Back issue | ฉบับล่วงเวลา, Example: <p>คำว่าฉบับล่วงเวลา (Back issue) หมายถึง วารสารฉบับพิมพ์ในรูปแบบตัวเล่มที่เป็นฉบับเก่า ไม่ใช่ฉบับปัจจุบันที่สำนักพิมพ์ตีพิมพ์หรือผลิตออกมา <p>วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ ทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนึ่ง ที่มีความสำคัญต่อการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย ในการเป็นช่องทางเสนอ เผยแพร่ และติดตาม ข้อมูลผลงานวิจัยและวิชาการที่ทันสมัยและรวดเร็ว <p>การให้บริการวารสารในรูปแบบฉบับพิมพ์ โดยทั่วไป มี 2 รูปแบบ คือ วารสารฉบับใหม่ และ วารสารฉบับล่วงเวลา (ฉบับเก่า) <p>วารสารฉบับใหม่ ให้บริการในระบบชั้นเปิด จัดวางไว้ที่ชั้นวารสารใหม่ จัดเรียงตามลำดับตัวอักษร โดยแยกเป็นวารสารภาษาไทย และ วารสารภาษาอังกฤษ <p>วารสารฉบับล่วงเวลา ขึ้นอยู่ว่าเป็นวารสารฉบับเก่าแค่ไหน หากย้อนหลังไม่มาก ให้บริการที่ชั้นวารสารล่วงเวลา จัดเรียงตามลำดับตัวอักษร โดยแยกเป็นวารสารภาษาไทย และ วารสารภาษาอังกฤษ เช่นเดียวกัน หากฉบับเก่ามาก มักให้บริการในระบบชั้นปิด ผู้ใช้บริการที่ต้องการ ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อหยิบให้บริการ <p>วารสารฉบับล่วงเวลา อาจมีทั้งฉบับปลีก และเย็บเล่ม <p>ทั้งนี้ห้องสมุดส่วนใหญ่มีระเบียบกำหนดไว้ ไม่ให้บริการยืมวารสารออกนอกห้องสมุด โดยเฉพาะวารสารฉบับปัจจุบัน วัตถุประสงค์เพื่อให้หมุนเวียนกันใช้อย่างทั่วถึง แต่บางแห่งก็ให้บริการยืมออกได้ แต่ระยะเวลาการยืมจะสั้นกว่าสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ <p>อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันห้องสมุดส่วนใหญ่ได้บอกรับวารสารในรูปแบบออนไลน์หรืออิเล็กทรอนิกส์หรือฐานข้อมูล นอกเหนือจากวารสารฉบับพิมพ์มากขึ้น ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึง สืบค้นข้อมูล ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว อีกทั้งยังลดภาระห้องสมุดในการบริหารจัดการตัวเล่ม และประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บวารสารฉบับล่วงเวลาเหล่านั้นด้วย [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |