภาษานี้เมื่อต้องการประหยัดเวลาทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรม โดยไม่ต้องพะวงถึงความชัดเจนมากนัก และที่สำคัญก็คือ โปรแกรมภาษานี้จะเขียนขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะกับเครื่องใดเครื่องหนึ่ง หากจะนำไปใช้กับเครื่องคนละรุ่น ก็จะต้องมีการปรับแก้ก่อน (ขึ้นกับหน่วยประมวลผลหรือ CPU)
authoring systemระบบการเขียนโปรแกรมหมายถึง ระบบการเขียนโปรแกรมโดยที่ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านโปรแกรมเลย ผู้เขียนเพียงแต่ใช้ภาษาง่าย ๆ ในรูปแบบเชิงโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์เท่านั้น
autocad(ออโตแคด) เป็นชื่อโปรแกรมสำเร็จที่ใช้ในการออกแบบที่โด่งดังมากที่สุดในยุคนี้ ได้รับการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องมากว่าสิบปีแล้ว สามารถสร้างแบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติได้ สร้างแบบจำลอง (model) ได้โดยทำให้เหมือนจริง หมุนดูทิศทางต่าง ๆ ได้ นิยมใช้ในการออกแบบโครงสร้างอาคาร รถยนต์ เรือ เครื่องบิน ฯ เมื่อจะแสดงผลในกระดาษ ต้องใช้กับเครื่องวาด (plotter) ดู CAD ประกอบ
brain damagedใช้การไม่ได้ไร้สมองหมายถึง อะไรก็ตามที่ภายนอกดูดี แต่ข้างในจริง ๆ นั้นแย่มาก ๆ เข้าทำนอง "ข้างนอกสุกใส ข้างในต๊ะติ่งโหน่ง" สำนวนภาษาไทย อีกสำนวนหนึ่งที่มีความหมายคล้ายกันก็คือ "สวยแต่รูป จูบไม่หอม" ถ้าใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็หมายถึงเครื่องที่ทำงานไม่มีประสิทธิภาพเหมือนกับที่โฆษณาเอาไว้
branch(เบรานชฺ) { branched, branching, branches } n. กิ่งก้าน, กิ่ง, สาขา, แขนง, วิชาย่อย, ทางแยก, สายย่อย, แคว vt. แตกกิ่งก้านสาขา, , Syn. bough แยกแตกกิ่ง1. หมายถึง การแยกตัวออกไปจากโปรแกรมที่ทำอยู่ ไปทำโปรแกรมอีกอันหนึ่ง เช่น แยกออกจากโปรแกรมหลัก main program ไปทำงานที่โปรแกรมย่อย subprogram ตามคำสั่ง Go to2. ความหมายที่ใช้กับ "ต้นไม้" tree มีความหมายถึงการแตกกิ่งก้านสาขา เช่นในการแสดงแฟ้มข้อมูลในโปรแกรม Windows Explorer ของ Windows 95
bytes per inchไบต์ต่อนิ้วใช้ตัวย่อว่า BPI เป็นหน่วยวัดความจุของตัวอักขระในเทปหรือแถบบันทึก (tape) หมายความว่า ขนาดความยาวของแถบบันทึก 1 นิ้ว จะบรรจุตัวอักขระได้เท่าใดอาจต่างกันได้ตั้งแต่ 200 ถึง 1600 ไบต์ต่อนิ้ว และอาจมีการปรับให้มากหรือน้อยกว่านั้นก็ได้ (บางทีใช้กับความยาวของแทร็กของพื้นผิวของจานบันทึก (disk) ด้วย
c(ซี) n. พยัญชนะอังกฤษตัวที่3, ตัวเลข100ของโรมัน, สัญลักษณ์ทางเคมีของธาตุคาร์บอน ภาษาซีเป็นภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่ง ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ภาษานี้เริ่มต้นมาจากห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell ในช่วงทศวรรษ 1970 ภาษาซีนี้ เป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปเทียบเคียงได้กับภาษาเบสิก (BASIC) หรือภาษาปาสกาล (Pascal) ความที่ภาษาซีเป็นภาษาที่ใช้ง่ายและสะดวก โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างดี เช่น Lotus 1-2-3 และ Microsoft FoxPro ก็เขียนด้วยภาษาซี ภาษาซีได้เปรียบภาษาอื่น ๆ อย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน คือ 1. ภาษาซีง่ายในการเขียน และเรียนรู้ได้ง่ายเกือบจะเท่ากับภาษาเบสิก2. โปรแกรมภาษาซีใช้เวลาของเครื่อง (คอมพิวเตอร์) น้อยมาก พอ ๆ กับภาษาแอสเซมบลี (Assembly) แต่เขียนได้ง่ายกว่ากันมาก3. ภาษาซีใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นแมคอินทอชหรือไอบีเอ็ม (แทบจะไม่ต้องแก้ไขดัดแปลงอะไรเลย ผิดกับภาษาเบสิกและภาษาปาสกาล ซึ่งหากนำไปใช้กับเครื่องต่างตระกูลกันแล้ว จะต้องแก้ไขมากจนเรียกได้ว่าไม่คุ้ม
card codeรหัสบัตรหมายถึง รหัสที่ใช้กับบัตร มีลักษณะเป็นรูสี่เหลี่ยมที่เจาะในแต่ละคอลัมน์ของบัตร เช่น ถ้าเจาะตำแหน่งคอลัมน์ที่ 12 และ 1 หมายถึงอักษร A ถ้าเจาะที่ตำแหน่งคอลัมน์ที่ 0 และ 9 หมายถึงอักษร Z เป็นต้น รหัสนี้บางทีเรียกรหัสฮอลเลอริท (Hollerith code) เพราะดร. เฮอร์แมน ฮอลเลอริท (Dr. Hermann Hollerith) เป็นผู้กำหนดไว้ ดู card ประกอบ
cartridge(คาร์'ทริจฺ) 1. n. กระสุนปืน, ลูกกระสุน, ลำกล้องดินระเบิด, ภาชนะใส่ของเหลวหรือแก๊ส, ที่ม้วนเทป 2. อาจเป็นได้ทั้งตลับเทปหรือกล่อง ใช้เก็บข้อมูล ปัจจุบัน ไม่ค่อยนิยมใช้ บางทีใช้เป็นที่บรรจุเกมส์ต่าง ๆ เรียกว่า game cartridge ส่วน font cartridge หมายถึง ตลับที่ใช้เก็บแบบตัวอักษรสำหรับใส่ในเครื่องพิมพ์บางชนิด ถ้าใช้กับเครื่องพิมพ์หมายถึงที่ใส่หมึกสำหรับพิมพ์ เรียกว่า toner cartridge
casette tapeตลับแถบบันทึกหมายถึง ม้วนแถบพลาสติกอาบแม่เหล็ก นำมาใช้ในการเก็บข้อมูล ใช้ทั้งกับไมโครคอมพิวเตอร์ และเครื่องขนาดใหญ่ (mainframe) ที่นำมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์นั้น มีลักษณะเหมือนตลับเทปเพลงธรรมดา สมัยหนึ่งเรานิยมใช้แถบบันทึกนี้เก็บข้อมูล เพราะราคาถูกกว่าสื่ออย่างอื่น แต่จะมีปัญหาตามมามากมาย เช่นในเรื่องความคลาดเคลื่อนของข้อมูล อีกทั้งยังมักจะเสียง่าย ในปัจจุบัน จึงหันมานิยมใช้จานบันทึก (diskette) จานบันทึกอัดแน่นหรือซีดี (CD) แทนกันหมดแล้ว
cathode ray tubeหลอดภาพใช้ตัวย่อว่า CRT หมายถึงหลอดอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กับจอภาพของคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่แสดงข้อมูลเป็นตัวหนังสือ หรือภาพ
characters per secondจำนวนอักขระต่อวินาทีใช้ตัวย่อว่า CPS แปลตรง ๆ ได้ว่า อักขระต่อวินาที ใช้เป็น หน่วยวัดความเร็วในการพิมพ์ว่าเครื่องพิมพ์สามารถพิมพ์ได้กี่ตัวอักขระในเวลา 1 วินาที ใช้กับเครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix) และแบบฉีดหมึก (ink jet) เท่านั้น (เครื่องพิมพ์เลเซอร์จะพิมพ์ที่ละหน้า) ดู printer ประกอบ
cobol(โคบอล) ย่อมาจาก Common Business Oriented Language เป็นภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่ง แรกเริ่มเดิมที นิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมสำหรับงานด้านธุรกิจ ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe) แต่ปัจจุบัน ได้รับการดัดแปลงให้ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ภาษาโคบอลนี้ออกจะละม้ายคล้ายคลึงกับภาษาอังกฤษธรรมดาอยู่ค่อนข้างมาก ภาษานี้เป็นภาษาสากล ที่ยังมีคนนิยมใช้กันแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
composite videoสัญญาณวีดิทัศน์คอมโพสิตหมายถึง สัญญาณวีดิทัศน์ที่ใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ โดยปกติแล้ว ใช้สายไฟสายเดียว ตรงข้ามกับสัญญาณอื่น เช่น สัญญาณ RGB (Red Green Blue) ซึ่งจะใช้แต่ละสาย สำหรับแต่ละสี คือมีสายสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน เป็นต้น ฉะนั้น หากเราต้องการภาพ เลือน ๆ ให้ปรากฏบนจอภาพ เครื่องรับโทรทัศน์ของเรา ก็ทำได้โดยส่งสัญญาณนี้แทน
computer appreciationคอมพิวเตอร์วิจักขณ์หมายถึง การเรียนรู้วิชาทางคอมพิวเตอร์เพียงพอที่จะรู้เรื่องราว ความเป็นมา องค์ประกอบ การใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งวิธีที่จะนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้กับงานต่าง ๆ พอ สมควร มีความหมายเหมือน computer education
computer educationคอมพิวเตอร์ศึกษาหมายถึง การเรียนรู้วิชาทางคอมพิวเตอร์เพียงพอที่จะรู้เรื่องราว ความเป็นมา องค์ประกอบ การใช้ งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งวิธีที่จะนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้กับงานต่าง ๆ พอ สมควร มีความหมายเหมือน computer appreciation
computer languageภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เพื่อสื่อสารให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ โดยปกติเราแบ่งภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ชนิด คือ1. ภาษาเครื่อง (machine language) คำสั่งที่เขียนด้วยภาษานี้เครื่องจะรับรู้และปฏิบัติตามได้ทันที ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์แต่ละแบบก็จะคิดแบบของภาษาที่ใช้กับเครื่องนั้น ๆ ขึ้นเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องลักษณะของภาษาประเภทนี้จะเป็นตัวเลขฐานต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ฉะนั้นจึงเป็นการยากสำหรับผู้เขียนโปรแกรม ซึ่งต้องเรียนรู้รายละเอียดของเครื่องนั้น ๆ ก่อน จึงจะใช้ภาษาได้2. ภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) หมายถึงภาษาที่มนุษย์เข้าใจ (แต่เครื่องไม่เข้าใจ) เนื่องจากภาษาเครื่องยุ่งยากและสับสน จึงมีการคิดภาษาหนังสือซึ่งมนุษย์เราเคยชินกันอยู่แล้วขึ้น แล้วใช้ตัวแปล (translator) แปลเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง เครื่องจึงจะดำเนินการได้ ภาษาแนวมนุษย์นี้แบ่งออก ได้เป็น 2 ระดับ คือ2.1 ภาษาระดับต่ำ (low - level language) เช่น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) 2.2 ภาษาระดับสูง (high - level language) เช่นภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) โคบอล (COBOL) ลักษณะของภาษาระดับสูงนี้ ได้มีการประดิษฐ์ขึ้นให้เหมาะสมกับงานเฉพาะอย่าง เช่น ภาษาฟอร์แทรน เหมาะกับงานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และงานวิจัย ภาษาโคบอลและอาร์พีจี (RPG) เหมาะกับงานด้านธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีภาษาอื่นที่เป็นที่นิยมอีกมาก ภาษาเหล่านี้จะใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมาก เพราะในคอมพิวเตอร์ จะมีตัวแปล (translator) ซึ่งมีหน้าที่คอยแปลภาษาแนวมนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง การใช้ภาษาแนวมนุษย์นี้มีข้อดีคือ ใช้ง่ายกว่า มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่ายกว่า และเขียนได้สั้นกว่า เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลาย ๆ คำสั่งของภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดี ตรงที่ใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการแปล
concatenate(คอนแคท 'ทะเนท) vt, เชื่อมเข้าด้วยกัน ต่อกันหมายถึง การเชื่อมโยงสายอักขระ (string) สองสายเข้าเป็นสายเดียวกัน เช่น เชื่อม "ABC" และ "DEF" เป็น "ABCDEF" เป็นต้น เราอาจนำมาใช้กับการนำแฟ้มข้อมูลมาต่อกันก็ได้
control cardบัตรควบคุมหมายถึง บัตรซึ่งบรรจุข้อความที่เป็นภาษาควบคุมงานซึ่งได้มีการกำหนดไว้เป็นรหัสเป็นการเฉพาะ เพื่อใช้ในโอกาสต่าง ๆ กัน หรือใช้กับงานชนิดต่าง ๆ เช่น บัตรควบคุม อาจจะเป็นตัวบอกว่า โปรแกรมหรือชุดคำสั่งชุดต่อไปจะเป็นภาษาฟอร์แทรน ภาษาโคบอล หรือภาษาอื่น ๅ บัตรควบคุมอาจทำให้รู้ได้ว่างานนี้เป็นงานของนิสิต หรือเป็นงานของนักวิจัยทั่วไป เพราะบางทีอาจมีการกำหนดข้อห้ามบางอย่างสำหรับงานของนิสิตไว้ในระบบ ปัจจุบัน ไม่ค่อยมีการใช้บัตรแล้ว คำนี้จึงไม่มีที่ใช้ไปด้วยดู card (บัตร)
cps(ซีพีเอส) ย่อมาจาก characters per second แปลตรง ๆ ได้ว่า อักขระต่อวินาที ใช้เป็น หน่วยวัดความเร็วในการพิมพ์ว่า เครื่องพิมพ์ สามารถพิมพ์ได้กี่ตัวอักขระในเวลา 1 วินาที ใช้กับเครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix) และแบบฉีดหมึก (ink jet) เท่านั้น
cray research, inc.<ชื่อบริษัท>สถาบันวิจัยเครย์ <คำแปล>เป็นชื่อบริษัทที่สร้างคอมพิวเตอร์เมนเฟรมที่ยิ่งใหญ่บริษัทหนึ่ง ส่วนมากจะเป็นขนาดที่เรียกกับว่า supercomputer ผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกมีชื่อว่า Cray I ในปี ค.ศ.1977 คอมพิวเตอร์ขนาดนี้จะมีราคาสูงมาก และมักจะใช้กับงานใหญ่ ๆ เป็นต้นว่า การส่งยานอวกาศออกไปนอกโลก เป็นต้น
crt(ซีอาร์ที) ย่อมาจาก cathode ray tube หมายถึงหลอดอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กับจอภาพของคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่แสดงข้อมูลเป็นตัวหนังสือ หรือภาพ หลอดภาพของจอคอมพิวเตอร์ก็ดี หลอดภาพของโทรทัศน์ก็ดี จะใช้หลอดภาพ CRT เช่นเดียวกัน
daisy wheelจานอักขระหมายถึง จานกลม ๆ มีลักษณะเหมือนวงล้อ มีตัวอักขระต่าง ๆ ติดอยู่ที่ปลายก้านแต่ละก้านที่กางออกไปจากศูนย์ตรงกลาง ใช้กับเครื่องพิมพ์แบบกระทบ (impact printer) เวลาพิมพ์ จานนี้ก็จะหมุนไปรอบ ๆ เมื่ออักษรตัวใดกระทบกับกระดาษ ก็จะเกิดเป็นอักษรตัวนั้นบนกระดาษ
data redundancyความซ้ำซ้อนข้อมูลหมายถึงข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน หากตัดออก ก็จะไม่ทำให้ข้อมูลที่เหลืออยู่เสียหาย ถ้าใช้กับตัวเครื่อง (hardware) หมายถึง เครื่องที่มีระบบการทำงานซ้ำซ้อนกัน ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องมีหรือใช้ ถ้าต้องการให้มีความเชื่อถือได้สูง
daughterboardแผงวงจรตัวลูกหมายถึง แผงวงจรอีกชุดหนึ่ง ที่ทำเพิ่มไว้เผื่อให้เลือกใช้ได้ สามารถเสียบเข้าใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคู่ไปกับแผงวงจรหลักได้เลย เมื่อเรียกแผงวงจรหลักว่า ตัวแม่ (motherboard) จึงได้เรียกตัวนี้ว่า ตัวลูก
disk(ดิสคฺ) { disked, disking, disks } n. แผ่นกลม, แผ่นเสียง, จานกลม. vt. พรวนดินด้วยคราดกลม., Syn. disc, circle จานบันทึกหมายถึง อุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีลักษณะกลม เหมือนจาน มีอยู่ 3 ชนิด1. จานอ่อน floppy disk มีลักษณะอ่อน บรรจุในซองกระดาษ มีขนาด 5.25x5.25 นิ้ว การเก็บรักษาค่อนข้างยาก จุข้อมูลได้ประมาณสามแสนหกหมื่นถึงหนึ่งล้านสองแสนตัวอักษร 2. จานบันทึกอีกชนิดหนึ่งมีลักษณะแข็งกว่าเพราะห่อหุ้มด้วยพลาสติกแข็ง มีขนาดเล็กกว่าแบบแรก มักเรียกกันว่า diskette มีขนาด 3.5x3.5 นิ้ว จุข้อมูลได้สูงสุดถึง 1.44 ล้านตัวอักษร ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากกว่าแบบแรก เพราะเก็บรักษาได้ง่ายกว่า3. จานบันทึกแข็งหรือที่นิยมเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ hard disk มักจะบรรจุไว้ในกล่องพร้อมกับหน่วยขับ drive แล้วเก็บอยู่ภายในตัวเครื่องเลย ฮาร์ดดิสก์นั้นมีความจุสูงมากประมาณ 100-800 ล้านตัวอักษร เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะมีประสิทธิภาพสูงและราคาลดลงทุกวัน ปัญหาเรื่องการเก็บรักษาเกือบจะไม่มีเลย แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับไวรัสได้นอกจาก 3 ชนิดที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว ก็ยังมีอีกหลายชนิด เช่น จานบันทึกที่นำมาใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ mainframe ที่เรียกว่าชุดจานบันทึก disk pack ซึ่งจะมีแกนยึดติดกันตรงกลาง, จานแสงหรือจานเลเซอร์ optical or laser disk, จานวีดิทัศน์ vedio disk, จานบันทึกอัดแน่น compact disk ซึ่งล้วนแต่มีความจุสูงมาก ปัจจุบันจานบันทึกได้รับความนิยมมากกว่าสื่อบรรจุข้อมูลอื่น เพราะราคาถูก ใช้ซ้ำได้ และการค้นคืนข้อมูลทำได้รวดเร็วกว่าสื่อชนิดอื่น
disk operating systemระบบปฏิบัติการแบบใช้จานโปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่สั่งการให้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทำงาน ถ้าจะแปลให้ตรงตัว ก็จะเรียกได้ว่า เป็นระบบปฏิบัติการแบบที่ใช้จานบันทึกข้อมูล เรามักจะใช้คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันดีว่า DOS (อ่านว่า ดอส) ส่วนระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ เรียกว่า OS อ่านว่า โอเอส (Operating System) ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ประเภทเทียบเคียงกับไอบีเอ็ม (IBM compatibles) หรือพีซี (PC) จะใช้ "ดอส" ที่เขียนโดยบริษัทไมโครซอฟต์ นิยมเรียกกันว่าMS-DOS หรือ Microsoft DOS ส่วนระบบปฏิบัติการที่ใช้กับคอมพิวเตอร์แมคอินทอช มีชื่อว่า System 6 หรือ 7
disk packชุดจานชุดจานบันทึกจานบันทึกที่ใช้กับเมนเฟรมมักจะมาเป็นชุด ๆ ละ 5-10 แผ่น มีแกนยึดให้ติดกันอยู่ตรงกลาง ชนิด (ที่เป็นแผ่นเดียวก็มี เรียกว่า disk cartridge) จานนี้ใช้เป็นสื่อเก็บข้อมูล ที่มีประสิทธิภาพมาก โดยปกติ จานบันทึกแต่ละชุดจะบรรจุข้อมูลได้ทั้งสองหน้า ยกเว้นจานแรกและจานสุดท้าย
disketteแผ่นบันทึกหมายถึง จานบันทึกขนาดเล็ก เฉพาะที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีลักษณะอ่อน จึงเรียกว่า แผ่นบันทึก บรรจุไว้ในซองกระดาษ ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล เช่นเดียวกับจานบันทึกแม่เหล็ก ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน มีขนาด 5.25x5.25 นิ้ว มีความจุประมาณ 360 เคไบต์ (K byte) หรือ 360, 000 ตัวอักษร และ 1.2 เมกะไบต์ หรือ หนึ่งล้านสองแสนตัวอักษร บางทีเรียกกันว่า floppy disk นอกจากนั้น มีขนาด 3.5x3.5 นิ้ว บรรจุอยู่ในซองที่แข็งกว่า มีความจุประมาณ 720 เคไบต์ และ 1.44 เมกะไบต์ หรือ หนึ่งล้านสี่แสนตัวอักษร ในปัจจุบัน อาจใช้เก็บข้อมูลได้ทั้งสองหน้า ทำให้บรรจุข้อมูลได้มาก (เดิมบรรจุข้อมูลได้หน้าเดียว) หรือบางทีอาจทำให้ข้อมูลเบียดอัดมากขึ้น เรียกว่า double density (DD) ชนิดธรรมดาเรียกว่า single density (เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว) และหากเก็บข้อมูลได้หน้าเดียว เรียกว่า single sided (SS) ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว หากเก็บข้อมูลได้ทั้งสองหน้า เรียกว่า double sided (DS) แผ่นบันทึกชนิดที่มีความจุพิเศษ คือจุได้ถึง 1.2 ล้านตัวอักษรสำหรับแผ่น 5.25 นิ้ว และจุได้ 1.44ล้านตัวอักษรสำหรับแผ่น 3.5 นิ้ว เรียกว่า high density (HD) ดู disk ประกอบ
dos(ดอส) ย่อมาจาก disk operating system (ระบบปฏิบัติการแบบใช้จาน) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกับการจัดการควบคุมแผ่นบันทึก (disk) หรือที่เรียกว่าระบบปฏิบัติการ (OS) ดอสที่ใช้เฉพาะกับไมโครคอมพิวเตอร์ (ดอสที่ใช้กับเมนเฟรมก็มี เป็นของบริษัทไอบีเอ็ม)
dots per inchจุดต่อนิ้วใช้ตัวย่อว่า dpi เป็นหน่วยวัดความละเอียดหรือความคมของภาพ ยิ่งมีจำนวนจุดมากต่อนิ้ว ก็ยิ่งแปลว่าคมชัดมาก ส่วนมากใช้กับเครื่องพิมพ์ เช่น เครื่องพิมพ์เลเซอร์ มีความละเอียด 300-600 จุดต่อนิ้ว ในขณะที่เครื่องพิมพ์แบบจุดบางเครื่อง มีความละเอียดเพียง 9 - 12 จุดต่อนิ้ว
dpi(ดีพีไอ) ย่อมาจาก dots per inch (จุดต่อนิ้ว) เป็นหน่วยวัดความละเอียดหรือความคมชัด (resolution) ของภาพ ยิ่งมีจำนวนจุดมากต่อนิ้ว ก็ยิ่งแปลว่าคมชัดมาก ส่วนมากใช้กับเครื่องพิมพ์ เช่น เครื่องพิมพ์เลเซอร์ มีความละเอียด 300-600 จุดต่อนิ้ว ในขณะที่เครื่องพิมพ์แบบจุดบางเครื่อง มีความละเอียดเพียง 9 - 12 จุดต่อนิ้ว
dry runningการตรวจสอบ (โปรแกรม) นอกเครื่องหมายถึง การตรวจสอบดูชุดคำสั่งในเชิงตรรกะ และการใช้รหัสคำสั่งจากผังงาน (flowchart) และคำสั่งข้อเขียน เพื่อดูว่า ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นถูกต้องหรือไม่ก่อนที่จะนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ อาจใช้ตัวเลขสมมติใส่เข้าไปก็ได้ ในบางครั้ง ใช้คำว่า การไล่สอบบนโต๊ะทำงาน (desk check)
elite(อีลีท', เอลีท') n. ชั้นยอด, หัวกะทิ, บุคคลที่ยอดเยี่ยม, สิ่งที่ได้เลือกสรรแล้ว, กลุ่มอิทธิพล adj. ชั้นยอด, หัวกะทิ, เป็นส่วนที่ดีที่สุด, Syn. gentry อีลีต <คำอ่าน>เป็นศัพท์ที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ดีดมาก่อน หมายถึงขนาดความกว้างของตัวอักษรที่พิมพ์ได้ 12 ตัว ต่อ 1 นิ้ว บางทียังนำมาใช้เป็นคำสั่งให้เลือกบนเครื่องพิมพ์ว่าต้องการ ให้เป็นอีลีตหรือไพกา pica ซึ่งหมายถึงอักษรขนาด 10 ตัวต่อนิ้ว ดู pica ประกอบ
emm(อีเอ็มเอ็ม) ย่อมาจากคำ expanded memory manager เป็นชื่อของโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) โปรแกรมหนึ่งที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถทำให้หน่วยความจำมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ส่วนมากจะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวประมวลผลเป็นชิป (chip) เบอร์ 80386 หรือ 80486
esdi(อีเอสดีไอ) ย่อมาจากคำว่า enhanced small device interface ใช้เป็นมาตรฐานในการเพิ่มประสิทธิภาพในการเป็นตัวประสานที่ใช้กับจานบันทึกแข็งหรือฮาร์ดดิสก์ (hard disk)
expanded memory managerชื่อโปรแกรมขยายหน่วยความจำใช้ตัวย่อว่า EMM (อีเอ็มเอ็ม) เป็นชื่อของโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) โปรแกรมหนึ่งที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถทำให้หน่วยความจำมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ส่วนมากจะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวประมวลผลเป็นชิป (chip) เบอร์ 80386 หรือ 80486
expansion cardแผ่นวงจรส่วนขยายหมายถึง แผ่นวงจรที่ออกแบบพิเศษให้ใช้เสียบเข้ากับบัสของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่อง ให้ทำงานเพิ่มขึ้นได้ในด้านต่าง ๆ เช่น ทำให้หน่วยความจำของเครื่องมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือทำให้เครื่องใช้กับซีดีรอม (CD ROM) ได้ หรือทำให้ใช้เป็นโมเด็มภายใน (internal modem) ได้ เป็นต้น
file conversionการแปลงสภาพแฟ้มหมายถึง การแปลงรูปแบบ (format) การเก็บข้อมูลจาก แบบหนึ่งไปเป็นอีกแบบหนึ่ง เพื่อให้นำไปใช้กับโปรแกรม ต่างชนิดกันได้ เช่น ถ้าต้องการจะใช้โปรแกรม Word Perfect เรียกแฟ้มข้อมูลที่พิมพ์เก็บไว้โดยใช้โปรแกรม WordStar มาดูบนจอภาพ ก็จะต้องมีการแปลงสภาพแฟ้มจากแฟ้ม ข้อมูลของ Word Perfect เป็น WordStar ก่อน ดู import ประกอบ
flexible diskหมายถึง แผ่นบันทึกที่ใช้เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่เรียกว่า floppy disk เป็นจานแบน ๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กไว้บนผิวหน้า ใช้สำหรับบันทึกข้อมูล นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์
floppy diskจานบันทึกอ่อนหมายถึง จานแบน ๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กไว้บนผิวหน้า ใช้สำหรับบันทึกข้อมูล ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ใน ปัจจุบันนี้ มีอยู่สองขนาด คือขนาด 5.25 นิ้ว ซึ่งจะมีปลอก กระดาษหุ้ม กับขนาด 3.5 นิ้วซึ่งจะอยู่ในปลอกพลาสติก ทำให้แข็งและทนกว่า มีความจุในการบันทึกต่าง ๆ กัน ชนิดที่มีความหนาแน่นสองเท่า (double density) จะจุ 360 - 720 K (ประมาณ 360, 000 - 720, 000 ตัว อักขระ) ชนิดความหนาแน่นสูง (high density) จะจุ 1.2 - 1.44 เมกะไบต์ (ประมาณ 1.2 ล้าน - 1.4 ล้านตัวอักขระ) บางทีเรียก diskette เพื่อให้แตกต่างกับจานบันทึกที่ใช้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า disk มีความหมายเหมือน diskette
form feedป้อนกระดาษหมายถึงอุปกรณ์ส่วนที่ใช้ป้อนกระดาษเข้าสู่จุดสัมผัสของเครื่องพิมพ์ มักใช้กับกระดาษที่ต่อกันเป็นม้วนหรือพับ เช่นกระดาษต่อเนื่อง (continuous paper)
format(ฟอร์'แมท) n. รูปแบบ, แผนการรวมทั้งหมด, Syn. plan, layout รูปแบบจัดรูปแบบ1. หมายถึงรูปแบบการเก็บข้อมูลของโปรแกรมสำเร็จแต่ละโปรแกรม โปรแกรม Word Perfect และโปรแกรม WordStar แม้จะเป็นโปรแกรมประมวลผลคำเหมือนกัน แต่รูปแบบการเก็บข้อมูลก็ไม่เหมือนกัน 2. FORMAT เป็นคำสั่งหนึ่งในระบบดอส และระบบวินโดว์ ที่ใช้เพื่อเตรียมจัดรูปแบบจานบันทึกใหม่ ๆ ไว้สำหรับเก็บข้อมูลหรือโปรแกรม จานบันทึกของแมคอินทอชกับจาน บันทึกของพีซี จะกำหนดรูปแบบการเก็บข้อมูลไม่เหมือนกัน ฉะนั้น หากนำจานบันทึกที่จัดรูปแบบด้วยคำสั่ง "FORMAT" ของระบบดอสไปใช้กับเครื่องแมคอินทอช หน่วยบันทึกก็จะไม่รับ เพราะอ่านไม่ได้ หรือบันทึกข้อมูลลงเก็บไม่ได้
fortran(ฟอร์แทรน) เป็นชื่อภาษาระดับสูง (high level language) ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง สร้างขึ้นเป็นภาษาแรก ๆ เพื่อให้นัก คณิตศาสตร์ใช้ได้สะดวก และรวดเร็ว ย่อมาจากคำว่า FORmular TRANslator ซึ่งก็แปลได้ว่า ตัวแปลสูตรคณิตศาสตร์ นั่นเอง โปรแกรมภาษาฟอร์แทรนนั้น สามารถนำไปใช้กับ เครื่อง คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ได้หลายยี่ห้อ โดยแทบจะไม่ต้อง ปรับ แก้เลย ก่อนหน้าที่จะมีการใช้ภาษานี้ นักเขียนโปรแกรม รู้จัก แต่ภาษาแอสเซมบลี (Assembly)
full screenเต็มจอ1. หมายถึง ความสามารถในการพิมพ์อักขระ ณ จุดใดหรือ ที่ใดก็ได้บนจอภาพ2. ถ้าใช้กับเครื่องปลายทาง (terminal) หมายถึงเครื่อง ปลายทางที่สามารถแสดง ข้อมูลได้เต็มจอภาพในคราวเดียว

Nontri Dictionary
am(vi เป็น, อยู่(ใช้กับ) I)
does(vt กระทำ(ใช้กับสรรพนามบุรุษที่) 3)
has(vt มี(ใช้กับบุรุษที่ 3) เอกพจน์)
monocular(adj) มีตาข้างเดียว, สำหรับใช้กับตาข้างเดียว
wast(vt pt ของ is ใช้กับ) thou
wert(vt pt ของ are ใช้กับ) thou
wouldst(vi pt ของ will ใช้กับ) thou

Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
adversely(adv) อย่างเป็นผลร้าย อย่างเป็นผลลบ (ใช้กับบัญชี)ที่ติดลบ, Syn. hostilely
gooey(slang) แฟน(ใช้กับแฟนที่เป็นผู้หญิง)
lay it on the thick(idioms) พูดเกินจริง ใช้กับการชมเชย แก้ตัว หรือตำหนิ
reincarnation(n) การกลับชาติมาเกิดใหม่ แต่ไม่ได้แปลว่าจุติใหม่ จุติแปลว่าเคลื่อน หรือหมายถึงตาย ใช้กับเทวดาที่ลงมายังโลกมนุษย์เท่านั้น เช่นเทวดาจุติลงมายังโลก
state of the art(adj) - ศาสตร์แห่งศิลป์ เป็นคำที่ใช้ในการอธิบายถึงขั้นตอนการพัฒนา ที่ล้ำสมัยและมีคุณค่าที่จะแยกแยะจากสิ่งอื่น ๆ ทั่วไปในปัจจุบันได้ ส่วนใหญ่จะมักจะนำไปใช้กับนามอะไรก็ได้ที่ต้องถูก "พัฒนาขึ้น" เช่นการบินไทยชอบใช้คำว่า The state-of-the-art inflight entertainment system. - ล่าสุด ส่วนใหญ่จะใช้กับ เทคโนโลยีที่พัฒนาไปเรื่อยๆ เช่น มือถือ คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง เป็นต้น, Syn. lastest
wieldy(adj) เหมาะสมแก่การงาน (นั่นคือ ปรับไปใช้กับงานชนิดไหนก็ได้นั่นเอง)

Longdo Approved JP-TH
寒い[さむい, samui] (adj) หนาว (ใช้กับอุณหภูมิ เช่น อากาศหนาว)
支配人[しはいにん, shihainin] (n) ผู้จัดการทั่วไป (มักใช้กับโรงแรม หรือร้านอาหาร)
暑い[あつい, atsui] (adj) ร้อน (ใช้กับอุณหภูมิ เช่น วันนี้อากาศร้อน)
暑い[あつい, atsui] (adj) ร้อน (ใช้กับอากาศ เช่น วันนี้อากาศร้อน)
涼しい[すずしい, suzushii] (adj) เย็น (ใช้กับอากาศ เช่น อากาศในฤดูใบไม้ร่วง)
熱い[あつい, atsui] (adj) ร้อน (ใช้กับสิ่งของ)
軽量化[けいりょうか, keiryouka] (n) ทำให้เบาลง ลดน้ำหนัก ( ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรม )
邦人[ほうじん, houjin] (n) คนญี่ปุ่น มักใช้กับคนญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ

Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
あいこ[あいこ, aiko] เสมอกัน (ส่วนมากใช้กับเด็กๆ)
所縁[ゆかり, yukari] (n) ความสัมพันธ์, ความเกี่ยวข้องระหว่าง... มักใช้กับคน ประโยคตัวอย่าง お前は、縁も所縁もないだぞ、ただ赤の他人なんだよ。 おまえは、えんもゆかりもないだぞ、ただあかのたにんなんだよ。 แกไม่ได้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอะไรด้วยนะ เป็นแค่ลูกของคนอื่นนะ
授ける[さずける, sazukeru] มอบให้, ให้(แบบนอบน้อม) (มักใช้กับการมอบรางวัล การให้ความรุ้)
とても[とても, totemo] (adv) มาก (ใช้กับความรู้สึก) เช่น ชอบมาก, เหนื่อยมาก เป็นต้น
たくさん[たくさん, takusan] (adj) มาก (ใช้กับสิ่งของ)
結界[けっかい, kekkai] (n) สิ่งกีดขวาง, สิ่งยับยั้ง (มักใช้กับเวทมนตร์หรือจิตวิญญาณ)
不倫[ふりん, furin, furin , furin] นอกใจ, การเป็นชู้(ใช้กับผู้ที่สมรสแล้ว)
不倫[ふりん, furin, furin , furin] (n, adj) นอกใจ, การเป็นชู้(ใช้กับผู้ที่สมรสแล้ว)
います[imasu, imasu] มี / อยู่ ใช้กับ สิ่งต่างๆ ที่ขยับด้วยตัวเองได้ [ สิ่งมีชีวิต ] ใช้ร่วมกับคำช่วย が[ ga ] เช่น うちに ねこが います ที่บ้านมีแมวอยู่
あります[arimasu, arimasu] มี / อยู่ ใช้กับ สิ่งต่างๆ ที่ขยับด้วยตัวเองไม่ได้ [ สิ่งไม่มีชีวิต ] รวมถึงต้นไม้ ใช้ร่วมกับคำช่วย が[ ga ] เช่น 私は 本が あります ฉันมีหนังสือ
ムチムチ[むちむち, muchimuchi] แน่นๆ อวบๆ มีน้ำมีนวล (มักใช้กับเนื้อตัว ผิวหนัง รูปร่างผู้หญิง)

Saikam JP-TH-EN Dictionary
致す[いたす, itasu] TH: ทำ(รูปถ่อมตน ใช้กับการกระทำของผู้พูด)  EN: to do (pol)
居る[おる, oru] TH: อยู่(เป็นรูปถ่อมตนใช้กับพฤติกรรมของผู้พูด)  EN: to be (hum)
召し上がる[めしあがる, meshiagaru] TH: รับประทาน(รูปสุภาพใช้กับประธานที่เป็นผู้อื่น ไม่ใช่ผู้พูด)  EN: to eat (pol)
高い[たかい, takai] TH: เหนือกว่าระดับปรกติ, ตรงขึ้นไปตามทางตั้งฉากกับพื้น, ใช้กับเสียง เช่น เสียงสูง , ใช้ก  EN: tall, high
飲む[のむ, nomu] TH: ดื่ม ในภาษาญี่ปุ่นใช้กับการกินของเหลวหรือ การกลืนลงคอโดยไม่เคี้ยว

Longdo Approved DE-TH
aus(adj) ปิด (ใช้กับเครื่องไฟฟ้า)เช่น Das Licht ist aus. ไฟปิดอยู่
sowohlรวมทั้ง โดยมากใช้กับ als auch เช่น sowohl Zeit als auch Geld ทั้งเวลาและเงิน
umเพื่อ (ใช้กับ zu) เช่น um zu helfen เพื่อที่จะได้ช่วย
schwänzeln(vi) |schwänzelte, hat geschwänzelt| สั่นหาง โดยมากใช้กับสุนัข เช่น Der Hund schwänzelt.
stattfinden(vi) |fand statt, hat stattgefunden| เกิดขึ้น ใช้กับงานหรือเหตุการณ์ที่มีการเตรียมการณ์ เช่น Sein Geburtstagsparty findet morgen statt. งานเลี้ยงครบรอบวันเกิดของเขามีขึ้นพรุ่งนี้
Duschvorhang(n) |der, pl. Duschvorhänge| ม่านอาบน้ำ, ม่านที่ใช้กับอ่างอาบน้ำ
fressen(vt) |frisst/frißt, fraß, hat gefressen| กิน เป็นกริยาที่ใช้กับสัตว์ ไม่ใช้กับคน เช่น Der Hund frisst gerade ein Stück Fleisch. หมากำลังกินชิ้นเนื้อ

Longdo Unapproved DE-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
a-a(slang) อุจจาระ, เป็นคำที่มักใช้กับเด็กๆ
pipi(slang) ฉี่, ไปฉี่ เป็นคำที่มักใช้กับเด็กๆ

Longdo Approved FR-TH
peur(n) |f| ความกลัว (ใช้กับกริยา avoir) เช่น J'ai peur. ฉันกลัว
agréable(adj) (มักใช้กับบรรยากาศหรือสถานที่) อบอุ่น, น่ารักดี, ให้ความรู้สึกดี เช่น Ce restaurant est très agréable.

Longdo Unapproved FR-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
convenir(vt) ใช้กับ avoir แปลว่า เหมาะสม หรือ พอดี เช่น cela me convient parfaitement ใช้กับ être แปลว่า ตกลง, ยอมรับ เช่น une date a été convenue, Syn. s'accorder

Time: 0.0423 seconds, cache age: 3.301 (clear)Longdo Dict -- https://dict.longdo.com/