1 ผลลัพธ์ สำหรับ bibliographic control
/บิ บลี่ ย้า กรา ฝิ ขึ เขิ่น โทร้ว ล/     /bˌɪbliːˈɑːgrˌɑːfɪk kəntrˈəʊl/
หรือค้นหา: -bibliographic control-, *bibliographic control*

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Bibliographic controlการควบคุมทางบรรณานุกรม, Example: <p>การควบคุมทางบรรณานุกรม หมายถึง การเข้าถึงบันทึกความรู้ต่างๆ โดยการใช้บรรณานุกรม การควบคุมทางบรรณานุกรมช่วยให้ทราบว่ามีสิ่งพิมพ์หรือบันทึกความรู้ใดบ้างที่มีผู้บันทึกหรือจัดทำไว้ในสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งสามารถเป็นเครื่องมือในการค้นคว้า นำออกมาใช้ได้ การควบคุมทางบรรณานุกรมสามารถทำได้โดย การจัดทำบรรณานุกรม ดรรชนี สาระสังเขป นามานุกรม เป็นต้น <p>องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้มีรายงานเกี่ยวกับการปรับปรุงการควบคุมทางบรรณานุกรมที่ปารีส ค.ศ. 1950 ถึงความจำเป็นในการควบคุมทางบรรณานุกรม ว่าจำเป็นต้องมีการจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติเพื่อบันทึกหลักฐานของสิ่งพิมพ์และวัสดุความรู้อื่นๆ ที่ผลิตภายในประเทศ หน้าที่หนึ่งในจำนวนหน้าที่หลายประการขององค์การศึกษาฯ ก็คือ การปรับปรุงงานด้านการศึกษา ซึ่งรวมถึงกิจกรรมที่จัดทำขึ้นเพื่อปรับปรุงงานห้องสมุด งานด้านบรรณานุกรมและการผลิตสิ่งพิมพ์ <p>บทบาทขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติในการควบคุมบรรณานุกรมแห่งชาติ คือ <p>1. ร่วมกับหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ในการสำรวจงานด้านบรรณานุกรมและจัดพิมพ์ผลการสำรวจชื่อ Bibliographical Services : Their Present State and Posibilities of Improvement (ปี ค.ศ. 1953) <p>2. ชักชวนให้ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การศึกษาฯ จัดทำบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ใหม่ๆ และร่วมมือในการให้ข้อมูลทางบรรณานุกรมแก่กัน จึงได้เริ่มรณรงค์เพื่อความร่วมกันดังกล่าว ตั้งแต่ ค.ศ. 1946 <p>3. จัดพิมพ์คู่มือการทำงานด้านการควบคุมทางบรรณานุกรม เขียนโดย Knud Larsen ชื่อ National Bibliographical Services : Their Creation and Operation และตีพิมพ์บทความ เขียนโดย Knud Larsen ในวารสาร Unesco Bulletin for Libraries ปีที่ 15 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ค.ศ. 1961 กล่าวถึง หน้าที่ของศูนย์บรรณานุกรมแห่งชาติ ซึ่งมีความสำคัญในการส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางบรรณานุกรม <p>4. สำรวจและจัดพิมพ์ Guide to National Bibliographical Centeres (ปี ค.ศ. 1970) <p>5. การส่งเสริมการก่อตั้งระบบสารนิเทศแห่งชาติ (National Information System หรือ NATIS) วัตถุประสงค์ของระบบสารนิเทศแห่งชาติ คือ การสร้างโครงงานสำหรับกิจกรรมเพื่อที่จะประสานงานกันในงานสารนิเทศของประเทศต่างๆ ช่วยให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ มองเห็นแนวทางที่จะดำเนินงานนี้ร่วมกัน และมุ่งจะช่วยให้ประเทศที่มีพัฒนาการต่างกันได้ประโยชน์จากระบบสารนิเทศของโลกทั่วกัน และมีส่วนร่วมในการกระจายสารนิเทศสองทาง คือ เป็นผู้ให้สารนิเทศและเป็นผู้ที่รับสารนิเทศด้วย องค์การศึกษาฯ ได้กำหนดให้ประเทศต่างๆ จัดกิจกรรมต่างๆ โดยให้ความสนับสนุนเพื่อให้ความพยายามที่จะควบคุมบรรณานุกรมสากล (Universal Bibliographical Control หรือ UBC) โดยให้เข้าถึงข้อมูลทางบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ทุกชิ้นโดยที่มีการบันทึกหลักฐานทางบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ไว้ในแบบแผนที่เป็นสากล <p>บรรณานุกรม <p>สุนทรี หังสะสูต. การควบคุมทางบรรณานุกรมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2523 [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]

Time: 0.0222 seconds, cache age: 0.412 (clear)Longdo Dict -- https://dict.longdo.com/