เฉท | (เฉด) น. การตัด, การฟัน, การฉีก, การเด็ด, การขาด, เช่น เฉทเฌอ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
บริเฉท, บริเฉท- | (บอริเฉด, บอริเฉทะ-, บอริเฉดทะ-) น. การกำหนด |
บริเฉท, บริเฉท- | ข้อความที่รวบรวมเอามาจัดเป็นตอน ๆ, ข้อความที่กำหนดไว้เป็นหมวด ๆ. |
บริเฉทกาล | (บอริเฉทะกาน, บอริเฉดทะกาน) น. เวลาที่กำหนดไว้. |
ปริเฉท | (ปะ-) น. บริเฉท. |
สมุจเฉท, สมุจเฉท- | (สะหฺมุดเฉด, -เฉดทะ-) น. การตัดขาด. |
สมุจเฉทปหาน | (-ปะหาน) น. การละกิเลสได้ขาดอย่างพระอรหันต์. |
อุจเฉท, อุจเฉท- | (อุดเฉด, อุดเฉทะ-) ก. ขาดสิ้น, สูญ. |
อุจเฉททิฐิ | (อุดเฉทะ-) น. ความเห็นว่าตายแล้วสูญ (ไม่มีปฏิสนธิวิญญาณหรือการเกิดใหม่). |
ประหาณ | น. การละ, การทิ้ง, เช่น สมุจเฉทประหาณ. |
โลกายัต | น. ชื่อหนึ่งของลัทธิปรัชญาฝ่ายวัตถุนิยมของอินเดีย ถือว่าโลกนี้เกิดจากการรวมตัวกันเองของวัตถุธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ชีพหรือชีวิตเป็นเพียงผลิตผลของวัตถุธาตุที่รวมตัวกันนั้น คนเราเกิดครั้งเดียว ตายแล้วขาดสูญ ไม่มีโลกหน้า จึงควรแสวงหากามสุขเสียแต่วันนี้ พรุ่งนี้เราอาจตาย, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นอุจเฉททิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าตายแล้วสูญ, จารวาก ก็เรียก. |
เฉท | (เฉด) น. การตัด, การฟัน, การฉีก, การเด็ด, การขาด, เช่น เฉทเฌอ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
บริเฉท, บริเฉท- | (บอริเฉด, บอริเฉทะ-, บอริเฉดทะ-) น. การกำหนด |
บริเฉท, บริเฉท- | ข้อความที่รวบรวมเอามาจัดเป็นตอน ๆ, ข้อความที่กำหนดไว้เป็นหมวด ๆ. |
บริเฉทกาล | (บอริเฉทะกาน, บอริเฉดทะกาน) น. เวลาที่กำหนดไว้. |
ปริเฉท | (ปะ-) น. บริเฉท. |
สมุจเฉท, สมุจเฉท- | (สะหฺมุดเฉด, -เฉดทะ-) น. การตัดขาด. |
สมุจเฉทปหาน | (-ปะหาน) น. การละกิเลสได้ขาดอย่างพระอรหันต์. |
อุจเฉท, อุจเฉท- | (อุดเฉด, อุดเฉทะ-) ก. ขาดสิ้น, สูญ. |
อุจเฉททิฐิ | (อุดเฉทะ-) น. ความเห็นว่าตายแล้วสูญ (ไม่มีปฏิสนธิวิญญาณหรือการเกิดใหม่). |
ประหาณ | น. การละ, การทิ้ง, เช่น สมุจเฉทประหาณ. |
โลกายัต | น. ชื่อหนึ่งของลัทธิปรัชญาฝ่ายวัตถุนิยมของอินเดีย ถือว่าโลกนี้เกิดจากการรวมตัวกันเองของวัตถุธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ชีพหรือชีวิตเป็นเพียงผลิตผลของวัตถุธาตุที่รวมตัวกันนั้น คนเราเกิดครั้งเดียว ตายแล้วขาดสูญ ไม่มีโลกหน้า จึงควรแสวงหากามสุขเสียแต่วันนี้ พรุ่งนี้เราอาจตาย, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นอุจเฉททิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าตายแล้วสูญ, จารวาก ก็เรียก. |