Byte | ไบต์, Example: ไบต์ (Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เป็นเลขฐานสองจำนวน 8 หลัก หรือ 8 บิต ที่ใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพียง 1 ตัว ตามรหัสแอสกี (ASCII) เช่น A B C ก ข ค ง ฯลฯ เป็นต้น หรือจำนวนเต็ม 1 จำนวน (128 ถึง 127 เมื่อคิดเครื่องหมายหรือ 0 ถึง 255 เมื่อไม่คิดเครื่องหมาย) เช่น 01000001 คือ ตัว A หรือ 01100010 คือ ตัว B โดย 8 บิตเท่ากับ 1 ไบต์ ไบต์จึงเป็นหน่วยข้อมูลที่มีขนาดใหญ่กว่าบิทและนิยมใช้เป็นหน่วยวัดความจุในการเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์หรือสื่อบันทึกข้อมูลด้วย หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ นิยมวัดเป็นกิโลไบต์ (Kilobyte) เมกะไบต์ (Megabyte) กิกะไบต์ (Gigabyte) และเทระไบต์ (Terabyte) ซึ่งหน่วยวัดข้อมูลของคอมพิวเตอร์ มีดังนี้ <br><br style="margin-left: 40px">1 ไบต์ = 8 บิต <br style="margin-left: 40px">1 กิโลไบต์ = 1, 024 ไบต์ <br style="margin-left: 40px">1 เมกะไบต์ = 1, 048, 576 ไบต์ หรือ 1, 024 กิโลไบต์ <br style="margin-left: 40px">1 กิกะไบต์ = 1, 073, 741, 824 ไบต์ หรือ 1, 024 เมกะไบต์ <br style="margin-left: 40px">1 เทระไบต์ = 1, 099, 511, 627, 776 ไบต์ หรือ 1, 024 กิกะไบต์<br> <br>นอกจากนี้ยังมี เพตะไบต์ (Petabyte) เอกซะไบต์ (Exabyte) เซตตะไบต์ (Zettabyte) และยอตตะไบต์ (Yottabyte) หากแต่ในปัจจุบันยังไม่มีสื่อบันทึกข้อมูลใดที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากขนาดนั้น [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
byte | ไบต์, หน่วยของข้อมูล ที่แทนด้วยตัวเลขฐานสองขนาด 8 บิต ใช้เก็บตัวอักขระ 1 ตัว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alphabetic code | รหัสตัวอักษร <คำแปล>เป็นรหัสตัวอักษรที่ส่งเข้าคอมพิวเตอร์แล้วคอมพิวเตอร์สามารถนำไปเก็บในหน่วยความจำได้ ตัวอักษร 1 ตัวจะใช้รหัสเป็นชุดของบิต 1 ชุดเรียกว่า "ไบต์" (byte) ดู byte ประกอบ |
bank switching | การสลับชิปไปมาหมายถึง การสลับไปมาของการใช้ชิปในหน่วยความจำเดิมที่ติดมากับเครื่อง กับหน่วยความจำที่เพิ่มภายหลัง ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งทำให้รู้สึกเสมือนว่า หน่วยความจำทั้งสองนั้นเป็นหน่วยความจำเดียวกัน เช่น บริษัทไอบีเอ็มผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกมาขายในตลาดโดยมีหน่วยความจำติดมาภายในตัวเครื่องเพียง 640 เคไบต์ แต่เรานำไปเพิ่มหน่วยความจำเป็นถึง 16 เมกกะไบต์ การที่จะทำให้หน่วยความจำเดิมกับหน่วยความจำที่เพิ่มมาใหม่ทำงานสลับกันไปมาได้ ก็จะต้องอาศัยการสลับชิปไปมานี้ อย่างไรก็ตาม หากเราเป็นเพียงผู้ใช้เครื่อง (user) ก็ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องนี้เท่าไรนัก เป็นหน้าที่ของช่างฝ่ายเทคนิคที่จะต้องติดตั้งหรือจัดการทำให้ |
bit | (บิท) 1. n. ดอกสว่าน, สิ่งค้ำ, ของเล็ก ๆ น้อย ๆ , ครู่เดียว, การกระทำ, บทบาทเล็กน้อย, เหรียญเล็ก ๆ , หน่วย, กริยาช่อง 2 และ 3 ของ bite, บิต, 2. ในระบบเลขฐาน 2 หมายถึงตัวเลข 0 และ 1, หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด โดยที่หนึ่งบิตจะต้องเพียงพอต่อการบอกความแตกต่างระหว่างข้อมูลประเภท "ใช้" ในปัจจุบันมักใช้บิตเป็นหน่วยวัดตัวประมวลผล (microprocessor) ของไมโครคอมพิวเตอร์ ว่าเป็นขนาด 8 บิต 16 บิต หรือ 32 บิต ถ้าจัดบิตเป็นชุดที่เรียกว่าไบต์ (byte) ซึ่งปกติจะมี 8 บิต จะใช้เป็นรหัสเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร ฯ ดู byte ประกอบ |
byte | (ไบทฺ) n. หน่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์เท่ากับ 1 อักขระหรือ 8 บิต, ข้อมูลจำนวน 8 บิต, ชุดของบิต (bit) ซึ่งคอมพิวเตอร์จัดไว้สำหรับเก็บข้อมล 1 ชุด คอมพิวเตอร์ต่างชนิดจะจัดชุดของบิตไว้ไม่เท่ากัน เช่น เครื่อง IBM 360 จัดบิตไว้เป็นชุด ๆ ละ 8 บิต เรียกว่า ไบต์ โดยปกติ ใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของหน่วยความจำ หรือจานบันทึกว่า มีขนาดเก็บได้กี่ตัวอักษร หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น วัดกันเป็นกิโลไบต์ (kilobyte) เรียกว่า K byte เท่ากับประมาณ 1 พันไบต์ หรือหนึ่งพันตัวอักษร, เมกะไบต์ (mega byte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านไบต์ , กิกะไบต์ (gigabyte) เท่ากับประมาณ 1 พันล้านไบต์ และเทราไบต์ (terabyte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านล้านไบต์เช่น เราอาจพูดว่า ฮาร์ดดิสก์ในเครื่องนี้มีขนาดความจุ 2 กิกะไบต์ (หมายความว่าสามารถเก็บข้อความได้สองพันล้านตัวอักษร) อนึ่ง หน่วยวัดที่นิยมใช้มีดังนี้ 1 KB (kilobyte) = 1, 024 ไบต์ 1 MB (Megabyte) = 1, 048, 576 ไบต์ (หรือ 1, 024 Kbytes) 1 GB (gigabyte) = 1, 073, 741, 824 ไบต์ (หรือ 1, 024 Mbytes) 1 TB (terabyte) = 1, 099, 511, 627, 776 ไบต์ (หรือ 1, 024 Gbytes) |
bytes per inch | ไบต์ต่อนิ้วใช้ตัวย่อว่า BPI เป็นหน่วยวัดความจุของตัวอักขระในเทปหรือแถบบันทึก (tape) หมายความว่า ขนาดความยาวของแถบบันทึก 1 นิ้ว จะบรรจุตัวอักขระได้เท่าใดอาจต่างกันได้ตั้งแต่ 200 ถึง 1600 ไบต์ต่อนิ้ว และอาจมีการปรับให้มากหรือน้อยกว่านั้นก็ได้ (บางทีใช้กับความยาวของแทร็กของพื้นผิวของจานบันทึก (disk) ด้วย |
cd-rom | (ซีดีรอม) ย่อมาจาก compact disc read-only memory หมายถึง compact disc ที่เป็นฟอร์แมตสำหรับผลิตภัณฑ์มัลติมีเดีย และเก็บเสียง ภาพ และข้อความ เป็นต้น เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ จะมีหน่วยบันทึกที่อ่านซีดีรอมได้ ข้อมูลที่เก็บในสื่อชนิดนี้จะเป็นข้อความ ภาพ หรือเสียงก็ได้ รูปลักษณะทั่วไปก็เหมือนจานซีดีที่บรรจุเพลง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.72 นิ้ว จุข้อมูล 600 เมกะไบต์ หรือประมาณ 400 เท่าของจานบันทึกขนาด 3.5 นิ้ว ส่วนมากนิยมใช้เก็บโปรแกรม หรือใช้เป็นฐานข้อมูลของห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ ส่วนใหญ่จานบันทึกประเภทนี้ยังคงใช้อ่านได้อย่างเดียว (read only) การบันทึกข้อมูลลงยังต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ราคาอุปกรณ์นี้ยังค่อนข้างแพง |
compact disk | ใช้ตัวย่อว่า CD เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เครื่อง คอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ มักจะมีหน่วยบันทึกที่อ่านจานบันทึกนี้ได้ ข้อมูลที่เก็บในสื่อชนิดนี้จะเป็นข้อความ ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว (ภาพยนตร์) หรือเสียงก็ได้ รูปลักษณะทั่วไปก็เหมือนจานซีดีที่บรรจุเพลง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.72 นิ้ว จุข้อมูล 600 เมกะไบต์หรือประมาณ 400 เท่าของจานบันทึกขนาด 3.5 นิ้ว ส่วนมากนิยมใช้เก็บโปรแกรม หรือใช้เป็นฐานข้อมูลของห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ นิยมใช้ในระบบเครือข่าย ทำให้สะดวกสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตามสาย (on line) ส่วนใหญ่จานบันทึกประเภทนี้ยังคงใช้อ่านได้อย่างเดียว (read only) การบันทึกยังต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ราคายังค่อนข้างแพง |
compression | (คัมเพรส'เชิน) n. การอัด, การบีบ, การกด, ผลจากการถูกอัด, ความกดดัน, ภาวะที่ปริมาตร (ในห้องเครื่อง) ต่ำลงและความกดดันของอากาศสูงขึ้นก่อนการเผาไหม้., Syn. compressure การอัดแน่นหมายถึง นำข้อมูลหรือคำสั่งจำนวนมาก ๆ มาอัดให้แน่น เพื่อ ให้ใช้ที่เก็บในหน่วยความจำ หรือจานบันทึกน้อยลง โดยปกติ จะมีโปรแกรม หรือคำสั่ง ในดอส 6.0 ที่สามารถอัดโปรแกรม ใหญ่ ๆ ที่กินเนื้อที่มาก ๆ ให้เหลือน้อยลง เพื่อจะได้เก็บลงในแผ่นจานบันทึกได้ จานบันทึกชนิดอ่อน floppy disk ในปัจจุบัน มีความสูงสุด 1.44 เมกะไบต์ ฉะนั้น ถ้าแฟ้มข้อมูลใหญ่มาก ก็จะไม่สามารถเก็บลงในแผ่นได้ จึงต้องจัดการอัดให้แน่นเสียก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อจะเรียกมาใช้ จะต้องนำมาคลายออกก่อน เรียกว่า "decompress" การอัดแน่นก็ดี การคลายคืนก็ดี จะต้องมีโปรแกรมเฉพาะจัดทำให้ ในระบบดอส นิยมใช้ PKZip/Unzip ในระบบ Windows 95 โปรแกรมที่นิยมชื่อ WinZip ในระบบยูนิกซ์ ใช้ Gunzipดู expand, decompress เปรียบเทียบ |
conventional memory | หน่วยความจำปกติใช้เรียก 640 กิโลไบต์แรกของหน่วยความจำ (RAM) ใน เครื่องคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็ม และเครื่องเลียนแบบไอบีเอ็ม (IBM compatibles) ที่กำหนดว่าต้องมีหน่วยความจำอย่างน้อย 640 เค (เป็นมาตรฐานที่กำหนดไว้นานแล้ว) |
diskette | แผ่นบันทึกหมายถึง จานบันทึกขนาดเล็ก เฉพาะที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีลักษณะอ่อน จึงเรียกว่า แผ่นบันทึก บรรจุไว้ในซองกระดาษ ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล เช่นเดียวกับจานบันทึกแม่เหล็ก ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน มีขนาด 5.25x5.25 นิ้ว มีความจุประมาณ 360 เคไบต์ (K byte) หรือ 360, 000 ตัวอักษร และ 1.2 เมกะไบต์ หรือ หนึ่งล้านสองแสนตัวอักษร บางทีเรียกกันว่า floppy disk นอกจากนั้น มีขนาด 3.5x3.5 นิ้ว บรรจุอยู่ในซองที่แข็งกว่า มีความจุประมาณ 720 เคไบต์ และ 1.44 เมกะไบต์ หรือ หนึ่งล้านสี่แสนตัวอักษร ในปัจจุบัน อาจใช้เก็บข้อมูลได้ทั้งสองหน้า ทำให้บรรจุข้อมูลได้มาก (เดิมบรรจุข้อมูลได้หน้าเดียว) หรือบางทีอาจทำให้ข้อมูลเบียดอัดมากขึ้น เรียกว่า double density (DD) ชนิดธรรมดาเรียกว่า single density (เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว) และหากเก็บข้อมูลได้หน้าเดียว เรียกว่า single sided (SS) ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว หากเก็บข้อมูลได้ทั้งสองหน้า เรียกว่า double sided (DS) แผ่นบันทึกชนิดที่มีความจุพิเศษ คือจุได้ถึง 1.2 ล้านตัวอักษรสำหรับแผ่น 5.25 นิ้ว และจุได้ 1.44ล้านตัวอักษรสำหรับแผ่น 3.5 นิ้ว เรียกว่า high density (HD) ดู disk ประกอบ |