แก้บน | ก. เซ่นสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามที่ตนได้บนบานไว้, ใช้บน ก็ว่า. |
ชิงเปรต | ก. แย่งเครื่องเซ่นสรวงวิญญาณบรรพบุรุษหรือผู้ที่ตายไปแล้ว ซึ่งเรียกว่า “เปรต” ในงานทำบุญวันสารทเดือน ๑๐ เมื่อเสร็จพิธีเซ่นแล้ว ถือว่าเครื่องเซ่นเหล่านั้นเป็นมงคล. |
บำบวง | ก. บนบาน, เซ่นสรวง, บูชา, เช่น สนธยากรภุมบุษ ปบังคมบำบวงสรณ พระไทรบริมณ ฑลเทพยสิงศักดิ์ (อนิรุทธ์). |
บูชายัญ | น. การบูชาของพราหมณ์อย่างหนึ่ง, การเซ่นสรวงด้วยวิธีฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา. |
บูชายัญ | ก. เซ่นสรวงด้วยวิธีฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา. |
เปตพลี | (-พะลี) น. เครื่องเซ่นสรวงที่กระทำให้แก่ผู้ตายไปแล้ว. |
เมธ | (เมด) น. การเซ่นสรวง, การบูชายัญ, มักใช้เป็นส่วนหลังสมาส เช่น อัศวเมธ. |
ยัญ, ยัญ-, ยัญญะ | (ยันยะ-) น. การเซ่น, การบูชา, การเซ่นสรวงโดยมีการฆ่าสัตว์หรือคนเป็นเครื่องบูชาเรียกว่า บูชายัญ. |
ยัญกรรม | น. การเซ่นสรวงบูชาของพราหมณ์. |
ยัญพิธี | น. พิธีเซ่นสรวงบูชาของพราหมณ์. |
ยิฏฐะ, ยิฐะ | (ยิดถะ) น. การบูชา, การเซ่นสรวง. |
สังเวย | ก. บวงสรวง, เซ่นสรวง, เช่น สังเวยเทวดา. |
โสม ๒ | น. นํ้าคั้นจากต้นของไม้เถาชนิดหนึ่ง กรองแล้วนำมาผสมกับเนยใส เพื่อใช้เซ่นสรวงพระอินทร์และเทพอื่น ๆ. |
โหม ๑, โหม- | การบูชายัญ, การเซ่นสรวงทั้งปวง. |
โหมกรรม | น. พิธีเซ่นสรวง. |
อัจนา | (อัดจะ-) น. การเซ่นสรวง, การถวาย, การบูชานับถือ. |
อาหุดี | น. การเซ่นสรวง. |
อิชยา | (อิดชะยา) น. การบูชา, การเซ่นสรวง. |
อิษฏี ๒ | (อิดสะ-) น. การบูชา, การเซ่นสรวง. |