8 ผลลัพธ์ สำหรับ สารตราตั้ง
หรือค้นหา: -สารตราตั้ง-, *สารตราตั้ง*
เนื่องจากผลลัพธ์มีน้อย ระบบจึงเปลี่ยนคำค้นเป็น *สารตราตั้ง*

Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
สารตราตั้ง[sāntrātang] (n) EN: letter of credence ; credentials

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Agreementการที่รัฐที่ผู้จะไปประจำตำแหน่งในรัฐนั้นได้ตกลง เห็นชอบกับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอชื่อให้เป็นผู้แทนทางการทูต อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้ บัญญัติไว้ว่า1. รัฐผู้ส่งไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นที่แน่นอนว่า รัฐผู้รับได้ให้ความเห็นชอบแล้ว สำหรับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอจะแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐนั้น2. รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลแก่รัฐผู้ส่งในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตซึ่งรอการถวายสารตราตั้งจะต้องเริ่มดำเนิน การเพื่อเดินทางไปยังรัฐผู้รับในเรื่องนี้ มีตัวอย่างไม่น้อยที่รัฐผู้รับปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบด้วยเหตุผลบางอย่าง นับตั้งแต่อ้างว่า การเสนอชื่อผู้รับการแต่งตั้งได้กระทำกะทันหันเกินไป และมิได้แจ้งข้อเท็จจริงมาก่อน หรือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอให้เป็นผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเคยกล่าวตำหนิ วิพากษ์รัฐผู้รับ หรือผู้รับการเสนอชื่อมมีภรรยาเป็นชาวยิว หรือผู้รับการเสนอชื่อถือศาสนาโรมันคาทอลิก หรือผู้นั้นเคยปฏิบัติไม่ดีต่อชนชาติของรัฐผู้รับ หรือผู้นั้นในขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างถูกฟ้องร้อง ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกง เป็นต้นกล่าวโดยย่อ agr?ment คือ การให้ความเห็นชอบของรัฐผู้รับ แก่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐผู้ส่งให้เป็นผู้แทนทางการทูตนั่นเอง [การทูต]
Commencement of the Functions of the Head of Diplomatic Missionการเริ่มต้นรับหน้าที่ของหัวหน้าคณะผู้แทนทางการ ทูต กล่าวคือ เมื่อหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตเดินทางไปถึงนครหลวงของประเทศผู้รับแล้ว ควรรีบแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทราบว่า ตนได้เดินทางมาถึงแล้วและขอนัดเยี่ยมคารวะ ตามปกติกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของอธิบดีกรมพิธีการทูตจะดำเนินการตระเตรียมให้หัวหน้าคณะ ผู้แทนทางการทูตได้เข้ายื่นสารตราตั้งต่อไประหว่างนั้น หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะต้องไม่ไปพบเยี่ยมผู้ใดเป็นทางการ จนกว่าจะได้ยื่นสารตราตั้งเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี หัวหน้าคณะผู้แทนอาจขอพบเป็นการภายในกับหัวหน้าของคณะทูตานุทูต (Dean หรือ Doyen of the Diplomatic Corps) ได้ เพื่อขอทราบพิธีการปฏิบัติในการเข้ายื่นสารตราตั้งต่อประมุขของประเทศผู้รับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 13 ว่า1. พึงถือได้ว่าหัวหน้าคณะผู้แทนได้เข้ารับภารกิจหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้งหรือเมื่อตนได้บอกกล่าวการมาถึงของตน พร้อมทั้งได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้งต่อกระทรวงการต่างประเทศของ รัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกันในแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป2. ลำดับของการยื่นสารตราตั้ง หรือสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง จะได้พิจารณากำหนดตามวันและเวลาของการมาถึงของหัวหน้าคณะผู้แทน [การทูต]
Introducer of Ambassadorsหมายถึง เจ้าหน้าที่แนะนำเอกอัครราชทูต ในนครหลวงของบางประเทศจะมีเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะ ซึ่งรับผิดชอบการติดต่อกับเอกอัครราชทูตซึ่งกำหนดจะยื่นสารตราตั้ง ให้เดินทางจากทำเนียบเอกอัครราชทูตไปยังทำเนียบของประมุขแห่งรัฐ และจะเป็นผู้เบิกตัว หรือแนะนำเอกอัครราชทูตผู้นั้นต่อประมุขของรัฐในพิธียื่นสารตราตั้ง ในนครหลวงของอีกบางประเทศ เจ้าหน้าที่แนะนำตัวเอกอัครราชทูตจะมีตำแหน่งเรียกอย่างอื่นคือ Master of Ceremonies ส่วนในประเทศอังกฤษ ณ พระราชสำนักแห่งเซนต์เจมส์ ผู้ที่ทำหน้าที่เช่นนี้จะเรียกว่า Her Majesty?s Marshal of the Diplomatic Corps ส่วนในสหรัฐอเมริกา ผู้กระทำหน้าที่นี้คืออธิบดีกรมพิธีการทูต (Chief of Protocol) [การทูต]
Order of Precedenceหมายถึง ลำดับอาวุโสทางการทูต โดยถือยศหรือตำแหน่งเป็นบรรทัดฐาน โดยเฉพาะในโอกาสที่ไปร่วมพิธีต่าง ๆ ตลอดจนการเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการ นักการทูตทั่วโลกต่างถือลำดับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิถีพิถันกันไม่ น้อย เพราะในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ หากมีการจัดลำดับอาวุโสไม่ถูกต้อง เขาผู้นั้นซึ่งคำนึงถึงศักดิ์ศรีในฐานะตัวแทนของประเทศย่อมต้องรู้สึกว่า นอกจากจะไม่ได้รับความถูกต้องแล้ว ยังเป็นการดูแคลนประเทศของตนด้วยในสมัยก่อน ผู้ที่ทำหน้าที่ชี้ขาดในเรื่องลำดับอาวุโสของบรรดาประมุขของรัฐทั้งหลาย คือสมเด็จพระสันตะปาปา ต่อมาในการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาเมื่อปี ค.ศ. 1815 ที่ประชุมได้ตกลงกันให้ถือวันที่เดินทางมาถึงประเทศผู้รับ และได้แจ้งให้ทราบเป็นทางการว่าเป็นเรื่องลำดับอาวุโส ผู้ที่มาถึงก่อนย่อมมีอาวุโสกว่าผู้ทีมาทีหลัง อย่างไรก็ดี มาในทุกวันนี้มีหลายประเทศถือหลักว่า ผู้แทนทางการทูตที่ยื่นสารตราตั้งก่อนจะมีอาวุโสกว่าผู้ยื่นสารตราตั้งที หลัง และในกรณีที่เกิดความเห็นไม่ลงรอยกันระหว่างบุคคลในคณะทูตเรื่องลำดับอาวุโส ประเทศเจ้าภาพหรือประเทศผู้รับจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดอนุสัญญากรุงเวียนนาว่า ด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติเกี่ยวกับลำดับอาวุโสของผู้แทนทางการ ทูตไว้ดังนี้ ?ข้อ 16 1. ให้หัวหน้าคณะผู้แทนมีลำดับอาวุโสในแต่ละชั้นของตนตามลำดับวันและเวลาที่ เข้ารับการหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้ง หรือเมื่อได้บอกกล่าวการมาถึงของตนและได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง ต่อกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงตามแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป 2. การเปลี่ยนแปลงในสารตราตั้งของหัวหน้าคณะผู้แทน ซึ่งไม่เกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงชั้นใด ๆ จะไม่กระทบกระเทือนลำดับอาวุโสของหัวหน้าคณะผู้แทน 3. ข้อนี้ไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่ทางปฏิบัติใด ซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับ ในเรื่องลำดับอาวุโสของผู้แทนของโฮลี่ซี ข้อ 17 ลำดับอาวุโสของสมาชิกคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูตของคณะผู้แทนนั้น ให้หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้บอกกล่าวแก่กระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน? [การทูต]
Presentation of Credentialsหมายถึง การยื่นสารตราตั้ง เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศใดประเทศหนึ่ง ก่อนที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ จะต้องนำสารตราตั้ง (Credentials) ไปยื่นต่อประมุขของรัฐนั้น ๆ พิธียื่นสารตราตั้งจะกระทำไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ แล้วแต่จะพิจารณาเห็นความเหมาะสม และความเคร่งต่อธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นสำคัญ เช่น อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่พิธียื่นสารตราตั้งของเอกอัครราชทูตต่อองค์ประมุข ของประเทศค่อนข้างวิจิตรพิสดารมาก ส่วนบางประเทศมีพิธียื่นสารอย่างง่าย ๆ แทบจะไม่มีพิธีรีตองอย่างใดในสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตันดีซี พิธียื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดีของสหรัฐฯ กระทำอย่างเรียบง่าย กล่าวคือ พอถึงเวลาที่กำหนดในวันยื่นสารตราตั้ง อธิบดีกรมพิธีการทูตหรือผู้แทนของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะนำรถยนต์ลีมูซีนสีดำไปยังทำเนียบของเอกอัครราชทูต เพื่อรับเอกอัครราชทูตและครอบครัวไปยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ณ ตึกทำเนียบขาว ( White House)มีข้อน่าสนใจอันหนึ่งคือ ทางฝ่ายสหรัฐฯ จะสนับสนุนให้เอกอัครราชทูตพาภรรยาและบุตรทั้งชายหญิงไปร่วมในการยื่นสารตรา ตั้งนั้นด้วย การแต่งกายของเอกอัครราชทูตก็สวมชุดสากลผูกเน็คไทตามธรรมดา ระหว่างที่ยื่นสารมีการปฏิสันถารกันพอสมควรระหว่างเอกอัครราชทูตกับ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีช่างภาพของทางราชการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก และมอบภาพถ่ายให้แก่เอกอัครราชทูตในวันหลัง (ต่างกับพิธีของอังกฤษมาก) เอกอัครราชทูตไม่ต้องพาคณะเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย หลังจากพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว อธิบดีกรมพิธีการทูตจะนำเอกอัครราชทูตและครอบครัวกลับไปยังทำเนียบที่พักโดย รถยนต์คันเดิม เป็นอันเสร็จพิธียื่นสารตราตั้ง โดยที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างมีสถานเอกอัครราชทูตของตนตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี ดังนั้น ในวันไหนที่มีการยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ทางการทำเนียบขาวมักจะกำหนดให้เอกอัครราชทูตใหม่จากประเทศต่าง ๆ เข้ายื่นสารในวันนั้นราว 4-5 ประเทศติดต่อกัน มิใช่วันละคนอย่างที่ปฏิบัติในบางประเทศทันทีที่เอกอัครราชทูตยื่นสารตรา ตั้งต่อประธานาธิบดีเรียบร้อยแล้ว เอกอัครราชทูตจะมีหนังสือเวียนไปยังหัวหน้าคณะทูตทุกแห่งในกรุงวอชิงตันดีซี แจ้งให้ทราบว่าในวันนั้น ๆ เขาได้ยื่นสารตราตั้งต่อประมุขของรัฐ ในฐานะเอกอัครราชทูตเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับแสดงความหวังในหนังสือว่าความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างคณะผู้ แทนทางการทูตทั้งสอง ทั้งในทางราชการและทางส่วนตัว จะมั่นคงเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้นอีก จากนั้น เอกอัครราชทูตใหม่ก็จะหาเวลาไปเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ ที่ประจำอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซีทีละราย กว่าจะเยี่ยมหมดทุกคนก็กินเวลานานอยู่หลายเดือนทีเดียว [การทูต]
Wives of Diplomatsภรรยาของนักการทูต ในประเทศที่มีกษัตริย์ และเอกอัครราชทูตจัดถวายพระราชสาส์นตราตั้งต่อกษัตริย์หรือราชินีในฐานะ ประมุขของรัฐนั้น มักจะให้ภรรยาเข้าเฝ้าด้วยต่างหาก แต่การเข้าเฝ้านั้นจะมีพิธีรีตองน้อยกว่าของเอกอัครราชทูตในอดีตกาล ภรรยาของเอกอัครราชทูตมักจะไม่ได้รับการพิจารณารับรองและยกย่องเหมือนกับที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาทิเช่น ที่กรุงเวนิส ตามกฎหมายปี ค.ศ. 1268 ไม่อนุญาตให้ภรรยาของเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย ไม่ว่าจะไปประจำแห่งไหน เพราะเกรงว่าภรรยาอาจจะปากโป้งเกี่ยวกับการงานของสามี แต่กฎหมายได้กำหนดให้เอกอัครราชทูตนำพ่อครัวของตนเองติดตามไปด้วย เพื่อกันมิให้เอกอัครราชทูตต้องถูกวางยาพิษในอาหารที่รับประทานกล่าวโดยทั่ว ไปแล้ว ทุกวันนี้ภรรยาของเอกอัครราชทูตได้อุปโภคเอกสิทธิ เกียรติ ลำดับอาวุโส และความคุ้มกันต่าง ๆ เหมือนกับสามี ถึงแม้ในบางกรณีเอกอัครราชทูตกับภรรยาอาจแยกกันอยู่ก็ตาม ภรรยาของเอกอัครราชทูตที่เพิ่งยื่นสารตราตั้ง มักจะหาโอกาสไปเยี่ยมคารวะภรรยาของเอกอัครราชทูตอื่น ๆ ด้วย แม้ว่าในทุกวันนี้ธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวอาจจะไม่เคร่งครัดเหมือนกับสมัย ก่อน อนึ่ง ในบางประเทศได้มีระเบียบข้อบังคับ ห้ามมิให้ผู้แทนทางการทูตและทางการกงสุลที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ แต่งงานกับคนต่างชาติโดยมิได้รับอนุมัติจากรัฐบาลของตนก่อน [การทูต]

Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
สารตราตั้ง[sāntrātang] (n) EN: letter of credence ; credentials

Time: 0.031 seconds, cache age: 1.022 (clear)Longdo Dict -- https://dict.longdo.com/