ใช้ได้ | ว. ค่อนข้างดี. |
พอใช้ได้ | ว. นับว่าใช้ได้. |
เงินสด | น. ตัวเงินที่มีอยู่ซึ่งใช้ได้ทันที, เงินที่ชำระให้ทันทีเมื่อซื้อหรือขายกัน. |
จารีตนครบาล | น. วิธีไต่สวนพิจารณาคดีนครบาลซึ่งเป็นคดีโจรผู้ร้ายหรือคดีที่มีโทษหลวง เมื่อคนร้ายจนต่อพยานหลักฐานแล้วแต่ยังไม่ยอมรับสารภาพ โดยให้ใช้ได้ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น เฆี่ยน แต่ไม่ให้ถึงแก่ชีวิต. |
ชวาลา | น. เครื่องตามไฟชนิดหนึ่ง ทำด้วยทองเหลือง มีรูปอย่างหม้อขนาดย่อม ๆ สำหรับใส่น้ำมัน มีพวยต่อออกมาข้าง ๆ ๒ พวยบ้าง ๓ พวยบ้าง ใส่ด้ายดิบเป็นไส้ ใช้จุดไฟ และประกอบกับแกนรับหม้อใส่น้ำมันตั้งบนถาด ใช้ได้ทั้งตั้งและแขวน เช่น ถับถึงคฤหาสน์หอทอง ชวาลาเรืองรองรยับด้วยรัตนรัศมี (สรรพสิทธิ์). |
แซ็กคารินโซเดียม | น. แซ็กคารินซึ่งผลิตออกในรูปสารประกอบโซเดียม ละลายนํ้าได้ดี มีความหวานประมาณ ๔๐๐ เท่าของนํ้าตาลทราย ไม่มีคุณค่าทางอาหาร ใช้ได้อย่างแซ็กคาริน. |
ได้การ | ว. ใช้ได้, ได้ผล. |
ถูไถ | ก. แก้ข้อขัดข้องพอให้ลุล่วงไปได้ เช่น มีเงินเหลือพอถูไถไปได้ถึงสิ้นเดือน, ยังใช้ได้ก็ทนใช้ไป เช่น รถเก่าแล้วก็ยังใช้ถูไถไปได้. |
ประโยชน์ | (ปฺระโหฺยด) น. สิ่งที่มีผลใช้ได้ดีสมกับที่คิดมุ่งหมายไว้, ผลที่ได้ตามต้องการ, สิ่งที่เป็นผลดีหรือเป็นคุณ, เช่น ประโยชน์ของการศึกษา ประโยชน์ของโรงเรียน. |
ประสม | ก. รวมกันเข้า (เป็นคำใช้ได้ทั่ว ๆ ไป). |
ปวารณา | บอกยอมให้ใช้ได้ด้วยความเต็มใจ เช่น ขอปวารณาจะใช้อะไรก็บอก |
เปิด | ทำพิธีเป็นประเดิมเพื่อดำเนินกิจการงานหรือให้ใช้ได้เป็นต้น เช่น เปิดร้านใหม่ เปิดถนน เปิดสมาคม |
แป้งสด | แป้งที่ทำขึ้นใช้ได้ทันที ไม่ต้องหมักหรือตากแห้ง เช่น ขนมจีนแป้งสด ขนมบัวลอยแป้งสด, ตรงข้ามกับ แป้งหมัก. |
พอใช้ | ว. ใช้ได้ เช่น คะแนนพอใช้ |
พอดูได้ | ว. ไม่ถึงกับน่าเกลียด, พอใช้ได้. |
พอได้ | ว. พอใช้ได้บ้าง. |
พอไปได้ | ว. พอจะใช้ได้บ้าง เช่น ความรู้ของเขาพอไปได้. |
ไพ่ตาย | น. ไพ่ในมือที่รอเข้าตองเข้าเศียรอยู่แต่ไม่มีใครทิ้งให้หรือเขาทิ้งให้คนอื่นซึ่งตนไม่มีสิทธิ์เก็บมาใช้ได้ เช่น ไพ่ตายคามือ, โดยปริยายหมายถึง เรื่องสำคัญที่สามารถให้คุณให้โทษได้ซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งกำเป็นความลับไว้ เช่น เขากำไพ่ตายของคนนั้นไว้ จะบีบก็ตายจะคลายก็รอด. |
เรือบด | น. เรือต่อชนิดหนึ่งรูปร่างเพรียว หัวท้ายเรียว มี ๓ ขนาด คือ เล็ก กลาง ใหญ่ ใช้ได้ทั้งพายและกรรเชียง. |
เล็ม | ตัดแต่ริมหรือปลายทีละน้อย เช่น เล็มผม, เลือกเก็บหรือเด็ดทีละน้อย เช่น เล็มยอดกระถิน, เลือกเก็บแต่ผลที่เห็นว่าสุกหรือใช้ได้ เช่น เล็มมะม่วง, กัดกินทีละน้อย เช่น เด็กเล็มขนม แกะเล็มหญ้า, และเล็ม ก็ว่า. |
วิทยุเฉพาะกิจ | น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุที่ใช้ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะและไม่เปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ได้เป็นการสาธารณะ. |
เว้น | ก. แยกเอาออก (ไม่ให้พัวพันกันอยู่กับสิ่งซึ่งพึงกระทำหรือไม่พึงกระทำ) เช่น ทำเลขทุกข้อเว้นข้อ ๔ เปิดทุกวันเว้นวันนักขัตฤกษ์ วันโกนไม่ละวันพระไม่เว้น, เป็นคำใช้ได้ทั่ว ๆ ไป ถ้าต้องการให้ทราบชัดว่าเว้นด้วยลักษณะไหน ก็เอาคำอื่นซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกันมาประกอบเข้า เช่น งดเว้น ยกเว้น ละเว้น. |
สงฆ์ | ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปร่วมกันทำสังฆกรรม แต่จำนวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมแต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวดพิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวดอัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่าจำนวนที่กำหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจำนวนใช้ไม่ได้. |
สด | ว. ใหม่ ใช้แก่ลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ที่ได้มาหรือผลิตขึ้นใหม่ ๆ ยังไม่ทันเสื่อมหรือเสียคุณภาพของสิ่งนั้น คือ ไม่เหี่ยวแห้ง ซีดจาง และอาจบริโภคหรือใช้ได้ดีในสภาพของขณะนั้น เช่น ไข่สด กุ้งสด ปลาสด, มีอยู่หรือได้มาใหม่ ๆ เช่น ข่าวสด, ดิบ คือ ยังไม่สุกด้วยไฟ ไม่แห้งหรือหมักดองเป็นต้น เช่น น้ำพริกผักสด ผลไม้สด น้ำตาลสด เบียร์สด ขนมจีนแป้งสด. |
สนิทใจ | ว. ไม่มีอะไรต้องแคลงใจหรือสงสัย เช่น เชื่ออย่างสนิทใจ, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่สนิทใจ หมายความว่า มีลักษณะพึงรังเกียจ เช่น พื้นสกปรกนั่งแล้วไม่สนิทใจ ผ้าเช็ดมือในห้องน้ำรวมใช้ได้ไม่สนิทใจเลย. |
สามตา | เต้ารับไฟฟ้าที่มีรู ๓ คู่ สำหรับนำเต้าเสียบมาเสียบเพื่อนำกระแสไฟฟ้าออกไปใช้ได้ ๓ วงจร. |
หิมวัต | ศัพท์นี้แผลงใช้ได้หลายอย่างคือ ๑. หิมวาท (แผลงจาก ส. หิมวตฺ) ๒. หิมวาน ๓. หิมพาน (รูปประถมแห่ง ส. หิมวตฺ) ๔. หิมวันต์ (ป. หิมวนฺต) ๕. หิมพานต์ (แผลงจาก ป. หิมวนฺต) ๖. หิมวา (รูปประถมแห่ง ป. หิมวนฺต). |
อะนะ, อะหนะ | น. ลูก, น้อง, (ใช้เป็นคำเรียกแสดงความรู้สึกรักและเอ็นดู) เช่น อันอะหนะบุษบาบังอร (อิเหนา), อานะ ก็ว่า. [ ช. anak ว่า ลูก (ใช้ได้ทั้งลูกคนและลูกสัตว์) ]. |
อานะ | น. ลูก, น้อง, (ใช้เป็นคำเรียกแสดงความรู้สึกรักและเอ็นดู), อะนะ หรือ อะหนะ ก็ว่า. [ ช. anak ว่า ลูก (ใช้ได้ทั้งลูกคนและลูกสัตว์) ]. |
Recovery Factor | ค่าตัวแปรที่ใช้บ่งถึงอัตราส่วนของปริมาณปิโตรเลียมที่เราสามารถนำขึ้นมาใช้ได้, ค่าตัวแปรที่ใช้บ่งถึงอัตราส่วนของปริมาณปิโตรเลียมที่เราสามารถนำขึ้นมาใช้ได้ต่อปริมาณทั้งหมดที่มีอยู่ในแหล่ง [ปิโตรเลี่ยม] |
Utility | สิ่งที่เป็นประโยชน์ มีความเหมาะสมพึงพอใจแบบใช้ได้จริง หรือเพื่อวัตถุประสงค์ทางอุตสาหกรรม [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
Exclusive Licence | การที่เจ้าของสิทธิบัตรอนุญาตให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่ผู้รับสิทธิที่จะสามารถใช้ได้ ด้วยการที่เจ้าของเรียกเก็บค่าตอบแทน [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
Neurosurigical procedures | ศัลยกรรมประสาท, ศัลยกรรมประสาท ใช้กับงานที่กล่างถึงวิธีหรือขั้นตอนของการดำเนินการผ่าตัดระบบประสาท หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบ เป็นหัวเรื่องทางการแพทย์ที่ใช้ได้กับหัวเรื่องย่อยเฉพาะด้านในกลุ่ม E4 ยกเว้นบางคำที่ระบุคำสั่งห้ามใช้ [TU Subject Heading] |
Commingled Recyclables | ขยะผสมที่นำกลับมาใช้ได้, Example: ขยะซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ได้ ปะปนรวมอยู่ในถังบรรจุเดียวกัน [สิ่งแวดล้อม] |
Salvage | ของทิ้งยังใช้ได้, แซลเวจ, Example: ของที่ได้จากขยะเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ [สิ่งแวดล้อม] |
Recyclability | ความสามารถในการนำกลับมาใช้ได้, Example: สมบัติของวัตถุหรือผลผลิตที่ทำให้สามารถนำกลับ มาใช้ใหม่ได้ [สิ่งแวดล้อม] |
Recyclable | นำกลับมาใช้ได้ [สิ่งแวดล้อม] |
ส่วนปลอดภัย | ส่วนปลอดภัย , ตัวเลขที่ใช้หารหน่วยแรงประลัยลงให้ถึงขนาดที่ จะใช้ได้ปลอดภัย สำหรับวัสดุที่มีกำลังครากหรือหน่วยแรงพิสูจน์ให้ใช้ค่ากำลังครากหรือหน่วย แรงพิสูจน์นั้นแทนหน่วยแรงประลัย [สิ่งแวดล้อม] |
International Telecommunica-tion Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1865 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในตอนนั้นมีชื่อว่าสหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ.1932 จึงมีการรับรองอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน และหลังจากนั้นอีก 2 ปี คือ ค.ศ.1934 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออนุสัญญาโทรเลขและวิทยุโทรเลข เป็นอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 ได้มีการปรับปรุงใหม่ ณ เมืองแอตแลนติกซิตี้ สหรัฐอเมริกา แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1954 เป็นต้นมา สหภาพดังกล่าวหรือที่เรียกโดยย่อว่า ITU อยู่ภายใต้การบริหารปกครองตามอนุสัญญา ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมเต็มคณะ ณ กรุงบุเอนอสไอเรส เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1952วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การไอทียูคือ ต้องการวางระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศสำหรับโทรเลข โทรศัพท์และบริการทางวิทยุ เพื่อที่จะส่งเสริมและขยับขยายให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้บริการเหล่านี้ให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยต้องการให้อัตราค่าบริการต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กล่าวโดยทั่วไปองค์การไอทียูนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศ เพื่อปรับปรุงการใช้โทรคมนาคมทุกชนิดให้เป็นประโยชน์ก้าวหน้าขึ้น พัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือทางเทคนิคให้นำออกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้และพยายามประสานการปฏิบัติของชาติต่าง ๆ ให้กลมกลืนกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน หัวหน้าของสหโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีตำแหน่งเรียกว่า เลขาธิการ องค์การนี้ตั้งอยู่ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
legalisation | นิติกรณ์ " กระบวนการรับรองความถูกต้อง คำแปลหรือลายมือชื่อผู้มีอำนาจ ลงนามในเอกสาร โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต สถานกงสุล หรือหน่วยงานตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ได้รับการยอมรับและสามารถนำไปใช้ได้ในทางการระหว่างประเทศ " [การทูต] |
Legalisation (legalization) | นิติกรณ์ กระบวนการรับรองความถูกต้อง คำแปลหรือลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามในเอกสาร โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ สถานฑูต สถานกงสุล หรือหน่วยงานตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ได้รับการยอมรับและสามารถนำไปใช้ได้ในทางการระหว่างประเทศ [การทูต] |
small arms | อาวุธขนาดเล็ก หมายถึง อาวุธที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางของขนาดปากกระบอกปืนต่ำกว่า 100 มิลลิเมตร และสามารถพกพาไปใช้ได้โดยคนคนเดียว [การทูต] |
Application Characteristics | คุณสมบัติด้านการนำไปใช้ได้ดี [การแพทย์] |
Concentration, Active | ความเข้มข้นที่นำมาใช้ได้ [การแพทย์] |
Concentration, Effective | ความเข้มข้นที่นำมาใช้ได้ [การแพทย์] |
Efficacy | ใช้ได้ผล, ความสามารถอำนวยผลดีได้, ภาวะที่ดีที่สุด, ประสิทธิผล [การแพทย์] |
Available water | น้ำที่พอหาได้ หรือ น้ำที่พืชดูไปใช้ได้ [อุตุนิยมวิทยา] |
total available water | total available water, ความชื้นทั้งหมดที่พืชนำไปใช้ได้ [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ] |
available soil moisture | available soil moisture, ความชื้นที่พืชนำไปใช้ได้ [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ] |
salt bridge | สะพานเกลือ, ส่วนประกอบของเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่เชื่อมอิเล็กโทรไลต์ของครึ่งเซลล์ทั้งสองและเป็นทางผ่านของไอออน อาจทำจากสารละลายอิ่มตัวของ KNO3, KCl หรือ NH4NO3 อย่างใดอย่างหนึ่ง ผสมรวมกับวุ้นขณะร้อนแล้วบรรจุไว้ในหลอดแก้วรูปตัวยู เมื่อวุ้นแข็งตัวก็นำมาใช้ได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
underground water | น้ำใต้ดิน, น้ำที่อยู่ในช่องว่างในเนื้อหินหรือในชั้นดิน ซึ่งสามารถสูบขึ้นมาใช้ได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
pernicious anemia | เพอร์นิเซียสแอนีเมีย, โรคโลหิตจางชนิดหนึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายไม่สามารถรับวิตามิน B12 ไปใช้ได้ มีอาการลิ้นอักเสบและอาการทางประสาท [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Unix | ยูนิกซ์, ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบ 32 บิต พัฒนาขึ้นโดย AT&T สามารถทำงานได้หลายงาน โดยผู้ใช้หลายๆคน ใช้ได้กับโปรแกรมระบบงานมากมาย และรองรับภาษาโปรแกรมได้หลายภาษา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
amphibious | (adj) ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งบนน้ำและบนบก |
applicable | (adj) ที่สามารถนับไปปรับใช้ได้, Syn. suitable, appropriate |
cure-all | (n) การรักษาที่เชื่อว่าใช้ได้กับทุกโรค, Syn. panacea |
channel off | (phrv) นำไปใช้ได้หลากหลาย |
fair-to-middling | (idm) พอใช้ได้, See also: พอยอมรับได้ |
fairly | (adv) อย่างพอสมควร, See also: พอใช้, พอใช้ได้, พอควร, Syn. moderately |
fine | (adj) ดี (ยอมรับได้), See also: น่าพอใจ, พอใช้ได้, Syn. satisfactory, acceptable, all right, Ant. unacceptable |
functional | (adj) ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์, See also: ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้จริง, Syn. practical, pragmatic, utilitarian |
functionally | (adv) โดยสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์, See also: โดยสามารถนำไปใช้ได้จริง, Syn. practically, pragmatically |
get by | (phrv) พอใช้การได้, See also: พอใช้ได้, ยอมรับได้ |
get weaving | (idm) เริ่มทำงาน, See also: เริ่มใช้ได้, Syn. get cracking, get going, get moving, get started |
general-purpose | (adj) ซึ่งมีประโยชน์หลายด้าน, See also: ซึ่งนำไปใช้ได้หลากหลาย, ทั่วไป |
in good condition | (idm) มีสภาพดี (ใช้ได้ทั้งกับคนและสิ่งของ) |
in good shape | (idm) มีสภาพดี (ใช้ได้ทั้งกับคนและสิ่งของ) |
out of circulation | (idm) ไม่สามารถยืมได้, See also: ไม่สามารถใช้ได้ |
out of commission | (idm) ใช้การไม่ได้, See also: ไม่สามารถใช้ได้ |
separate the men from the boys | (idm) แยกส่วนที่ใช้ได้ออกจากสิ่งที่ใช้ไม่ได้ |
impassable | (adj) ซึ่งผ่านไปไม่ได้, See also: ที่ผ่านไม่ได้, ที่ไม่สามารถใช้ได้, Syn. impenetrable, Ant. passable |
long-lived | (adj) ใช้ได้นาน, See also: ทนทาน, อยู่ได้นาน, Syn. enduring, durable, long-lasting |
Ms | (abbr) คำเรียกผู้หญิง (ใช้ได้ทั้งหญิงแต่งงานแล้วและยังไม่ได้แต่ง) |
O.K. | (adj) ใช้ได้, See also: โอเค, ตกลง, Syn. all right, OK |
OK | (adj) ที่พอให้ผ่านได้, See also: ที่ดีพอควร, พอใช้ได้ |
okay | (adj) ใช้ได้, See also: โอเค, ตกลง, Syn. all right, OK |
practical | (adj) ที่ขึ้นอยู่กับความเป็นจริง, See also: ที่ใช้ได้จริง, Syn. pragmatic, wise, savvy, Ant. foolish, impractical |
practically | (adv) อย่างใช้ได้จริง, Syn. actually, realistically, Ant. impractically |
pretty | (adv) พอใช้ได้, See also: อย่างพอควร, พอใช้, ค่อนข้าง, Syn. rather, tolerably |
prevail | (vi) เป็นจริง, See also: มีผลที่เป็นจริง, ยังใช้ได้อยู่ |
ready | (adj) พร้อมใช้, See also: ใช้ได้ทันที, เสร็จ, Syn. available |
ready-to-use | (adj) พร้อมใช้ได้ทันที |
recover | (vt) ทำให้ใช้ได้อีก, See also: นำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก, Syn. reclaim, recycle |
high-res | (sl) (ภาพ) ชัดเจน (มาจาก high-resolution), See also: ภาพ ใช้ได้, Syn. hi-res |
hunky-dory | (sl) ดี, See also: ใช้ได้, เรียบร้อย |
scavenge | (vi) ค้นหาของ (ที่ยังใช้ได้) จากกองขยะ, See also: รวบรวมสิ่งที่ยังใช้ได้ออกจากกองขยะ, Syn. search, seek |
scavenge | (vt) ค้นหาของ (ที่ยังใช้ได้) จากกองขยะ, See also: รวบรวมสิ่งที่ยังใช้ได้ออกจากกองขยะ |
serviceable | (adj) ซึ่งใช้งานได้, See also: ซึ่งใช้สอยได้, ซึ่งเป็นประโยชน์, ซึ่งใช้ได้จริง, ซึ่งพร้อมให้บริการ, Syn. advantageous, practical |
set fair | (phrv) ดูเหมือนจะดี, See also: น่าจะใช้ได้ |
tolerably | (adv) ดีพอใช้ได้ |
tough | (adj) ที่ทนทาน, See also: ที่ใช้ได้นาน, Syn. solid, firm |
useable | (adj) ซึ่งใช้ได้, Syn. workable, practicable, Ant. unusable |
uselessness | (n) การที่ไม่สามารถใช้ได้, Syn. workability, Ant. usefulness |
vulgarize | (vt) ทำให้ใช้ได้ง่าย, Syn. popularize |
wieldy | (adj) ซึ่งจัดการได้ง่าย, See also: ซึ่งใช้ได้ง่าย |
access key | กุญแจการเข้าถึงหมายถึง รหัส หรือคำหลักที่ใช้เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลที่มีเก็บไว้ได้ ข้อมูลบางอย่างต้องทำเป็นการเฉพาะ และจะยอมให้เรียกมาใช้ได้เฉพาะคนบางกลุ่ม จึงต้องมีกุญแจที่จะให้รู้กันเฉพาะคนในกลุ่ม ผู้ที่ไม่รู้กุญแจ ก็ไม่สามารถเรียกเอาข้อมูลออกมาดู หรือมาใช้หรือแก้ไขได้ |
all-terrain vehicle | รถที่ใช้ได้กับทุกดินฟ้าอากาศ |
alpha test | การทดสอบรอบแรกหมายถึง การนำเอาโปรแกรมสำเร็จที่เขียนเสร็จใหม่ ๆ ไปให้ "กลุ่มลูกค้าประจำ" ทดลองใช้ดูก่อน หรือพูดง่าย ๆ ว่า ให้ช่วยเป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้นให้ เพื่อจะดูว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นใช้ได้ดีหรือไม่ ยังขาดตกบกพร่องอะไรบ้าง หรือมีปัญหาในเรื่องใด โดยปกติแล้ว การทดลองนำไปใช้ครั้งแรกนี้ จะยังมีเรื่องที่ต้องแก้ไขอีกมาก โปรแกรมดังกล่าวจะมีข้อความบ่งบอกไว้ว่า เป็น alpha version หมายความว่า รุ่นทดสอบรอบแรก ดู beta version ประกอบ |
alpha version | รุ่นทดสอบรอบแรกหมายถึง การนำเอาโปรแกรมสำเร็จที่เขียนเสร็จใหม่ ๆ ไปให้ "กลุ่มลูกค้าประจำ" ทดลองใช้ดูก่อน หรือพูดง่าย ๆ ว่า ให้ช่วยเป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้นให้ เพื่อจะดูว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นใช้ได้ดีหรือไม่ ยังขาดตกบกพร่องอะไรบ้าง หรือมีปัญหาในเรื่องใด โดยปกติแล้ว การทดลองนำไปใช้ครั้งแรกนี้ จะยังมีเรื่องที่ต้องแก้ไขอีกมาก โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมีข้อความบ่งบอกไว้ว่าเป็นรุ่นทดสอบรอบแรก มีความหมายเหมือน alpha testดู beta version ประกอบ |
applicative | (แอพ'พลิเค'ทิฟว) adj. ใช้ประโยชน์ได้, ใช้ได้, ปฏิบัติได้, Syn. practical |
autoexec.bat | ชื่อแฟ้มคำสั่งรวม <คำแปล>เป็นชื่อของแฟ้มเก็บคำสั่งรวม (batch file) แฟ้มหนึ่ง ถือเป็นแฟ้มพิเศษ เพราะคอมพิวเตอร์จะทำตามคำสั่งในแฟ้มที่ชื่อนี้ทันทีที่เปิดเครื่อง โดยมาก จะเขียนขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เรียกโปรแกรมต่าง ๆ มาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องเสียเวลาหาว่า โปรแกรมที่ต้องการอยู่ในสารบบ (directory) ใด ใช้คำสั่งเข้าไปในสารบบนั้น แล้วจึงตามด้วยชื่อแฟ้มที่เป็นโปรแกรม แต่ผู้ใช้สามารถพิมพ์ชื่อโปรแกรมได้เลย ตัวอย่างแฟ้ม autoexec.bat ที่นำเข้าสู่ โปรแกรม FoxPro โดยผ่านโปรแกรม VTHAI อาจมีข้อความดังนี้ echo off cls cd FOXPRO25 VTHAI/U CD\ AUX : axis : |
battery backup | แบตเตอรี่สำรอง <คำแปล>หมายถึง แบตเตอรี่ที่มีสำรองเอาไว้ให้ใช้ได้ทันทีที่ไฟฟ้าดับ เพื่อว่าข้อมูลจะได้ไม่หายไป |
c | (ซี) n. พยัญชนะอังกฤษตัวที่3, ตัวเลข100ของโรมัน, สัญลักษณ์ทางเคมีของธาตุคาร์บอน ภาษาซีเป็นภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่ง ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ภาษานี้เริ่มต้นมาจากห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell ในช่วงทศวรรษ 1970 ภาษาซีนี้ เป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปเทียบเคียงได้กับภาษาเบสิก (BASIC) หรือภาษาปาสกาล (Pascal) ความที่ภาษาซีเป็นภาษาที่ใช้ง่ายและสะดวก โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างดี เช่น Lotus 1-2-3 และ Microsoft FoxPro ก็เขียนด้วยภาษาซี ภาษาซีได้เปรียบภาษาอื่น ๆ อย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน คือ 1. ภาษาซีง่ายในการเขียน และเรียนรู้ได้ง่ายเกือบจะเท่ากับภาษาเบสิก2. โปรแกรมภาษาซีใช้เวลาของเครื่อง (คอมพิวเตอร์) น้อยมาก พอ ๆ กับภาษาแอสเซมบลี (Assembly) แต่เขียนได้ง่ายกว่ากันมาก3. ภาษาซีใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นแมคอินทอชหรือไอบีเอ็ม (แทบจะไม่ต้องแก้ไขดัดแปลงอะไรเลย ผิดกับภาษาเบสิกและภาษาปาสกาล ซึ่งหากนำไปใช้กับเครื่องต่างตระกูลกันแล้ว จะต้องแก้ไขมากจนเรียกได้ว่าไม่คุ้ม |
client | (ไคล'เอินทฺ) n. ลูกความ, คนไข้, ลูกค้า, คนซื้อของ, ผู้พึ่งคนอื่น, บุคคลหรือบริษัทที่จ่ายเงินสำหรับสินค้าหรือการบริการ adj. เป็นลูกค้าประจำ, See also: cliental adj. ดูclient ผู้รับบริการ1. ใช้ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ LAN หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่สามารถเรียกข้อมูลข่าวสารหรือโปรแกรมจากเครื่องบริการแฟ้ม file server มาใช้ได้ หรืออาจหมายถึงเครื่องที่ทำงานอย่างอิสระ โดยใช้โปรแกรมที่มีอยู่ในเครื่องนั้นเองก็ได้ ดู file server ประกอบ2. หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกับเครื่องอื่นได้ โดยใช้ระบบ DDE หรือ dynamic data exchange ดู dynamic data exchange ประกอบ |
client application | โปรแกรมเฉพาะเครื่อง1. ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) คำนี้หมายถึง โปรแกรมที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์บางเครื่อง โดยปกติ ในระบบเครือข่ายนั้น จะต้องมีคอมพิวเตอร์กลางเครื่องหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นที่เก็บโปรแกรมต่าง ๆ ไว้ให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถเรียกไปใช้ได้ เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (file server) (คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมเหล่านั้น) แต่ถ้าเครื่องบริการแฟ้มนั้นเสีย คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายเดียวกันนั้นก็จะทำงานไม่ได้เลย ฉะนั้น เราจึงมักจะให้คอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือข่ายมีโปรแกรมเก็บไว้ในเครื่องของตนเองด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่แม้จะอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน จะไม่สามารถเรียกโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ไปใช้ได้ เราเรียกโปรแกรมที่เก็บอยู่เฉพาะในเครื่องนี้ว่า " client application "2. โปรแกรมบนระบบวินโดว์ที่สามารถโยงถึงที่มาของภาพหรือข้อความที่เป็นต้นแบบได้ หากเมื่อใดมีการแก้ไขในแฟ้มต้นแบบ โปรแกรมก็จะจัดการแก้ไขในแฟ้มใหม่ ให้ด้วย ดู OLE เปรียบเทียบ |
clip art | แฟ้มภาพกฤตศิลป์หมายถึง ภาพที่ได้รับอนุญาตให้ตัดหรือคัดลอกมาใช้ได้ด้วยวิธีการทางคอมพิวเตอร์ (เช่น ใช้คำสั่ง cut หรือ copy) มีการนำมาเก็บรวบรวมไว้เพื่อใช้ในงานพิมพ์ตั้งโต๊ะ (desktop publishing) หรืองานพิมพ์ต่าง ๆ ในชุดโปรแกรมสำเร็จที่ชื่อ Microsoft Office จะมี Microsoft clip gallery รวบรวมภาพไว้ให้เลือกมากมาย เพื่อให้คัดลอกไปใช้ในงานพิมพ์ได้ตามที่ต้องการ |
closed architecture | สถาปัตยกรรมปิดหมายถึง การออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ใช้ได้เฉพาะกับอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนที่ผลิตจากบริษัทเดียวกันเท่านั้น (เรียกว่า ปิดประตูตาย ไม่ให้ผู้อื่นมาร่วมทำมาหากิน) |
compuserve | คอมพิวเซิร์ฟเป็นบริการที่นำคอมพิวเตอร์ของเราไปต่อสายเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ที่สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก ๆ เพื่อจะได้ขอใช้ข้อมูลบางอย่างได้ โดยปกติ การทำเช่นนี้จะต้องจ่ายค่าบริการค่อนข้างแพง นอกจากนั้น บริการ CompuServe ยังมีโปรแกรมเก่า ๆ ที่ยอมให้มีการคัดลอกมาใช้ได้โดยไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อีก มีเกมให้เรียกมาเล่นได้ พร้อมทั้งให้บริการอย่างอื่นอีกมาก เช่น จะจองตั๋วเครื่องบินเองก็ได้ นอกจากนั้น ผู้ใช้จะขอดูข้อมูลต่าง ๆ ได้ เช่นข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งกีฬา ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ ฯ |
computer language | ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เพื่อสื่อสารให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ โดยปกติเราแบ่งภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ชนิด คือ1. ภาษาเครื่อง (machine language) คำสั่งที่เขียนด้วยภาษานี้เครื่องจะรับรู้และปฏิบัติตามได้ทันที ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์แต่ละแบบก็จะคิดแบบของภาษาที่ใช้กับเครื่องนั้น ๆ ขึ้นเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องลักษณะของภาษาประเภทนี้จะเป็นตัวเลขฐานต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ฉะนั้นจึงเป็นการยากสำหรับผู้เขียนโปรแกรม ซึ่งต้องเรียนรู้รายละเอียดของเครื่องนั้น ๆ ก่อน จึงจะใช้ภาษาได้2. ภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) หมายถึงภาษาที่มนุษย์เข้าใจ (แต่เครื่องไม่เข้าใจ) เนื่องจากภาษาเครื่องยุ่งยากและสับสน จึงมีการคิดภาษาหนังสือซึ่งมนุษย์เราเคยชินกันอยู่แล้วขึ้น แล้วใช้ตัวแปล (translator) แปลเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง เครื่องจึงจะดำเนินการได้ ภาษาแนวมนุษย์นี้แบ่งออก ได้เป็น 2 ระดับ คือ2.1 ภาษาระดับต่ำ (low - level language) เช่น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) 2.2 ภาษาระดับสูง (high - level language) เช่นภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) โคบอล (COBOL) ลักษณะของภาษาระดับสูงนี้ ได้มีการประดิษฐ์ขึ้นให้เหมาะสมกับงานเฉพาะอย่าง เช่น ภาษาฟอร์แทรน เหมาะกับงานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และงานวิจัย ภาษาโคบอลและอาร์พีจี (RPG) เหมาะกับงานด้านธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีภาษาอื่นที่เป็นที่นิยมอีกมาก ภาษาเหล่านี้จะใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมาก เพราะในคอมพิวเตอร์ จะมีตัวแปล (translator) ซึ่งมีหน้าที่คอยแปลภาษาแนวมนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง การใช้ภาษาแนวมนุษย์นี้มีข้อดีคือ ใช้ง่ายกว่า มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่ายกว่า และเขียนได้สั้นกว่า เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลาย ๆ คำสั่งของภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดี ตรงที่ใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการแปล |
da | 1. abbr. dopamine 2. (ดีเอ) ย่อมาจาก desk accessory (แปลว่า เครื่องใช้อำนวยความสะดวก) มีอยู่ในเครื่องแมคอินทอช หมายถึง โปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) ต่าง ๆ เช่น เครื่องคิดเลข สมุดโน้ต นาฬิกา โปรแกรมเหล่านี้สามารถเรียกมาใช้ได้ แม้ในขณะที่ทำโปรแกรมอื่นอยู่ ในระบบไมโครซอฟต์วินโดว์ ก็มีกลุ่มโปรแกรมที่ชื่อ Accessories ซึ่งมีโปรแกรมอรรถประโยชน์ในลักษณะคล้าย ๆ กัน เช่น มีเครื่องคิดเลข นาฬิกา สมุดโน้ต ปฎิทิน มีโปรแกรมที่จำเป็น เช่น ประมวลผลคำ (word processing) และ โปรแกรมวาดภาพ ฯลฯ |
data base | ฐานข้อมูลหมายถึง การจัดรวบรวมข้อนิเทศ หรือข้อมูลของเรื่องต่าง ๆ ไว้ในรูปแบบที่จะ เรียกมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการ ในการเรียกนั้น อาจเรียกเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งมาใช้ประโยชน์เป็นครั้งเป็นคราวก็ได้ ฐานข้อมูลที่ดีควรจะได้รับการปรับให้ทันสมัยอยู่เสมอ บางทีเขียนเป็นคำเดียวกันว่า database |
data card | บัตรข้อมูลหมายถึงบัตรคอมพิวเตอร์ที่ใช้ เจาะเป็นรหัสแสดงถึงตัวอักขระต่าง ๆ อาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรืออักขระพิเศษ เพื่อให้คอมพิวเตอร์อ่านเข้าไปเก็บในหน่วยความจำ บัตรข้อมูลนั้น เราสามารถใช้ได้ทั้ง 80 คอลัมน์ของบัตร (แต่บัตรที่เป็นบัตรชุดคำสั่ง ที่เรียกว่า program card นั้น ใช้ได้เฉพาะคอลัมน์ 7 ถึง 70) เมื่อส่งเข้าประมวลผลในคอมพิวเตอร์ บัตรข้อมูลจะต้องส่งตามหลังบัตรชุดคำสั่งเสมอดู card code ประกอบ |
database | หมายถึง การจัดรวบรวมข้อนิเทศ หรือข้อมูลของเรื่องต่าง ๆ ไว้ในรูปแบบที่จะ เรียกมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการ ในการเรียกนั้น อาจเรียกเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งมาใช้ประโยชน์เป็นครั้งเป็นคราวก็ได้ ฐานข้อมูลที่ดีควรจะได้รับการปรับให้ทันสมัยอยู่เสมอ บางทีเขียนแยกกัน เป็น data base ก็มี |
daughterboard | แผงวงจรตัวลูกหมายถึง แผงวงจรอีกชุดหนึ่ง ที่ทำเพิ่มไว้เผื่อให้เลือกใช้ได้ สามารถเสียบเข้าใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคู่ไปกับแผงวงจรหลักได้เลย เมื่อเรียกแผงวงจรหลักว่า ตัวแม่ (motherboard) จึงได้เรียกตัวนี้ว่า ตัวลูก |
desk accessory | เครื่องใช้อำนวยความสะดวกใช้ตัวย่อว่า DA (อ่านว่า ดีเอ) หมายถึง โปรแกรมพิเศษประเภทโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) ต่าง ๆ ที่อำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้ได้ตลอดเวลา แม้ในขณะที่ใช้โปรแกรมอื่นอยู่ เช่น เครื่องคิดเลข นาฬิกา ฯ (ดู DA) |
eis | (อีไอเอส) ย่อมาจาก executive information system (แปลว่า ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร) หมาถึงการนำสารสนเทศหรือข้อมูลต่าง ๆ มาเก็บไว้ในรูปแบบที่ผู้บริหารมักจะต้องการใช้ และสามารถจะเรียกมาดู หรือใช้ได้สะดวก |
erasable storage | หน่วยเก็บที่ลบได้ <คำแปล>หมายถึง สื่อเก็บข้อมูลที่สามารถบันทึกข้อมูลใหม่ทับข้อมูลเก่าได้ เช่น แถบบันทึก (tape) หรือ จานบันทึก (diskette) เมื่อบันทึกข้อมูลใหม่ ข้อมูลเก่าจะถูกลบออกไปเอง ส่วนบัตร (card) เป็นหน่วยเก็บที่ลบไม่ได้ หมายความว่า ใช้ได้ครั้งเดียวก็ต้องโยนทิ้ง |
executive information sys | ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารใช้ตัวย่อว่า EIS (อ่านว่า อีไอเอส) หมาถึงการนำสารสนเทศหรือข้อมูลต่าง ๆ มาเก็บไว้ในรูปแบบที่ผู้บริหารมักจะต้องการใช้ และสามารถจะเรียกมาดู หรือใช้ได้สะดวก |
expendable | (อิคซฺเพน'ดะเบิล) adj. พอที่จะใช้จ่ายได้, ใช้ได้, , See also: expendability n. |
fibonacci numbers | เลขไฟโบนาชชี่หมายถึง แบบแผนทางคณิตศาสตร์แบบหนึ่งที่กำหนดให้ จำนวนเลขลำดับที่สาม เป็นผลบวกของเลขสองตัวที่อยู่ลำดับ ก่อนหน้า เช่น 4, 8, 12, 20, 32..... (12 เป็นผลบวกของ 4 กับ 8 และ 20 เป็นผลบวกของ 8 กับ 12 เป็นดังนี้ไปเรื่อย ๆ) ใช้ได้ดีในการเขียนโปรแกรมบางโปรแกรม เพราะทำให้สามารถเข้าสู่จุดตำแหน่งที่ต้องการได้รวดเร็วขึ้น (บางทีเรียก fibonacci series หรืออนุกรมไฟโบนาชชี) |
flat-file database | ฐานข้อมูลรายแฟ้มหมายถึง โปรแกรมฐานข้อมูลที่ใช้เก็บและเรียกหาข้อมูล ออกมาใช้ได้ทีละแฟ้ม เป็นสำคัญ ตรงข้ามกับฐานข้อมูลสัมพันธ์ (relational database) ซึ่งจะทำให้เรียกหามาใช้ได้ มากกว่าครั้งละหนึ่งแฟ้ม |
flatbed scanner | เครื่องกราดภาพแบบระนาบหมายถึง เครื่องจับภาพ หรือบางทีก็นิยมเรียกทับศัพท์ว่า "เครื่องสแกนเนอร์ "เครื่องจับภาพแบบระนาบนี้ใช้ได้กับ กระดาษ ขนาดที่ไม่โตกว่า 8.5 x 11 นิ้ว โดยจับคว่ำหน้า ให้ด้านที่มีข้อความ หรือภาพที่ต้องการลงบนแผ่นกระจก ใช้คำสั่งจากคอมพิวเตอร์สั่งให้มีลำแสงผ่าน ก็จะมองเห็นภาพที่เหมือนกับภาพหรือข้อความที่เป็นต้นแบบบนจอภาพ ลักษณะการทำงานจะคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร ภาพที่ได้ มานี้ สามารถนำมาตบแต่งแก้ไขได้ จะเก็บลงจานบันทึก ในลักษณะ ของแฟ้มข้อมูล ก็ได้ จะสั่งพิมพ์ออกทางเครื่อง พิมพ์ หรือจะโอนไปแฟ้มข้อมูลอื่นก็ได้ |
fortran | (ฟอร์แทรน) เป็นชื่อภาษาระดับสูง (high level language) ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง สร้างขึ้นเป็นภาษาแรก ๆ เพื่อให้นัก คณิตศาสตร์ใช้ได้สะดวก และรวดเร็ว ย่อมาจากคำว่า FORmular TRANslator ซึ่งก็แปลได้ว่า ตัวแปลสูตรคณิตศาสตร์ นั่นเอง โปรแกรมภาษาฟอร์แทรนนั้น สามารถนำไปใช้กับ เครื่อง คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ได้หลายยี่ห้อ โดยแทบจะไม่ต้อง ปรับ แก้เลย ก่อนหน้าที่จะมีการใช้ภาษานี้ นักเขียนโปรแกรม รู้จัก แต่ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) |
freeware | ฟรีแวร์ของฟรีหมายถึง ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่แม้จะจดทะเบียนลิขสิทธิ์เอาไว้ แต่ก็ยินยอมให้มีการคัดลอกเอาไปใช้ได้อย่างเสรี โดยไม่คิด เงิน (ต่างกับ public domain ซึ่งไม่มีการจด ทะเบียนใด ๆ เลย ใครจะคัดลอกหรือนำไปใช้ ก็สามารถทำได้ทั้งสิ้น) |
gif | (จิฟ) ย่อมาจาก Graphic Interchange Format (รูปแบบสับเปลี่ยนภาพกราฟิก) เป็นรูปแบบการเก็บแฟ้มข้อมูลที่มีภาพแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นพีซีหรือแมคอินทอชก็จะสามารถเรียกมาใช้ได้ มักจะมีไว้ใช้ในบริการ CompuServe ดู CompuServe |
global variable | ตัวแปรส่วนกลางตัวแปรที่เรียกใช้ได้จากทุก ๆ ซับรูทีน (subroutine) ในโปรแกรมหลักเดียวกันดู local variable เปรียบเทียบ |
graphic interchange forma | รูปแบบสับเปลี่ยนภาพกราฟิกใช้ตัวย่อว่า GIF (อ่านว่า จิฟ) เป็นรูปแบบการเก็บแฟ้มข้อมูลที่มีภาพแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นพีซีหรือแมคอินทอชก็จะสามารถเรียกมาใช้ได้ มักจะมีไว้ใช้ในบริการ CompuServe ดู CompuServe ประกอบ |
high end | ชั้นดีชั้นสูงหมายถึง ผลิตภัณฑ์ชั้นดีเยี่ยมที่บางบริษัททำการผลิตขี้นมา แน่นอนที่ราคาจะต้องสูงตามไปด้วย เป็นที่นิยมในกลุ่มคนที่มีฐานะดี บางบริษัทอาจสนใจผลิตตรงข้าม กล่าวคือ เป็นผลิตภัณฑ์ที่พอใช้ได้ และราคาถูก เป็นที่นิยมในกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย ซึ่งเรียกว่า low end แต่ก็มีข้อดีก็คือ จะทำให้ขายได้จำนวนมากกว่า ดู low end เปรียบเทียบ |
host computer | คอมพิวเตอร์แม่ข่ายคอมพิวเตอร์แม่งานหมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหลักในเครือข่าย ที่จะทำหน้าที่ควบคุมคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายนั้นทั้งหมด เป็นทั้งที่เก็บโปรแกรมและข้อมูลพื้นฐาน ที่คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะเรียกใช้ได้ในเรื่องการสื่อสาร หมายถึง คอมพิวเตอร์เครื่องที่ใช้ต่อเข้า/ออก |
in line program | โปรแกรมแทรกชุดคำสั่งแทรกหมายถึง ชุดคำสั่งส่วนหนึ่งที่เขียนแทรกไว้ในโปรแกรม ใช้ชื่อที่กำหนดขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อสะดวกในการเรียกใช้ คำสั่งกลุ่มนี้ โดยปกติ จะประกอบด้วยคำสั่งหลายคำสั่ง ที่ผู้ทำโปรแกรมนำมารวมไว้ ชุดคำสั่งแทรกนี้จะต้องกำหนดชื่อคำสั่งไว้ตอนต้นโปรแกรม เมื่อใดก็ตาม ที่มีการเรียกชื่อคำสั่งที่กำหนดนี้ ก็จะเท่ากับเป็นการเรียกใช้กลุ่มคำสั่งที่ประกอบด้วยคำสั่งนี้ทั้งชุด ชุดคำสั่งแทรกนี้ เราสามารถเรียกใช้ได้ตลอดเวลาที่เรียกใช็โปรแกรมนี้อยู่ หรือทุกแห่งที่ต้องการใช้คำสั่งกลุ่มนั้นมีความหมายเหมือน macro instruction, macro program |
indexed sequential access | วิธีการเข้าถึงลำดับดรรชนีใช้ตัวย่อว่า ISAM (อ่านว่า ไอแซม) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอย่างหนึ่ง เพื่อให้สามารถเรียกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง ใช้ในโปรแกรมประเภทคลังข้อมูล |
internet | (อินเทอร์เน็ต) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติที่มีสายตรงต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รายใหญ่ทั่วโลก ผ่านโมเด็ม (modem) คล้ายกับ Compuserve ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูล และโปรแกรมบางโปรแกรมมาใช้ได้ อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเตอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น ไทยมี Chulanet, KSC , Infonews เป็นต้น) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล |
isam | (ไอแซม) ย่อมาจาก indexed sequential access method (แปลว่า วิธีการเข้าถึงลำดับดรรชนี) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอย่างหนึ่ง เพื่อให้สามารถเรียกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง ใช้ในโปรแกรมประเภทคลังข้อมูล |
laserjet | (เลเซอร์เจ็ต) เป็นชื่อเครื่องพิมพ์เลเซอร์ของบริษัทฮิวเล็ตแพ็กการ์ด ใช้ได้กับเครื่องพีซี มีส่วนแบ่งการตลาดค่อนข้างสูงมากในปัจจุบัน |
laserwriter | (เลเซอร์ไรต์เทอร์) เป็นชื่อเครื่องพิมพ์เลเซอร์ของบริษัทแอปเปิล ใช้ได้ทั้งกับพีซี และแอปเปิล |
login | ลงบันทึกเข้าเป็นคำสั่งที่สั่งเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่เข้ากับเครือข่าย เพื่อจะได้ดึงแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมมาใช้ได้ (อย่างไรก็ตาม บางทีอาจต้องใช้รหัสผ่าน จึงจะเข้าได้) |
lotus 1-2-3 | เป็นชื่อโปรแกรมตารางจัดการที่โด่งดังมากโปรแกรมหนึ่ง นิยมใช้กันมากบนเครื่องพีซี ใช้ได้ทั้งกับระบบดอสและวินโดว์ บริษัทผู้ผลิตชื่อ Lotus Development Corporation |
magnetic disk | จานแม่เหล็กหมายถึง สิ่งที่มีลักษณะเหมือนจาน เคลือบผิวด้วยไอออนออกไซด์ ทำให้เกิดกระแสแม่เหล็กบนผิวหน้าของจานแม่เหล็ก จะมีสองขั้วคือขั้วบวกและขั้วลบ สถานะสองขั้วนี้เองที่เรานำมาใช้แทนรหัสเลขฐานสอง (คือ 0 กับ 1) และทำให้เราสามารถบันทึกข้อมูลซึ่งแตกออกเป็นดิจิต (digit) ได้อย่างง่ายดาย นับเป็นสื่อเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีทั้งจานอ่อน (floppy disk หรือ diskette) และจานแข็ง (hard disk) จานบันทึกเหล่านี้จะต้องนำมาจัดรูปแบบการบันทึก (format) คือกำหนดแทร็ก (track) และเซ็กเตอร์ (sector) ก่อน จึงจะนำไปใช้ได้ดู track และ sector ประกอบ |
multiuser system | ระบบหลายผู้ใช้หมายถึง โปรแกรมหรือระบบปฏิบัติการที่ยอมให้มีผู้ใช้ได้มากกว่าหนึ่งคน ในเวลาเดียวกัน เช่น การจัดข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ผู้ใช้หลายคนสามารถเรียกหาได้พร้อม ๆ กันอย่างในระบบเครือข่าย (network) เป็นต้น |
notebook computer | คอมพิวเตอร์ขนาดสมุดบันทึกหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมาก บางทีเรียกขนาดสมุดโน้ต หรือขนาดพกพา เพราะสามารถพกพาติดตัวไปไหน ๆ ได้สะดวก ใช้ได้ทั้งกับไฟบ้านและแบตเตอรี น้ำหนักไม่ถึง 1 กิโล กรัม ปัจจุบัน กำลังได้รับความนิยมมากมีความหมายเหมือน notepad computer |
notepad computer | คอมพิวเตอร์ขนาดสมุดพกโน้ตแพดคอมพิวเตอร์หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมาก บางทีเรียกขนาดสมุดโน้ต หรือขนาดพกพา เพราะสามารถพกพาติดตัวไปไหน ๆ ได้สะดวก ใช้ได้ทั้งกับไฟบ้านและแบตเตอรี น้ำหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม ปัจจุบัน กำลังได้รับความนิยมมากมีความหมายเหมือน notebook computer |
o.k. | (โอ'เค) adj., adv., vt., n. ถูกต้อง, ถูก, ใช้ได้, ดีแล้ว, เรียบร้อย, อนุมัติ, รับรองว่าถูก, ตกลง, ครับ n. การตกลง, Syn. OK, okay |
object-oriented programmi | การทำโปรแกรมเชิงวัตถุหมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมของนักเขียนโปรแกรมรุ่นใหม่ ที่จัดแบ่งการเขียนคำสั่งกันออกเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า "วัตถุ" (object) แล้วจึงนำเอาชุดคำสั่งแต่ละชุดนั้นมารวมกันเป็นโปรแกรมชุดใหญ่อีกทีหนึ่ง ในบางครั้งยังอาจนำ "วัตถุ" ของโปรแกรม หนึ่งไปรวมกับ "วัตถุ" ของอีกโปรแกรมหนึ่ง แล้วเรียกออกมาใช้ได้เลย ทั้งนี้ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมใหม่ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด วิธีการดังกล่าวนี้ช่วยประหยัดเวลาได้มาก พูดให้ง่ายก็คือ ทุกโปรแกรมไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ อนึ่ง คำว่า "วัตถุ" นั้น หมายรวมไปถึงภาพหรือกราฟิกด้วย ภาพหนึ่งภาพ เช่น การสร้างวงกลมนั้น เกิดจากการเขียนโปรแกรมโดยใช้สูตรคำนวณเส้นโค้ง ซึ่งจะประกอบด้วยคำสั่งหลายร้อยคำสั่ง แล้วเก็บไว้เป็น "วัตถุ" หนึ่ง ฉะนั้น เมื่อใดที่เราสั่งวาดวงกลม ก็เท่ากับไปเรียก "วัตถุ" นี้มาใช้ หลังจากนั้น หากเราจะต่อเติมเป็นภาพอื่นต่อไป คอมพิวเตอร์ก็จะไปดึงอีก "วัตถุ" หนึ่งมาทำต่อให้ |
oop | (โอโอพี, อุป) ย่อมาจาก object-oriented programming หมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมของนักเขียนโปรแกรมรุ่นใหม่ ที่จัดแบ่งการเขียนคำสั่งกันออกเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า "วัตถุ" (object) แล้วจึงนำเอาชุดคำสั่งแต่ละชุดนั้นมารวมกันเป็นโปรแกรมชุดใหญ่อีกทีหนึ่ง ในบางครั้งยังอาจนำ "วัตถุ" ของโปรแกรม หนึ่งไปรวมกับ "วัตถุ" ของอีกโปรแกรมหนึ่ง แล้วเรียกออกมาใช้ได้เลย ทั้งนี้ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมใหม่ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด วิธีการดังกล่าวนี้ช่วยประหยัดเวลาได้มาก พูดให้ง่ายก็คือ ทุกโปรแกรมไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ อนึ่ง คำว่า "วัตถุ" นั้น หมายรวมไปถึงภาพหรือกราฟิกด้วย ภาพหนึ่งภาพ เช่น การสร้างวงกลมนั้น เกิดจากการเขียนโปรแกรมโดยใช้สูตรคำนวณเส้นโค้ง ซึ่งจะประกอบด้วยคำสั่งหลายร้อยคำสั่ง แล้วเก็บไว้เป็น "วัตถุ" หนึ่ง ฉะนั้น เมื่อใดที่เราสั่งวาดวงกลม ก็เท่ากับไปเรียก "วัตถุ" นี้มาใช้ หลังจากนั้น หากเราจะต่อเติมเป็นภาพอื่นต่อไป คอมพิวเตอร์ก็จะไปดึงอีก "วัตถุ" หนึ่งมาทำต่อให้ |
operational | (ออพพะเร'เชินเนิล) adj. ทำได้, ใช้ได้, เกี่ยวกับปฏิบัติการทางทหาร, เกี่ยวกับศัลยกรรม, เกี่ยวกับการคำนวณหรือคณิตศาสตร์., Syn. working |