เข้า ๑ | ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทำให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้, เคลื่อนมาสู่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ นาฬิกา พระศุกร์เข้า, สิง เช่น ผีเข้า เจ้าเข้า |
เข้า ๑ | ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ |
เข้า ๑ | ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ |
เข้า ๑ | รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน, รวมเป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง |
เข้า ๑ | ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทำให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน เข้าไม้ |
เข้า ๑ | เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทำงาน เช่น โรงเรียนเข้า, เริ่มอยู่ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทำงาน. |
เข้า ๑ | ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า |
เข้า ๑ | ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายเร่งรัด เช่น เร็วเข้า คิดเข้า, ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายมากขึ้น เช่น หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า, ใช้ประกอบคำอื่นแสดงสภาพหรือความรู้สึกที่เกิดมีขึ้น เช่น พอสวยเข้าก็มีหนุ่ม ๆ มารุมจีบ พอเหนื่อยเข้าก็อยากจะเลิกทำ, ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายว่าหนุนให้ทำ (มักใช้ในความประชดประชัน) เช่น เอาเข้าไป ว่าแล้วยังไม่ยอมหยุด. |